พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน)
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และอดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี ที่ได้รับมอบหมายจากสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไปสนองงานคณะสงฆ์ที่จังหวัดสุโขทัย นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้มีคุณูปการต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุและโบราณสถานอันล้ำค่า ในสมัยสุโขทัย ให้คงอยู่ด้วยการเก็บรวบรวมเอง และร่วมมือชี้แนะกรมศิลปากรในการบูรณะโบราณสถาน เป็นผู้ที่คอยจดบันทึกเก็บหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี และถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้รับรู้ มาเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าศึกษาของอนุชนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง[1]
พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) | |
---|---|
ส่วนบุคคล | |
เกิด | สิงหาคม พ.ศ. 2424 (89 ปี) |
มรณภาพ | พ.ศ. 2513 |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | นักธรรมเอก |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดราชธานี จังหวัดสุโขทัย |
อุปสมบท | พ.ศ. 2444 |
พรรษา | 69 |
ตำแหน่ง | อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย/อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี |
ประวัติ
แก้กำเนิด
แก้พระราชประสิทธิคุณ นามเดิม ขาว สกุล มุ่งผล เกิดเมื่อวันเสาร์ สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่ตำบลไผ่ดำ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง[2] ท่านเป็นบุตรคนสุดท้อง และมารดาได้เสียชีวิตแต่เยาวัยว์ เมื่อถึงวัยสมควรบิดาได้นำไปฝากเพื่อศึกษารับใช้พระในวัดมหาดไทย อำเภออ่างทองในขณะนั้น ซึ่งเป็นแบบแผนการศึกษาเดิมในครั้งอดีตที่เด็กจะไปศึกษาจากวัดผ่านการเป็นเด็กวัด บวชเป็นสามเณร และเป็นพระ จนกระทั่งได้มีโอกาสติดตามพระมาอยู่อาศัยในกรุงเทพมหานคร บวชเป็นสามเณร เข้าเรียนหนังสือที่วัดนวลนรดิศจบชั้น 3 จากนั้นจึงได้ลาสิกขามาช่วยบิดาและครอบครัวประกอบอาชีพ จนกระทั่งถึงวัยครบ 20 ปี จึงเข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และกลับไปจำพรรษาที่วัดอนงคาราม กรุงเทพมหานคร รับหน้าที่พิเศษคือช่วยสอนหนังสือขอม แก่นักเรียนและนักธรรม ต่อมาได้รับยศสมณศักดิ์เป็นฐานาที่สมุห์ ทำหน้าที่คอยรับเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จฯ โปรดมาก จึงได้ส่งพระทิม ให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะแขวงอำเภอเมืองสุโขทัยระยะนั้น เพื่อดูแลงานการพระศาสนาต่างพระเนตรพระกัณห์ พระทิมเมื่อมาอยู่จังหวัดสุโขทัย ได้ร่วมกับประชาชนก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมเพื่อให้การศึกษาแก่กุลบุตรชาวสุโขทัยในครั้งนั้น เมื่อมาอยู่จังหวัดสุโขทัยได้เจริญก้าวหน้าทั้งการงาน และสมณศักดิ์ โดยพระสมุห์ทิมเป็นพระครูประทวนได้ 8 เดือน ก็ได้รับตราตั้งเป็นอุปัชฌาย์และได้รับสัญญาบัตร เป็นพระครูวินัยสาร เจ้าคณะแขวงอำเภอเมือง และอำเภอกงไกรลาศ รวม 2 แห่ง เมื่อ พ.ศ. 2472 เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย พ.ศ. 2490 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ 2508 เป็นเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย จนถึงมรณภาพ รวมสิริชนมายุ 89 ปี
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ตำแหน่ง
แก้- อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี [3]
- รองเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
- อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย
- พระอุปัชฌาย์ สัทธิวิหาริกที่ท่านเป็นอุปัชฌาย์ให้และเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา อาทิ พระราชพฤฒาจารย์ (หลวงพ่อห้อม อมโร)[4] วัดคูหาสุวรรณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย (พ.ศ. 2529-2541) พระครูสุวิชานวรวุฒิ (หลวงพ่อปี้ ทินฺโน) [5] อดีตเจ้าอาวาสวัดลานหอย และอดีตเจ้าคณะอำเภอบ้านด่านลานหอย พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสโส)[6] อดีตเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง (พ.ศ. 2501-2547) กรุงเทพมหานคร
ลำดับ
แก้ก่อนหน้า | พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระสวรรค์วรนายก (ทองคำ โสโณ) | เจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย วัดราชธานี (พ.ศ. 2508 - พ.ศ. 2513) |
พระประสิทธิโรจนคุณ (ภุชงค์ พุทฺธสุวณฺโณ) |
สมณศักดิ์
แก้- พระสมุห์ทิม ยสทินฺโน
- พระครูวินัยสาร
- พระโบราณวัตถาจารย์
- พ.ศ. 2505 โปรดเกล้าฯ เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชประสิทธิคุณ พิบูลวิริยาธิกร บุราณเจติยาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
งานอนุรักษณ์
แก้เป็นผู้รวบรวมศาสนวัตถุและจัดมอบให้พิพิธภัณฑ์แห่งชาติ รามคำแหง จังหวัดสุโขทัย อาทิ
- พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20โดยได้จากวัดลาวลำพัน เมืองเก่าสุโขทัย บริเวณฐานมีจารึก [7]
- สถูปหินทรายจำลอง สถูปหินทรายจำลอง ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20 ฐานล่างเป็นฐานสี่เหลี่ยมเจาะเป็นซุ้มพระพุทธรูปด้านละ 4 ซุ้ม ส่วนกลางทรงกลม มีซุ้มพระพุทธรูป 8 ซุ้ม ส่วนบนเป็นสถูปทรงกลมเจาะเป็นซุ้มพระพุทธรูป 8 ซุ้ม ต่อด้วยองค์ระฆังกลม ปล้องไฉน และปลียอด [8]
- พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19) [9] ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สวรรควรนายก
- พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยแบบหมวดใหญ่ พุทธศตวรรษที่ 20[10]
- รอยพระพุทธบาทฯ เป็นรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย เดิมตั้งประดิษฐานอยู่ที่วัดนาเชิงคีรี อ.คีรีมาศ ท่านพระราชประสิทธิคุณ เป็นผู้อัญเชิญมาตั้งประดิษฐานอยู่ที่วัดไทยชุมพล ต.ธานี อ.เมือง จ.สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 2462 - จนถึงปัจจุบัน [11]
- พระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ 21-22 [12]
- เศียรพระพุทธรูป สำริด ศิลปะสุโขทัยตอนปลายมีอิทธิพลศิลปะอยุธยา[13]
- พระพิมพ์ดินเผารูปพระลีลา ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 19-20[14]
- ตุ๊กตาสังคโลก เคลือบสีเขียว อายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 – 21 ผลิตจากเตาทุเรียง ที่ศรีสัชนาลัย เป็นรูปคนอุ้มเด็กติดอยู่ในชาม สันนิษฐานว่าเกิดจากความผิดพลาดระหว่างการนำ เข้าเตาเผา [15]
ศิษย์ในอุปัชฌาย์
แก้- พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูหาสุวรรณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย (พ.ศ. 2529-2541)
- พระวิชานวรวุฒิ (ปี้ ทินฺโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดลานหอย
- พระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง กทม. (พ.ศ. 2501-2547)
อ้างอิง
แก้- ↑ กรมศิลปากร. งานบูรณโบราณสถาน จังหวัดสุโขทัย พิมพ์เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ หม่อมราชวงศ์ สุมนชาติ สวัสดิกุล ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส 31 พฤษภาคม 2507[1] พระนคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดศิวพร 2507. หน้า 47
- ↑ "ประวัติพระราชประสิทธิคุณ [[สารานุกรมกาญจนาภิเษก]". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
- ↑ [http://kanchanapisek.or.th/kp8/skt/skt102.html / ประวัติวัดราชธานี สารานุกรมกาญจนาภิเษก] เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
- ↑ "หลวงพ่อห้อม อมโร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-29. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
- ↑ "ประวัติพระครูสุวิชานวรวุฒิ(ปี้) สำนักวิทยาบริการมหาวิทยาลัยรามคำแหง(สุโขทัย)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-07. สืบค้นเมื่อ 2010-10-15.
- ↑ ประวัติพระครูพิศาลิวิริยคุณ (สิงห์โต เทศกาล)
- ↑ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย.[ลิงก์เสีย]
- ↑ สถูปหินทรายจำลอง.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระพุทธรูปปางมารวิชัยศิลปะสุโขทัย.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย.[ลิงก์เสีย]
- ↑ รอยพระพุทธบาทฯ.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระพุทธรูปทรงเครื่องปางสมาธิ .[ลิงก์เสีย]
- ↑ เศียรพระพุทธรูป สำริด.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระพิมพ์ดินเผารูปพระลีลา.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ตุ๊กตาสังคโลก.[ลิงก์เสีย]