ยุทธนาวีที่มิดเวย์
ยุทธนาวีมิดเวย์ (อังกฤษ: Battle of Midway, ญี่ปุ่น: ミッドウェー海戦) เป็นยุทธนาวีที่สำคัญที่สุดในแนวรบด้านมหาสมุทรแปซิฟิก[3][4][5] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ระหว่างวันที่ 4 - 7 มิถุนายน 1942 ประมาณหนึ่งเดือนหลังยุทธนาวีทะเลคอรัล และประมาณหกเดือนหลังจากญี่ปุ่นโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์[6][7][5] กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด จากการต่อต้านการโจมตีของกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นที่มิดเวย์อะทอลล์ และเป็นการคาดโทษ ความเสียหายที่ไม่อาจแก้ไขได้ของกองเรือรบญี่ปุ่น จอห์น คีแกนได้เรียกมันว่า"ที่สุดของความประหลาดใจและเด็ดเดี่ยวอย่างคาดไม่ถึง ในประวัติศาสตร์ของการทำสงครามกองทัพเรือ" ยุทธนาวีนี้เคยเป็นการพ่ายแพ้ที่เลวร้ายที่สุดของกองทัพเรือญี่ปุ่นในระยะ 350 หลา
ยุทธนาวีมิดเวย์ | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกในสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
เครื่องบินทิ้งระเบิดดักลาส เอสบีดี - 3 จากเรือยูเอสเอสฮอร์เน็ต ขณะดำดิ่งทิ้งระเบิดเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นซึ่งกำลังเกิดเพลิงไหม้ ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2485 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหรัฐอเมริกา | ญี่ปุ่น | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์ Frank Jack Fletcher Raymond A. Spruance |
อิโซโรกุ ยามาโมโตะ โนบุตาเกะ คนโดะ ชูอิชิ นางุโมะ ทามอน ยามางุจิ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่) ริวซากุ ยานางิโมโตะ (เสียชีวิตในการปฏิบัติหน้าที่) | ||||||
กำลัง | |||||||
เรือบรรทุกเครื่องบิน 3 ลำ เรือสนับสนุน ~25 ลำ อากาศยาน 233 ลำ อากาศยานจากฐานบินบนบก 127 ลำ |
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือประจัญบาน 2 ลำ เรือสนับสนุน ~15 ลำ (เรือลาดตระเวนหนักและเบา เรือพิฆาต) อากาศยาน 248 ลำ[1]เครื่องบินทุ่นลอยน้ำ 16 ลำ เรือที่ไม่ได้ร่วมรบ: เรือบรรทุกเครื่องบินเบา 2 ลำ เรือประจัญบาน 5 ลำ เรือสนับสนุน ~41 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
เรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ เรือพิฆาต 1 ลำ อากาศยาน 150 ลำ, เสียชีวิต 307 นาย[2] |
เรือบรรทุกเครื่องบิน 4 ลำ เรือลาดตระเวน 1 ลำ อากาศยาน 248 ลำ เสียชีวิต 3,057 นาย |
ภายหลังยุทธนาวีทั้งสอง กองเรือสหรัฐอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเสียหายอย่างหนัก กองทัพญี่ปุ่นจึงคิดเข้าโจมตีมิดเวย์อะทอลล์ เพื่อเป็นการปิดช่องโหว่ในแนวป้องกันทั่วมหาสมุทรแปซิฟิกของญี่ปุ่น และเป็นฐานในปฏิบัติการสำหรับแผนขั้นต่อไป รวมไปถึงการทำลายเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกาที่ยังคงเหลืออยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก แต่เนื่องจากสหรัฐอเมริกาสามารถถอดรหัสลับของกองทัพเรือญี่ปุ่นได้เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม สหรัฐอเมริกาจึงสามารถเตรียมการป้องกันและจัดวางกำลังพล จนสามารถทำลายกองทัพเรือของญี่ปุ่นได้ ยุทธนาวีมิดเวย์ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่ทำให้สหรัฐอเมริกากลับมาชิงความได้เปรียบในยุทธบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกเริ่มเป็นฝ่ายรุกโจมตีกองทัพเรือญี่ปุ่นจนจบสงคราม
ภูมิหลัง
แก้หลังจากขยายสงครามในแปซิฟิกเพื่อรวมอาณานิคมทางตะวันตกเข้าด้วยกัน จักรวรรดิญี่ปุ่นก็สามารถบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ในช่วงต้นได้อย่างรวดเร็ว ได้แก่ ฮ่องกงของอังกฤษ ฟิลิปปินส์ มาเลเซียอังกฤษ สิงคโปร์ และหมู่เกาะอินโดนีเซียของดัตช์ โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันในหมู่เกาะอินโดนีเซียซึ่งมีความสำคัญต่อญี่ปุ่นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ การวางแผนเบื้องต้นสำหรับการปฏิบัติการระยะที่สองจึงเริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนมกราคม 1942
เนื่องจากมีความไม่เห็นด้วยทางยุทธศาสตร์ระหว่างกองทัพบกจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJA) และกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น (IJN) รวมถึงการต่อสู้ภายในระหว่างกองบัญชาการทั่วไปของกองทัพเรือและกองเรือผสมของ อิโซโรกุ ยามาโมโตะ การวางแผนกลยุทธ์สำหรับการปฏิบัติการต่อไปจึงไม่เกิดขึ้นจนถึงเดือนเมษายน 1942 ยามาโมโตะสามารถชนะการต่อสู้ทางราชการได้สำเร็จด้วยการขู่ว่าจะลาออก[8][9] หลังจากนั้นแผนของเขาก็ได้รับการยอมรับ เป้าหมายหลักของยามาโมโตะคือการกำจัดกำลังเรือบรรทุกเครื่องบินของอเมริกา ซึ่งเขามองว่าเป็นภัยคุกคามหลักต่อสงครามแปซิฟิกโดยรวม ความกังวลนี้ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากการโจมตีของกองทัพอากาศสหรัฐ ในวันที่ 18 เมษายน 1942 ที่เครื่องบินทิ้งระเบิด B-25 มิทเชลล์ จำนวน 16 ลำ ขึ้นจากเรือยูเอสเอสฮอร์เน็ต โจมตีเป้าหมายในกรุงโตเกียวและเมืองอื่นๆ ในญี่ปุ่น การโจมตีครั้งนี้ แม้ว่าจะไม่สร้างผลกระทบทางทหารมากนัก แต่กลับเป็นการสร้างความตกใจให้กับญี่ปุ่น และทำให้เห็นถึงช่องโหว่ในระบบป้องกันรอบๆ เกาะหลักของญี่ปุ่น รวมถึงความเสี่ยงที่อาณาเขตญี่ปุ่นจะถูกโจมตีจากเครื่องบินทิ้งระเบิดของอเมริกา
ยามาโมโตะเชื่อว่า การโจมตีทางอากาศอีกครั้งที่ฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์จะกระตุ้นให้กองเรืออเมริกันทั้งหมดออกทะเลเพื่อสู้รบ รวมถึงเรือบรรทุกเครื่องบินด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งที่เพิ่มขึ้นของกำลังอากาศทางบกของอเมริกาที่หมู่เกาะฮาวายตั้งแต่การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941 เขาจึงตัดสินใจว่า การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยตรงนั้นเสี่ยงเกินไป
แทนที่จะโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ยามาโมโตะเลือกเกาะมิดเวย์ ซึ่งเป็นแอทอลล์ขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ที่ปลายสุดของหมู่เกาะฮาวายทางตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 1,300 ไมล์ (1,100 ไมล์ทะเล; 2,100 กิโลเมตร) จากโออาฮู เกาะมิดเวย์อยู่นอกขอบเขตการปฏิบัติการของเครื่องบินอเมริกันเกือบทั้งหมดที่ประจำการอยู่ในหมู่เกาะฮาวายหลัก มิดเวย์ไม่ได้มีความสำคัญโดยตรงในแผนการใหญ่ของญี่ปุ่น แต่ญี่ปุ่นเชื่อว่าอเมริกาจะมองว่าเกาะมิดเวย์เป็นป้อมปราการสำคัญของเพิร์ลฮาร์เบอร์ และจะต้องปกป้องมันอย่างเข้มข้น[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Parshall & Tully, p. 90-91
- ↑ "The Battle of Midway". Office of Naval Intelligence.
- ↑ "Battle of Midway: June 4–7,1942". Naval History & Heritage Command. 27 April 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-02. สืบค้นเมื่อ 20 February 2009. "...considered the decisive battle of the war in the Pacific."
- ↑ Dull, Paul S (1978). Battle History of the Imperial Japanese Navy, 1941–1945. US Naval Institute Press. ISBN 1-59114-219-9. "Midway was indeed "the" decisive battle of the war in the Pacific.", p. 166
- ↑ 5.0 5.1 "A Brief History of Aircraft Carriers: Battle of Midway". U.S. Navy. 2007. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-12. สืบค้นเมื่อ 12 June 2007. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Midway Decisive" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Dull 1978, p. 166
- ↑ Prange, Goldstein & Dillon 1982, pp. 13–15, 21–23 ; Willmott 1983, pp. 39–49 ; Parshall & Tully 2005, pp. 22–38
- ↑ Parshall & Tully 2005, p. 33 ; Prange, Goldstein & Dillon 1982, p. 23
- ↑ "After the Battle of Midway". Midway Atoll National Wildlife Refuge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 January 2009.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- จุดเปลี่ยนในยุทธนาวีมิดเวย์ เก็บถาวร 2014-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ประมวลภาพรวมของประวัติศาสตร์
- เรื่องราวของญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์, โดย U.S. Naval Intelligence จากเอกสารที่ยึดได้จากญี่ปุ่น
- วิดิทัศน์ยุทธนาวีมิดเวย์ (1942) – สื่อประชาชวนเชื่อของสหรัฐอเมริกา บันทึโดย จอห์น ฟอร์ด.
- ชัยชนะบนผืนน้ำ: Midway Is East (1952) – ตอนที่ 4 จากจำนวน 26 ตอน นำเสนอเกี่ยวกับการปฏบัติการในสงครามโลกครั้งที่สอง
- The Battle of Midway (1942) ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- จุดเปลี่ยนในยุทธนาวีมิดเวย์ เก็บถาวร 2014-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ประมวลภาพรวมของประวัติศาสตร์ โดย บิลล์ สเปนเซอร์
- ศูนย์ประวัติศาสตร์กองทัพเรือ เก็บถาวร 1999-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- "เรื่องราวของญี่ปุ่นในยุทธนาวีมิดเวย์" – ONI Review – เล่มที่ 2, หมายเลข 5 (พฤษภาคม 1947)