มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย
มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย (อังกฤษ: University of Pennsylvania) (โดยทั่วไปเรียกว่า เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn) ) เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ที่เมือง ฟิลาเดลเฟีย ในรัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2283 (ค.ศ. 1740) โดยนายเบนจามิน แฟรงคลิน ซึ่งนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่เป็นอันดับ 4 ของสหรัฐอเมริกา และเป็นหนึ่งในสมาชิกไอวีลีก มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับให้เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐอเมริกาและของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีชื่อเสียงในด้าน การแพทย์ พาณิชยศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เข้ายากและมีการแข่งขันสูงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) นอกจากนี้ วิทยาลัยและคณะต่างๆในระดับปริญญาโทและเอกส่วนใหญ่ก็ถูกจัดอยู่ใน Top 10 เกือบทั้งสิ้น ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2552) มีนักศึกษาประมาณ 24,599 คน และคณาจารกว่า 4,127 คน ในปี พ.ศ. 2553 มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมีงบประมาณทั้งสิ้น 5.542 พันล้านดอลล่าสหรัฐอเมริกา หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท นับเป็นจำนวนมากที่สุดในกลุ่มไอวีลีก
ชื่อย่อ | เพน (Penn) หรือ ยูเพน (UPenn) |
---|---|
คติพจน์ | Leges sine moribus vanae (Laws without morals are in vain) |
ประเภท | มหาวิทยาลัยเอกชน |
สถาปนา | 1740 |
ที่ตั้ง | |
เว็บไซต์ | www.upenn.edu |
ประวัติ
แก้มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมีจุดกำเนิดมาจาก Charity School of Philadelphia ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1740 (พ.ศ. 2283) ต่อมาในปี ค.ศ. 1749 นายเบนจามิน แฟรงคลิน นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่และผู้นำการปฏิวัติอเมริกามีแนวความคิดที่จะจัดตั้งมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตนักศึกษาเพื่อมาทำงานในภาครัฐและภาคธุรกิจ ซึ่งแตกต่างไปจากมหาวิทยาลัยในยุคนั้นที่เน้นเฉพาะการสอนศาสนาเช่น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและมหาวิทยาลัยเยล เขาจึงได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยสมัยใหม่ขึ้น และมีการเรียนการสอนศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา โดยพัฒนาจาก Charity School of Philadelphia เป็น Academy of Philadelphia ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น College of Philadelphia และเปลี่ยนเป็น University of the State of Pennsylvania ตามลำดับ ต่อมาในปี ค.ศ.1791 ได้ใช้ชื่อ University of Pennsylvania (มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเซีย) มาจนถึงปัจจุบัน [1]
ในปีค.ศ.1765 ได้มีการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ (Medical School) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้มีการจัดทำหลักสูตรปริญญาตรี (Undergraduate) และการศึกษาวิชาชีพ (Professional Education) ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เอง มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียจึงประกาศตนเป็นมหาวิทยาลัย (University) แห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี ค.ศ. 1790 นายเจมส์ วิลสันผู้ร่างรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐอเมริกาได้บรรยายวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลกลาง ต่อมาได้มีการจัดตั้งคณะนิติศาสตร์ (Law School) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ (School of Engineering and Applied Sciences) ขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อปีค.ศ. 1850 และ 1852 ตามลำดับ ต่อมาในปี ค.ศ. 1881 ได้มีการจัดตั้งวอร์ตันสคูล (Wharton's School of Finance and Commerce)ขึ้น นับเป็นคณะพาณิชยศาสตร์แห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้พัฒนามาเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีวิทยาลัยและคณะต่างๆรวมกันทั้งสิ้นกว่า 12 คณะ
1. จำนวนนักศึกษา
- ระดับปริญญาตรี: 10,337 คน
- ระดับปริญญาโทและเอก: 10,306 คน
- นักศึกษาภาคพิเศษ: 3,956 คน
- รวมทั้งสิ้น 24,599 คน
2. จำนวนคณาจารย์
- อาจารย์ประจำ: 2,549 คน
- อาจารย์พิเศษ: 1,578 คน
- รวม 4,127 คน
- อาจารย์ผู้ช่วย: 2,342 คน
- สัดส่วนนักศึกษาต่ออาจารย์ 6:1
3. การวิจัย
- มีศูนย์และสถาบันวิจัยทั้งสิ้น 165 แห่ง มีคณาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยกว่า 3,800 คน และนักศึกษาวิจัยกว่า 1,000 คน
- ในปี ค.ศ. 2010 มีงบประมาณวิจัยทั้งสิ้นกว่า 814 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 27,000 ล้านบาท
4. วิทยาเขต
- West Philadelphia (University City) (วิทยาเขตหลัก): เนื้อที่ 1.13 ตารางกิโลเมตร มีอาคารกว่า180 อาคาร (ไม่นับโรงพยาบาล)
- New Bolton Center: เนื้อที่ 2.4 ตารางกิโลเมตร มีอาคารกว่า 104 อาคาร
- Morris Arboretum: เนื้อที่ 0.37 ตารางกิโลเมตร มีอาคารกว่า 29 อาคาร
5. งบประมาณประจำปี
- 5.542 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 180,000 ล้านบาท (ค.ศ. 2010)
การศึกษาในระดับปริญญาตรี
แก้มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมีคณะที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีจำนวน 4 คณะ ได้แก่
- College of Arts and Sciences (CAS) (วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
- School of Engineering and Applied Sciences (SEAS) (คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
- School of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)
- The Wharton School (วอร์ตันสคูลหรือคณะพาณิชยศาสตร์)
โดยภาพรวม หลักสูตรปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในหลักสูตรที่เข้ายากที่สุดและมีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนิตยสารยูเอสนิว (US News & World Report 2010) ได้จัดอันดับให้มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียอยู่ในอันดับที่ 4 ของประเทศ (ร่วมกับ MIT และ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลักสูตรปริญญาตรีด้านพาณิชยศาสตร์และการบัญชีของวอตันสคูลได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 1 ของประเทศมาโดยตลอด[3] นอกจากนี้ สาขาวิชาอื่นๆก็ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ Top 10 ของประเทศเช่นเดียวกัน[4]
การศึกษาในระดับปริญญาโทและเอก
แก้มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมีวิทยาลัยและคณะที่เปิดสอนในระดับปริญญาโทและเอกจำนวน 12 คณะ ได้แก่
- Annenberg School for Communication (คณะนิเทศศาสตร์)
- Graduate School of Arts & Sciences (วิทยาลัยศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
- Graduate School of Education (คณะครุศาสตร์)
- Law School (คณะนิติศาสตร์)
- School of Dental Medicine (คณะทันตแพทย์ศาสตร์)
- School of Design (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
- School of Engineering and Applied Science (คณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
- School of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
- School of Nursing (คณะพยาบาลศาสตร์)
- School of Social Policy & Practice (คณะนโยบายสังคม)
- School of Veterinary Medicine (คณะสัตวแพทย์ศาสตร์)
- Wharton School (วอร์ตันสคูลหรือคณะพาณิชยศาสตร์)
วิทยาลัยและคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียนับว่ามีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในด้านพาณิชยศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การแพทย์ นิติศาสตร์ และ สถาปัตยกรรมศาสตร์ วอร์ตันสคูลหรือคณะพาณิชยศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็น Top 3 ของโลกจากหลายสถาบัน (อันดับ 1 โดยนิตยสาร Financial Times[5]) คณะแพทยศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งแรกของประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันได้รับการจัดอันดับให้เป็นอันดับ 3 ของประเทศ คณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นคณะนิติศาสตร์ชั้นนำและเข้ายากมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ในอันดับ Top 10 ของประเทศทุกปี[6] คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ สัตวแพทยศาสตร์ และนิเทศศาสตร์ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 5 ของประเทศ นอกจากนี้ คณะนโยบายสังคม และคณะครุศาสตร์ก็ได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 10 ของประเทศโดยนิตยสารยูเอสนิวส์ (US News & World Report)[7]
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง
แก้- เบนจามิน แฟรงคลิน นักการเมือง นักเขียน นักวิทยาศาสตร์ นักการทูต และหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้งและประกาศอิสรภาพของประเทศอเมริกา
- เจมส์ วิลสัน ผู้พิพากษาศาลฎีกา หนึ่งผู้ลงนามในใบประกาศอิสรภาพและรัฐธรรมนูญแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
- วิลเลี่ยม เฮนรี่ แฮริสัน ประธานาธิบดีคนที่ 9 ประเทศสหรัฐอเมริกา
- วิลเลี่ยม เบรนแนน ผู้พิพากษาศาลฎีกา
- โดนัล ทรัมป์ มหาเศรษฐีและเจ้าพ่ออสังหาริมทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา
- จอร์จ สมิส ผู้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ปีค.ศ. 2009
- ชาลส์ อดัมส์ นักเขียนการ์ตูนเรื่อง อดัมส์ แฟมิลี่
- โรเบิร์ต แครนดาล ประธานสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์
- โยทาโร่ โคบายาชิ ประธานบริษัทฟูจิซีรอกส์
- ลีโอนาร์ด เลาเดอร์ ผู้ก่อตั้งบริษัทเครื่องสำอางค์ Estee Lauder
- อดิตยา มิตทอล ประธานบริษัท Mittal Steel แห่งอินเดีย
ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง
แก้- ศาตราจารย์ สุธรรม ภัทราคม อดีตประธานศาลฎีกา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อดีตศาตราจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาตราจารย์ ดร.อุททิศ แสนโกศิก อดีตอัยการพิเศษประจำกรมอัยการ อดีตอาจารย์พิเศษคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ฯลฯ
- ดร.วีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน
- ดร.บุญชัย โกศลธนากุล
- หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
- ดร.โอฬาร ไชยประวัติ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ
- ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อาวุธ ศรีศุกรี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง และอดีตผู้พิพากษาศาลยุติธรรม
- วรวุฒิ ทวาทศิน ผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา อดีตเลขาธิการประธานศาลฎีกา
- ศาสตราจารย์ ดร.ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล นักวิชาการสื่อสารมวลชน อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ อดีตสมาชิกวุฒิสภา
- ภูมิปัญญา ภูมิเรือง ได้รับรางวัล La inteligente de dilution effect สาขา เศรษฐศาสตร์ มหภาค
- พรชัย รุจิประภา อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน
- หม่อมราชวงศ์แน่งน้อย ศักดิ์ศรี นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ผู้ร่วมก่อตั้งสาขาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- รองศาสตราจารย์ ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ราชบัณฑิต และศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
- วิกรม ศรีประทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (AIS)
- ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2536 สาขา วิทยาศาสตร์การแพทย์
- ศ.นพ.อารี วัลยะเสวี ผู้ร่วมก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ นายแพทย์นิกร ดุสิตสิน
- รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยชาญ วงศ์สามัญ
- ธนภัทร ประเสริฐรัตน์
- ไกรศรี นิมมานเหมินท์
- ระลึก หลีกภัย
- ศ.สพ.ญ.ดร.ชลลดา บูรณกาล
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ต้นข้าว ปาณินท์
- พิมล ศรีวิกรม์
- พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-08. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ [1] เก็บถาวร 2010-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Penn: Facts and Figures
- ↑ "Best Undergraduate Business Programs, US News & World Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-26. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ "Best Colleges 2010, US News & World Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-21. สืบค้นเมื่อ 2010-03-05.
- ↑ "Global MBA Rankings, Financial Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-28. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ "Best Law Schools, US News & World Report". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-01. สืบค้นเมื่อ 2010-03-06.
- ↑ [2] University rankings, US News & World Report