พายุหมุนหลังเขตร้อน

พายุหมุนหลังเขตร้อน (อังกฤษ: Post-tropical cyclone) คิออดีตพายุหมุนเขตร้อน[1] โดยมีการแบ่งประเภทของพายุหมุนหลังเขตร้อนออกเป็นสองประเภท คือ

  • พายุหมุนนอกเขตร้อน (Extratropical cyclone) ซึ่งเป็นแนวปะทะอากาศ โดยในบางครั้งยังคงมีแรงลมในระดับพายุหมุนเขตร้อนหรือพายุโซนร้อนหลงเหลืออยู่[2]
  • หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ (Remnant low) ซึ่งไม่เป็นแนวปะทะอากาศ และมีความเร็วลมต่อเนื่องอย่างน้อย 34 นอต[3]

ไม่ใช่ทุกระบบพายุจะเข้าสู่ภาวะสองประเภทด้านบน ตามหลักเกณฑ์แล้ว ระบบที่ไม่มีคุณลักษณะของแนวปะทะอากาศ แต่มีความเร็วลมมากกว่า 34 นอต อาจไม่ถูกจัดเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือก็ได้ โดยจะอธิบายเป็นเพียงระบบหลังเขตร้อน (Post-tropical)[4]

อย่างไรก็ตาม ถ้าพายุหมุนเขตร้อนอ่อนกำลังลงเป็นคลื่นเขตร้อน (Tropical wave) หรือร่อง มันจะไม่ถูกจัดเป็นพายุหมุนหลังเขตร้อน โดยมันจะถูกกล่าวถึงเป็น "ส่วนหลงเหลือของ (ชื่อของพายุหมุนเขตร้อน)" แทน

เมเตโอ-ฟร็องส์ มีการจัดประเภทกับระบบในมหาสมุทรอินเดียใต้ฝั่งตะวันตกที่กำลังอยู่ในกระบวนการการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน หรือสูญเสียคุณลักษณะของเขตร้อนไปแล้ว เป็น "พายุดีเปรสชันหลังเขตร้อน" โดยนับตั้งแต่ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียตะวันตก-ใต้ พ.ศ. 2555–2556 พายุจะได้รับการจัดประเภทใหม่อีกครั้งเป็นพายุดีเปรสชันหลังเขตร้อนเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว[5]

การก่อตัว แก้

พายุหมุนหลังเขตร้อนก่อนตัวเมื่อลักษณะทั่วไปของพายุหมุนเขตร้อนถูกแทนที่ด้วยลักษณะของพายุหมุนนอกเขตร้อน หรือที่เรียกว่าการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[6] หลังจากการก่อตัวขั้นต้นแล้ว พายุหมุนหลังเขตร้อนมีศักยภาพที่จะมีกำลังแรงขึ้นในฐานะของพายุหมุนนอกเขตร้อนได้[6] ถ้าพายุหมุนหลังเขตร้อนกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อน ในขั้นสุดท้ายแล้ว มันจะสลายตัวโดยกระบวนการปิด (Process of occlusion)[7]

ผลกระทบ แก้

การมีกำลังมากขึ้นของพายุหมุนหลังเขตร้อนสามารถทำให้เกิดสภาพแวดล้อมอันตรายในเส้นทางเดินเรือของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือได้ โดยทำให้ทะเลมีคลื่นสูงและลมแรงเทียบได้กับพายุหมุนเขตร้อน[6]

ต้นกำเนิด แก้

ในตอนแรกมีการใช้คำนี้โดยศูนย์เฮอร์ริเคนแคนาดา เมื่อปี 2541 ในระหว่างที่มีพายุโซนร้อนบอนนี[8] และต่อมาในปี 2551 ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติก็ได้ใช้คำนี้กับพายุโซนร้อนลอรา เพื่อกำหนดคำจัดกัดระหว่างสองประเภท (พายุหมุนนอกเขตร้อน/หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ) ดังที่กล่าวไปข้างต้น[9] และคำดังกล่าวได้รับการรับรองโดยบริการลมฟ้าอากาศแห่งชาติสหรัฐ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2551[4]

อ้างอิง แก้

  1. "Glossary of NHC Terms".
  2. "Glossary of NHC Terms".
  3. "Glossary of NHC Terms".
  4. 4.0 4.1 "SERVICE CHANGE NOTICE 10-06". Nws.noaa.gov. National Weather Service. January 15, 2010. สืบค้นเมื่อ 13 October 2017.
  5. "Saison 2012-2013" (ภาษาฝรั่งเศส). Météo-France. สืบค้นเมื่อ 5 February 2018.
  6. 6.0 6.1 6.2 Pelissero, Jonathon; Chiao, Sen (July 5, 2013). "The influences of post-tropical reintensification and dissipation on North Atlantic shipping routes". Meteorological Applications. Royal Meteorological Society. 21 (3).
  7. "Extratropical Cyclone". britannica.com. Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ October 27, 2016.
  8. http://www.ec.gc.ca/ouragans-hurricanes/default.asp?lang=En&n=5375B60F-1
  9. "Tropical Storm LAURA".