มะเฟือง
มะเฟือง | |
---|---|
มะเฟือง | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Geraniales |
วงศ์: | Oxalidaceae |
สกุล: | Averrhoa |
สปีชีส์: | A. carambola |
ชื่อทวินาม | |
Averrhoa carambola L. |
มะเฟือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Averrhoa carambola) เป็นไม้ต้นพื้นเมืองของอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา และเป็นที่นิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไทย มาเลเซีย และบางส่วนของเอเชียตะวันออก รวมทั้งมีเพาะปลูกในสาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา กายอานา ซามัว ตองงา ไต้หวัน เฟรนช์พอลินีเชีย คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย ในสหรัฐอเมริกามีแหล่งเพาะปลูกเชิงพาณิชย์อยู่ที่ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
แก้มะเฟืองเป็น ไม้ผลยืนต้นขนาดกลางสูง 5-10 เมตร ลักษณะเป็นทรงพุ่ม ซึ่งมีทั้งลักษณะตั้งตรง และกึ่งเลื้อย ลำต้นและกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน แกนกลางมีไส้คล้ายฟองน้ำมีสีแดงอ่อน ใบประกอบสีเขียว ประกอบด้วยใบย่อย 5-11 ใบ ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และตาข้างตามกิ่งและลำต้น มีดอกสีชมพูอ่อนไปจนถึงเกือบแดง ผลมีก้นแหลมเป็นเหลี่ยมมีร่องลักษณะเป็นพูประมาณ 4-6 พู[1]
ผลไม้
แก้ผลของมะเฟืองเป็นผลไม้ทรงกระสวย เมื่อหั่นแนวขวางได้เป็นรูปดาวห้าแฉก ภาษาอังกฤษจึงเรียกว่า star fruit ผลดิบสีเขียวใช้สับผสมในน้ำพริก สุกเป็นสีเหลืองใช้แกงได้ หรือกินแนมกับแหนมเนือง มะเฟืองเป็นผลไม้ที่มีออกซาเลตสูงทำให้เกิดนิ่วในไตได้ในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของไต[2] มีทั้งรสหวานและเปรี้ยวแล้วแต่สายพันธุ์
พันธุ์มะเฟืองที่พบในไทยได้แก่ [2]
- พันธุ์พื้นเมือง รสเปรี้ยว มีทั้งลูกใหญ่และลูกเล็ก
- พันธุ์กวางตุ้ง ผลสีขาว ขอบสีเขียว รสหวาน
- พันธุ์ไต้หวัน ผลใหญ่ กลีบบาง ขอบบิด รสหวาน
- พันธุ์มาเลเซีย ผลใหญ่ น้ำเยอะ หวานอมเปรี้ยว
คุณค่าทางโภชนาการ
แก้คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์) | |
---|---|
พลังงาน | 128 กิโลจูล (31 กิโลแคลอรี) |
6.73 g | |
น้ำตาล | 3.98 g |
ใยอาหาร | 2.8 g |
.33 g | |
1.04 g | |
วิตามิน | |
(8%) .39 มก. | |
โฟเลต (บี9) | (3%) 12 μg |
วิตามินซี | (41%) 34.4 มก. |
แร่ธาตุ | |
ฟอสฟอรัส | (2%) 12 มก. |
โพแทสเซียม | (3%) 133 มก. |
สังกะสี | (1%) .12 มก. |
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่ แหล่งที่มา: USDA FoodData Central |
วิตามิน เอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอะซีน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็กและพลังงาน
สรรพคุณทางยา
แก้การแก้ร้อนใน ดับกระหาย ลดความร้อนภายในร่างกายถอนพิษก็ได้ แต่สามารถเพิ่มโอกาสเป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้เนื่องจากสารออกซาเลตที่มีอยู่มากในมะเฟืองจะไปจับตัวกับแคลเซียมตกเป็นผลึกในไต และยังทำให้เกิดอาการไตวายเฉียบพลันได้หากได้รับเข้าไปในปริมาณที่มาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับภาวะการขาดน้ำของร่างกายด้วย
การแปรรูป
แก้- มะเฟือง 3 รส
- มะเฟืองแช่อิ่ม
อ้างอิง
แก้- ↑ "มะเฟือง-บ้านและสวน".
- ↑ 2.0 2.1 นิดดา หงส์วิวัฒน์. มะเฟือง ผลไม้สุขภาพ สรรพคุณต้านโรค. ครัว. ปีที่ 20 ฉบับที่ 236 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557. หน้า 16 - 22