พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ (จีน: 上海科技馆; พินอิน: Shànghǎi kējì guǎn; ช่างไห่เคอจี้กว่าน; อังกฤษ: Shanghai Science and Technology Museum) เป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่ในเขตผู่ตง นครเซี่ยงไฮ้ ตั้งอยู่ใกล้กับสวนเซ็นจูรี สวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในเขตชั้นในของเมือง[3] เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้
上海科技馆
Shanghai Science and Technology Museum
มุมด้านนอกของพิพิธภัณฑ์
แผนที่
ก่อตั้ง18 ธันวาคม พ.ศ. 2544 [1]
ที่ตั้ง2000 ถนนเซ็นจูรี, ผู่ตง, เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน[2]
ประเภทพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ขนส่งมวลชนสถานี SSTM ของรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้สาย 2[2]
เว็บไซต์www.sstm.org.cn (ในภาษาจีน)
พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้
ภาษาจีน上海科技

ประวัติ แก้

 
ภาพการถ่ายภาพร่วมกันของคณะผู้นำประเทศในการประชุม APEC 2001 ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ (ในภาพ)ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย และประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐอเมริกา

จตุรัสเซ็นจูรี (Century Square) ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ. 1995) พร้อมกับแผนการสร้างพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้บนฝั่งตะวันตกของจตุรัส เพื่อเป็นโครงการสำคัญสำหรับการเผยแพร่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในภูมิภาคสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี[4][4]และในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ราชการฮฺวามู่ (Huamu Civic Center) พิพิธภัณฑ์จึงมีจุดมุ่งหมายอีกประการเพื่อช่วยผลักดันการพัฒนาพื้นที่เมืองอย่างต่อเนื่องในเขตผู่ตงใหม่ เพื่อให้มีการพัฒนานอกเหนือไปจากลู่เจียจุ่ยและย่านอื่นๆ ริมแม่น้ำหวงผู่ฝั่งตะวันออก พิพิธภัณฑ์แล้วเสร็จโดยเฉพาะส่วนหอประชุมใหญ่และห้องประชุมทันเวลาการเป็นเจ้าภาพการประชุมผู้นำเอเปกในวันที่ 20 และ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2544 โดยได้ต้อนรับเจียง เจ๋อหมิน ผู้นำสูงสุดของจีน, ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย และประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งโก๊ะ จ๊กตง นายกรัฐมนตรีของประเทศสิงคโปร์, จุนอิจิโร โคอิซูมิ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสร็จสิ้นการก่อสร้างในเฟสแรก และเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2544 หัวข้อการจัดแสดงในระยะเริ่มต้นคือ ความกลมกลืนของธรรมชาติ, มนุษยชาติ และเทคโนโลยี (จีน: 自然·人·科技; พินอิน: Zìrán, Rén, Kējì) และโถงนิทรรศการห้าห้องแรกจัดแสดง "สวรรค์และโลก", "ชีวิต", "ปัญญา", "ความคิดสร้างสรรค์" และ "อนาคต"

ระยะที่ 2 ของโครงการเปิดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2548 และเป็นพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งแรกที่ผ่านการรับรองคุณภาพ ISO 9000/14000 และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม[4][4]]][4] ในปี พ.ศ. 2553 มีผู้เข้าชม 19.5 ล้านคน[4][4]]][4] แม้ว่าในระหว่างเดือนมกราคม–พฤษภาคม พ.ศ. 2553 พื้นที่สำหรับเด็กและนิทรรศการแสงแห่งปัญญา (Light of Wisdom) ได้รับการปรับปรุง ซึ่งเป็นช่วงก่อนงานเอ็กซ์โป 2010 ที่จัดขึ้นในปีนั้น ภายหลังการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ได้รับการจัดอันดับสถานที่ท่องเที่ยวโดยคณะกรรมการจัดระดับคุณภาพสถานที่ท่องเที่ยวแห่งประเทศจีน (CNTA) จากระดับ AAAA เป็นระดับ AAAAA[5] และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 ประธานาธิบดีบารัค โอบามาของสหรัฐฯ ได้จัดการประชุมพบปะผู้บริหารระดับสูงกับนักศึกษาชาวเซี่ยงไฮ้ที่พิพิธภัณฑ์นี้ ระหว่างการเยือนอย่างเป็นทางการในฐานะรัฐอาคันตุกะ

การบริหาร แก้

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้ ไม่ใช่สถาบันในกำกับของรัฐโดยตรง แต่ภายใต้การบริหารของมูลนิธิภายใต้การบริหารรัฐกิจ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากธุรกิจเอกชนในเซี่ยงไฮ้ ซึ่งรวมถึงธนาคารเพื่อการพัฒนาผู่ตง, บรรษัทบริหารการลงทุนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้, ธุรกิจร่วมทุน Beijing Zhijin และ Top Group มูลนิธิฯ ยังดูแลพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์อื่นๆ ในเซี่ยงไฮ้ เช่น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติเซี่ยงไฮ้ และท้องฟ้าจำลองเซี่ยงไฮ้ที่เปิดใหม่ในปี 2563

สถาปัตยกรรม แก้

การออกแบบดั้งเดิมของพิพิธภัณฑ์ได้รับการจัดการโดย Creative Star Digital ซึ่งตั้งอยู่ในเซี่ยงไฮ้ โดยวางแผนไว้เพื่อการรองรับผู้เข้าชม 2–3 ล้านคนต่อปี มีมูลค่า 3.75 พันล้านหยวน (180 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ทางเดินหลักภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ถูกออกแบบให้เป็นทางลาดเกลียวห้าชั้น วัตถุประสงค์เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลูกแก้วขนาดมหึมาที่ตั้งอยู่ตรงกลางอาคาร แสดงถึงชีวิตที่เริ่มเกิดขึ้นจากน้ำ ครอบคลุมพื้นที่ 42 ไร่ (16.8 เอเคอร์) พื้นที่ใช้สอยรวม 98,000 ตารางเมตร (1,050,000 ตารางฟุต) พื้นที่ใช้จัดแสดง 65,500 ตารางเมตร (705,000 ตารางฟุต) ระบบปรับอากาศของพิพิธภัณฑ์ทำงานในระบบดิจิทัล ซึ่งครั้งหนึ่งระบบปรับอากาศที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนี้เคยได้รับการพิจารณาให้จัดแสดงเป็นนิทรรศการแยกต่างหาก

อาคารพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของศูนย์ราชการฮฺวามู่ ของผู่ตง ซึ่งช่วยนำร่องการพัฒนาที่ดินทางตอนใต้สุดของถนนสายหลักของย่าน (ถนนเซ็นจูรี; Century Avenue) ซึ่งพื้นที่ 250,000 ตารางเมตร (2,700,000 ตารางฟุต) ของจตุรัสเซ็นจูรีในบริเวณข้างพิพิธภัณฑ์ฯ ทางฝั่งเหนือ ประกอบด้วยแหล่งช็อปปิ้งใต้ดิน และสถานีรถไฟใต้ดิน และเมื่อรวมสวนเซ็นจูรี่พาร์คที่ตั้งอยู่ใกล้ ๆ แล้ว พื้นที่พัฒนาร่วมนี้ช่วยสร้างภาพลักษณ์ของย่านฮฺวามู่และส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยระดับหรูหราในบริเวณโดยรอบ

นิทรรศการ แก้

 
นักเปียโนหุ่นยนต์ ในนิทรรศการ โลกของหุ่นยนต์
 
ส่วนหนึ่งของนิทรรศการ บ้านบนโลก

การจัดแสดงและกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ทุ่มเทในการเผยแพร่วิทยาศาสตร์ โดยมีจุดมุ่งหมายในเรื่องความกลมกลืนของ "ธรรมชาติ มนุษยชาติ และเทคโนโลยี" ประกอบกับการออกแบบผังอาคารโดยรวม และการออกแบบการจัดแสดง มีนิทรรศการถาวรหลัก 14 แห่ง และโรงภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์ 4 โรง ห้องนิทรรศการชั่วคราว 2 ห้อง ได้แก่

  • สีสรรแห่งชีวิต (Spectrum of Life): นิทรรศการธรรมชาติที่จำลองทิวทัศน์ของมณฑลยูนนานและแสดงความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
  • สำรวจโลก (Earth Exploration)
  • บ่อเกิดแห่งการสร้างสรรค์ (Cradle of Design) ซึ่งผู้เข้าชมสามารถใช้ CAD/CAM เพื่อออกแบบและสร้างสิ่งละอันพันละน้อยได้
  • ดินแดนสายรุ้งของเด็ก (Children's Rainbow Land)
  • แสงแห่งปัญญา (Light of Wisdom)
  • บ้านบนโลก (Home of Earth)
  • ยุคสารสนเทศ (Information Era)
  • โลกของหุ่นยนต์ (World of Robots)
  • แสงแห่งการสำรวจ (Light of Exploration) เป็นนิทรรศการที่แสดงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ในศตวรรษที่ 20
  • มนุษย์กับสุขภาพ (Human and Health)
  • การนำทางสู่อวกาศ (Space Navigation)
  • โลกของสัตว์ (World of Animals)
  • นิทรรศการแมงมุม (Spider Exhibition)

ห้องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโบราณของจีน (The Chinese Ancient Science and Technology Gallery) จัดแสดงสิ่งประดิษฐ์และผลงานของจีนโบราณ ห้องนักสำรวจ (The Explorers' Gallery) นำเสนอนักสำรวจชาวจีนและชาวต่างชาติ ห้องนักนักวิชาการ (Academicians' Gallery) มีนักวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยจากประเทศจีนโดยเฉพาะจากเซี่ยงไฮ้

นิทรรศการก่อนหน้านี้ ได้แก่ "สวรรค์แห่งการค้นพบภาพและเสียง" จัดแสดงโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก, ป่าดิบชื้นขนาด 700 ตารางเมตร (7,500 ตารางฟุต), กรงแสดงนก, ห้องแสดงสัตว์น้ำ และศูนย์แผ่นดินไหว ที่รวมถึงแท่นทดลองการสั่นกับวิดีโอที่ช่วยให้ผู้เข้าชมได้สัมผัสกับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวจำลอง นิทรรศการเหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ "แสดงถึงการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ที่ล้ำสมัย" โดยใช้ "วิธีการจัดแสดงที่เป็นนวัตกรรมและเป็นเอกลักษณ์" แต่ปัจจุบันหลายนิทรรศการยังไม่ได้รับการปรับปรุง อาจเกิดจากการให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ซึ่งขาดการจัดการในการบำรุงรักษาหรือปรับปรุงระยะยาวที่ดีพอ

ขณะที่พิพิธภัณฑ์เพิ่งเปิด มีโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ 2 โรง และเพิ่มอีกสองในภายหลัง ศูนย์ภาพยนตร์ประกอบด้วย

  • โรงภาพยนตร์ไอแมกซ์ 3 มิติ
  • โรงละครโดมไอแมกซ์
  • โรงละคร IWERKS
  • โรงละครอวกาศ

ศูนย์ภาพยนตร์นี้อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงภาพยนตร์ที่ให้บริการการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย จากจำนวนรอบฉาย 10,000 รอบต่อปี

เวลาทำการ แก้

พิพิธภัณฑ์เปิดให้บริการเวลา 09:00 น. - 17:15 น. ปิดให้บริการในวันจันทร์ (ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)

การขนส่ง แก้

 
มุมมองทางทิศเหนือสู่ถนนเซ็นจูรี่ แสดงทางเข้าสถานีรถไฟใต้ดินที่ด้านข้างของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้

เดินทางด้วยรถไฟใต้ดินเซี่ยงไฮ้สาย 2 ไปยัง สถานีพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเซี่ยงไฮ้โดยตรง และอาจเดินทางด้วยรถไฟใต้ดินสาย 4 ไปยังสถานีถนนผู่เตี้ยน ซึ่งอยู่ในระยะที่สามารถเดินไปถึงได้

รถเมล์ที่ให้บริการหลายเส้นทาง ได้แก่ สาย 794 และ สาย 640

สื่อ แก้

ปรากฏในวิดีโอสำหรับโปรโมต งานเอ็กซ์โป 2010 ได้ถ่ายทำหลายฉากในสถานที่ทั้งในและรอบๆ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รูปลักษณ์ที่ล้ำสมัยทำให้สื่อจีนกลายเป็นฉากทั่วไป มีหลายฉากที่ถ่ายทำที่พิพิธภัณฑ์ในภาพยนตร์จีนกังฟูดังค์ ศึกบาส ทะยานฟ้า ที่นำแสดงโดยโจว เจี๋ยหลุน

ภาพยนตร์อินเดีย Chandni Chowk ไปประเทศจีนยังถ่ายทำบางฉากที่นี่

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังเป็นจุดหมายปลายทางในเลก 10 ของซึรีส์ทางโทรทัศน์รายการดิอะเมซิ่งเรซ 16

อ้างอิง แก้

  1. Introduction
  2. 2.0 2.1 上海科技馆参观资讯 (ในภาษาจีน)
  3. 世纪公园-上海旅游景点 เก็บถาวร 2011-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (ในภาษาจีน) "Century Park is the largest natural park setting within the Inner Ring Road in Shanghai."
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 Enc. Shang. (2010).
  5. "AAAAA Scenic Areas_National Tourism Administration of The People's Republic of China". web.archive.org. 2014-04-04. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-04. สืบค้นเมื่อ 2022-03-09.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)