ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น

(เปลี่ยนทางจาก ราชวงศ์โฮเฮนซอลเลิร์น)

ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น (เยอรมัน: Haus Hohenzollern) เป็นราชตระกูลเยอรมันและโรมาเนียของยุโรปที่ปกครองปรัสเซีย เยอรมนี และ โรมาเนีย บริเวณดั้งเดิมของราชวงศ์อยู่ในบริเวณเมืองเฮ็คคิงเงิน (Hechingen) ในชวาเบินที่ก่อตั้งขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 11 ชื่อราชวงศ์มาจากที่พำนักของตระกูลที่เรียกว่าปราสาทโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น (Burg Hohenzollern)

ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น
Imperial coat of arms of Germany
พระราชอิสริยยศเคานท์แห่งโซลเลิร์น
มาร์กราฟแห่งบรานเดนบวร์ก
ดยุคแห่งปรัสเซีย
เบอร์กราฟแห่งเนิร์นแบร์ก
มาร์กราฟแห่งไบรอยท์
มาร์กราฟแห่งบรานเดนบวร์ก-อันสบาค
พระมหากษัตริย์แห่งปรัสเซีย
จักรพรรดิเยอรมัน
ปกครองเยอรมนี, โรมาเนีย
เชื้อชาติเยอรมัน, โรมาเนีย
สาขาโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็คคิงเงิน
โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน
โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ไฮเกอร์ล็อก
ประมุขพระองค์แรกฟรีดริชที่ 1 เบอร์กราฟแห่งเนิร์นแบร์ก
ผู้นำสกุลองค์ปัจจุบันเยอรมนีและปรัสเซีย:
เกออร์ค ฟรีดริช เจ้าชายแห่งปรัสเซีย (ค.ศ. 1994–)
โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-ซิกมาริงเงิน:
คาร์ล ฟรีดริช เจ้าชายแห่งโฮเอินท์ซ็อลเลิร์น (ค.ศ. 2010–)
โฮเอินท์ซ็อลเลิร์น-เฮ็คคิงเงิน:
สิ้นสุดตั้งแต่ 1869
โรมาเนีย:
เจ้าหญิงมาร์กาเรตา (ค.ศ. 2017–)
ประมุขพระองค์สุดท้ายเยอรมนีและปรัสเซีย:
พระจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 (ค.ศ. 1888–ค.ศ. 1918)
โรมาเนีย: พระเจ้ามิคาเอลที่ 1 (ค.ศ. 1927–ค.ศ. 1930, ค.ศ. 1940–ค.ศ. 1947)
สถาปนาราว ค.ศ. 1100
ล่มสลายเยอรมนีและปรัสเซีย:
ค.ศ. 1918: การปฏิวัติเยอรมัน
โรมาเนีย:
ค.ศ. 1947: ระบอบคอมมิวนิสต์ยุบสถาบันพระมหากษัตริย์

คำขวัญของตระกูลคือ “Nihil Sine Deo” (ไม่มีสิ่งใดถ้าไม่มีพระเจ้า) ตราประจำตระกูลเริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1192 ที่เป็นตราง่าย ๆ แบ่งเป็นสี่ส่วน สีดำ และ เงิน ต่อมาก็มีการเพิ่มหัวและไหล่ของสุนัขในปี ค.ศ. 1317 โดยฟรีดริชที่ 4 เบอร์กราฟแห่งเนิร์นแบร์ก[1] และต่อมาก็เพิ่มสัญลักษณ์จากสาขาของอีกตระกูลหนึ่ง

ตระกูลแบ่งออกเป็นสองสาย สายโรมันคาทอลิกชวาเบีย และ สายโปรเตสแตนต์ฟรังโคเนีย สายชวาเบียปกครองบริเวณเฮ็คคิงเงินจนกระทั่งมาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1869 สายย่อยของฟรังโคเนียขึ้นครองอาณาจักรมาร์กราฟแห่งบรานเดนบวร์กในปี ค.ศ. 1415 และ อาณาจักรดยุคแห่งปรัสเซียในปี ค.ศ. 1525 การรวมสายย่อยสองสายของฟรังโคเนียในปี ค.ศ. 1618 เป็นการก่อตั้งราชอาณาจักรปรัสเซียต่อมาในปี ค.ศ. 1701 ซึ่งเป็นรัฐที่เป็นผู้นำในการรวมประเทศเยอรมนี (Unification of Germany) และการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมนีต่อมาในปี ค.ศ. 1871

ความระส่ำระสายของสังคมในปลายสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้เกิดการปฏิวัติเยอรมันในปี ค.ศ. 1918 และการก่อตั้งสาธารณรัฐไวมาร์ต่อมาซึ่งเป็นการบีบบังคับให้ราชวงศ์โฮเอินท์ซ็อลเลิร์นต้องสละราชบัลลังก์ ซึ่งเท่ากับเป็นการยุติระบอบจักรพรรดิเยอรมัน ในที่สุดสนธิสัญญาแวร์ซายของปี ค.ศ. 1919 ก็ทำให้จักรวรรดิเยอรมันล่มสลาย

บุคคลสำคัญที่จากราชวงศ์

แก้

แผนผังราชวงศ์

แก้
  1. "A Royal Student Stein". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2009-08-12.

อ้างอิง

แก้

ดูเพิ่ม

แก้