พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต)

เป็นอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตนายอำเภอสามพราน จังห

พระยาสุนทรบุรี (อี้ กรรณสูต) (21 พฤษภาคม 2414 – 19 กรกฎาคม 2474)[1] เป็นอดีตองคมนตรีในรัชกาลที่ 6 อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี อดีตนายอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม[2] อดีตสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย[3] และเป็นต้นตระกูลกรรณสูต[4]

พระยาสุนทรบุรี
เกิด21 พฤษภาคม พ.ศ. 2414
ถึงแก่กรรม19 กรกฎาคม พ.ศ. 2474 (60 ปี)
สาเหตุเสียชีวิตอัมพาต
ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติ

แก้

พระยาสุนทรบุรี มีนามเดิมว่า อี้ หรือ ฮะอี้ กรรณสูต เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2414 เป็นบุตรชายของ พระทวีประชาชน (โป๋ กรรณสูต) ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ คุณหญิงสอิ้ง กรรณสูต มีบุตรธิดาคือนายปรีดา กรรณสูต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางอาภรณ์ สุนทรสนาน สมรสกับครูเอื้อ สุนทรสนาน นักร้อง นักแต่งเพลง และหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์[5]

พระยาสุนทรบุรีถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2474 ขณะมีอายุได้ 60 ปีเนื่องจากเป็นอัมพาต ในการนี้ได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองลายสลัก ฉัตรเบญจาตั้ง 4 คัน กลองชนะเขียว 8 จ๋าปี่ 1 ประโคมเวลาพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เป็นเกียรติยศ

รับราชการ

แก้

พระยาสุนทรบุรีเริ่มต้นรับราชการในตำแหน่งนายอำเภอตลาดใหม่ (ปัจจุบันคืออำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม) เมื่อปี 2439 พร้อมกับบรรดาศักดิ์ที่ หลวงบำรุงจีนประชา ต่อมาในวันที่ 5 พฤษภาคม 2442 ได้เปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็น หลวงบรรหารนิกรกิจ ถือศักดินา 400[6] จากนั้นในวันที่ 23 เมษายน 2451 จึงได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระทวีประชาชน ถือศักดินา 800 ที่พระที่นั่งอภิเศกดุสิต[7] โดยบรรดาศักดิ์นี้เป็นบรรดาศักดิ์เดียวกับของผู้เป็นบิดา ต่อมาในวันที่ 20 สิงหาคม 2454 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ท่านเป็น รองอำมาตย์เอก พระทวีประชาชน[8]

ในวันที่ 7 สิงหาคม 2455 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เลื่อนยศให้ท่านเป็น อำมาตย์ตรี พระทวีประชาชน[9] จากนั้นในวันที่ 17 ธันวาคม 2455 ท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ขึ้นมาเป็นผู้ว่าราชการเมืองสุพรรณบุรีแทนที่ พระยาสุนทรสงคราม ที่ย้ายไปรับตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองลพบุรี[10] ต่อมาในวันที่ 5 กันยายน 2456 ท่านได้รับพระราชทานเปลี่ยนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุนทรสงคราม ถือศักดินา 3000[11] ในวันที่ 14 ตุลาคม ศกเดียวกัน ท่านได้เลื่อนยศเป็น อำมาตย์โท พระยาสุนทรสงคราม[12] โดยได้เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์ที่พระที่นั่งอภิเศกดุสิตเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2458[13]

ในวันที่ 13 ตุลาคม 2464 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศให้ท่านเป็น อำมาตย์เอก พระยาสุนทรสงคราม[14] ต่อมาในวันที่ 2 กันยายน 2465 ท่านได้รับพระราชทานยศเป็น จ่า[15] ต่อมาในวันที่ 24 กันยายน 2466 ท่านได้เข้าเฝ้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาสุนทรบุรี ศรีพิชัยสงคราม รามภักดี พิริยพาหะ ว่าที่สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ถือศักดินา 10000[16] ก่อนจะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งท่านให้เป็น สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลนครชัยศรี ในวันรุ่งขึ้น[17] จากนั้นท่านได้รับพระราชทานยศ จางวางตรี เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ศกเดียวกัน[18]

วันที่ 4 เมษายน 2467 ท่านได้รับพระราชทานสัญญาบัตรให้เป็นองคมนตรี ต่อมาในวันที่ 31 มีนาคม 2468 (นับแบบปัจจุบัน 2469) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ท่านพร้อมกับสมุหเทศาภิบาลอีก 6 ท่านได้แก่ มหาเสวกโท พระยาเดชานุชิต สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลมหาราษฎร์, มหาเสวกโท พระยารณชัยชาญยุทธ สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลร้อยเอ็ด, มหาเสวกโท พระยาศรีธรรมศกราช สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุบลราชธานี, มหาเสวกโท พระยาคงคาธราธิบดี สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลสุราษฎร์, มหาเสวกโท พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลพิษณุโลก, และจางวางโท พระยาคทาธรบดีสีหราชบาลเมือง สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลราชบุรี ออกจากราชการรับเบี้ยบำนาญ โดยมีจางวางโทหม่อมเจ้าธำรงสิริ ศรีธวัช สมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจิณบุรี มารับตำแหน่งแทน[19]

ยศและตำแหน่ง

แก้

ยศเสือป่า

แก้
  • 19 กุมภาพันธ์ 2455 – นายหมู่ตรี[20]
  • 21 กุมภาพันธ์ 2456 – นายหมู่โท[21]
  • 26 ตุลาคม 2458 – นายหมวดโท[22]
  • 8 ธันวาคม 2460 – นายหมวดเอก[23]
  • 18 พฤศจิกายน 2462 – นายกองตรี[24]
  • – นายกองโท
  • 29 พฤศจิกายน 2466 – นายกองเอก[25]

ตำแหน่ง

แก้
  • 1 ตุลาคม 2463 – ผู้บังคับกองพันเสือป่าที่ 3[26]
  • 4 เมษายน 2467 – องคมนตรี[27]
  • 12 พฤษภาคม 2468 – ผู้บัญชาการกองเสนาน้อยรักษาดินแดนนครไชยศรี[28]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ข่าวตาย
  2. อนุสาวรีย์พระยาสุนทรบุรีศรีพิชัยสงคราม
  3. โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัย จังหวัดสุพรรณบุรี จัดงานวาระเกียรติยศครบรอบ 124 ปี "สร้างคนดี มีความรู้ สู่สังคม"
  4. ประกาศพระราชทานนามสกุล ครั้งที่ 9
  5. ตำนานสุนทราภรณ์ (4)
  6. พระราชทานสัญญาบัตร
  7. พระราชทานสัญญาบัตรขุนนาง
  8. พระราชทานยศ กระทรวงมหาดไทย (หน้า 979)
  9. พระราชทานยศ
  10. แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการกับย้ายและเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการ
  11. ตั้งและเลื่อนบรรดาศักดิ์
  12. พระราชทานยศเลื่อนยศ (หน้า 1603)
  13. รายวันพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  14. พระราชทานยศ
  15. พระราชทานยศ
  16. พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์
  17. พระบรมราชโองการ ประกาศตั้งสมุหเทศาภิบาล
  18. พระราชทานยศ
  19. ประกาศ ตั้งสมุหเทศาภิบาลมณฑลต่าง ๆ
  20. ส่งสัญญาบัตรเสือป่าไปพระราชทาน
  21. ตั้งตำแหน่งยศเสือป่า
  22. พระราชทานยศเสือป่า
  23. พระราชทานยศเสือป่า
  24. พระราชทานยศเสือป่า
  25. "พระราชทานยศเสือป่า" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 3027. 23 ธันวาคม 1923. สืบค้นเมื่อ 17 กันยายน 2024.
  26. ประกาศกรมบัญชาการคณะเสือป่า
  27. "การพระราชพิธีตั้งองคมนตรี พระพุทธศักราช 2467" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา: 69. 5 มิถุนายน 1923.
  28. "ประกาศกรมบัญชาการคณะเสือป่า เรื่อง เลื่อนตำแหน่งสมาชิกเสือป่ารับราชการ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 พฤษภาคม 1925.
  29. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๙, ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๖
  30. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๐ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๗๓, ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๖
  31. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๖๐๐, ๙ ตุลาคม ๑๒๙
  32. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเหรียญจักรพรรดิมาลาไปพระราชทาน, เล่ม ๓๙ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๑, ๗ พฤษภาคม ๒๔๖๕
  33. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๙๑, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  34. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัตยุบัน, เล่ม ๒๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๔๕, ๒๙ มกราคม ๑๒๙