เตงจี๋ (ค.ศ. 178 - 251)[a][2][1] มีชื่อภาษาจีนกลางว่า เติ้ง จือ (จีน: 鄧芝) ชื่อรอง ปั๋วเหมียว (จีน: 伯苗) เป็นขุนนางราชสำนัก นักการทูต และขุนพลของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน สืบเชื้อสายจากเตงอู (เติ้ง ยฺหวี่) ขุนพลของจักรพรรดิฮั่นกองบู๊ เตงจี๋เริ่มรับราชการในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกโดยอยู่ภายใต้ขุนศึกเล่าปี่ มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ระดับล่างที่อำเภอผี หลังเล่าปี่พบว่าเตงจี๋เป็นผู้มีความสามารถ เตงจี๋จึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นนายอำเภอของอำเภอผีและภายหลังเป็นเจ้าเมืองของเมืองก๋งฮานและราชเลขาธิการตามลำดับ ในปี ค.ศ. 223 ผู้สำเร็จราชการจูกัดเหลียงส่งเตงจี๋ในฐานะทูตของจ๊กก๊กไปพบซุนกวนผู้ปกครองของง่อก๊กอันเป็นรัฐพันธมิตรของจ๊กก๊ก และฟื้นคืนความเป็นพันธมิตรระหว่างจ๊กก๊กและง่อก๊กเพื่อต่อต้านวุยก๊กอันเป็นรัฐอริร่วม เตงจี๋ปฏิบัติภารกิจสำเร็จและได้รับการยกย่องจากซุนกวนในเรื่องที่ช่วยเสริมสร้างสัมพันธไมตรีระหว่างง่อก๊กและจ๊กก๊ก ในปี ค.ศ. 227 เตงจี๋กลายเป็นขุนพลและเข้าร่วมในการบุกวุยก๊กโดยจ๊กก๊กครั้งแรก ร่วมกับจูล่งนำกองรบล่อเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของโจจิ๋นขุนพลวุยก๊ก แม้ว่าเตงจี๋และจูล่งจะพ่ายแพ้ในยุทธการ แต่ทั้งคู่ก็สามารถรวบรวมกำลังป้องกันอย่างแน่นหนาระหว่างการล่าถอยและลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด หลังจูกัดเหลียงเสียชีวิตในปี ค.ศ. 234 เตงจี๋ขึ้นมามีตำแหน่งขุนพลระดับสูงและประจำอยู่บริเวณที่เป็นนครฉงชิ่งในปัจจุบัน เป็นเวลาราว 10 ปีก่อนจะถูกเรียกตัวกลับเซงโต๋นครหลวงของจ๊กก๊กด้วยวัยราว 70 ปีเพื่อรับตำแหน่งเป็นขุนพลทหารรถรบและทหารม้า ในปี ค.ศ. 248 เตงจี๋ปราบปรามกบฏในเมืองฝูหลิง (บริเวณอำเภอเผิงฉุ่ย นครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เตงจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 251

เตงจี๋ (เติ้ง จือ)
鄧芝
รูปปั้นของเตงจี๋ในศาลจูกัดเหลียงในนครเฉิงตู มณฑลเสฉวน
ขุนพลทหารรถรบและทหารม้า (車騎將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 243 (243) – ค.ศ. 251 (251)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ข้าหลวงมณฑลกุนจิ๋ว (兗州刺史)
(ในนาม)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 243 (243)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ขุนพลทัพหน้า (前將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 243 (243)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
เสนาธิการทัพหน้า (前軍師)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 234 (234) – ค.ศ. 243 (243)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
ขุนพลเชิดชูยุทธ
(揚武將軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ผู้ดูแลทหารส่วนกลาง (中監軍)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 227 (227) – ค.ศ. 234 (234)
กษัตริย์เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
ราชเลขาธิการ (尚書)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ป. 221 (ป. 221) – ค.ศ. 227 (227)
กษัตริย์เล่าปี่ / เล่าเสี้ยน
หัวหน้ารัฐบาลจูกัดเหลียง
เจ้าเมืองก๋งฮาน (廣漢太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ป. 221 (ป. 221)
นายอำเภอผี (郫令)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ป. 214 (ป. 214) – ค.ศ. ? (?)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด178[1]
อำเภอซินเหย่ มณฑลเหอหนาน
เสียชีวิต251 (73 ปี)[2]
ที่ไว้ศพอำเภอจื่อถง มณฑลเสฉวน
บุตรเติ้ง เหลียง
บุพการี
  • เจิ้ง เทียนเชิง (มารดา)
ญาติเตงอู (บรรพบุรุษ)
อาชีพขุนนาง นักการทูต ขุนพล
ชื่อรองปั๋วเหมียว (伯苗)
บรรดาศักดิ์หยางอู่ถิงโหฺว
(陽武亭侯)
รูปเตงจี๋จากเกม Romance Of The Three Kingdoms XI

ชีวประวัติช่วงต้น แก้

เตงจี๋เกิดในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ในอำเภอซินเอี๋ย (新野縣 ซินเหย่เซี่ยน) เมืองงีหยง (義陽郡 อี๋หยางจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอซินเหย่ มณฑลเหอหนาน สืบเชื้อสายจากเตงอู (鄧禹 เติ้ง ยฺหวี่) ขุนพลของจักรพรรดิฮั่นกองบู๊ (漢光武帝 ฮั่นกวางอู่ตี้) ในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นตะวันออก[4]

ในช่วงปลายยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เตงจี๋ย้ายไปมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ที่เอ๊กจิ๋วเตงจี๋ไม่เป็นที่รู้จักในหมู่คนท้องถิ่นมากนัก จึงตัดสินใจไปปรึกษาจาง ยฺวี้ ขุนนางระดับล่างในเอ๊กจิ๋วซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะหมอดู จาง ยฺวี้บอกเตงจี๋ว่า "เมื่อท่านอายุมากกว่าเจ็ดสิบ ท่านจะขึ้นมามีตำแหน่งเป็นมหาขุนพล และได้รับบรรดาศักดิ์โหฺว"[5]

ภายหลังเตงจี๋ได้ยินว่าบังยี่ เจ้าเมืองปาเส (巴西郡 ปาซีจฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครล่างจง มณฑลเสฉวน) มีชื่อเสียงในเรื่องการเลี้ยงผู้ติดตาม จึงเดินทางไปหาและกลายเป็นหนึ่งในผู้ติดตามของบังยี่[6][3]

รับใช้เล่าปี่ แก้

เดินทางไปง่อก๊กในฐานะทูตของจ๊กก๊ก แก้

ระหว่างเดือนสิงหาคม ค.ศ. 221 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 222 เล่าปี่นำทัพเข้ารบกับซุนกวนอดีตพันธมิตรผู้ทำลายความเป็นพันธมิตรในปี ค.ศ. 219 โดยการยึดอาณาเขตของเล่าปี่ทางใต้ของมณฑลเกงจิ๋วและประหารชีวิตกวนอูขุนพลคนสำคัญคนหนึ่งของเล่าปี่ อย่างไรก็ตาม เล่าปี่กลับเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ยับเยินต่อทัพซุนกวนในยุทธการที่อิเหลง[7]

ก่อนเล่าปี่สวรรคตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 223[8] ซุนกวนพยายามสงบศึกกับเล่าปี่หลังยุทธการที่อิเหลง เล่าปี่จึงส่งซ่ง เหว่ย์ (宋瑋) และบิฮุยเป็นผู้แทนพระองค์ไปพบกับซุนกวนและตกลงสงบศึก[9] หลังการสวรรคตของเล่าปี่ จูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการของเล่าเสี้ยนพระโอรสและผู้สืบราชบัลลังก์ของเล่าปี่ เนื่องจากเวลานั้นเล่าเสี้ยนยังทรงพระเยาว์[8]

เมื่อจูกัดเหลียงกลัวว่าซุนกวนจะทำลายสัญญาสงบศึก จึงยังไม่แน่ใจว่าจะทำการประการใด[10] เตงจี๋มาเข้าพบจูกัดเหลียงและบอกว่า "ฝ่าบาทยังทรงพระเยาว์และอ่อนแอ พระองค์เพิ่งขึ้นครองบัลลังก์ เราควรส่งทูตไปง่อเพื่อฟื้นความสัมพันธ์ฉันมิตรกับง่อขึ้นใหม่" จูกัดเหลียงตอบว่า "ข้าก็คิดเรื่องนี้มานานแล้วแต่ยังไม่พบผู้เหมาะสมที่จะทำหน้าที่นี้ บัดนี้ข้าพบผู้เหมาะสมแล้ว" เตงจี๋ถามว่าใครคือผู้ที่จูกัดเหลียงเห็นว่าเหมาะสม จูกัดเหลียงตอบว่า "เป็นท่านนั่นเอง" จึงตั้งให้เตงจี๋เป็นทูตของจ๊กก๊กไปยังง่อก๊กเพื่อพบซุนกวน[11]

การเดินทางไปง่อก๊กครั้งแรก แก้

เมื่อเตงจี๋เดินทางมาถึงง่อก๊ก ซุนกวนปฏิเสธที่จะให้เตงจี๋เข้าพบ เตงจี๋จึงเขียนฎีกาถึงซุนกวนว่า "กระหม่อมมาที่นี่วันนี้ไม่เพียงเพื่อประโยชน์ของจ๊ก แต่เพื่อประโยชน์ของง่อด้วย"[12] ซุนกวนจึงให้เตงจี๋เข้าเฝ้าและตรัสว่า "ข้าปรารถนาโดยแท้ที่จะผูกพันธมิตรกับจ๊ก แต่ข้ากังวลว่าเจ้าผู้ครองจ๊กยังเยาว์วัยและอ่อนแอ จ๊กเองก็เล็กและอ่อนแอถึงขั้นไม่อาจช่วยตัวเองจะการถูกพิชิตโดยวุย นั่นจึงเป็นเหตุที่ทำให้ข้าต้องไตร่ตรองใหม่"[13]

เตงจี๋ตอบว่า

"ง่อและจ๊กสองรัฐครอบคลุมสี่มณฑล ในขณะที่ฝ่าบาทเป็นวีรบุรุษของยุค จูกัดเหลียงก็เป็นวีรบุรุษของยุคเช่นกัน จ๊กมีเขาสูงเป็นปราการธรรมชาติ ในขณะที่ง่อมีแม่น้ำเป็นแนวป้องกันธรรมชาติ หากเราใช้ข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์นี้ร่วมกันและสานสัมพันธไมตรีต่อกัน เราก็สามารถพิชิตดินแดนที่บุกเข้าไป เรายังสามารถตั้งมั่นอยู่ได้หากเราถอย นี่เป็นวิถีธรรมชาติของสรรพสิ่ง หากฝ่าบาททรงเห็นด้วยที่จะส่งพระโอรสไปเป็นตัวประกันที่วุย วุยก็จะเรียกพระองค์ไปยังราชสำนักหรือขอรัชทายาทของพระองค์ไปรับใช้วุย หากฝ่าบาทปฏิเสธ วุยก็ใช้เรื่องนี้เป็นข้ออ้างถือว่าฝ่าบาทเป็นกบฏและเข้าโจมตีฝ่าบาท หากเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว จ๊กก็จะตามร่วมผสมโรงชิงทุกสิ่งทุกอย่างที่ชิงได้จากฝ่าบาท แผ่นดินกังหนำก็จะไม่ใช่ของฝ่าบาทอีกต่อไป"[14]

ซุนกวนไตร่ตรองเป็นเวลานานก่อนจะตรัสตอบว่า "ท่านพูดถูก" จึงตัดสินใจตัดความสัมพันธ์กับวุยก๊ก และสานความเป็นพันธมิตรกับจ๊กก๊ก แล้วจึงตั้งให้เตียวอุ๋นเป็นทูตเดินทางไปกับเตงจี๋กลับไปยังจ๊กก๊ก[15] เตงจี๋ยังเจรจาขอตัวเตียวอี้กลับคืนมา ซึ่งก่อนหน้านี้เตียวอี้ถูกจับระหว่างการก่อการกำเริบโดยคนท้องถิ่นในภูมิภาคหนานจงที่นำโดยยงคีและส่งตัวไปยังง่อก๊ก[16]

การเดินทางไปง่อก๊กครั้งที่สอง แก้

การบุกวุยก๊กโดยจ๊กก๊กครั้งแรก แก้

รักษากังจิวและสยบฝูหลิง แก้

เสียชีวิต แก้

เตงจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 251[2] ขณะอายุ 74 ปี (ตามการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1] ศพถูกฝังในตำแหน่งทางตะวันตกเฉียงใต้ 5 ลี้ ของอำเภอจื่อถง มณฑลเสฉวน[17]

ครอบครัว แก้

คำวิจารณ์ แก้

ในนิยายสามก๊ก แก้

หมายเหตุ แก้

  1. Rafe de Crespigny เขียนผิดในหนังสือ A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD (พจนานุกรมชีวประวัติบุคคลราชวงศ์ฮั่นยุคหลังถึงยุคสามก๊ก ค.ศ. 23-220) ว่าเตงจี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 250[3]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Cihai, 6th edition (2009–10) Collectors' edition (辞海 第六版 典藏本) (ISBN 978-7-5326-3353-1/N.68)
  2. 2.0 2.1 2.2 ([延熈]十四年卒。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  3. 3.0 3.1 de Crespigny (2007), p. 137.
  4. (鄧芝字伯苗,義陽新野人,漢司徒禹之後也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  5. (漢末入蜀,未見知待。時益州從事張裕善相,芝往從之,裕謂芝曰:「君年過七十,位至大將軍,封侯。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  6. (芝聞巴西太守龐羲好士,往依焉。) Sanguozhi vol. 45.
  7. Sima (1084), vols. 68-69.
  8. 8.0 8.1 Sima (1084), vol. 70.
  9. (先主薨於永安。先是,吳王孫權請和,先主累遣宋瑋、費禕等與相報荅。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  10. (丞相諸葛亮深慮權聞先主殂隕,恐有異計,未知所如。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  11. (芝見亮曰:「今主上幼弱,初在位,宜遣大使重申吳好。」亮荅之曰:「吾思之乆矣,未得其人耳,今日始得之。」芝問其人為誰,亮曰:「即使君也。」乃遣芝脩好於權。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  12. (權果狐疑,不時見芝,芝乃自表請見權曰:「臣今來亦欲為吳,非但為蜀也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  13. (權乃見之,語芝曰:「孤誠願與蜀和親,然恐蜀主幼弱,國小勢偪,為魏所乘,不自保全,以此猶豫耳。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  14. (芝對曰:「吳、蜀二國四州之地,大王命世之英,諸葛亮亦一時之傑也。蜀有重險之固,吳有三江之阻,合此二長,共為脣齒,進可并兼天下,退可鼎足而立,此理之自然也。大王今若委質於魏,魏必上望大王之入朝,下求太子之內侍,若不從命,則奉辭伐叛,蜀必順流見可而進,如此,江南之地非復大王之有也。」) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  15. (權默然良乆曰:「君言是也。」遂自絕魏,與蜀連和,遣張溫報聘於蜀。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  16. 會先主薨,諸葛亮遣鄧芝使吳,亮令芝言次可從權請裔。裔自至吳數年,流徙伏匿,權未之知也,故許芝遣裔。จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 40.
  17. (蜀漢鄧芝墓,縣西南五里,有二石闕,南陽人,仕蜀為車騎將軍。) บันทึกอำเภอจื่อถงจากศักราชเสียนเฟิง (咸豐梓潼縣志).