วิกิพีเดีย:ผู้ตรวจตรา
หน้านี้เป็นนโยบายของวิกิพีเดียภาษาไทย เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางซึ่งปกติผู้ใช้ทุกคนควรถือปฏิบัติ การปรับแก้นโยบายควรสะท้อนความเห็นพ้อง |
สรุปหน้านี้: ผู้ตรวจตราเป็นผู้ใช้ที่สามารถตรวจตราบทความที่สร้างใหม่ และได้รับการยกเว้นการตรวจตราในบทความที่ตนเองสร้าง |
ผู้ตรวจตรา (อังกฤษ: patroller) ในวิกิพีเดียภาษาไทยเป็นผู้ใช้ที่ได้รับความเชื่อถือให้มีความสามารถในการตรวจตราบทความที่สร้างใหม่ และได้รับการยกเว้นการตรวจตราในบทความที่ตนเองสร้าง ผู้ตรวจตราจึงต้องเป็นผู้ที่สามารถสร้างบทความที่เป็นสารานุกรมและสามารถตรวจตราบทความที่ผู้ใช้อื่นเป็นผู้สร้างขึ้นได้
จากการอภิปรายในปี 2556 วิกิพีเดียภาษาไทยอนุญาตให้ผู้ใช้ทั่วไป (ซึ่งมีการแก้ไขและระยะเวลานับจากสร้างบัญชีผู้ใช้ตามที่กำหนด) สามารถทำเครื่องหมายการแก้ไขของผู้อื่นว่าตรวจสอบแล้วได้ ส่วนความสามารถในการได้รับการยกเว้นการตรวจตราในบทความที่ตนเองสร้างเป็นสิทธิที่มีให้แต่ผู้ดูแลระบบเท่านั้น ดังนั้นการตั้งกลุ่มผู้ใช้ใหม่ให้มีความสามารถดังกล่าวจะช่วยให้การตรวจตรามีประสิทธิภาพมากขึ้นและลดภาระงานในการตรวจตราบทความลงได้
ปัจจุบันมีผู้ตรวจตราในวิกิพีเดียภาษาไทยจำนวน 47 คน โดยเป็นผู้ใช้ที่ได้สิทธิผู้ตรวจตราจำนวน 30 คน ผู้ดูแลระบบจำนวน 17 คน
สิทธิของผู้ตรวจตรา
แก้ตารางต่อไปนี้แสดงคำอธิบายสิทธิผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ตรวจตรา รวมถึงเปรียบเทียบสิทธิของผู้ใช้เดิม (ก่อนวันที่ 29 มกราคม 2564) กับสิทธิของผู้ตรวจตรา
คำอธิบายสิทธิ | ชื่อสิทธิ | ผู้ใช้ใหม่ | ผู้ใช้พื้นฐาน | ผู้ตรวจตรา | ผู้ดูแลระบบ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เดิม | ใหม่ | เดิม | ใหม่ | ||||
ตรวจตรา | patrol |
ไม่สำเร็จ | ไม่สำเร็จ | สำเร็จ | ไม่สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ |
ได้รับการยกเว้นการตรวจตรา | autopatrolled |
ไม่สำเร็จ | ไม่สำเร็จ | ไม่สำเร็จ | ไม่สำเร็จ | สำเร็จ | สำเร็จ |
การขอสิทธิและการระงับสิทธิการตรวจตรา
แก้การขอสิทธิ
แก้ผู้ใช้สามารถรับสิทธิ์ผู้ตรวจตราได้ 2 วิธี คือ
- ผู้ดูแลระบบให้สิทธิตามที่เห็นสมควร หากมีความคุ้นเคยหรือเชื่อมั่นในงานเขียนของผู้ใช้ผู้นั้น (ดูการให้สิทธิ์ในหน้าปูมสิทธิผู้ใช้และพิเศษ:สิทธิผู้ใช้)
- ผู้ใช้ทั่วไปสามารถแจ้งขอสิทธิให้กับตนเองหรือผู้ใช้ท่านอื่นผ่านหน้า วิกิพีเดีย:แจ้งขอสิทธิ/ผู้ตรวจตรา
ผู้ที่ประสงค์จะขอสิทธิหรือได้รับสิทธิผู้ตรวจตราจะต้องผ่านหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- เป็นผู้ใช้ยืนยันอัตโนมัติและผู้ใช้ยืนยันแล้ว
- มีจำนวนการแก้ไขไม่ต่ำกว่า 200 ครั้ง และสร้างบทความที่ไม่โดนลบจำนวน 20 บทความขึ้นไป
- เข้าใจเกี่ยวกับแนวปฏิบัติของการตรวจสอบบทความ
- คุณสมบัติอื่นของผู้ใช้ที่อาจนำมาพิจารณา เช่น ประวัติการก่อกวน เป็นต้น
การระงับสิทธิ
แก้ผู้ตรวจตราอาจถูกระงับสิทธิในกรณีต่อไปนี้
- เมื่อผู้ตรวจตราได้รับการเตือนว่าบทความที่สร้างใหม่ไม่ผ่านมาตรฐานเบื้องต้นของวิกิพีเดีย เช่น ไม่เป็นสารานุกรม เป็นงานค้นคว้าต้นฉบับ ละเมิดชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่ ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น และยังคงกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง
- เมื่อพิสูจน์ได้ว่าผู้ตรวจตรากระทำการตรวจตราบทความที่พิสูจน์ได้ว่าสร้างโดยหุ่นเชิดของตน
- เมื่อมีเหตุอื่นที่ชี้ให้เห็นว่าผู้ตรวจตราอาจใช้สิทธิอย่างไม่เหมาะสม
การระงับสิทธิตรวจตราให้แจ้งในหน้า วิกิพีเดีย:แจ้งผู้ดูแลระบบ และให้แจ้งผู้ตรวจตราที่ขอให้มีการระงับสิทธิเพื่อให้อภิปรายด้วย โดยให้นำกระบวนการทำนองเดียวกับการขอสิทธิตรวจตรามาใช้โดยอนุโลม
ที่มาและความสำคัญ
แก้เดิมทีวิกิพีเดียภาษาไทยให้สิทธิ์การตรวจตราและยกเว้นการตรวจตราแก่ผู้ดูแลระบบเท่านั้น อย่างไรก็ตามในปี 2556 ได้มีการให้สิทธิ์ตรวจตราแก่ผู้ใช้ทั่วไป เพื่อลดภาระงานของผู้ดูแลระบบ ทว่าในระยะหลังพบว่ามีผู้ใช้บางรายใช้บัญชีหุ่นเชิดของตนเองกดตรวจตราให้กันและกัน ส่งผลให้ผู้ใช้อื่นเข้าใจว่าบทความได้ผ่านการตรวจตราเบื้องต้นแล้ว ทั้งที่เป็นบทความที่ยังไม่ได้มาตรฐานแต่อย่างใด นอกจากนี้ในส่วนของสิทธิได้รับการยกเว้นการตรวจตราเป็นสิทธิที่ผู้ดูแลระบบมีเท่านั้น ส่งผลให้บทความค้างตรวจมีเป็นจำนวนมาก การให้สิทธิทั้งสองสิทธิดังกล่าวจึงเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถรักษาคุณภาพของบทความโดยรวมในวิกิพีเดียได้