ปลาสะแงะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Anguilla bengalensis) เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างคล้ายปลาไหล จัดอยู่ในวงศ์ปลาตูหนา (Anguillidae) จัดเป็นปลาในวงศ์ปลาตูหนาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย โดยสามารถยาวได้ถึง 1 เมตร หรือ 1.5 เมตร ในตัวเต็มวัยครีบอกมีสีจาง ครีบหลังอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว ลำตัวด้านหลังมีสีเทาคล้ำอมเหลืองและมีประสีจางและคล้ำผสมกันคล้ายกับลายหินอ่อน ท้องมีสีน้ำตาลอมเหลือง พบมากในแม่น้ำสาละวินและสาขาในจังหวัดตาก และ แม่ฮ่องสอน และยังสามารถพบได้เป็นครั้งคราวในแม่น้ำของภาคใต้ฝั่งตะวันตก ต่างประเทศพบได้ในบริเวณแม่น้ำชายฝั่งของประเทศอินเดีย, พม่า และทวีปแอฟริกาแถบตะวันออก

ปลาสะแงะ
A. b. bengalensis
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: ปลาที่มีก้านครีบ
Actinopterygii
อันดับ: Anguilliformes
Anguilliformes
วงศ์: วงศ์ปลาตูหนา
Anguillidae
สกุล: Anguilla
Anguilla
(J. E. Gray, 1831)
สปีชีส์: Anguilla bengalensis
ชื่อทวินาม
Anguilla bengalensis
(J. E. Gray, 1831)
ชนิดย่อย

A. b. bengalensis
A. b. labiata

ชื่อพ้อง[2]
  • Anguilla nebulosa nebulosa McClelland, 1844
  • Anguilla elphinstonei Sykes, 1839
  • Muraena maculata (non Lacepède, 1800)
  • Anguilla bengalensis (non Gray, 1831)

ปลาสะแงะ มีบันทึกว่าพบครั้งแรกและสร้างความฮือฮาให้กับผู้พบเห็น คือ มีผู้จับได้ในคลองบางกะปิที่กรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ. 2469[ต้องการอ้างอิง] ด้วยความใหญ่โตของลำตัว ทำให้บางคนเชื่อว่า เป็นปลาไหลไฟฟ้าบ้าง บางคนก็คิดว่าเป็นพญานาค หรือมังกร โดยปลาตัวนั้นมีขนาดความยาว 65 เซนติเมตร

ว่ากันว่า ปลาชนิดนี้สามารถส่งเสียงร้องคล้ายเสียงเด็กทารกได้ด้วยในเวลากลางคืน พบน้อย หายาก เนื้อมีรสชาติอร่อย ราคาแพง และเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม

ในประเทศไทยพบเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันตกและแถบภาคตะวันตกไปจนถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยมีชื่อพื้นเมืองภาษากะเหรี่ยงว่า "หย่าที"

ชนิดย่อย

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Pike, C.; Crook, V.; Jacoby, D.; Gollock, M. (2020). "Anguilla bengalensis". IUCN Red List of Threatened Species. 2020: e.T61668607A176497430. doi:10.2305/IUCN.UK.2020-3.RLTS.T61668607A176497430.en. สืบค้นเมื่อ 12 November 2021.
  2. Synonyms of Anguilla nebulosa เก็บถาวร 2016-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน at www.fishbase.org.
  3. Froese, Rainer, และ Daniel Pauly, eds. (2006). Anguilla bengalensis bengalensis ใน FishBase. ฉบับเดือน05 2006.
  4. Froese, Rainer, และ Daniel Pauly, eds. (2006). Anguilla bengalensis labiata ใน FishBase. ฉบับเดือน05 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Anguilla bengalensis ที่วิกิสปีชีส์