ปลาไหลญี่ปุ่น

ชนิดปลา
(เปลี่ยนทางจาก Anguilla japonica)

ปลาไหลญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla japonica; ญี่ปุ่น: 日本鰻โรมาจิnihon'unagi[2]ทับศัพท์: นิฮงอูนางิ) เป็นปลาไหลชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) พบในญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน, ไต้หวัน และเวียดนาม[3] ตลอดจนแถบภาคเหนือของฟิลิปปินส์ เช่นเดียวกับปลาไหลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน ปลาไหลญี่ปุ่นใช้ชีวิตอยู่ในน้ำจืดเป็นส่วนใหญ่แต่จะไปวางไข่ในน้ำทะเล พื้นที่วางไข่ของปลาไหลญี่ปุ่นคือบริเวณกระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือทางตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกไปจนถึงแถบตะวันตกของหมู่เกาะมาเรียนา ในขณะที่ยังเป็นตัวอ่อน พวกมันจะถูกเรียกว่าปลาเมือก พวกมันจะถูกพัดพาโดยกระแสน้ำเส้นศูนย์สูตรเหนือไปทางตะวันตกของแปซิฟิก ต่อจากนั้นก็จะถูกพัดขึ้นทางเหนือไปยังเอเชียตะวันออกโดยกระแสน้ำญี่ปุ่น (คูโรชิโอะ) ซึ่งในเอเชียตะวันออกนี้เอง พวกมันอาศัยอยู่ตามแม่น้ำ, ทะเลสาบ และปากแม่น้ำ

ปลาไหลญี่ปุ่น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: วงศ์ปลาตูหนา
สกุล: Anguilla
Temminck & Schlegel, 1846
สปีชีส์: Anguilla japonica
ชื่อทวินาม
Anguilla japonica
Temminck & Schlegel, 1846
ชื่อพ้อง
  • Anguilla angustidens Kaup, 1856
  • Anguilla breviceps Chu & Jin, 1984
  • Anguilla manabei Jordan, 1913
  • Anguilla nigricans Chu & Wu, 1984
  • Anguilla remifera Jordan & Evermann, 1902
  • Anguilla sinensis McClelland, 1844
  • Muraena pekinensis Basilewsky, 1855

ปลาไหลญี่ปุ่นถือเป็นอาหารที่สำคัญของเอเชียตะวันออก ทำให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมประมงบ่อเลี้ยงปลาขึ้นในประเทศส่วนใหญ่ของภูมิภาคนี้ ในญี่ปุ่นจะเรียกปลาชนิดนี้ว่า อูนางิ ถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในวัฒนธรรมอาหารของญี่ปุ่น ร้านอาหารจำนวนมากนิยมเสิร์ฟโดยการย่าง กลายเป็นอาหารที่เรียกว่า คาบายากิ (蒲焼) นอกจากนี้ยังถูกใช้ในศาสตร์การแพทย์ของจีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม แม้จะมีการทำประมงปลาชนิดนี้อย่างมหาศาล แต่จำนวนที่พบในธรรมชาติกลับลดน้อยลงจนเข้าสู่ภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ตามการจัดอันดับของสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN)[4] [5] ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะสามารถเพาะพันธุ์ปลาชนิดนี้แล้วก็ตาม แต่ทว่าผลผลิตที่ได้ในแต่ละปีเพียงแค่ 3,000–4,000 ตัว เท่านั้น เพราะขาดซึ่งเงินทุนสำหรับพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นที่จะผลิตให้ได้ปีละหลายหมื่นตัว แต่ทว่า ดร.คัตสึชิ สิคะโมะโตะ แห่งมหาวิทยาลัยนิฮง ได้ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2009 ว่าปลาไหลญี่ปุ่นจะวางไข่ที่บริเวณร่องน้ำลึกมาเรียนาตะวันตก ใกล้เกาะกวม ทำให้ได้ทราบถึงวิถีชีวิตตลอดจนถึงพฤติกรรม รวมถึงการให้อาหารที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตที่มากขึ้นในอนาคต[6]

รูปภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Pike, C.; Kaifu, K.; Crook, V.; Jacoby, D.; Gollock, M. (2020). "Anguilla japonica". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T166184A176493270. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T166184A176493270.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. "日本鰻". Local Sensei. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2014. สืบค้นเมื่อ 27 May 2014.
  3. Vietnam Faunas, vncreatures.net
  4. FishStat database, FAO.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ IUCN
  6. หน้า 7 วิทยาการ-เกษตร, นักวิจัยญี่ปุ่นเปิดฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาไหลใกล้สูญพันธุ์. "ชื่นชีวิต". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21759: วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560 แรม 11 ค่ำ เดือน 9 ปีระกา

แหล่งข้อมูลอื่น แก้