พายุโซนร้อนปาบึก (พ.ศ. 2562)

พายุโซนร้อนปาบึก หรือ พายุไซโคลนปาบึก เป็นพายุกำลังอ่อนที่พัดเข้าคาบสมุทรมลายูในเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ทั้งยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่เป็นพายุโซนร้อนเร็วที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ และมหาสมุทรอินเดียเหนือ ก่อตัวขึ้นในวันสิ้นปีของปี พ.ศ. 2561 และมีกำลังอยู่ในช่วงต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 และเคลื่อนตัวลงสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียเหนือในช่วงท้าย ปาบึกเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกที่ได้รับชื่อของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 และพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562 เริ่มต้นจากการเป็นพื้นที่ของอากาศแปรปรวนในเขตร้อนบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561 จากนั้นระบบได้มีการจัดระเบียบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในวันที่ 31 ธันวาคม หนึ่งวันให้หลัง ระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อว่า ปาบึก ต่อมาพายุปาบึกพัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ของประเทศไทย ก่อนจะพัดลงสู่อ่าวเบงกอลในแอ่งมหาสมุทรอินเดียเหนือ จากนั้นปาบึกได้อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำเขตร้อนที่หลงเหลือในวันที่ 7 มกราคม และสลายตัวลงในวันต่อมา

พายุโซนร้อนปาบึก
พายุไซโคลนปาบึก
พายุโซนร้อน (JMA)
พายุโซนร้อน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
พายุโซนร้อนปาบึกขณะมีกำลังสูงสุดและกำลังพัดขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยในวันที่ 4 มกราคม
พายุโซนร้อนปาบึกขณะมีกำลังสูงสุดและกำลังพัดขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยในวันที่ 4 มกราคม
พายุโซนร้อนปาบึกขณะมีกำลังสูงสุดและกำลังพัดขึ้นฝั่งทางภาคใต้ของประเทศไทยในวันที่ 4 มกราคม
ก่อตัว 31 ธันวาคม พ.ศ. 2561
สลายตัว 8 มกราคม พ.ศ. 2562
(เป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือหลังวันที่ 7 มกราคม)
ความเร็วลม
สูงสุด
เฉลี่ยลมใน 10 นาที:
85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 3 นาที:
85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.)
เฉลี่ยลมใน 1 นาที:
95 กม./ชม. (60 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด 996 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 29.41 นิ้วปรอท)
ผู้เสียชีวิต รวม 10 คน
ความเสียหาย 157.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2019)
พื้นที่ได้รับ
ผลกระทบ
ประเทศเวียดนาม, ไทย, มาเลเซีย, พม่า, หมู่เกาะอันดามัน
ส่วนหนึ่งของ
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 และ
ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ พ.ศ. 2562

ปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 10 คน และสร้างความเสียหายตามประมาณการรวม 157 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 5 พันล้านบาท) โดยในประเทศไทย มีผู้เสียชีวิตจำนวน 8 คน และสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 156 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 4.9 พันล้านบาท) และยังทำให้มีผู้เสียชีวิตในประเทศเวียดนามและมาเลเซียประเทศละหนึ่งคน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา แก้

 
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
  พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
  พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

การแปรปรวนของอากาศในเขตร้อนก่อตัวขึ้นทางตอนใต้ของทะเลจีนใต้ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2561[1] โดยรวมเข้ากับหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือของพายุดีเปรสชันเขตร้อน 35W ในวันที่ 30 ธันวาคม[2] ภายใต้ลมเฉือนแนวตั้งกำลังแรง ทำให้หย่อมความกดอากาศต่ำยังคงไม่มีการจัดระเบียบจนวันที่ 31 ธันวาคม เมื่อทั้งกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นและศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ปรับให้ระบบเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน[3] ส่วนกรมอุตุนิยมวิทยาได้ออกประกาศเรื่องพายุดีเปรสชันฉบับที่ 1 ในเวลา 16.00 น.[4] โดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ให้รหัสเรียกกับพายุว่า 36W เป็นพายุลูกสุดท้ายอย่างไม่เป็นทางการของฤดูพายุไต้ฝุ่น พ.ศ. 2561[5] ต่อมาในเวลา 06.00 น. UTC (เวลา 13.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ปรับให้พายุดีเปรสชันเขตร้อนเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกของฤดูพายุไต้ฝุ่น พ.ศ. 2562 และให้ชื่อว่า ปาบึก (Pabuk) โดยเป็นพายุที่เหนือกว่าพายุไต้ฝุ่นอลิซใน พ.ศ. 2522 และเป็นพายุโซนร้อนที่ก่อตัวเร็วที่สุดในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือในสถิติ[6] โดย ณ เวลานั้น ปาบึกอยู่ห่างจากนครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 650 กม. และเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางตะวันตกอย่างช้า ๆ พร้อมการไหลเวียนระดับต่ำที่ศูนย์กลางที่เปิดออกเป็นบางส่วน[7]

ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ร่อแร่ คือ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น, มีการไหลออกที่ขั้วอย่างดีเยี่ยม แต่มีลมเฉือนแนวตั้งที่พัดแรง ทำให้ปาบึกพยายามเร่งการทวีกำลังแรงมากขึ้นเป็นเวลาสองวัน ก่อนที่จะเคลื่อนตัวเร่งไปทางตะวันตกเฉียงเหนือและเข้าสู่อ่าวไทยในวันที่ 3 มกราคม ซึ่งในอ่าวไทยเป็นบริเวณที่ลมเฉือนแนวตั้งพัดเบาลงและอ่อนลง ทำให้ปาบึกกลายเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกที่พัดอยู่ในอ่าวนับตั้งแต่พายุหมุ่ยฟ้าในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2547 โดยที่เวลาขณะนั้น พายุปาบึกพยายามที่จะสร้างตาพายุขึ้น ซึ่งสามารถสังเกตได้ผ่านทางภาพถ่ายคลื่นไมโครเวฟ[8] วันที่ 4 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่าปาบึกพัดขึ้นฝั่งที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในเวลา 12.45 น. (05.45 UTC) แม้ว่าสำนักอุตุนิยมวิทยาอื่น ๆ จะชี้ว่าปาบึกจะพัดขึ้นฝั่งขณะมีกำลังสูงสุดในระหว่างเวลา 06.00 ถึง 12.00 UTC (13.00 ถึง 19.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย)[9] ทำให้ปาบึกกลายเป็นพายุโซนร้อนลูกแรกที่พัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ของประเทศไทย นับตั้งแต่พายุลินดาเมื่อ พ.ศ. 2540 ไม่นานหลังจาก 12.00 UTC (19.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ออกคำแนะนำฉบับเต็มสำหรับปาบึกเป็นฉบับสุดท้าย เนื่องจากพายุได้เคลื่อนตัวออกจากแอ่งและเข้าสู่แอ่งมหาสมุทรอินเดียเหนือแล้ว[10][11]

ไม่นานหลังจากที่ปาบึกพัดข้ามแอ่งไปแล้ว กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ออกคำแนะนำฉบับแรกกับพายุ ทำให้ปาบึกกลายเป็นพายุไซโคลนลูกแรกของแอ่งที่ก่อตัวเร็วที่สุดเช่นกัน โดยเร็วกว่าพายุไซโคลนฮีบารูในปี พ.ศ. 2548 รวมถึงยังเป็นพายุไซโคลนลูกแรกของแอ่งที่มีชื่อที่ได้รับจาก RSMC โตเกียวด้วย[12] ต่อมาอีกไม่กี่วัน ปาบึกยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนืออย่างต่อเนื่อง ก่อนจะอ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในวันที่ 7 มกราคม โดยหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือได้เลี่ยวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ และสลายตัวลงในวันที่ 8 มกราคม ตามลำดับ

ผลกระทบ แก้

 
ภาพถ่ายดาวเทียมแบบวงวนจาก EOSDIS ของนาซาแสดงช่วงชีวิตของปาบึก

ประเทศเวียดนาม แก้

ในประเทศเวียดนาม พายุโซนร้อนปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคน[13] และสร้างความเสียหายขึ้นในประเทศเวียดนามประมาณ 2.787 หมื่นล้านด่ง (1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 38 ล้านบาท)[14]

ประเทศไทย แก้

ในประเทศไทยมีความเสียหายจากอุทกภัย และวาตภัยในช่วงกลางคืน ต้นไม้หักโค่นจำนวนมาก[15] โดยพายุปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 8 คนในประเทศไทย หนึ่งในนั้นเป็นนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย[16][17] โดย 3 คนเสียชีวิตจากเศษที่ปลิวโดยลมและน้ำขึ้นจากพายุ[18] ปาบึกทำให้เกิดความเสียหายในประเทศไทยประมาณ 5 พันล้านบาท (156 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[19]

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รายงานความเสียหายจากอิทธิพลของพายุโซนร้อนปาบึก ว่ามีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรวม 18 จังหวัด 90 อำเภอ 407 ตำบล 2,635 หมู่บ้าน 133 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 212,784 ครัวเรือน 696,189 คน มีผู้เสียชีวิต 3 ราย สูญหาย 1 ราย [20] และมีการอพยพประชาชนกว่า 31,665 คน ไปยังศูนย์อพยพชั่วคราว 123 แห่ง รวมถึงการอพยพเคลื่อนย้ายเจ้าหน้าที่จาก 3 แท่นขุดเจาะแก๊สธรรมชาติในอ่าวไทย ได้แก่ แหล่งบงกช แหล่งบงกชใต้ และแหล่งอาทิตย์ กลับขึ้นฝั่งที่จังหวัดสงขลาในวันที่ 2 มกราคม [21]

อิทธิพลของพายุโซนร้อนปาบึกก่อให้เกิดฝนตกหนักหลายพื้นที่ โดยปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่วัดได้ ในวันที่ 3 มกราคม ที่อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา มีปริมาณ 271.0 มิลลิเมตร ส่วนวันที่ 4 มกราคมวัดได้ที่ อำเภอพิปูน นครศรีธรรมราช 224.5 มิลลิเมตร และวันที่ 5 มกราคม วัดได้ที่อำเภอสิชล 253.5 มิลลิเมตร และอำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร 222.5 มิลลิเมตร [22]

นอกจากนี้ยังมีรายงานคลื่นสูงและน้ำทะเลหนุนสูงเข้าสู่ชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี ระยอง ชลบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร และ สมุทรสงคราม [23] โดยข้อมูลเชิงอุตุนิยมวิทยาพบว่าในวันที่ 3 มกราคม ชายฝั่งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดพัทลุงลงไปมีความสูงคลื่น 3-5 เมตร ส่วนชายฝั่งบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี มีคลื่นสูงเพิ่มขึ้นเป็น 3-5 เมตร ในวันที่ 4 มกราคม จากนั้นในวันที่ 5 มกราคม ชายฝั่งตั้งแต่จังหวัดสงขลาลงไป มีคลื่นลดลงเหลือประมาณ 2-3 เมตร และต่อมาในวันที่ 6 มกราคม 2562 บริเวณชายฝั่งจังหวัดชุมพรและประจวบคีรีขันธ์ มีคลื่นสูง 2-4 เมตร

ประเทศพม่า แก้

ในประเทศพม่า มีรายงานต้นไม้หักโค่นและเสาไฟฟ้าล้มหลายพื้นที่ และทำให้มีไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง

ประเทศมาเลเซีย แก้

ในประเทศมาเลเซีย ปาบึกทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนหนึ่งคนจากการจมน้ำ[24]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "97W INVEST". United States Naval Research Laboratory. 28 ธันวาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2019.
  2. "Tropical Depression 35W (Thirtyfive) Warning Nr 023". Joint Typhoon Warning Center. 30 ธันวาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2019.
  3. "WTPQ20 RJTD 310600 RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. 31 December 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  4. "ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุ "ดีเปรสชัน" ฉบับที่ 1 (567/2561)" (PDF). Thai Meteorological Department. January 1, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ January 1, 2019. สืบค้นเมื่อ January 1, 2019.
  5. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 36W (Thirtysix) Warning Nr 001". Joint Typhoon Warning Center. 31 ธันวาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2019.
  6. "WTPQ20 RJTD 010600 RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. 1 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-01. สืบค้นเมื่อ 1 January 2019.
  7. "Prognostic Reasoning for Tropical Depression 36W (Thirtysix) Warning Nr 005". Joint Typhoon Warning Center. 1 มกราคม 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2019.
  8. "JTWC/36W/#16/01-04 00Z Prognostic Reasoning". Joint Typhoon Warning Center. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-04. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  9. ""พายุ "ปาบึก" (PABUK)" ฉบับที่ 18 วันที่ 4 มกราคม" (PDF). Thai Meteorological Department. 4 January 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 January 2019. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  10. "WTPQ20 RJTD 041200 RSMC Tropical Cyclone Advisory". Japan Meteorological Agency. 4 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  11. "WTPQ30 RJTD 041200 RSMC Tropical Cyclone Prognostic Reasoning Reasoning No.18 for TS 1901 Pabuk (1901)". Japan Meteorological Agency. 4 January 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-06. สืบค้นเมื่อ 6 January 2019.
  12. "Tropical Cyclone Advisory Bulletin No. 1" (PDF). India Meteorological Department. 4 มกราคม 2019. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มกราคม 2019. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2019.
  13. "Bão số 1 áp sát miền Tây: Sập nhà, 1 người chết" (ภาษาเวียดนาม). VietNamNet. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 4, 2019.
  14. Trương, Huyền (January 6, 2019). "Hậu quả do bão số 1: Còn 2 người mất tích, thiệt hại ước tính 30 tỷ đồng" (ภาษาเวียดนาม). Báo Kinh Tế Đô Thị. สืบค้นเมื่อ January 6, 2019.
  15. Kocha Olarn (5 January 2019). "Storm kills 3 in Thailand, moves into Andaman Sea". Cable News Network. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  16. "Thai preparedness limits Pabuk damage". The Thaiger. January 11, 2019. สืบค้นเมื่อ January 11, 2019.
  17. Panpetch, Sumeth (January 3, 2019). "Thailand braces for powerful storm at southern beach towns". Associated Press. สืบค้นเมื่อ January 4, 2019.
  18. "Tropical Storm Pabuk Strikes Thailand's Resort Islands". The New York Times. 4 January 2019. สืบค้นเมื่อ 7 May 2019.
  19. Nguyen, Anuchit (4 January 2019). "Thai Tropical Storm Weakens After Thrashing Southern Region". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 5 January 2019.
  20. "ปภ.สรุปพายุ"ปาบึก"เสียหาย 18 จังหวัด สังเวย 3 ศพ" เก็บถาวร 2019-09-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หมวดข่าว:ในประเทศ วันที่ 06 ม.ค. 62 เวลา 17:32:00 น.
  21. "อพยพ จนท.แท่นขุดเจาะกลางอ่าวไทยขึ้นฝั่งหนีพายุปาบึก"สำนักข่าวไทย พีบีเอส 2 มกราคม 2562
  22. ""บันทึกเหตุการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุโซนร้อน "ปาบึก" (PABUK)"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-11. สืบค้นเมื่อ 2021-01-04.
  23. "สรุปพิษ “พายุปาบึก” กระทบ 18 จังหวัด เกือบ 7 แสนคน หลายพื้นที่ยังมีน้ำไหลหลาก"ผู้จัดการออนไลน์ เผยแพร่: 6 ม.ค. 2562 15:32
  24. "罔顧「帕布」風暴來襲警報2男子冒險出海遇巨浪釀1死" (ภาษาจีน). Oriental Daily News. January 4, 2019. สืบค้นเมื่อ January 4, 2019.