พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีราชาภิเษกที่พระมหากษัตริย์ไทยได้รับการสถาปนาอย่างเป็นทางการด้วยการถวายน้ำอภิเษก โดยแบ่งออกเป็น 2 พระราชพิธีสำคัญคือ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียร
พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นการผสมผสานกันระหว่างธรรมเนียมของศาสนาฮินดูและศาสนาพุทธ ซึ่งต้องย้อนกลับไปหลายศตวรรษโดยพระราชพิธีบรมราชาภิเษกประกอบไปด้วย พระราชพิธีสรงพระมูรธาภิเษก พระราชพิธีถวายน้ำอภิเษก พระราชพิธีถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และการสถาปนาพระราชินีและพระราชวงศ์ ส่วนพระราชพิธีเฉลิมพระราชมณเฑียรเป็นพระราชพิธีที่จัดขึ้นโดยเหล่าสมาชิกของราชวงศ์ในพระบรมมหาราชวัง
ภายหลังจากประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเสร็จสิ้นแล้ว พระมหากษัตริย์จะประทับพระที่นั่งราชยานพุดตานทองไปประกาศพระองค์เป็นพุทธมามกะและเสด็จไปสักการะพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชบูรพการี
ประวัติ
แก้ตามโบราณราชประเพณีของไทย พระนามของผู้ได้รับการเลือกเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ ก็ยังคงใช้ขานพระนามเดิม เป็นแต่เพิ่มคำว่า “ซึ่งทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน” ต่อท้ายพระนาม เครื่องยศบางอย่างก็ต้องลด เช่น เศวตฉัตร มีเพียง 7 ชั้น มิใช่ 9 ชั้น คำสั่งของพระองค์ ก็ไม่เรียกว่าพระบรมราชโองการ จนกว่าจะได้ทรงรับการบรมราชาภิเษก จึงถวายพระเกียรติยศโดยสมบูรณ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย ปรากฏหลักฐานเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์คือ ศิลาจารึกวัดศรีชุมของพญาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย กล่าวคือ พ่อขุนผาเมืองอภิเษกพระสหายคือ พ่อขุนบางกลางท่าว ให้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ครองกรุงสุโขทัย แต่ก็ไม่มีรายละเอียดการประกอบพระราชพิธี ว่ามีขั้นตอนอย่างใด
จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อขึ้นเสวยราชสมบัติ ได้ทรงทำพระราชพิธีนี้อย่างสังเขป เมื่อ พ.ศ. 2325 ครั้งหนึ่งก่อนแล้วทรงตั้งคณะกรรมการ โดยมีเจ้าพระยาเพชรพิชัย ซึ่งเป็นข้าราชการในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นประธาน สอบสวนแบบแผนโดยถี่ถ้วน ตั้งขึ้นเป็นตำรา แล้วทรงทำบรมราชาภิเษกเต็มตำราอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2328 และได้ใช้เป็นแบบแผนในงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ของรัชกาลต่อ ๆ มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแต่ละรัชกาล ก็ได้ปรับปรุงแก้ไขรายละเอียดเล็กน้อย ให้เหมาะแก่กาลสมัย ที่สำคัญคือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงเป็นปราชญ์ในทางอักษรศาสตร์ และโบราณราชประเพณี ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำกราบบังคมทูล ของพราหมณ์และราชบัณฑิต ขณะถวายเครื่องราชกกุธกัณฑ์ กับพระราชดำรัสตอบเป็นภาษาบาลี และคำแปลเป็นภาษาไทย ทั้งนี้ อาจวิเคราะห์ได้ว่า พระราชพิธีนี้ มีคติที่มาจากลัทธิพราหมณ์ ผสมกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนบทมนต์ต่าง ๆ ของพราหมณ์นั้น นักวิชาการภาษาตะวันออกโบราณ วินิจฉัยว่า เป็นภาษาทมิฬโบราณ
ส่วนพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เมื่อ พ.ศ. 2493 นั้น สำนักพระราชวังได้ยึดถือการบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นหลัก แต่ปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่ยังไม่อุดมสมบูรณ์ เพราะเพิ่งผ่านพ้นสงครามโลกครั้งที่สอง และเพื่อให้เหมาะสมกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วย
การประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
แก้พระบรมฉายาลักษณ์ | พระปรมาภิไธย | ระยะเวลาการครองราชสมบัติ | วันประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | 6 เมษายน พ.ศ. 2325 – 7 กันยายน พ.ศ. 2352 | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2325 (วันจันทร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 บูรพาษาฒ ปีขาล จัตวาศก จ.ศ. 1144)[1] |
ทรงกระทำการปราบดาภิเษกครั้งแรก โดยเป็นพระราชพิธีอย่างสังเขป | |
17 มิถุนายน พ.ศ. 2328 (ปีมะเส็ง สัปตศก จ.ศ. 1147)[2] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่สองอย่างครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี, มีการรวบรวมตำราแบบแผนการประกอบพระราชพิธีจากการประชุมบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิต, สร้างเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่สูญหายจากภัยสงคราม | |||
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | 7 กันยายน พ.ศ. 2352 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 | 17 กันยายน พ.ศ. 2352 (วันอาทิตย์ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 10 ปีมะเส็ง เอกศก จ.ศ. 1171)[3] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี | |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394 | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2367 (วันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9 ปีวอก ฉศก จ.ศ. 1186)[4] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี | |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 2 เมษายน พ.ศ. 2394 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2394 (วันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1213)[5] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี โดยมีการเพิ่มเติมการใช้ภาษามคธในบางขั้นตอนของพระราชพิธี, โปรดเกล้าฯ ให้ชาวต่างประเทศเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกได้เป็นครั้งแรก | |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 (วันพุธ แรม 12 ค่ำ เดือน 12 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จ.ศ. 1230)[6] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก โดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ | |
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 (วันอาทิตย์ แรม 12 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา จัตวาศก จ.ศ. 1234) |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สอง เนื่องจากทรงบรรลุพระราชนิติภาวะ, สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์พ้นจากหน้าที่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ | |||
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 | 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 (วันศุกร์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 12 ปีจอ โทศก จ.ศ. 1272)[7] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เฉพาะพิธีการสำคัญตามโบราณราชประเพณี งดการรื่นเริงต่าง ๆ เนื่องจากอยู่ระหว่างงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | |
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2454 (วันอังคาร ขึ้น 8 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน ตรีศก จ.ศ. 1273) |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่สองอย่างครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี เพิ่มเติมการรื่นเริงต่าง ๆ และมีการเชิญพระราชอาคันตุกะจากนานาประเทศเข้าร่วมพระราชพิธี ในหมายกำหนดการเรียกพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งนี้ว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช" | |||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 – 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469 (ตามปฏิทินสากล) 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2468 (วันพฤหัสบดี ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. 1287) (ตามปฏิทินแบบไทยและราชกิจจานุเบกษา)[8] |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี, โปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้ารำไพพรรณี สวัสดิวัตน์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี, มีการบันทึกภาพยนตร์ข่าวพระราชพิธีบรมราชาภิเษกไว้เป็นหลักฐานครั้งแรกของประเทศสยาม | |
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 – 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493
(วันศุกร์ แรม 4 ค่ำ เดือน 6 |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี โดยมีการเปลี่ยนแปลงถ้อยคำและลดขั้นตอนบางอย่างในพิธีการให้เหมาะสมกับการปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ, โปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี | |
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว | 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – ปัจจุบัน | 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีกุน เอกศก จ.ศ. 1381) |
ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครบถ้วนตามโบราณราชประเพณี เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ โปรดเกล้าฯ สถาปนา สมเด็จพระราชินีสุทิดา ขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี |
ดูเพิ่ม
แก้แหล่งข้อมูลอื่น
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". vajirayana.org. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑". vajirayana.org. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. "พระราชพงษาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒". vajirayana.org. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓". vajirayana.org. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ เจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค). "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔". vajirayana.org. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. "พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕". vajirayana.org. สืบค้นเมื่อ 2018-10-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา (16 พฤศจิกายน 2453). "การพระราชพิธีบรมราชาภิเศก เฉลิมพระราชมณเฑียร ปีจอโทศกจุลศักราช ๑๒๗๒ พระพุทธศาสนากาล ๒๔๕๓ รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๙" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 2017-09-06.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา (3 มีนาคม 2468). "พระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร ปีฉลูสัปตศก พุทธศักราช ๒๔๖๘" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-14. สืบค้นเมื่อ 2017-09-06.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา (9 พฤษภาคม 2493). "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราช และ พระราชพิธีเฉลิมพระราชมนเทียร พ.ศ. ๒๔๙๓" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-09-05. สืบค้นเมื่อ 2017-09-06.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help)