วงศ์ปลาตูหนา (อังกฤษ: True eel, Freshwater eel) เป็นวงศ์ของปลาในชั้นปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Anguillidae (/แอน-กิล-ลิ-ดี้/) โดยมาจากภาษาลาตินว่า "Ae" หมายถึง ปลาไหล ซึ่งปลาวงศ์นี้มักจะถูกเรียกรวมกันว่า ปลาตูหนา มีทั้งหมด 1 สกุล คือ Anguilla และมีทั้งหมด 15 ชนิด[5]

วงศ์ปลาตูหนา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Danian–0
สมัยพาลีโอซีนตอนต้น (Danian) ถึงปัจจุบัน[1]
ปลาตูหนายุโรป (A. anguilla)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: วงศ์ปลาตูหนา
Rafinesque, 1810
สกุล: Anguilla
Garsault, 1764[2][3][4]
ชนิดต้นแบบ
Anguilla anguilla
Linnaeus, 1758
ชนิด

ดูข้อความ

กระจายทั่วชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกและแปซิฟิกจนถึงออสเตรเลีย พบในประเทศไทยประมาณ 3–4 ชนิด

ปลาวงศ์นี้มีฟันคม ปากกว้าง เขี้ยวเล็กละเอียดบนขากรรไกรเป็นร้อย ๆ ซี่ จมูกมีรูเล็ก ๆ เหมือนหลอด 2 ข้าง ใช้สำหรับดมกลิ่นเพื่อนำทางและหาอาหาร ซึ่งปลาตูหนามีประสิทธิภาพในการดมกลิ่นได้ดีกว่าปลาฉลามเสียอีก[6] ครีบอกเป็นรูปกลมรี ครีบหลังยาวติดต่อกับครีบหางที่มนและครีบก้นที่ยาว ลำตัวดูภายนอกเหมือนไม่มีเกล็ด มีเมือกลื่นปกคลุมทั้งตัว แต่แท้จริงมีเกล็ดขนาดเล็กมากเรียงซ้อนฝังอยู่ใต้ผิวหนัง โดยไม่มีเส้นข้างลำตัว เลือดและน้ำเหลืองของปลาตูหนามีพิษ ซึ่งอาจฆ่าสุนัขให้ตายได้ [6]

เป็นปลานักล่า สามารถจับกุ้ง, ปู หรือสัตว์เปลือกแข็ง รวมทั้งปลาต่าง ๆ กิน มักอาศัยในแหล่งน้ำใส มีตอไม้, โพรงไม้ หรือซอกหินอยู่มาก อาจขุดรูอยู่ก็ได้ นอกจากบริเวณปากแม่น้ำแล้ว ยังเคยพบไกลถึงลำธารน้ำตกบนภูเขาอีกด้วย[5]

เป็นปลาที่มีวงจรชีวิตแบบ ปลาสองน้ำ คือออกไปวางไข่ในทะเลลึก ปลาวัยอ่อนจึงอพยพกลับมาเลี้ยงตัวที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลนก่อนเข้ามาเติบโตในน้ำจืดที่ไกลจากทะเลนับร้อย ๆ กิโลเมตร ลูกปลามีตัวใส เรียวยาวดูคล้ายวุ้นเส้น โดยปกติแล้วเป็นปลาที่มีนิสัยรักสงบ แต่จะดุร้ายมากเมื่อถูกจับได้[7] มีรายงานว่าปลาบางตัวมีอายุมากได้ถึง 105 ปี และอาจยาวได้ถึง 8 ฟุต ในทะเลสาบน้ำจืดที่นิวซีแลนด์พบบางตัวมีน้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์[6]

เป็นปลาที่มีรสชาติดี อร่อย มีราคาแพง บางชนิดจึงถูกนำมาเพาะเลี้ยงเป็นปลาเศรษฐกิจที่มีชื่อ เช่น ปลาตูหนาญี่ปุ่น หรือปลาไหลญี่ปุ่น (A. japonica) ซึ่งได้มีการเลี้ยงกันที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่ว่าต้องรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ซึ่งเคยมีการนำเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทยระยะหนึ่ง ปลาตูหนาชนิดนี้ได้ถูกปรุงเป็นอาหารญี่ปุ่นที่มีชื่อคือ ข้าวหน้าปลาไหล (ญี่ปุ่น: 蒲焼โรมาจิkabayakiทับศัพท์: คะบะยะกิ) ซึ่งชาวญี่ปุ่นได้รับประทานกันมาอย่างยาวนานกว่า 5,000 ปีแล้ว[8]

การจำแนก แก้

 
ภาพแสดงวงจรชีวิตของปลาในวงศ์ปลาตูหนา
แผนผังวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของวงศ์ปลาตูหนาโดย Inoue และคณะ 2010[9]
Anguilla


A. mossambica




A. borneensis





A. anguilla



A. rostrata





A. australis



A. dieffenbachii








A. reinhardtii




A. japonica





A. celebesensis



A. megastoma





A. marmorata




A. nebulosa




A. interioris




A. obscura



A. bicolor











อ้างอิง แก้

  1. Werner Schwarzhans (2012). "Fish otoliths from the Paleocene of Bavaria (Kressenberg) and Austria (Kroisbach and Oiching-Graben)". Palaeo Ichthyologica. 12: 1–88.
  2. Pl. 661 in Garsault, F. A. P. de 1764. Les figures des plantes et animaux d'usage en medecine, décrits dans la Matiere Medicale de Mr. Geoffroy medecin, dessinés d'après nature par Mr. de Gasault, gravés par Mrs. Defehrt, Prevost, Duflos, Martinet &c. Niquet scrip. [5]. - pp. [1-4], index [1-20], Pl. 644-729. Paris.
  3. Welter-Schultes, F. W.; Klug, R. (2009). "Nomenclatural consequences resulting from the rediscovery of Les figures des plantes et animaux d'usage en médecine, a rare work published by Garsault in 1764, in the zoological literature". The Bulletin of Zoological Nomenclature. 66 (3): 225–241. doi:10.21805/bzn.v66i3.a1.
  4. Fricke, R.; Eschmeyer, W. N.; Van der Laan, R., บ.ก. (2022). "Eschmeyer's Catalog of Fishes: Genera, Species, References". สืบค้นเมื่อ 8 February 2022.
  5. 5.0 5.1 สมโภชน์ อัคคะทวีวัฒน์. สาระน่ารู้ปลาน้ำจืดไทย เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2547. 264 หน้า. หน้า 25-26. ISBN 978-00-8701-9 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  6. 6.0 6.1 6.2 Flesh Ripper, "River Monsters". สารคดีทางดิสคัฟเวอรี่แชนแนล ทางทรูวิชั่นส์: วันพฤหัสบดีที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
  7. หนังสือ วิถีแม่น้ำ วิถีป่า ของปกากญอ สาละวิน งานวิจัยปกากญอ โดย เครือข่ายแม่น้ำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (เชียงใหม่, พฤศจิกายน พ.ศ. 2548) ISBN 974-93677-5-8
  8. "'ปลาไหล' เมนู 5,000 ปีของญี่ปุ่น". วอยซ์ทีวี. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 December 2015.
  9. Jun G. Inoue et al.: Deep-ocean origin of the freshwater eels. Biol. Lett. 2010 6, S. 363–366, doi:10.1098/rsbl.2009.0989

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anguilla ที่วิกิสปีชีส์