พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ)
พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ นามเดิม พิจารณ์ ดุละลัมพะ (9 มกราคม พ.ศ. 2436 – 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502) อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ดำรงตำแหน่งระหว่างปี พ.ศ. 2489-2490
พระพิจารณ์พลกิจ (พิจารณ์ ดุละลัมพะ) | |
---|---|
อธิบดีกรมตำรวจ | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ธันวาคม 2489 – 8 สิงหาคม 2490 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท พระรามอินทรา |
ถัดไป | พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 มกราคม พ.ศ. 2436 เมืองตราด ประเทศสยาม |
เสียชีวิต | 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 (66 ปี) จังหวัดพระนคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | คุณนายกิมบ๊วย นางผาด พิจารณ์พลกิจ |
พระพิจารณ์พลกิจ | |
---|---|
ชั้นยศ | พลตำรวจตรี |
บังคับบัญชา | กรมตำรวจ |
วัยเด็กและการศึกษา
แก้พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ มีนามเดิมว่า ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ เกิดเมื่อวันจันทร์ ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2435 ปีมะโรง จ.ศ. 1254 (นับแบบปัจจุบันคือปี พ.ศ. 2436) ณ บ้านตลาดขวาง ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราดเป็นบุตรคนที่ 7 ของ ขุนนราพานิช ( บ๊วย ) และ นางหยาม ดุละลัมพะ ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา 12 คน ดังนี้
- นางกิมไส ดุละลัมพะ
- นางกิมสี คำจิ่ม
- นางสาวกิมสอง ดุละลัมพะ
- รองอำมาตย์เอก หลวงรจิตจักรภัณฑ์ ( เซ็ก ดุละลัมพะ )
- นายสุชาติ ดุละลัมพะ
- นางสาวกิมค๊อก ดุละลัมพะ
- พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ
- นางแส ดุละลัมพะ
- นางสาวสวิง ดุละลัมพะ
- นางสาวแสวง ดุละลัมพะ
- นางสาวกิมเง๊ก ดุละลัมพะ
- พลตำรวจตรีโมรา ดุละลัมพะ
เมื่อเยาว์วัย ได้เข้าศึกษาที่วัดไผ่ล้อม (จังหวัดตราด) ในสำนักของพระวิมลเมธาจารย์ วรญาณคณานุรักษ์ (เจ้ง จนฺทสโร) เจ้าคณะจังหวัดตราด (ปัจจุบันคือโรงเรียนตราษตระการคุณ) จนสอบไล่ได้ประกาศนียบัตร ประถมชั้น 3 เมื่ออายุได้ 11 ปี ต่อมา เมื่อ พ.ศ. 2446 รัฐบาลไทยได้ยกจังหวัดตราดให้กับฝรั่งเศส โดยได้แลกกับจังหวัดจันทบุรีที่ยึดไว้เป็นประกันนั้น จึงได้อพยพติดตามมารดากับพี่น้องมาอยู่ที่จันทบุรีชั่วระยะหนึ่ง แล้วย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ โดยมาเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนปทุมคงคา แล้วลาออก ต่อมามารดาพาเข้าไปฝากตัวต่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ซึ่งขณะนั้นยังดำรงสมณศักดิ์ที่พระญาณวราภรณ์
รับราชการ
แก้เริ่มเข้ารับราชการครั้งแรก เป็นเสมียนโรงกลึง ในกรมทาง กระทรวงคมนาคม เมื่อ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2453 แล้วจึงโอนมารับราชการในกระทรวงนครบาล เมื่อ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2455 ได้ศึกษาวิชาการตำรวจ สำเร็จการศึกษาในปีถัดมา
ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระพิจารณ์พลกิจ เมื่อ วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 [1]
ตำแหน่งในราชการในเจริญมาโดยลำดับ คือ
- วันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2455 เป็นนักเรียนนายหมวด กระทรวงนครบาล เงินเดือน 20 บาท
- วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2458 เป็นรองสารวัตรตำรวจสามแยก เงินเดือน 60 บาท
- วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2463 เป็นสารวัตรตำรวจกองพิเศษ
- วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2471 เป็นสารวัตรใหญ่กองพิเศษ และช่วยราชการแผนกทะเบียนปืน ทะเบียนรถ เงินเดือน 260 บาท
- - ผู้กำกับการตำรวจนครบาลกองพิเศษ
- 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2473 - รั้งตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลกองพิเศษ[2]
- 4 ธันวาคม พ.ศ. 2473 ผู้บังคับการตำรวจนครบาลกองพิเศษ[3]
- 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2475 เป็นผู้บังคับการตำรวจนครบาลพระนครเหนือ [4]
- 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 เป็นผู้บังคับการตำรวจสันติบาล [5]
- 12 เมษายน พ.ศ. 2480 เป็นรองอธิบดีกรมตำรวจ [6]
- 1 ตุลาคม พ.ศ. 2482 เป็นรองอธิบดี และรักษาการแทนผู้กำกับการ 2 สันติบาล เงินเดือน 900 บาท
ราชการพิเศษ
แก้- วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 เป็นผู้จับกุมชนชาติศัตรูผู้ไม่หวังดีต่อบ้านเมืองขณะนั้น
- วันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2469 เป็นเลขานุการผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ไปประชุมที่ปีนัง และสังคโปร์ เป็นเวลา 12 วัน
- วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2478 เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 และเป็นผู้แทนรัฐบาล ไปประชุมสมัชชาสันนิบาตชาติ ที่บันดุง ชวา
- พ.ศ. 2482 เป็นกรรมการพิจารณาตอบกระทู้ และร่าง พ.ร.บ.สภาผู้แทนราษฎร
- พ.ศ. 2483 เป็นกรรมการพิจารณาป้องกัน และปราบปรามโจรผู้ร้าย
- พ.ศ. 2483 เป็นกรรมการอำนวยการจัดงานวันชาติ
ได้รับตำแหน่งสูงสุดในราชการคืออธิบดีกรมตำรวจ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489[7] ในสมัยรัฐบาลพลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และได้ลาออกจากราชการ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ .2490 โดยให้เหตุผลว่าสุขภาพไม่สมบูรณ์[8] และไม่กลับเข้ารับราชการอีกเลย แม้ภายหลังจะมีผู้มาขอร้องให้ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย แต่ท่านก็ไม่รับ เครื่องราชอิสริยาภรณ์สูงสุดที่ได้คือ ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2
เมื่อลาออกจากราชการแล้ว ในปี พ.ศ. 2490 ได้อุปสมบท ณ วัดเบญจมบพิตร โดยมีสมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า "วิจารโณ" และภายหลังเมื่อลาสิกขาแล้ว ก็ได้ใช้ชีวิตไปกับการอุทิศตนให้กับศาสนา ด้วยการถือศีล ฟังธรรมเทศนา ในวันธรรมสวนะตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดบุปผาราม วัดราชาธิวาศ วัดมหาธาตุ และสุดท้ายคือวัดราชผาติการาม โดยมีความเคารพนับถือ และเป็นที่คุ้นเคยของพระเถระผู้ใหญ่หลายรูป อาทิ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (วิน ธมฺมสาโร) วัดราชผาติการาม พระศาสนโศภน (แจ่ม จตฺตสลฺโล) วัดมกุฎกษัตริยาราม พระธรรมวราลังการ (กล่อม อนุภาโส) วัดบุปผาราม เป็นต้น ได้บวชกุลบุตรให้อุปสมบทในวัดต่าง ๆ รวมถึง 44 รูป
ยศและบรรดาศักดิ์
แก้- ร้อยตำรวจตรี
- 27 พฤศจิกายน 2463 – ร้อยตำรวจโท[9]
- 30 ธันวาคม พ.ศ. 2464 - ขุนพิจารณ์พลกิจ ถือศักดินา ๔๐๐[10]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2466 - ร้อยตำรวจเอก[11]
- 1 มกราคม พ.ศ. 2466 - หลวงพิจารณ์พลกิจ ถือศักดินา ๖๐๐[12]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 - พันตำรวจตรี[13]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 - พันตำรวจโท[14]
- 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2473 - พระพิจารณ์พลกิจ
- 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 - พันตำรวจเอก[15]
- 1 ธันวาคม พ.ศ. 2489 - พลตำรวจตรี
ครอบครัว
แก้ด้านชีวิตครอบครัว ในปี พ.ศ. 2457 ได้สมรสครั้งแรกกับคุณนายกิมบ๊วย มีบุตร-ธิดา 3 ท่าน คือ
- นายสังข์เวียน ดุละลัมพะ
- นางสายสวาท ยอดมณี
- นายเฉลิม ดุละลัมพะ
เมื่อคุณนายกิมบ๊วย ถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 จึงได้สมรสอีกครั้ง กับ คุณผาด สินธุสาร ภายหลังคือ นางพิจารณ์พลกิจ (ผาด ดุละลัมพะ) โดยมีเจ้าคุณพระประยูรวงศ์ พระสนมเอกในรัชกาลที่ 5 เป็นเจ้าภาพสมรสให้ ณ วังสวนสุพรรณ สามเสน กรุงเทพฯ และได้ร่วมทุกข์สุขกันจนสิ้นชีวิต แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน แต่ได้อนุเคราะห์หลานมาเป็นบุตรบุญธรรม 4 คน คือ
- นางผาสุข สุนทรขจิต
- นายรุ่งเรือง ดุละลัมพะ
- นายดุละดิลก ดุละลัมพะ
- เด็กหญิงวราทร ดุละลัมพะ
พลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ ป่วยด้วยโรคปอด และเบาหวาน มาตั้งแต่รับราชการ ได้พยายามเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชียวชาญหลายท่าน เช่น ศ.นพ.ประเสริฐ กังสดาลย์ และ พ.ต.หลวงนิตย์เวชช์วิศิษฐ์ ฯลฯ แต่ก็ทรุดลงเรื่อยมา จนถึงแก่กรรม ณ บ้านพึ่งประยูร เลขที่ 950 ถนนนครไชยศรี ดุสิต กรุงเทพ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2502 รวมอายุ 67 ปี 10 เดือน 8 วัน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[16]
- พ.ศ. 2482 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[17]
- พ.ศ. 2478 – เหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (พ.ร.ธ.)[18]
- พ.ศ. 2484 – เหรียญช่วยราชการเขตภายใน การรบสงครามอินโดจีน (ช.ร.)[19]
- พ.ศ. 2472 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[20]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 2 (อ.ป.ร.2)[21]
- พ.ศ. 2468 – เหรียญบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ 7 (ร.ร.ศ.7)
- พ.ศ. 2475 – เหรียญเฉลิมพระนคร 150 ปี (ร.ฉ.พ.)
อ้างอิง
แก้- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๙๗๔)
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งผู้รั้งตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจนครบาลกองพิเศษ
- ↑ เรื่อง ตั้งผู้บังคับการตำรวจนครบาลกองพิเศษ
- ↑ ประกาศ ปลดและย้ายนายตำรวจ (หน้า ๔๙๖)
- ↑ บรรจุนายตำรวจ (หน้า ๓๓๓๓)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ตั้งรองอธิบดีกรมตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศและแต่งตั้งข้าราชการ
- ↑ แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อนุญาตให้ข้าราชการลาออกจากราชการ
- ↑ พระราชทานยศ
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๒๙๓๖)
- ↑ พระราชทานยศ (หน้า ๓๒๐๔)
- ↑ พระราชทานบรรดาศักดิ์ (หน้า ๓๒๗๘)
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน (หน้า ๒๔๕๒)
- ↑ พระราชทานยศพลเรือน (หน้า ๒๗๘๒)
- ↑ ประกาศ เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๒๐๐, ๑๖ ตุลาคม ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๘๐๓, ๒๕ กันยายน ๒๔๘๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, บัญชีรายนาม ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๒ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๔๕, ๑๒ พฤษภาคม ๒๔๗๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญช่วยราชการเขตภายใน เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๙๕๔, ๒๓ มิถุนายน ๒๔๘๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญ เก็บถาวร 2022-06-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๔๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๓, ๑๒ มกราคม ๒๔๗๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๐๘, ๒๓ มกราคม ๒๔๘๑
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- พิจารณ์อนุสรณ์ : ( เพื่อเป็นที่ระลึก ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพลตำรวจตรี พระพิจารณ์พลกิจ ณ สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2503 )
ก่อนหน้า | พระพิจารณ์พลกิจ (ยู่เซ็ก ดุละลัมพะ) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พลตำรวจโท พระรามอินทรา (ดวง จุลัยยานนท์) |
อธิบดีกรมตำรวจ คนที่ 12 (2489 – 2490) |
พลตำรวจเอก หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) |