พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค)

มหาอำมาตย์โท พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม นามเดิม แฉ่ บุนนาค (19 ตุลาคม พ.ศ. 2395 – 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456)[1] เป็นขุนนางชาวไทย เคยดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี, สมุหเทศาภิบาลมณฑลนครสวรรค์ และผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม มีศักดิ์เป็นพี่ชายต่างมารดาของพระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) อดีตเสนาบดีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและกระทรวงโยธาธิการ

ประวัติ แก้

พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) เกิดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2395 เป็นบุตรของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) และเจ้าคุณหญิงเป้า มีพี่น้องร่วมบิดามารดารวม 3 คน

  1. มหาอำมาตย์โท พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค)
  2. พระยาราชพงศานุรักษ์ (ชม บุนนาค)
  3. พระศรีธรรมสาส์น (เชย บุนนาค)

และมีพี่น้องร่วมบิดาหลายคนรวมถึงมหาอำมาตย์เอก พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุนนาค) เสนาบดีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติและกระทรวงโยธาธิการ

ท่านเรียนวิชาในสำนักนี้ กระทรวงกลาโหม พระยาเทพวรชุน (ปั้น) ซึ่งยังดำรงตำแหน่งหลวงชาติสุรินทร์เป็นครู เรียนอยู่ 4 ปี ได้ประกาศนียบัตร ในสมัยที่ยังไม่เคยมีผู้อื่นได้รับ ท่านอุปสมบทวัดพิชยญาติการาม พรรษา 1 จึงลาสิกขาบท

การทำงาน แก้

การรับราชการ แก้

พระยาไกรเพชรรัตนสงครามเข้ารับราชการในรัชกาลที่ 5 ในตำแหน่งโยธาอยู่ในกรมท่ากลาง ถึง พ.ศ. 2430 เป็นอุปทูตสยามในราชสำนักเซนต์เจมส์ กรุงลอนดอน ในสมัยที่พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชื่น บุนนาค) พี่ชายเป็นอัครราชทูตประจำประเทศอังกฤษ[2] จนพ้นจากหน้าที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดทูลฉลอง กรมพระกลาโหม แล้วเป็นข้าหลวงผู้ว่าราชการเมืองสมุทรสงคราม เมื่อ พ.ศ. 2437 แล้วเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ. 2439 ครั้งสุดท้ายย้ายมาเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลมณฑลราชบุรี เมื่อ พ.ศ. 2447 และรับราชการเรื่อยมาจนถึงแก่อนิจกรรม

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรเป็นองคมนตรี เมื่อ พ.ศ. 2453[3]

ราชการพิเศษ แก้

  • พ.ศ. 2414 – ได้ตามเสด็จประพาสในประเทศอินเดีย และได้ทำหน้าที่ทำพระศรีถวาย
  • พ.ศ. 2418 – ได้เป็นเจ้าหน้าที่ทำพระวิสูตรต่างๆ ที่พระที่นั่งจักรีฯ และพระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  • พ.ศ. 2419 – ได้เป็นข้าหลวงไประงับพวกจีนกบฏที่ภูเก็ตและเมืองระนองพร้อมด้วยพระยาประภากรวงศ์วรวุฒิภักดี (ชาย บุนนาค)
  • พ.ศ. 2422 – ได้เป็นอัตเซไปกับเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค)เมื่อเป็นเอกอัครราชทูต ที่กรุงปารีสและกรุงลอนดอน
  • พ.ศ. 2425 – ได้เป็นข้าหลวงไปสักเลขที่เมืองจันทบุรีและเมืองระยอง เมืองบางละมุง
  • พ.ศ. 2429 – ได้เป็นแม่กองไปทำพลับพลารับเสด็จที่ห้วยบางกระบอก คราวเสด็จประพาสพระปฐมเจดีย์ กาญจนบุรี และไทรโยค
  • พ.ศ. 2436 – ได้รับหน้าที่ไปช่วยตรวจปืนและจ่ายปืนที่กรมแสง
  • พ.ศ. 2445 – ได้ไปส่งเสบียงอาหารในกองทัพในการที่พวกเงี้ยวเกิดจลาจลขึ้นในมณฑลพายัพ

บรรดาศักดิ์ แก้

  • พ.ศ. 2419 – หลวงโกษานุสวัสดิ์ ถือศักดินา 800
  • 7 กันยายน พ.ศ. 2429 – พระดิฐการภักดี ถือศักดินา 800[4]
  • 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2435 – พระสุรินทรามาตย์ ถือศักดินา 800[5]
  • 23 ธันวาคม พ.ศ. 2438 – พระยาราชพงศานุรักษ์ ถือศักดินา 5000[6]
  • 30 ตุลาคม พ.ศ. 2444 – พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม รามภักดี ศรีสัคนราธิปตัย อภัยพิริยพาหุ ถือศักดินา 10000[7]

ยศ แก้

ยศทหาร แก้

  • 5 ตุลาคม พ.ศ. 2448 – นายพลตรี[8]

ยศพลเรือน แก้

  • 20 สิงหาคม พ.ศ. 2454 – มหาอำมาตย์โท[9]

ชีวิตครอบครัว แก้

พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) มีบุตรรวม 14 คน โดยเป็นบุตรที่เกิดจากคุณหญิงฟอง (สกุลเดิม รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ธิดาของพระยาวิชิตสงคราม (ทัต รัตนดิลก ณ ภูเก็ต) ผู้ว่าราชการเมืองภูเก็ต มีบุตรธิดารวม 5 คน คือ

  1. ฉ่า บุนนาค เลขานุการข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครสวรรค์และมณฑลราชบุรี และเป็นล่ามในกรมรถไฟหลวง, กรมป่าไม้ และเป็นล่ามต่างประเทศ ประจำมณฑลภูเก็ต
  2. พระยามนตรีสุริยวงศ์ (ฉี่ บุนนาค) สมุหเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ในรัชกาลที่ 6
  3. ดำ บุนนาค
  4. ชง บุนนาค
  5. แช่ม บุนนาค สมรสกับพระยอดเมืองขวาง (ฤกษ์ ณ นคร

และมีบุตรกับคุณหญิงนิ่ม บุนนาค ธิดาของพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) และเป็นน้องสาวต่างมารดาของท่าน มีบุตรธิดารวม 6 คน

  1. สว่าง บุนนาค
  2. เฉิด บุนนาค
  3. ฉัตร บุนนาค
  4. เนือง บุนนาค สมรสกับพระภูมิพิชัย (หม่อมราชวงศ์บุง ลดาวัลย์) และเป็นมารดาของหม่อมหลวงทวีสันต์ ลดาวัลย์ อดีตราชเลขาธิการ
  5. สุทธศรี บุนนาค สมรสกับนายไกรสงคราม (ถนอม บุณยสุรักษ์)
  6. นาน บุนนาค สมรสกับหลวงอนุมัตินุกิจ (สอน ศรุตานนท์)

ถึงแก่อนิจกรรม แก้

พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) ป่วยเป็นโรคปัสสาวะพิการ แล้วภายหลังเป็นโรคชรา โรคก็กำเริบตามลำดับ มีอาการบวมขี้นทั้งตัว เหลือกำลังของแพทย์ที่จะเยียวยา ครั้นถึงวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เวลา 24.00 น. เศษ พระยาไกรเพชรรัตนสงครามก็ถึงแก่อนิจกรรม สิริอายุได้ 61 ปี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จแทนพระองค์มาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ได้รับพระราชทานโกศราชนิกูลสำหรับกับลอง ตั้งเหนือแว่นฟ้าสองชั้นเป็นเกียรติยศ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

พระยาไกรเพชรรัตนสงคราม (แฉ่ บุนนาค) ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งสยามและต่างประเทศ ดังนี้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์สยาม แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ แก้

  •   อิตาลี :
    • พ.ศ. 2448 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎอิตาลี ชั้นที่ 2[14]
  •   เบราน์ชไวค์ :
    • พ.ศ. 2452 –   เครื่องราชอิสริยาภรณ์สิงโตไฮน์ริช ชั้นที่ 1[15]

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตาย, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๒, ๘ มิถุนายน ๒๔๕๖
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวเปลี่ยนทูตสยาม, เล่ม ๔ ตอนที่ ๕ หน้า ๓๓, ๕ พฤษภาคม ๑๒๔๙
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรตั้งองคมนตรี, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๑๖๗, ๑๘ ธันวาคม ๑๒๙
  4. ราชกิจจานุเบกษา, สำเนาสัญญาบัตร ปีจออัฐศก, เล่ม ๔ ตอนที่ ๓ หน้า ๒๐, ๑๕ เมษายน ๑๒๔๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๙ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๒๘๑, ๒๐ พฤศจิกายน ๑๑๑
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตร, เล่ม ๑๒ ตอนที่ ๓๙ หน้า ๓๖๕, ๒๙ ธันวาคม ๑๑๔
  7. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง, เล่ม ๑๘ ตอนที่ ๓๓ หน้า ๖๔๒, ๑๗ พฤศจิกายน ๑๒๐
  8. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๒๘ หน้า ๖๑๔, ๘ ตุลาคม ๑๒๔
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศพระราชทานยศ แก่ข้าราชการกระทรวงมหาดไทย, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๙๗๓, ๒๐ สิงหาคม ๑๓๐
  10. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๐ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๕๘๒, ๒๒ พฤศจิกายน ๑๒๒
  11. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๖๑๖, ๒๐ พฤศจิกายน ๑๒๓
  12. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๒, ๓ ธันวาคม ๑๓๐
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๔๖๔, ๒ ตุลาคม ๑๒๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาต ตราเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๒๒ ตอนที่ ๓๑ หน้า ๖๗๐, ๒๙ ตุลาคม ๑๒๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานพระบรมราชานุญาตเครื่องราชอิสริยาภรณ์เฮนรีดีไลออนกรุงบรันซวิก, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๕๕, ๑๐ เมษายน ๑๒๙