ปลาเอี่ยนหู

(เปลี่ยนทางจาก Anguilla marmorata)

ปลาเอี่ยนหู หรือ ปลาไหลหูขาว (อังกฤษ: Marbled eel, Giant mottled eel; ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla marmorata) เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguilla) มีลำตัวยาวเหมือนปลาตูหนา (A. bicolor) ปากกว้าง ครีบอกสีจางรูปกลมรีอันเป็นที่มาของชื่อ "ปลาไหลหูขาว" ครีบหลังค่อนมาทางด้านหน้าลำตัว แต่ครีบก้นอยู่ไปทางด้านหลังลำตัว ลำตัวด้านบนมีลวดลายสีเทาคล้ำอมเหลืองและมีสีประทั้งเข้มและจางปะปนกันไปคล้ายปลาสะแงะ (A. bengalensis) ใต้ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง

ปลาเอี่ยนหู
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
อันดับ: Anguilliformes
วงศ์: วงศ์ปลาตูหนา
สกุล: Anguilla
Quoy and Gaimard, 1824
สปีชีส์: Anguilla marmorata
ชื่อทวินาม
Anguilla marmorata
Quoy and Gaimard, 1824
ชื่อพ้อง
  • Anguilla fidjiensis Günther, 1870
  • Anguilla hildebrandti Peters, 1881
  • Anguilla labrosa Richardson, 1848
  • Anguilla mauritiana Bennett, 1831
  • Anguilla ohannae Günther, 1867
  • Muraena manillensis Bleeker, 1864

มีขนาดโตเต็มได้ราว 1.50 เมตร พบกระจายอยู่อย่างกว้างขวางตั้งแต่ฝั่งแอฟริกาตะวันออก ถึงเฟรนช์โปลินีเซีย พบในภาคใต้ของประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน ในประเทศไทยพบเฉพาะในแม่น้ำโขงแถบชายแดนไทย-ลาว และเรื่อยไปตามแม่น้ำโขงจนถึงดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม

จัดเป็นปลาที่พบได้น้อยมาก เมื่อถูกชาวบ้านจับได้จะพบปรากฏเป็นข่าวฮือฮา บ้างจะถือว่าเป็นพญานาคบ้าง หรือปลาเจ้าบ้าง [2] ชาวพื้นเมืองของภูมิภาคเฟรนช์โปลินีเซียและหมู่เกาะโซโลมอนมีความผูกพันกับปลาเอี่ยนหูมาก โดยจะให้อาหารบนบกให้ปลาเอี่ยนหูคลานขึ้นมากินเอง โดยเฉพาะเด็ก ๆ จะเล่นน้ำในลำธารพร้อมกับลูบคลำตัวปลาโดยที่ปลาเอี่ยนหูไม่ทำอันตรายแต่อย่างใด โดยถือว่าปลาเอี่ยนหูช่วยกินของเน่าเสีย ทำให้แหล่งน้ำดื่มสะอาด[3] และที่เกาหลีใต้ถูกกำหนดให้เป็นอนุสรณ์แห่งธรรมชาติ[4]

อ้างอิง แก้

  1. Pike, C.; Crook, V.; Jacoby, D.; Gollock, M. (2020). "Anguilla marmorata". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T166189A176493885. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T166189A176493885.en. สืบค้นเมื่อ 20 November 2021.
  2. Giant Mottled Eel, Anguilla marmorata Quoy & Gaimard, 1824 (อังกฤษ)
  3. "สารคดีชุดแดนพิศวง 14 มกราคม 2559 หมู่เกาะสววรค์สร้าง ตอน หมู่เกาะสันโดษ". นาว 26. 14 January 2016. สืบค้นเมื่อ 15 January 2016.[ลิงก์เสีย]
  4. "สุดยอดสารคดี แปซิฟิก สุดยอดแห่งผืนน้ำ: สารคดี". ช่อง 7. 26 December 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 26 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้