ผู้ใช้:Slentee/กระบะทราย/ญี่ปุ่น/การสวรรคตของจักรพรรดิโชวะ
--แปลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Death_and_funeral_of_Emperor_Sh%C5%8Dwa
สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ พระจักรพรรดิพระองค์ที่ 124 แห่งจักรพรรดิญี่ปุ่นตามกฎมณเฑียรบาลการสืบราชบัลลังก์ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 ด้วยโรคมะเร็งพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) พระบรมศพของพระองค์ถูกประดิษฐานไว้จนถึงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ จากนั้นพระบรมศพของพระองค์ถูกอัญเชิญไปประดิษฐานในหลุมพระบรมศพ ใกล้กับพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนี ภายในสุสานหลวงมุซะชิ ในเขตฮะชิโอจิ โตเกียว
พระอาการประชวรและการสวรรคต
แก้เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2530 สมเด็จพระจักรพรรดิทรงได้รับการผ่าตัดพระยกนะอ่อน (ตับอ่อน) ภายหลังจากที่พระองค์ทรงประสบปัญหาในระบบทางเดินพระกระยาหารเป็นเวลาหลายเดือน คณะแพทย์ได้ตรวจพบว่าพระองค์ทรงพระประชวรด้วยโรงมะเร็งพระอันตะ สมเด็จพระจักรพรรดิทรงเข้ารับการรักษาและการฟื้นฟูพระอาการอย่างสุดความสามารถเป็นเวลาหลายเดือนหลังการการผ่าตัด ต่อมาประมาณอีกหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2531 พระองค์ได้เสด็จแปรพระราชฐานกลับไปประทับยังพระราชวัง และพระอาการของพระองค์ทรุดหนักลงในช่วงหลายเดือนต่อมา และทรงทุกข์ทรมานจากอาการพระโลหิตไหลในพระวรกายอย่างต่อเนื่อง
เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 โชอิชิ ฟุจิโมะริ จางวางใหญ่สำนักพระราชวังญี่ปุ่นได้ออกประกาศอย่างเป็นทางการว่า สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเสด็จสวรรคต และยังได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับพระอาการประชวรด้วยพระโรคมะเร็งของพระจักรพรรดิเป็นครั้งแรก จักรพรรดิฮิโระฮิโตะทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ด้วยพระภรรยา มีพระราชบุตรที่ยังดำรงพระชนมชีพรวม 5 พระองค์ พระราชนัดดา 10 พระองค์ และพระราชปนัดดา 1 พระองค์[1]
"การสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิ"
แก้สมเด็จพระจักรพรรดิฮิโตะฮิโระเสด็จสวรรคต เป็นการสิ้นสุดสมัยโชวะ ซึ่งราชบัลลังก์ได้รับการสืบต่อโดยพระราชโอรสของพระองค์ คือ มกุฎราชกุมารอะกิฮิโตะ ด้วยสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นการเริ่มต้นยุคใหม่คือ ยุคเฮเซ มีผลตั้งแต่กลางดึกคืนหลังวันที่จักรพรรดิฮิโระฮิโตะสวรรคต พระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ตามประเพณี ถูกจัดขึ้นในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 ที่กรุงโตเกียว
ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2532 จนถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2532 พระจักรพรรดิซึ่งสวรรคตได้ไม่นาน ได้รับการขานพระนามอย่างเป็นทางการว่า ไทโก เท็นโน (ญี่ปุ่น: 大行天皇; โรมาจิ: สมเด็จพระจักรพรรดิที่สิ้นรัชสมัยไปแล้ว) ต่อมาทรงได้รับการขนานพระนามหลังสวรรคตอย่างเป็นทางการว่า โชวะ เท็นโน (ญี่ปุ่น: 昭和天皇) เมื่อวันที่ 13 มกราคม และถูกประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 31 มกราคม โดยโทะชิกิ ไคฟุ นายกรัฐมนตรี
พระราชพิธีพระบรมศพ
แก้เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 พระราชพิธีพระบรมศพจักรพรรดิโชวะถูกจัดขึ้น และยังแตกต่างจากรัชสมัยก่อน โดยเป็นพระราชพิธีทางการแต่ไม่ได้ดำเนินการในลักษณะเคร่งครัดแบบชินโตอ้างอิงผิดพลาด: ไม่มีการปิด </ref>
สำหรับป้ายระบุ <ref>
ต่างกับพระราชพิธีพระบรมศพจักรพรรดิไทโชเมื่อ 62 ปีก่อน ที่ไม่มีริ้วขบวนทางการของเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบทหาร และยังห่างไกลจากพระราชพิธีแบบชินโต ที่ ณ เวลานั้นเชิดชูพระจักรพรรดิเป็นเสมือนเทพเจ้า การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีความหมายถึงการเน้นที่งานพระบรมศพจักรพรรดิโชวะ ซึ่งทรงเป็นจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญภายหลังสงครามพระองค์แรก และเป็นพระราชพิธีพระบรมศพครั้งแรกที่ถูกจัดขึ้นตอนกลางวัน[2]
ความล่าช้า 48 วันระหว่างวันที่เสด็จสวรรคตและพระราชพิธีพระบรมศพซึ่งคล้ายกับพระจักรพรรดิพระองค์ก่อน และเวลาที่อนุญาตสำหรับพิธีกรรมจำนวนมาก นำไปสู่งานพระบรมศพ[2] โดยพระบรมศพของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตประดิษฐานอยู่ภายในโลงพระบรมศพสามโลง
สภาพอากาศในวันงานพระราชพิธีพระบรมศพนั้นมีอากาศหนาวเย็น ท้องฟ้าปกคลุมไปด้วยสีเทา และเปียกโชกไปด้วยฝนที่ตกอย่างต่อเนื่องภายในกรุงโตเกียว[3]
พระราชพิธีในพระราชวังหลวง
แก้พระราชพิธีเริ่มต้นขึ้นในเวลา 07.30 น. เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะเสด็จไปดำเนินพระราชพิธีถวายการอำลาส่วนพระองค์ แด่พระบรมราชชนกภายในพระราชวังหลวง[3]
ขบวนพระราชพิธีพระบรมศพในโตเกียว
แก้เมื่อเวลา 09.35 น. รถยนต์สีดำอัญเชิญพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะออกจากพระราชวังหลวงเป็นระยะทาง 2 ไมล์ไปยังอุทยานหลวงชินจุกุ ซึ่งพระราชพิธีแบบชินโตและรัฐพิธีถูกจัดขึ้น[3] เสียงแหลมของสมุดกกทำลายความเงียบในขณะที่รถยนต์อัญเชิญโลงพระบรมศพขับข้ามสะพานหินและออกผ่านไปทางประตูของพระราชวังหลวง อากาศสั่นสะเทือนไปด้วยเสียงปืนใหญ่และเสียงบรรเลงแตรวงถวายด้วยเพลงถวายความอาลัยของพระราชพิธีพระศพพระปัยยิกาในจักรพรรดิโชวะ ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19[2]
รถยนต์อัญเชิญพระบรมศพเคลื่อนไปพร้อมกับขบวนรถ 60 คัน เส้นทางที่ขบวนแห่ในโตเกียวเต็มไปด้วยผู้เข้าร่วมชมพระราชพิธีกว่า 800,000 คน และตำรวจพิเศษ 32,000 นาย ซึ่งมีการระดมกำลังเพื่อป้องกันการโจมตีของผู้ก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้น[3]
เส้นทางของขบวนพระบรมศพผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเป็นหลักของประชาธิปไตยในญี่ปุ่นสมัยใหม่ สนามกีฬาแห่งชาติ ที่ซึ่งพระจักรพรรดิเคยเสด็จพระราชดำเนินไปในการเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 และป่าวประกาศการเกิดใหม่ของญี่ปุ่นภายหลังสงคราม[3]
พระราชพิธีในอุทยานหลวงชินจุกุ
แก้ขบวนแห่งพระบรมศพ 40 นาที พร้อมด้วยดนตรีบรรเลงแตรวงสิ้นสุดลง เมื่อพระบรมศพมาถึงอุทยานหลวงชินจุกุ ซึ่งถูกสงวนไว้สำหรับใช้ในงานของพระราชวงศ์จนถึงปี พ.ศ. 2492 และเป็นหนึ่งในสวนที่เป็นที่นิยมที่สุดของโตเกียว[2]
ที่อุทยานหลวงชินจุกุ พระราชพิธีพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะดำเนินการในโซะโจะเด็น ห้องโถงสำหรับพระราชพิธีพระบรมศพที่ถูกสร้างขึ้นไว้เป็นพิเศษ ห้องโถงนี้ถูกสร้างขึ้นจากสิ่งทอบางละเอียดสำหรับไว้ทุกข์แบบญี่ปุ่นและต่อกันขึ้นร่วมกับตะปูไม้ไผ่เป็นการรักษาโบราณราชประเพณีสำหรับพระจักรพรรดิ[3]
แขกซึ่งได้รับเชิญอย่างเป็นทางการเข้าพำนักภายในเต็นท์สีขาวสองหลังด้านหน้าโถงพระราชพิธีพระบรมศพ เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำ แขกจำนวนมากจึงใช้ถุงมือเคมีให้ความอบอุ่นและห่มผ้าขนสัตว์เพื่อความอบอุ่นในขณะดำเนินพระราชพิธีแบบชินโตและรัฐพิธีกว่า 3 ชั่วโมง[3]
ขบวนพระเสลี่ยง
แก้โลงพระบรมศพจักรพรรดิโชวะถูกอัญเชิญไปประดิษฐานบนพระเสลี่ยง ซึ่งทำจากไม้ไซปรัสพ่นเคลือบด้วยสีดำ เจ้าพนักงานในชุดเสื้อคลุมยาวสีเทา สวมหมวกทรงแคบสูงสีดำและสวมรองเท้าไม้ขนาดใหญ่พิเศษสีดำ อัญเชิญป้ายสีขาวและเหลือง โล่และป้ายสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ นำขบวน 225 คน วงดนตรีบรรเลงเพลงงะกะกุ ต่อมาเป็นเจ้าพนักงานสวมเสท่อคลุมสีเทา ถือต้นซะกะกิอันศักดิ์สิทธิ์สองต้น คลุมด้วยริ้วผ้า และกล่องพระราชพิธีซึ่งมีพระกระยาหารและผ้าไหมถวายให้แด่ดวงพระวิญญาณของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตไป[2]
ในการดำเนินพระราชพิธี 9 นาที ข้าราชการ 51 คนของสำนักพระราชวังญี่ปุ่น แต่งกายดั้งเดิมแบบชินโตสีเทา อัญเชิญโซะกะเร็นหนัก 1.5 ตัน (พระเสลี่ยงหลวง; Imperial Palanquin) ที่ประดิษฐานโลงพระบรมศพ 3 ชั้นของจักรพรรดิโชวะเข้าไปภายในห้องโถงพระราชพิธีพระบรมศพ ซึ่งขณะอัญเชิญได้เดินขึ้นไปตามทางเดินระหว่างเต็นต์สีขาวที่พำนักของบุคคลสำคัญทั้งในและต่างประเทศ[3][2]
หลังจากขบวนโลงพระบรมศพ จางวางใหญ่สวมชุดขาว อัญเชิญจานขนาดใหญ่ซึ่งมีฉลองพระบาทสีขาว ตามประเพณีกล่าวว่าพระมหากษัตริย์ผู้สวรรคตจะทรงฉลองพระบาทสีขาวเสด็จไปบนสวรรค์ ซึ่งมีขลุ่ย ปี่ และเสียงกลองเป็นขบวนเข้ามาภายในพระราชพิธี[3] สมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ใหม่ คือสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ พร้อมด้วยสมเด็จพระจักรพรรดินีมิชิโกะทรงถือพระกลดขนาดใหญ่ส่วนพระองค์ ตามพระเสลี่ยงพร้อมด้วยพระราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ[2]
ขบวนแห่พระบรมศพผ่านประตูไม้โทริอิขนาดเล็ก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชินโตหมายถึงทางเข้าพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เข้าไปภายในโซะโจะเด็น[2]
พระราชพิธีชินโต
แก้พระราชพิธีภายในโซะโจะเด็นถูกแบ่งเป็นพิธีกรรมทางศาสนา คือ พระราชพิธีโซะโจะเด็น โนะ งิ ตามด้วยรัฐพิธีไทโซะ โนะ เร[3]
เมื่อขบวนพระบรมศพเข้าไปภายในโถงพระราชพิธีพระบรมศพแล้ว พระราชพิธีพระบรมศพส่วนชินโตก็เริ่มขึ้นและม่านกั้นแบ่งสีดำได้ถูกดึงปิดลง เผยให้เห็นถึงพระราชพิธีที่มีอายุหลายศตวรรษ เพื่อประกอบพิธีสวดมนต์ เจ้าพนักงานเข้าใกล้แท่นบูชาของพระจักรพรรดิ ถือถาดไม้สวรรค์ของปลาบรีมทะเล, นกป่า, สาหร่ายเคลป์, สาหร่ายทะเล, มันฝรั่งภูเขา, เมลอน และพระกระยาหารราคาแพงอื่น ๆ ซึ่งพระกระยาหารนั้นเช่นเดียวกับผ้าไหม คือ นำมาถวายแด่ดวงพระวิญญาณของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตไป หัวหน้างานพิธี คือ เพื่อนร่วมชั้นเรียนของจักรพรรดิฮิโระฮิโตะเมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ซึ่งนำส่งไปยังที่อยู่ ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอะกิฮิโตะ[2]
พระราชพิธียังคงดำเนินต่อไปด้านหลังม่านสีดำ จนมีการส่งสัญญาณการสิ้นสุดของส่วนพระราชพิธีชินโตของงานพระบรมศพ[2]
รัฐพิธี
แก้เมื่อม่านแยกออกอีกครั้ง หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เริ่มในส่วนงานรัฐพิธีของงานพระบรมศพ ในตอนเที่ยงวันที่เรียกว่านาทีแห่งความเงียบสงัดทั่วประเทศญี่ปุ่น[2] นายกรัฐมนตรีทะเกะชิตะกล่าวคำสรรเสริญพระเกียรติยศแบบสั้น โดยเขากล่าวว่า ในรัชสมัยของพระจักรพรรดิที่เพิ่งสวรรคตไปนั้น จะจดจำในเหตุการณ์สำคัญและยามวุ่นวายนั้น อันประกอบด้วยสงครามโลกครั้งที่สอง และการฟื้นฟูในท้ายที่สุดของญี่ปุ่น[3] จากนั้นแขกผู้มีเกียรติจากต่างประเทศได้ไปยังแท่นบูชา และแสดงความเคารพทีละคน โดยบางคนน้อมศีรษะลง บางคนโค้งคำนับเล็กน้อย[2]
พระราชพิธีในสุสานหลวง
แก้ถัดจากรัฐพิธีแล้ว โลงพระบรมศพพระจักรพรรดิโชวะถูกอัญเชิญไปยังสุสานหลวงมุซะชิ แถบชานเมืองของเขตฮะชิโอจิ เพื่อดำเนินพิธีฝังพระบรมศพ เมื่อครั้งพระราชพิธีพระบรมศพของพระจักรพรรดิไทโช ในปี 2470 การเดินทางไปยังสุสานหลวงมุซะชิต้องใช้เวลาดำเนินการ 3 ชั่วโมง แต่ในพระราชพิธีพระบรมศพของพระจักรพรรดิโชวะนั้นใช้การเดินทางโดยรถยนต์จึงย่นระยะเวลาลงเหลือ 40 นาที[3] การพระราชพิธีดำเนินการต่อไปอีกหลายชั่วโมง จนกระทั่งพระบรมศพได้รับการฝังภายในหลุมพระบรมศพ ในเวลาค่ำ ซึ่งเป็นเวลาตามธรรมเนียมดั้งเดิมในการฝังพระบรมศพของพระจักรพรรดิ[2]
อาคันตุกะและผู้เข้าร่วมงาน
แก้มีประชาชนประมาณ 200,000 คนอยู่เรียงรายไปตามด้านข้างของขบวน ซึ่งน้อยกว่าที่ทางการคาดไว้ที่ 860,000 ตน[2] งานพระราชพิธีพระบรมศพของจักรพรรดิโชวะมีแขกรับเชิญทางการประมาณ 10,000 คน ประกอบด้วยทูตจาก 163 ชาติ องค์กรระหว่างประเทศ 27 องค์กร และมีผู้นำจำนวนมากเข้าร่วมในงานพระบรมศพ อาทิ สมเด็จพระราชาธิบดีควน การ์โลสที่ 1 แห่งสเปน, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม, สมเด็จพระราชาธิบดีเตาฟาอาเฮา ตูโปอูที่ 4 แห่งตองงา, สมเด็จพระราชาธิบดีฮุสเซนแห่งจอร์แดน, สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาละห์แห่งบรูไน, สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี ซิงเย วังชุกแห่งภูฏาน, แกรนด์ดยุกฌ็องแห่งลักเซมเบิร์ก, เจ้าชายเฮนริกแห่งเดนมาร์ก พระราชสวามี, เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ, สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรไทย, มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์, ฮาเวียร์ เปเรซ เด กวยยา เลขาธิการสหประชาชาติ, มิเชล คอมเดซซูส กรรมการผู้จัดการของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ, ฌอนคลูด เปเย เลขาธิการขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา, จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา, ฟร็องซัว มีแตร็อง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส, คอราซอน อากีโน ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์, โมบูตู เซเซ เซโก้ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐซาอีร์[4], ซูฮาร์โต ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย และอื่น ๆ[5]
ในจำนวนนั้นมีผู้นำประเทศ 55 ท่าน, พระราชวงศ์ 14 พระองค์, นายกรัฐมนตรี 11 คน, รองผู้นำรัฐ 19 คน
- ↑ Hirohito's survivors
- ↑ 2.00 2.01 2.02 2.03 2.04 2.05 2.06 2.07 2.08 2.09 2.10 2.11 2.12 2.13 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อChira
- ↑ 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 3.11 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อYates
- ↑ Meredith, Martin. The Fate of Africa: A History of the Continent Since Independence (Revised and Updated), p. 308.
- ↑ "Paying Respects: A Global Roll-Call". New York Times. 24 February 1989. สืบค้นเมื่อ 1 September 2016.