ดาวกัปไตน์ (อังกฤษ: Kapteyn's Star) เป็นดาวฤกษ์แคระแดงคลาส M1 อยู่ห่างกลุ่มดาวขาตั้งภาพไปทางตอนใต้ประมาณ 13 ปีแสงจากโลก มีความส่องสว่างปรากฏที่ระดับ 9 สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์.[3]

Kapteyn's Star
ดาวกัปไตน์แสดงในจุดสีแดง ในแผนที่ดาวของกลุ่มดาวขาตั้งภาพ
ข้อมูลสังเกตการณ์
ต้นยุคอ้างอิง J2000      วิษุวัต J2000
กลุ่มดาว Pictor
ไรต์แอสเซนชัน 05h 11m 40.58112s[1]
เดคลิเนชัน -45° 01′ 06.2899″[1]
ความส่องสว่างปรากฏ (V) 8.853[2]
คุณสมบัติ
ชนิดสเปกตรัมsdM1[2]
ดัชนีสี U-B+1.21[3]
ดัชนีสี B-V+1.57[3]
ชนิดดาวแปรแสงBY Dra[4]
มาตรดาราศาสตร์
ความเร็วแนวเล็ง (Rv)+245.2[5] km/s
การเคลื่อนที่เฉพาะ (μ) RA: +6,505.08[1] mas/yr
Dec.: -5,730.84[1] mas/yr
พารัลแลกซ์ (π)255.66 ± 0.91[1] mas
ระยะทาง12.76 ± 0.05 ly
(3.91 ± 0.01 pc)
รายละเอียด
มวล0.274[6] M
รัศมี0.291 ± 0.025[7] R
แรงโน้มถ่วงที่พื้นผิว (log g)4.96[6]
อุณหภูมิ3,570[6] K
ความเร็วในการหมุนตัว (v sin i)9.15[8] km/s
ชื่ออื่น
VZ Pictoris, GJ 191, HD 33793, CD-45°1841, CP(D)-44°612, SAO 217223, LHS 29, LTT 2200, LFT 395, GCTP 1181, HIP 24186.[3]
ฐานข้อมูลอ้างอิงอื่น
SIMBADdata

ประวัติ แก้

ดาวฤกษ์ที่ต่อมาได้ชื่อว่าดาวกัปไตน์ ได้รับการจัดหมวดหมู่โดยนักดาราศาสตร์ชาวดัดช์ชื่อยาโกบึส กัปไตน์ ในปี ค.ศ. 1889[9] เมื่อเขาตรวจสอบผังดวงดาวและแผ่นถ่ายรูป เขาพบดาวดวงที่มีลักษณะการเคลื่อนที่เฉพาะกว่า 8 ลิปดาต่อไป ดาวดังกล่าวได้ชื่อต่อมาว่าดาวกัปไตน์เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ[10] ในยุคนั้นดาวดังกล่าวเป็นดาว์ที่มีระดับการเคลื่อนที่เฉพาะสูงที่สุด รองลงมาคือกรูมบริดจ์ 1830 ต่อมาใน ค.ศ. 1916 เมื่อมีการค้นพบดาวเบอร์นาร์ด[11] ลำดับการเคลื่อนที่เฉพาะสูงสุดของดาวกัปไตน์ก็ตกลงไป แต่ยังคงอันดับสองในลำดับดังกล่าวอยู่[6][10] ในปี ค.ศ. 2014 มีการประกาศว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบซูเปอร์เอิร์ธในบริเวณวงโคจรของดาวดังกล่าว[12]

ลักษณะจำเพาะ แก้

โดยอาศัยการวัดพารัลแลกซ์ของดาวเทียมวัดการเคลื่อนที่ฮิปปาคอส[1] ดาวกัปไตน์มีระยะห่าง 12.76 ปีแสง (3.91 พาร์เซก) จากโลก[1] เมื่อ 10,800 ปีก่อนดาวกัปไตน์เคลื่อนเข้ามาอยู่ในระยะ 7.00 ปีแสง (2.15 พาร์เซก) จากดวงอาทิตย์ และได้เคลื่อนออกไปนับแต่นั้น[13] มีมวลอยู่ระหว่างหนึ่งในสี่ถึงหนึ่งในสามของมวลดวงอาทิตย์ แต่มีความเย็นกว่ามากที่อุณหภูมิ 3,500 องศาเคลวิน ทั้งนี้ผู้สังเกตต่างคนให้ระยะการวัดไม่ตรงกัน[6] มีการจัดประเภทดาวฤกษ์ไว้ที่ sdM1[2] ซึ่งแสดงว่าดาวดังกล่าวเป็นดาวแคระย่อยที่มีความสว่างน้อยกว่าดาวในแถบลำดับหลักในชนิดคลื่นรังสีเดียวกับ M1 เมื่ออาศัยการวัดความเป็นโลหะจะพบว่าดาวนี้มีสัดส่วนโลหะอยู่ 14% เทียบกับดวงอาทิตย์[14][15] ดาวกัปไตน์เป็นดาวแปรแสงประเภท BY Draconis และถูกขนานนามในชื่อ VZ Pictoris ซึ่งหมายความว่าความสว่างของดาวอาจเปลี่ยนไปได้ตามกิจกรรมบนสนามแม่เหล็กของดาวฤกษ์ในชั้นโครโมสเฟียร์ รวมถึงการหมุนรอบตัวเอง ทำให้จุดมืดของดาวอยู่ในระยะที่อาจมองเห็นหรือไม่เห็นจากโลก[4]

ดาวกัปไตน์มีลักษณะเฉพาะบางประการ เช่น มีการเคลื่อนที่เฉพาะสูง[10] วงโคจรถอยหลังจากทางช้างเผือก[6] และเป็นดาวกลดที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด[16] รวมทั้งยังเป็นหนึ่งในกลุ่มดาวฤกษ์จลนศาสตร์กัปไตน์ที่มีวิถีโคจรในอวกาศร่วมกัน[17] โดยอาศัยการวัดความเป็นโลหะ เชื่อได้ว่าดาวกัปไตน์น่าจะเคยเป็นส่วนหนึ่งของโอเมกาคนครึ่งม้า ซึ่งเป็นกระจุกดาวทรงกลมที่น่าจะเป็นเศษเล็กเศษน้อยของดาราจักรแคระที่มารวมกับทางช้างเผือก ในขั้นตอนดังกล่าวดาวในกลุ่มนี้รวมทั้งดาวกัปไตน์น่าจะหลุดออกไปเป็นคลื่นเศษซากของดาราจักร[6][18][19]

ความเกี่ยวพันกับโลก แก้

ในปี ค.ศ. 2014 มีการประกาศว่าดาวกัปไตน์เป็นบริเวณที่ซูเปอร์เอิร์ธสองดวงคือ กัปไตน์ b และกัปไตน์ c ลอยอยู่ โดยกัปไตน์ b ที่มีอายุ 11,000 ล้านปี[12] เป็นดาวที่เก่าแก่ที่สุดที่อยู่อาศัยได้เท่าที่มีการค้นพบ โดยเมื่อเทียบอัตราส่วนกันแล้วดาวดังกล่าวมีขนาดประมาณ 5:2 แต่ยังไม่สามารถยืนยันเรโซแนนซ์ได้ อาศัยการรวมตัวของพลังงานของดาวพบว่า[12] ดาวทั้งสองอยู่ในสภาวะมีพลังที่เรียกว่า apsidal co-rotation ซึ่งเป็นการอนุมานได้ว่าดาวดังกล่าวมีพลังงานคงที่เป็นเวลานาน[20] ในการค้นพบครั้งนี้ อลาสแต เรย์โนลด์ ได้แต่งเรื่องสั้นไซไฟชื่อ Sad Kapteyn ประกอบด้วย[21]

ระบบดาวเคราะห์ กัปไตน์
ดาวเคราะห์
(ตามลำดับจากดาว)
มวล กึ่งแกนเอก
(AU)
คาบการโคจร
(day)
ความเยื้องศูนย์กลาง ความเอียงของวงโคจร รัศมี
b >4.5 M 0.168  ± 0.005 48.616 ± 0.036 <0.4
c >7.0 M 0.311  ± 0.02 121.53 ± 0.25 <0.4

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 van Leeuwen, F. (November 2007), "Validation of the new Hipparcos reduction", Astronomy and Astrophysics, 474 (2): 653–664, arXiv:0708.1752, Bibcode:2007A&A...474..653V, doi:10.1051/0004-6361:20078357.
  2. 2.0 2.1 2.2 Koen, C.; และคณะ (April 2010), "UBV(RI)C JHK observations of Hipparcos-selected nearby stars", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 403 (4): 1949–1968, Bibcode:2010MNRAS.403.1949K, doi:10.1111/j.1365-2966.2009.16182.x
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 "V* VZ Pic -- Variable Star", SIMBAD, Centre de Données astronomiques de Strasbourg, สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
  4. 4.0 4.1 "VZ Pic", General Catalogue of Variable Stars, Sternberg Astronomical Institute, Moscow, Russia, สืบค้นเมื่อ 2009-10-14
  5. Nordström, B.; และคณะ (May 2004), "The Geneva-Copenhagen survey of the Solar neighbourhood. Ages, metallicities, and kinematic properties of ˜14 000 F and G dwarfs", Astronomy and Astrophysics, 418 (3): 989–1019, arXiv:astro-ph/0405198, Bibcode:2004A&A...418..989N, doi:10.1051/0004-6361:20035959
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Kotoneva, E.; และคณะ (2005), "A study of Kapteyn's star", Astronomy & Astrophysics, 438 (3): 957–962, Bibcode:2005A&A...438..957K, doi:10.1051/0004-6361:20042287.
  7. Demory, B.-O.; และคณะ (October 2009), "Mass-radius relation of low and very low-mass stars revisited with the VLTI", Astronomy and Astrophysics, 505 (1): 205–215, arXiv:0906.0602, Bibcode:2009A&A...505..205D, doi:10.1051/0004-6361/200911976
  8. Houdebine, E. R. (September 2010), "Observation and modelling of main-sequence star chromospheres - XIV. Rotation of dM1 stars", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 407 (3): 1657–1673, Bibcode:2010MNRAS.407.1657H, doi:10.1111/j.1365-2966.2010.16827.x
  9. Kapteyn, J. C. (1898), "Stern mit grösster bislang bekannter Eigenbewegung", Astronomische Nachrichten, 145 (9–10): 159–160, Bibcode:1897AN....145..159K, doi:10.1002/asna.18981450906.
  10. 10.0 10.1 10.2 Kaler, James B. (2002), "Kapteyn's Star", The Hundred Greatest Stars, Copernicus Books, pp. 108–109.
  11. Barnard, E. E. (1916), "A small star with large proper motion", Astronomical Journal, 29 (695): 181, Bibcode:1916AJ.....29..181B, doi:10.1086/104156.
  12. 12.0 12.1 12.2 Anglada-Escudé, Guillem; และคณะ (2014), Two planets around Kapteyn's star : a cold and a temperate super-Earth orbiting the nearest halo red-dwarf, arXiv:1406.0818
  13. Bobylev, Vadim V. (March 2010), "Searching for Stars Closely Encountering with the Solar System", Astronomy Letters, 36 (3): 220–226, arXiv:1003.2160, Bibcode:2010AstL...36..220B, doi:10.1134/S1063773710030060.
  14. Woolf, Vincent M.; Wallerstein, George (January 2005), "Metallicity measurements using atomic lines in M and K dwarf stars", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 356 (3): 963–968, arXiv:astro-ph/0410452, Bibcode:2005MNRAS.356..963W, doi:10.1111/j.1365-2966.2004.08515.x
  15. The abundance is given by taking the metallicity to the power of 10. From Woolf and Wallerstein (2005), [M/H] ≈ –0.86 dex. Thus:
    10–0.86 = 0.138
  16. Woolf, V. M.; Wallerstein, G. (2004), "Chemical abundance analysis of Kapteyn's Star", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 350 (2): 575–579, Bibcode:2004MNRAS.350..575W, doi:10.1111/j.1365-2966.2004.07671.x.
  17. Eggen, O. J. (December 1996), "The Ross 451 Group of Halo Stars", Astronomical Journal, 112: 2661, Bibcode:1996AJ....112.2661E, doi:10.1086/118210
  18. Wylie-de Boer, Elizabeth; Freeman, Ken; Williams, Mary (February 2010), "Evidence of Tidal Debris from ω Cen in the Kapteyn Group", The Astronomical Journal, 139 (2): 636–645, arXiv:0910.3735, Bibcode:2010AJ....139..636W, doi:10.1088/0004-6256/139/2/636
  19. "Backward star ain't from round here", New Scientist, November 4, 2009
  20. Michtchenko, Tatiana A.; และคณะ (August 2011), "Modeling the secular evolution of migrating planet pairs", Monthly Notices of the Royal Society, 415: 2275, arXiv:1103.5485, Bibcode:2011MNRAS.415.2275M{{citation}}: CS1 maint: date and year (ลิงก์)
  21. "Sad Kapteyn", Science fiction story released with the announcement of planetary system, Jun 4, 2014, สืบค้นเมื่อ 2014-06-04

บรรณานุกรม แก้

  • Luyten, W. J. (1927), "Note on the magnitude and spectrum of Kapteyn's star", Harvard College Observatory Bulletin, 843: 3–4, Bibcode:1927BHarO.843....3L.
  • MacConnell, D. J. (1973), "The spectrum and colors of Kapteyn's star", Bulletin of the American Astronomical Society, 5: 346, Bibcode:1973BAAS....5..346M.
  • Murdin, Paul, บ.ก. (2001), "Kapteyn's Star", Encyclopedia of Astronomy and Astrophysics, Bristol: Institute of Physics Publishing, doi:10.1888/0333750888/5156.
  • Perryman, Michael (2010), The Making of History's Greatest Star Map, Heidelberg: Springer-Verlag, doi:10.1007/978-3-642-11602-5.
  • Wing, R. F.; Dean, C. A.; MacConnell, D. J. (1976), "The temperature, luminosity, and spectrum of Kapteyn's star", The Astrophysical Journal, 205: 186–193, Bibcode:1976ApJ...205..186W, doi:10.1086/154263.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

พิกัด:   05h 11m 41s, −45° 01′ 06″