รายชื่อแหล่งมรดกโลกในประเทศเกาหลีใต้

บทความรายชื่อวิกิมีเดีย

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกของประเทศเกาหลีใต้ทั้งสิ้น 16 แหล่ง[1] ประกอบด้วยมรดกโลกทางวัฒนธรรม 14 แหล่ง และมรดกโลกทางธรรมชาติ 2 แห่ง

ที่ตั้ง

แก้

สถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

แก้
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก

แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม

แก้
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
ha (acre)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
ชังกย็องพันจ็อนแห่งวัดแฮอินซา สถานที่เก็บแม่พิมพ์ไม้ของพระไตรปิฎกฉบับเกาหลี   จังหวัดคย็องซังใต้   เกาหลีใต้
35°48′0″N 128°6′0″E / 35.80000°N 128.10000°E / 35.80000; 128.10000 (Haeinsa Temple Janggyeong Panjeon, the Depositories for the Tripitaka Koreana Woodblocks)
วัฒนธรรม:
(iv), (vi)
2538/1995 สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าแอจางแห่งราชวงศ์ซิลลาในปี ค.ศ.802 และถือเป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์ในกลุ่มผู้แสวงบุญศาสนาพุทธ เนื่องจากเป็นแหล่งสะสมพระไตรปิฎกที่มีการบันทึกมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 โดยใช้พิมพ์แกะไม้จำนวนกว่า 81,000 แผ่น เขียนหลักคำสอนเป็นตัวอักษรฮันจา โดยมีการเก็บรักษาอย่างดีและถือเป็นพระไตรปิฎกที่เก่าแก่ที่สุดในเกาหลีใต้ [2]
ศาลเจ้าชงมโย   โซล   เกาหลีใต้
37°33′0″N 126°59′0″E / 37.55000°N 126.98333°E / 37.55000; 126.98333 (Jongmyo Shrine)
วัฒนธรรม:
(iv)
19 (47) 2538/1995 ศาลเจ้าลัทธิขงจื๊อที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระเจ้าแทโจและตระกูลราชวงศ์โซซ็อนในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ภายในศาลเจ้ามีอาคารตั้งป้ายบรรพบุรุษเพื่อกราบไหว้ราชวงศ์ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ศาลเจ้าแห่งนี้ถูกทำลายจากการรุกรานของญี่ปุ่น แต่ได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในในการประกอบพิธีกรรมการเปลี่ยนผ่านฤดูกาลที่มีประวัติยาวนานกว่า 1,400 ปี [3]
ถ้ำซ็อกกูรัมและวัดพุลกุกซา   จังหวัดคย็องซังเหนือ และโซล   เกาหลีใต้
35°47′0″N 129°21′0″E / 35.78333°N 129.35000°E / 35.78333; 129.35000 (Seokguram Grotto and Bulguksa Temple)
วัฒนธรรม:
(i), (iv)
2538/1995 ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 อันเป็นช่วงยุคสมัยชิลลา ศาสนาพุทธได้เจริญรุ่งเรืองในคาบสมุทรเกาหลี ถ้ำซ็อกกูรัมและวัดพุลกุกซาเป็นหลักฐานที่บ่งชี้ถึงศาสนาพุทธที่มีการทำนุบำรุงเป็นอย่างดี จากประติมากรรมพระพุทธรูปที่ได้อิทธิพลมาจากวัดถ้ำในจีนและอินเดียที่ถ้ำซ็อกกูรัม และเจดีย์หินโบราณกับศิลปะ-สถาปัตยกรรมพระพุทธศาสนาอันเก่าแก่ในวัดพุลกุกซาที่ก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 6 และมีการต่อเติมในยุคชิลลาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 8 [4]
กลุ่มพระราชวังชังด็อกกุง   โซล   เกาหลีใต้
37°34′46″N 126°59′28″E / 37.57944°N 126.99111°E / 37.57944; 126.99111 (Changdeokgung Palace Complex)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii), (iv)
2540/1997 พระราชวังชังด็อกถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแทจงแห่งราชวงศ์โชซ็อนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก่อนจะถูกทำลายจากการรุกรานของญี่ปุ่นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่ก็ถูกบูรณะอีกครั้งโดยพระเจ้าซ็อนโจ ซึ่งมีการออกแบบโดยอิงความเชื่อลัทธิขงจื๊อในการออกแบบประตูวัง สวน และตำหนักเพื่อเป็นที่ประทับของจักรพรรดิเกาหลี รวมไปถึงเป็นที่ทำการของเหล่าขุนนาง [5]
ป้อมฮวาซ็อง   จังหวัดคย็องกี   เกาหลีใต้
37°16′20″N 127°0′30″E / 37.27222°N 127.00833°E / 37.27222; 127.00833 (Hwaseong Fortress)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii)
2540/1997 ถูกสร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าช็องโจแห่งราชวงศ์โชซ็อนช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 อันเป็นช่วงเวลาที่มีแผนจะย้ายเมืองหลวงจากฮันยางมาเป็นซูว็อน จึงมีการสร้างป้อมปราการและกำแพงเมืองล้อมเมืองซึ่งสร้างจากอิฐดินเผาและหินแกรนิต อีกทั้งยังมีการสร้างประตูใหญ่ 4 ทิศ ประตูลับ ประตูน้ำ ป้อมปราการ และป้อมอาวุธสำหรับโจมตีข้าศึก นับว่าเป็นการพัฒนาระบบป้องกันข้าศึกที่ล้ำสมัยมากในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19 [6]
แหล่งดอลเมนแห่งโคชัง ฮวาซุน และคังฮวา   จังหวัดชุงช็องใต้ ช็อลลาเหนือ และอินช็อน   เกาหลีใต้
34°58′0″N 126°55′45″E / 34.96667°N 126.92917°E / 34.96667; 126.92917 (Gochang, Hwasun and Ganghwa Dolmen Sites)
วัฒนธรรม:
(iii)
52 (130); พื้นที่กันชน 315 (780) 2543/2000 ดอลเมนเป็นที่เก็บศพที่เกิดจากการตั้งหินสามก้อนเพื่อทำเป็นห้องสำหรับเก็บศพ สร้างขึ้นตั้งแต่ยุคหินใหม่เมื่อราว 4,000-3,000 ปีก่อนคริสตกาล มาจนถึงยุคสำริด โดย 40% ของดอลเมนทั่วโลกถูกพบมากที่คาบสมุทรเกาหลี โดยเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงใต้ของเกาหลีใต้และเกาะคังฮวา โดยดอลเมนในสถานที่ดังกล่าวถูกสร้างขึ้นเมื่อ 1,000 ปีก่อนคริสตกาล ภายในโพรงหินมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผา ลูกปัดโบราณ เครื่องสำริดและเครื่องมือหิน สะท้อนให้เห็นถึงพิธีกรรมงานศพของคนเกาหลีในยุคสำริด [7]
พื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งคย็องจู   จังหวัดคย็องซังเหนือ   เกาหลีใต้
35°47′20″N 129°13′36″E / 35.78889°N 129.22667°E / 35.78889; 129.22667 (Gyeongju Historic Areas)
วัฒนธรรม:
(ii), (iii)
2,880 (7,100); พื้นที่กันชน 350 (860) 2543/2000 พื้นที่บริเวณรอบนอกของเมืองคย็องจูยังคงเหลือร่องรอยประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคสมัยชิลลา หรือราวช่วง 57 ปีก่อนคริสตกาลจนถึง ค.ศ.935 ในฐานะราชธานีเก่า ประกอบด้วยซากวังเก่า หอดูดาวช็อมซ็องแด ป่ากเยริม ภาพแกะสลักพระพุทธรูปเขานัมซาน ซากวัดโบราณและสุสานอาชาสวรรค์ สะท้อนให้เห็นถึงถึงงานศิลปะและสถาปัตยกรรมในยุคสมัยชิลลาที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน [8]
สุสานหลวงราชวงศ์โชซ็อน   จังหวัดคย็องกี และโซล   เกาหลีใต้
37°11′50″N 128°27′10″E / 37.19722°N 128.45278°E / 37.19722; 128.45278 (Royal Tombs of the Joseon Dynasty)
วัฒนธรรม:
(iii), (iv), (vi)
1,891 (4,670); พื้นที่กันชน 4,660 (11,500) 2552/2009 ประกอบไปด้วยหลุมฝังศพของกษัตริย์ พระมเหสี และพระบรมราชานุวงศ์ตระกูลอีในราชวงศ์โชซ็อนตั้งแต่ปี ค.ศ.1408-1966 จำนวน 40 แห่งซึ่งกระจายตัวอยู่ในภาคกลางของเกาหลีใต้ ตัวสุสานมีการออกแบบผังการวางตำแหน่งของหลุมฝังศพรวมไปถึงภูมิทัศน์โดยรอบตามหลักขงจื๊อ โดยเน้นไปที่หลักความเชื่อโลกหลังความตายอันเป็นวัฒนธรรมความเชื่อที่มีอิทธิพลในภูมิภาคเอเชียตะวันออก [9]
หมู่บ้านประวัติศาสตร์ฮาฮเวและยังดง   จังหวัดคย็องซังเหนือ   เกาหลีใต้
36°32′21″N 128°31′0″E / 36.53917°N 128.51667°E / 36.53917; 128.51667 (Historic Villages of Korea: Hahoe and Yangdong)
วัฒนธรรม:
(iii), (iv)
600 (1,500); พื้นที่กันชน 885 (2,190) 2553/2010 หมู่บ้านฮาฮเวและหมู่บ้านยังดงเป็นหลักฐานที่แสดงถึงวัฒนธรรมสมัยโชซ็อนทั้งในด้านศิลปะ สถาปัตยกรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 14-15 รวมไปถึงสิ่งก่อสร้างเก่าแก่หลายแห่ง เช่น บ้านหลังคามุงฟางของชาวบ้านในพื้นที่ ศาลา ตำหนักเรียน สถาบันขงจื๊อ เป็นต้น รวมไปถึงเป็นสถานที่ที่ถูกอ้างอิงในบทประพันธ์ต่างๆ ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-18 [10]
นัมฮันซันซ็อง   จังหวัดคย็องกี   เกาหลีใต้
วัฒนธรรม:
(ii), (iv)
2557/2014 นัมฮันซันซ็องถูกออกแบบมาเพื่อเป็นเมืองหลวงสำหรับกรณีฉุกเฉินในราชวงศ์โชซ็อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 สามารถรองรับคนได้ถึง 4,000 คนสำหรับจัดการการบริหารบ้านเมืองและการทหาร เมืองแห่งนี้จึงเป็นการรวมแนวคิดด้านวิศวกรรมกองทัพที่ได้อิทธิพลมาจากจีนและญี่ปุ่น รวมถึงการพัฒนาการทางด้านสังคมและวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าจนกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งอธิปไตยของเกาหลีใต้|[11]
พื้นที่ประวัติศาสตร์แพ็กเจ   จังหวัดชุงช็องใต้ และ

ช็อลลาเหนือ   เกาหลีใต้

วัฒนธรรม:
(ii), (iii)
2558/2015 พื้นที่บริเวณภาคตะวันตกของประเทศมีการพบโบราณสถานในช่วงยุคปลายของอาณาจักรแพ็กเจอันเป็นหนึ่งในอาณาจักรสำคัญของคาบสมุทรเกาหลีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5-7 ประกอบด้วยโบราณสถาน 8 แห่งในเขตพื้นที่ซึ่งในอดีตเป็นที่ตั้งของอดีตเมืองหลวงสมัยอาณาจักรแพ็กเจ ทั้งป้อมปราการ กำแพงเมืองโบราณ ซากวังเก่า หลุมพระบรมศพ และวัดพุทธ แสดงให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องมาจนถึงยุครวมแผ่นดิน [12]
ซันซา พุทธอารามบนภูเขาในเกาหลี     เกาหลีใต้
วัฒนธรรม:
(iii)
2561/2018 คำว่า “ซันซา“ เกิดจากคำสองคำรวมกันระหว่าง “ซัน“ (ภูเขา) และ “ซา“ (วัด) จึงมีความหมายว่า “วัดภูเขา“ ประกอบด้วยวัดพุทธมหายานที่ก่อสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 7-9 จำนวน 7 แห่ง โดยวัดหลายแห่งถูกทำลายจากการรุกรานของญี่ปุ่นแต่ก็ได้มีการบูรณะสร้างใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17-19 ภายในตัววัดยังคงหลงเหลือศิลปะพระพุทธศาสนาอันเก่าแก่แต่ได้รับการทำนุบำรุงอย่างดีทั้งพระพุทธรูป เจดีย์หิน ภาพจิตรกรรม และสถาปัตยกรรมท้องถิ่น [13]
ซอว็อน สถานศึกษาลัทธิขงจื๊อใหม่แห่งเกาหลี     เกาหลีใต้
วัฒนธรรม:
(iii)
102.49; พื้นที่กันชน 796.74 2562/2019 ซอว็อนเป็นชื่อเรียกสถานศึกษาในยุคสมัยโชซ็อนช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ประกอบด้วยโรงเรียนและศาลเจ้าลัทธิขงจื๊อรวมเข้าด้วยกัน โดยส่วนที่เป็นโรงเรียนถูกใช้เป็นสถานศึกษาสำหรับชายหนุ่มที่ต้องการสอบเข้าราชสำนัก ซอว็อนถือได้ว่าเป็นสถานศึกษาที่มีอิทธิพลในคาบสมุทรเกาหลีจากการผลิตบัณฑิตอันทรงปัญญาและพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับลัทธิขงจื๊อ โดยซอว็อนที่ถูกขึ้นทะเบียนมีทั้งหมด 9 แห่งซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในเขตภูเขาทางตอนใต้ของประเทศ [14]
มูนดินฝังศพคายา   จังหวัดคย็องซังใต้ จังหวัดคย็องซังเหนือ จังหวัดช็อลลาเหนือ  เกาหลีใต้
วัฒนธรรม:
(iii)
189 2566/2023 ภายในสุสานสมัยอาณาจักรคายา 7 แห่งที่ถูกค้นพบในภาคใต้ของประเทศมีการทำเนินดินครอบหลุมศพขึ้นมา โดยตัวสุสานทั้งเจ็ดตั้งอยู่ในหัวเมืองคนละเขตแม้จะอยู่ภายใต้อาณาจักรเดียวกัน ภายในหลุมศพมีการค้นพบเครื่องปั้นดินเผาอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะรวมไปถึงอาวุธเหล็กจากหัวเมืองอื่น แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการค้ากับอาณาจักรใกล้เคียงและเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญของอารยธรรมโบราณในเอเชียตะวันออก [15]

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ

แก้
*หมายเหตุ: ระบุชื่อสถานที่ตามที่ขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
สถานที่ ภาพ ที่ตั้ง ประเภท พื้นที่
ha (acre)
ปี (พ.ศ./ค.ศ.) หมายเหตุ อ้างอิง
เกาะภูเขาไฟเชจูและอุโมงค์ลาวา   จังหวัดเชจู   เกาหลีใต้
33°28′8″N 126°43′13″E / 33.46889°N 126.72028°E / 33.46889; 126.72028 (Jeju Volcanic Island and Lava Tubes)
ธรรมชาติ:
(vii), (viii)
9,475 (23,410); พื้นที่กันชน 9,371 (23,160) 2550/2007 เกาะเชจูเป็นเกาะที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟใต้ทะเลเมื่อสองล้านปีที่แล้ว ก่อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางธรณีก่อให้เกิดภูมิลักษณ์ที่แตกต่างจากแผ่นดินใหญ่ ประกอบด้วยเครือข่ายอุโมงค์ลาวาที่เกิดจากการไหลตัวของลาวาและแม็กมาเมื่อ 300,000-100,000 ปีที่แล้ว ภูเขาไฟฮัลลาซานซึ่งเป็นภูเขาไฟรูปโล่แห่งเดียวในเกาหลีใต้และเป็นแหล่งสร้างความอุดมสมบูรณ์ในระบบนิเวศของเกาะ และภูเขาไฟซองซาน อิลชุบงซึ่งเกิดการระเบิดเมื่อ 100,000 ปีที่แล้วจนเกิดเป็นทัศนียภาพที่แปลกตา [16]
แค็ดบ็อล ที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึงของเกาหลี   จังหวัดชุงช็องใต้ จังหวัดช็อลลาเหนือ จังหวัดช็อลลาใต้  เกาหลีใต้
ธรรมชาติ:
(x)
128,411; พื้นที่กันชน 74,592 2564/2021 พื้นที่บริเวณริมชายฝั่งตะวันตกทอดยาวจนถึงภาคใต้ของเกาหลีใต้ประกอบไปด้วยพื้นที่ลุ่มราบน้ำขึ้นถึงที่มีลักษณะเป็นโคลนตมจำนวน 4 แห่ง เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ตั้งแต่นกที่บินอพยพมาจากทางเหนืออย่างนกชายเลนปากช้อน สัตว์ทะเลประเภทกุ้ง หอย หมึกอย่างหมึกเกาหลีและปูก้ามดาบ ไปจนถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอย่างไส้เดือนทะเลและหอยเกลียวทะเลเหลือง [17]

สถานที่ที่ได้ขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น

แก้

ประเทศเกาหลีใต้มีสถานที่ที่ได้รับขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เพื่อพิจารณาเป็นมรดกโลกในอนาคตทั้งสิ้น 12 แห่ง[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "World Heritage Properties in South Korea". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.
  2. "Haeinsa Temple Janggyeong Panjeon, the Depositories for the Tripitaka Koreana Woodblocks". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  3. "Jongmyo Shrine". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  4. "Seokguram Grotto and Bulguksa Temple". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  5. "Changdeokgung Palace Complex". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  6. "Hwaseong Fortress". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  7. "Gochang, Hwasun and Ganghwa Dolmen Sites". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  8. "Gyeongju Historic Areas". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  9. "Royal Tombs of the Joseon Dynasty". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  10. "Historic Villages of Korea: Hahoe and Yangdong". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  11. "Namhansanseong". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  12. "Baekje Historic Areas". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  13. "Sansa, Buddhist Mountain Monasteries in Korea". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2018.
  14. "Seowon, Korean Neo-Confucian Academies". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2019.
  15. "Gaya Tumuli". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2023.
  16. "Jeju Volcanic Island and Lava Tubes". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2015.
  17. "Getbol, Korean Tidal Flats". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้