ประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่การตั้งถิ่นฐานก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ตอนเหนือไปจนถึงการพิชิตอียิปต์ของโรมันเมื่อ 30 ปีก่อนคริสตกาล ช่วงสมัยฟาโรห์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อียิปต์ถูกปกครองโดยฟาโรห์ โดยเริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 32 ก่อนคริสตกาล เมื่ออียิปต์บนและล่างรวมเป็นราชอาณาจักรหนึ่งเดียว จนกระทั่งราชอาณาจักรตกอยู่ภายใต้การปกครองของมาซิโดเนียในเมื่อ 332 ก่อนคริสตกาล

ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ แก้

หมายเหตุ
สำหรับ 'การปรับปรุง' ของลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์อื่นๆ ดูที่ ลำดับเหตุการณ์ของอียิปต์

ประวัติศาสตร์ของอียิปต์แบ่งออกเป็นหลายช่วงเวลาตามราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครองของฟาโรห์แต่ละพระองค์ การระบุช่วงเวลาของลำดับเหตุการณ์ยังคงเป็นประเด็นในการของการศึกษาวิจัย โดยที่ลำดับเวลาแบบดั้งเดิมนั้นไม่ได้รับการสนับสนุนโดยช่วงเวลาที่แน่นอนที่น่าเชื่อถือได้เป็นระยะเวลาประมาณสามพันปี ซึ่งต่อไปนี้เป็นรายการตามลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์โดยทั่วไป

สมัยหินใหม่ของอียิปต์ แก้

สมัยหินใหม่ แก้

แม่น้ำไนล์เป็นเส้นชีวิตสำหรับวัฒนธรรมอียิปต์ตั้งแต่ช่วงเวลาแห่งการเร่ร่อนล่าสัตว์เก็บอาหาร ซึ่งมีการเริ่มอาศัยอยู่ตามแม่น้ำในช่วงสมัยไพลสโตซีน ร่องรอยของมนุษย์ยุคแรกดังกล่าวปรากฏในรูปแบบของสิ่งประดิษฐ์และการแกะสลักหินตามพื้นที่ริมแม่น้ำไนล์และในโอเอซิส

ตามสายแม่น้ำไนล์เมื่อ 12 พันปีก่อนคริสตกาล วัฒนธรรมการบดเมล็ดพืชในยุคหินบนโดยใช้ใบเคียวชนิดแรกสุดได้เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมการล่าสัตว์ การตกปลา และการล่าสัตว์โดยใช้เครื่องมือหิน หลักฐานยังบ่งชี้ถึงที่อยู่อาศัยของมนุษย์และการเลี้ยงปศุสัตว์ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของอียิปต์ใกล้ชายแดนซูดานเมื่อก่อน 8 พันปีก่อนคริสตกาล

อย่างไรก็ตาม แนวคิดเรื่องการเลี้ยงปศุสัตว์อย่างอิสระในแอฟริกาต้องยุติลงไปเพราะหลักฐานที่ตามมาซึ่งรวบรวมในช่วงสามสิบปีไม่สามารถยืนยันประเด็นดังกล่าวได้[1]

หลักฐานทางโบราณคดียืนยันว่าการตั้งถิ่นฐานของประชากรเกิดขึ้นในบริเวณนิวเบียตั้งแต่ช่วงปลายยุคไพลสโตซีนและเมื่อตั้งแต่ 5 สหัสวรรษก่อนคริสตกาลเป็นต้นไป ในขณะที่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า "ไม่มีหรือมีน้อย" เกี่ยวกับการมีอยู่ของมนุษย์ในพื้นที่ราบริมแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากปัญหาในการอนุรักษ์พื้นที่[2]

ซากปศุสัตว์บ้านที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักในแอฟริกามาจากฟัยยูมเมื่อราวประมาณ 4400 ปีก่อนคริสตกาล[3] หลักฐานทางธรณีวิทยาและการศึกษาการสร้างแบบจำลองสภาพอากาศด้วยคอมพิวเตอร์บ่งชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศตามธรรมชาติในช่วงประมาณ 8 พันปีก่อนคริสตกาลเริ่มทำให้ผืนดินอันกว้างใหญ่ของแอฟริกาเหนือแห้งแล้ง และในที่สุดก็ก่อตัวเป็นทะเลทรายซาฮาราเมื่อศตวรรษที่ 25 ก่อนคริสตกาล

ความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องส่งผลให้บรรพบุรุษในยุคแรกเริ่มของชาวอียิปต์ต้องตั้งถิ่นฐานบริเวณริมแม่น้ำไนล์อย่างถาวรมากขึ้น และบังคับต้องใช้ชีวิตแบบอยู่กับที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ช่วงเวลาเมื่อตั้งแต่ 9 ถึง 6 พันปีก่อนคริสตกาลได้ทิ้งหลักฐานทางโบราณคดีไว้น้อยมาก

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์ แก้

 
A Gerzeh culture vase decorated with gazelles, on display at the Louvre.

ลุ่มแม่น้ำไนล์ของอียิปต์ยังเป็นพื้นที่อยู่อาศัยไม่ได้จนกว่าเกิดการถางที่และชลประทานบริเวณที่ดินตามริมฝั่ง [4] อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าการถางที่และการชลประทานดังกล่าวดำเนินไปอย่างขนานใหญ่ในช่วงสหัสวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล เมื่อถึงเวลาดังกล่าว สังคมของแม่น้ำไนล์ก็เข้าสู่การทำการเกษตรแบบจัดระเบียบและการก่อสิ่งปลูกสร้างอาคารขนาดใหญ่แล้ว[5]

ในเวลาดังกล่าว ชาวอียิปต์ในบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของอียิปต์กำลังต้อนฝูงปศุสัตว์และสร้างอาคารขนาดใหญ่ด้วยเช่นกัน โดยที่ปูนได้นำใช้ในสหัสวรรษที่ 4 ก่อนคริสตกาล ผู้คนในริมแม่น้ำไนล์และดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์อยู่อาศัยแบบพอเพียงและบริโภคข้าวบาร์เลย์และเอมเมอร์ ซึ่งเป็นข้าวสาลีชนิดแรกๆ และเก็บไว้ในหลุมที่ปูด้วยเสื่อกก[6] ผู้คนเลี้ยงวัว แพะ และหมู และทอผ้าลินินและสานตะกร้า[6] ช่วงเวลายุคก่อนประวัติศาสตร์ยังคงดำเนินต่อไปในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งหลายอย่างได้นำไปสู่จุดเริ่มต้นด้วยวัฒนธรรมอัมราเทียน

วัฒนธรรมทาเซียนเป็นวัฒนธรรมที่ปรากฏอยุ่ในอียิปต์ โดยปรากฏที่ในอียิปต์บนเมื่อประมาณ 4500 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มวัฒนธรรมดังกล่าวตั้งชื่อตามการฝังศพที่พบในดิร์ ทาซา ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ระหว่างอัสยูฏและอัคมิม ซึ่งวัฒนธรรมทาเซียนมีความโดดเด่นในด้านการผลิตเครื่องเคลือบสีดำรุ่นแรกสุด ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาสีแดงและสีน้ำตาลทาสีดำที่ด้านบนและด้านใน[7]

วัฒนธรรมบะดารี ซึ่งตั้งชื่อตามพื้นที่บะดารีที่อยู่ใกล้ดิร์ ทาซา ที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมทาเซียน อย่างไรก็ตาม ความคล้ายคลึงกันนั้นส่งผลให้หลีกเลี่ยงการแยกแตกต่างระหว่างสองวัฒนธรรม โดยวัฒนธรรมบาดะรียังคงผลิตเครื่องปั้นดินเผาประเภทที่เรียกว่า เครื่องปั้นดินเผาดำส่วนบน (ถึงแม้ว่าคุณภาพจะดีขึ้นกว่าตัวอย่างเครื่องปั้นดินเผาจากช่วงเวลาก่อนหน้านี้อย่างมากมากก็ตาม) และได้รับการกำหนดหมายเลขลำดับทางประวัติศาสตร์ระหว่าง 21 และ 29[8] อย่างไรก็ตาม ส่วนความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวัฒนธรรมทาเซียนและวัฒนธรรมบาดะรี ซึ่งทำให้นักวิชาการไม่สามารถรวมทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันได้อย่างสมบูรณ์ก็คือ วัฒนธรรมบะดารีนั้นเป็นวัฒนธรรมสมัยทองแดง ส่วนในขณะที่วัฒนธรรมทาเซียนนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ และด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของยุคหินในทางเทคนิค[8]

วัฒนธรรมอัมราเทียนตั้งชื่อตามที่ตั้งของอัลอัมเราะฮ์ ซึ่งอยู่ห่างจากบะดารีไปทางใต้ประมาณ 120 กิโลเมตร (75 ไมล์) โดยอัลอัมเราะฮ์เป็นสถานที่แรกที่พบว่าวัฒนธรรมนี้ดังกล่าวไม่ปะปนกับวัฒนธรรมญิรซะฮ์ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่พัฒนาขึ้นมาในภายหลัง อย่างไรก็ตาม การค้นพบหลักฐานยืนยันของวัฒนธรรมอัมราเทียนนั้นกลับปรากฏได้ดีกว่าที่เมืองนะกอดะฮ์ และเรียกวัฒนธรรมอัมราเทียนอีกอย่างว่าวัฒนธรรม "นะกอดะฮ์ที่ 1" ซึ่งเครื่องเคลือบสีดำยังคงมีการผลิตต่อไป แต่เครื่องปั้นดินเผาเส้นขวางสีขาว ซึ่งเป็นเครื่องปั้นดินเผาชนิดหนึ่งที่ตกแต่งด้วยเส้นสีขาวขนานชิดกันโดยเส้นสีขาวขนานกันอีกชุดหนึ่งเริ่มผลิตขึ้นในช่วงเวลาดังกล่า วัฒนธรรมอัมราเทียนอยู่ระหว่าง S.D. 30 และ 39[12] โดยวัตถุที่ขุดค้นขึ้นใหม่บ่งชี้ว่ามีการค้าระหว่างอียิปต์บนและอียิปต์ล่างอยู่ในเวลาดังกล่าว แจกันหินจากทางเหนือถูกพบที่อัลอัมเราะฮ์ และทองแดง ซึ่งไม่มีอยู่ในอียิปต์ เห็นได้ชัดว่านำเข้ามาจากคาบสมุทรไซนายหรือบางทีอาจจะเป็นของดินแดนนิวเบีย หินออบซิเดียน[13] และทองคำจำนวนน้อยมาก[12] ต่างก็นำเข้ามาจากนิวเบียในช่วงเวลาดังกล่าว และมีแนวโน้มที่จะมีการค้าเครื่องเทศเช่นกัน[13]

สมัยนะกอดะฮ์ที่ 2 แก้

วัฒนธรรมญิรซะฮ์ (หรือ "นะกอดะฮ์ที่ 2") ซึ่งตั้งชื่อตามที่ตั้งของอัลญิรซะฮ์ เป็นช่วงเวลาต่อมาการพัฒนาทางวัฒนธรรมในอียิปต์ และในช่วงเวลาดังกล่าวเองที่มีการวางรากฐานของวัฒนธรรมอียิปต์โบราณ โดยวัฒนธรรมญิรซะฮ์ส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากวัฒนธรรมอัลอัมเราะฮ์ โดยเริ่มจากบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์และเคลื่อนลงใต้ผ่านอียิปต์บน อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนที่ทางวัฒนธรรมดังกล่าวกลับไม่ได้ส่งผลกระทบกับวัฒนธรรมอัลอัมเราะฮ์ในนิวเบีย[14] ช่วงเวลาวัฒนธรรมญิรซะฮ์ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงอย่างมาก[14] และการทำเกษตรกรรมที่ผลิตเป็นอาหารส่วนใหญ่[14] เนื่องด้วยประมาณของอาหารที่เพิ่มขึ้น ประชาชนจึงใช้ชีวิตแบบอยู่กับที่มากขึ้น และการตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ขึ้นก็ขยายใหญ่ขึ้นเป็นเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนประมาณ 5,000 คน[14] ในเวลาดังกล่าวเองที่ชาวเมืองเริ่มใช้อะโดบีเพื่อสร้างเมืองของตน[14] มีการใช้ทองแดงแทนหินมากขึ้นในการทำเครื่องมือ[14] และอาวุธ[15] เงิน ทอง ไพฑูรย์ (นำเข้ามาจากบาดัคชาน ซึ่งปัจจุบันคืออัฟกานิสถาน) และเครื่องเคลือบอียิปต์ถูกนำมาใช้ประดับ[16] และจานเครื่องสำอางที่ใช้สำหรับทาตาตั้งแต่วัฒนธรรมบาดารีเริ่มประดับด้วยภาพสลัก[15]

เมื่อถึงศตวรรษที่ 33 ก่อนคริสตกาลก่อนหน้าการปกครองของราชวงศ์ที่หนึ่งแห่งอียิปต์ อียิปต์ถูกแบ่งออกเป็นสองราชอาณาจักร ซึ่งรู้จักกันในเวลาต่อมาว่าอียิปต์บนที่อยู่ทางใต้ และอียิปต์ล่าง ซึ่งอยู่ทางเหนือ[17] โดยเส้นแบ่งอย่างคร่าว ๆ อยู่ในบริเวณพื้นที่ของกรุงไคโรในปัจจุบัน

สมัยราชวงศ์ แก้

สมัยราชวงศ์ตอนต้น แก้

บันทึกทางประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณเริ่มต้นด้วยที่ในอียิปต์ในช่วงที่มีฐานะราชอาณาจักรที่เป็นปึกแผ่น ซึ่งรวมราชอาณาจักรขึ้นเมื่อประมาณ 3150 ปีก่อนคริสตกาล ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเชื่อว่าฟาโรห์เมเนสทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ได้ทรงรวมอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเป็นราชอาณาจักรเกียวกัน ส่วนวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม การแสดงออกทางศิลปะ สถาปัตยกรรม และโครงสร้างทางสังคมของชาวอียิปต์นี้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับศาสนา ซึ่งมีความเสถียรภาพอย่างน่าประหลาดใจ และปรากฏการเปลี่ยนแปลงางวัฒนธรรมเพียงเล็กน้อยในช่วงเวลาเกือบ 3,000 ปีหลังจากนั้น

ลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อียิปต์ที่เกี่ยวข้องกับปีรัชกาลเริ่มขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ลำดับเหตุการณ์ทั่วไปได้รับการยอมรับในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ไม่รวมถึงข้อเสนอการแก้ไขลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญใด ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว แม้แต่ในงานชิ้นเดียว ซึ่งนักโบราณคดีมักจะเสนอช่วงเวลาที่เป็นไปได้หลายชุด หรือแม้แต่ลำดับเหตุการณ์ทั้งหมดหลายช่วงที่เป็นไปได้ ดังนั้น อาจจะมีความแตกต่างระหว่างช่วงเวลาในบทความนี้และในบทความเกี่ยวกับผู้ปกครองหรือหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับอียิปต์โบราณ นอกจากนี้ยังมีการสะกดชื่อที่เป็นไปได้หลายอย่าง โดยทั่วไปแล้ว นักไอยคุปต์วิทยาจะแบ่งประวัติศาสตร์ของอารยธรรมฟาโรห์โดยใช้ชาวงเวลาที่วางไว้ก่อนหน้าโดย แอกิปเทียกาของแมนิโธ ซึ่งเขียนขึ้นในช่วงราชอาณาจักรทอเลมีเมื่อศตวรรษที่สามก่อนคริสตกาล

ก่อนการรวมราชอาณาจักรอียิปต์ ดินแดนแห่งนี้มีการตั้งรกรากของหมู่บ้านที่ปกครองตนเอง ด้วยในช่วงราชวงศ์แรกๆ และประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของอียิปต์หลังจากนั้น พื้นที่แถบนี้จึงเป็นที่รู้จักในนาม ดินแดนสองแผ่นดิน ซึ่งฟาโรห์จัดตั้งการบริหารประเทศและแต่งตั้งข้าหลวงปกครองพื้นที่นั้นๆ

ตามงานเขียนของแมนิโธ ฟาโรห์พระองค์แรกคือ ฟาโรห์เมเนส แต่การค้นพบทางโบราณคดีสนับสนุนความคิดที่ว่าผู้ปกครองพระองค์แรกที่อ้างว่ารวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันคือ ฟาโรห์นาร์เมอร์ ซึ่งเป็นผู้ปกครองพระองค์สุดท้ายในช่วงสมัยนะกอดะฮ์ที่ 3 พระนามของพระองค์เป็นที่รู้จักส่วนใหญ่มาจากจานสีนาร์เมอร์อันโด่งดัง ซึ่งภาพบนจานสีได้ถูกตีความว่าเป็นการแสดงการรวมดินแดนอียิปต์บนและอียิปต์ล่างเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่า พระนามเมเนส เป็นหนึ่งในพระนามของฟาโรห์ฮอร​์-ฮอา ซึ่งทรงเป็นฟาโรห์ที่สองของราชวงศ์ที่หนึ่ง

พิธีฝังศพของชนชั้นสูงส่งผลให้มีการสร้างมาสตาบา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบสำหรับสิ่งก่อสร้างในสมัยราชอาณาจักรเก่าที่ตามมา เช่น พีระมิดขั้นบันได ซึ่งเชื่อว่ามีต้นกำเนิดในสมัยราชวงศ์ที่สามของอียิปต์

สมัยราชอาณาจักรเก่า แก้

สมัยราชอาณาจักรเก่าครอบคลุมช่วงเวลาที่อียิปต์ถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่สามจนถึงราชวงศ์ที่หก (ระหว่าง 2686 – 2181 ปีก่อนคริสตกาล) เมืองหลวงของอียิปต์ในช่วงเวลาดังกล่าวตั้งอยู่ที่เมมฟิส ซึ่งฟาโรห์ดโจเซอร์ (ระหว่าง 2630 – 2611 ปีก่อนคริสตกาล) ได้ทรงสถาปนาราชสำนักของพระองค์ที่นั้น

อย่างไรก็ตาม สมัยราชอาณาจักรเก่าอาจจะเป็นที่รู้จักกันดีที่สุด เนื่องจากปรากฏพีระมิดจำนวนมาก ซึ่งถูกสร้างขึ้นในเวลาดังกล่าว เพื่อใช้เป็นที่ฝังพระบรมศพของฟาโรห์ ด้วยเหตุนี้ ช่วงเวลสดังกล่าวจึงมักจะเรียกกันว่า "สมัยพีระมิด" ฟาโรห์ที่มีชื่อเสียงพระองค์แรกของสมัยราชอาณาจักรเก่าคือ ฟาโรห์ดโจเซอร์จากราชวงศ์ที่สาม ซึ่งเป็นผู้ทรงโปรดให้สร้างพีระมิดแห่งแรกคือ พีระมิดแห่งดโจเซอร์ ในกลุ่มสุสานซักกอเราะฮ์ของเมมฟิส

ในช่วงเวลาดังกล่าวเขตปกครองอิสระในอดีตได้กลายเป็นเขตปกครองท้องถิ่น (นอมส์) ที่ปกครองโดยฟาโรห์แต่เพียงพระองค์เดียว ซึ่งอดีตผู้ปกครองท้องถิ่นถูกบังคับให้รับบทบาทเป็นขุนนาง (ผู้ปกครอง) หรือทำงานเป็นผู้เก็บภาษี ชาวอียิปต์ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เคารพบูชาฟาโรห์ในฐานะเทพเจ้า โดยเชื่อว่าพระองค์เป็นผู้บันดาลให้น้ำท่วมแม่น้ำไนล์เป็นประจำทุกปี ซึ่งจำเป็นต่อพืชผลของการทำเกษตรกรรม

สมัยราชอาณาจักรเก่าและอำนาจของราชวงศ์มาถึงจุดสูงสุดในช่วงราชวงศ์ที่สี่ ฟาโรห์สเนเฟอร์อู ซึ่งเป็นผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ เชื่อว่าได้ว่าทรงโปรดให้สร้างพีระมิดอย่างน้อยสามแห่ง ขณะที่พระราชโอรสและผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์ของพระองค์พระนามว่า คูฟู (กรีก: คีออปส์) ทรงโปรดให้สร้างมหาพีระมิดแห่งกิซา โดยที่ฟาโรห์สเนเฟอร์อูทรงมีหินและอิฐที่นำมาก่อสร้างมากกว่าฟาโรห์พระองค์อื่นๆ และพระราชโอรสของฟาโรห์คูฟูพระนามว่า คาฟเร (กรีก: เคเฟรน) และพระราชนัดดานามว่า เมนคาอูเร (กรีก: มีเกรินุส) ต่างก็ทรงประสบความสำเร็จในการสร้างพีระมิดที่กิซา

ในการจัดระเบียบและป้อนกำลังคนที่จำเป็นในการสร้างพีระมิดเหล่านี้จำเป็นต้องมีรัฐบาลรวมศูนย์ที่มีอำนาจกว้างขวาง และนักไอยคุปต์วิทยาเชื่อว่าราชอาณาจักรเก่าในเวลาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนในระดับดังกล่าว การขุดค้นล่าสุดใกล้พีระมิดที่นำโดยมาร์ก เลห์เนอร์ได้ค้นพบเมืองใหญ่แห่งหนึ่งที่ดูเหมือนจะเป็นที่อยู่อาศัย จัดหาอาหาร และจัดหาคนงานสำหรับการสร้างพีระมิด แม้ว่าครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่าทาสเป็นผู้สร้างอนุสาวรีย์เหล่านี้ แต่ทฤษฎีตามคำบรรยายเอ็กโซดัสของพระคัมภีร์ฮีบรู การศึกษาหลุมฝังศพของคนงานผู้ดูแลการก่อสร้างพีระมิดได้แสดงให้เห็นว่าอนุสรณ์สถานเหล่านั้นถูกสร้างโดยกลุ่มชาวนาที่มาจากทั่วอียิปต์ เห็นได้ชัดว่าพวกเขาทำงานในขณะที่น้ำท่วมประจำปีเข้าท่วมไร่นาของชาวอียิปต์ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงช่างตัดหิน จิตรกร นักคณิตศาสตร์ และนักบวช

ราชวงศ์ที่ห้าเริ่มต้นด้วยการปกครองของฟาโรห์อูเซอร์คาฟ ซึ่งปกครองเมื่อราว 2495 ปีก่อนคริสตกาล และเป็นช่วงเวลาที่มีการให้สำคัญของลัทธิบูชาสุริยเทพรา ด้วยเหตุนี้ จึงใช้ความพยายามน้อยลงในการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างพีระมิดมากกว่าในสมัยราชวงศ์ที่สี่ และมากกว่านั้นกลับเพิ่มการพยายามสร้างวิหารสุริยะในอะบูซิร์ การตกแต่งกลุ่มพีระมิดนั้นซับซ้อนมากขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่ห้า และฟาโรห์อูนัส ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้าย เป็นฟาโรห์พระองค์แรกที่ปรากฏข้อความพีระมิดจารึกไว้ในพีระมิดของพระองค์

ความสนใจที่เพิ่มขึ้นของอียิปต์ในการค้าสินค้า เช่น ไม้มะเกลือ เครื่องหอม (เช่น มดยอบและกำยาน) ทองคำ ทองแดง และโลหะที่มีประโยชน์อื่นๆ ส่งผลให้ชาวอียิปต์โบราณต้องเดินเรือในทะเลเปิด หลักฐานจากพีระมิดของฟาโรห์ซาอูเร ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองจากราชวงศ์ที่ห้า ได้แสดงให้เห็นว่ามีการค้าขายเป็นประจำกับชายฝั่งซีเรียเพื่อจัดหาไม้ซีดาร์ และฟาโรห์ยังทรงโปรดเดินทางไปยังดินแดนแห่งพุนต์อันเลื่องชื่อ ซึ่งอาจจะอยู่บริเวณจงอยแห่งแอฟริกา เพื่อแสวงหาไม้มะเกลือ งาช้าง และเรซินหอม

ในช่วงราชวงศ์ที่หก (ระหว่าง 2345–2181 ปีก่อนคริสตกาล) พระราชอำนาจของฟาโรห์ก็ค่อยๆ เสื่อมลง ซึ่งเป็นประโยชน์ของผู้ปกครองท้องถิ่นที่มีอำนาจ โดยผู้ปกครองเหล่านี้ไม่ได้ขึ้นกับราชวงส์อีกต่อไปและบทบาทหน้าของผูปกครองเหล่านั้นได้กลายเป็นสิ่งที่ส่งต่อผ่านสายเลือด ดังนั้นจึงเกิดการสถานปาราชวงศ์ท้องถิ่นขึ้นโดยส่วนใหญ่เป็นอิสระจากอำนาจส่วนกลางของฟาโรห์ ความผิดปกติภายในที่เกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เปปิที่ 2 เนเฟอร์คาเร อันยาวนานอย่างไม่น่าเชื่อ (ระหว่าง 2278–2184 ปีก่อนคริสตศกาล) จนถึงจุดสิ้นสุดของราชวงศ์ และการเสด็จสวรรคตของพระองค์ ซึ่งทรงมีพระชนม์ชีพยืนกว่ารัชทายาทของพระองค์ไปแล้ว อาจจะสร้างความขัดแย้งในการสืบราชสันตติวงศ์ และราชอาณาจักรก็เข้าสู่สงครามกลางเมืองเพียงไม่กี่ทศวรรษหลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของฟาโรห์เปปิที่ 2 และสุดท้ายเมื่อเกิดขึ้นเหตุการณ์ 4.2 กิโลปีเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ในศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสตกาล ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในแม่น้ำไนล์ลดต่ำอย่างต่อเนื่อง[18] ผลที่ตามมาคือการล่มสลายของราชอาณาจักรเก่าตามมาด้วยความอดอยากและความขัดแย้งหลายทศวรรษ

สมัยระหว่างกลางครั้งที่หนึ่ง แก้

หลังจากการล่มสลายของราชอาณาจักรเก่าก็มาถึงช่วงเวลาประมาณ 200 ปีที่รู้จักกันในสมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง ซึ่งได้ถึงกลุ่มของฟาโรห์ที่ค่อนข้างคลุมเครือที่ปกครองตั้งแต่ปลายช่วงราชวงศ์หกถึงราชวงศ์สิบและส่วนใหญ่ในการปกครองของราชวงศ์สิบเอ็ด โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นที่ไม่ได้มีอำนาจมากนักนอกเหนือไปจากเขตปกครองท้องถิ่นของพระองค์ มีข้อความจำนวนหนึ่งที่รู้จักกันในชื่อ "การคร่ำครวญ" จากช่วงต้นของราชอาณาจักรกลาง ซึ่งเป็นช่วงเวลาต่อจากนั้น อาจจะให้ความกระจ่างเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว บางส่วนของข้อความเหล่านี้สะท้อนถึงการล่มสลายของการปกครอง บางส่วนกล่าวถึงการรุกรานโดย "พลธนูแห่งเอเซีย" โดยทั่วไปแล้ว เรื่องราวจะมุ่งเน้นไปที่สังคมที่ระเบียบตามธรรมชาติของสิ่งต่าง ๆ ทั้งในสังคมและธรรมชาติที่ถูกล้มล้าง

นอกจากนี้ยังเป็นไปได้สูงว่าในช่วงเวลาดังกล่าวพีระมิดและหลุมฝังศพทั้งหมดถูกปล้น ข้อความคร่ำครวญเพิ่มเติมอ้างถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว และในตอนต้นของราชอาณาจักรกลาง มัมมี่ได้ถูกประดับประดาด้วยมนต์วิเศษที่ครั้งหนึ่งเคยมีเฉพาะในพีระมิดของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่หก

เมื่อถึง 2160 ปีก่อนคริสตกาล ฟาโรห์เชื้อสายใหม่จากราชวงศ์ที่ 9 และ 10 ได้รวบรวมอียิปต์ล่างจากเมืองเฮราคลีโอโพลิสมักนา ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ และราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ที่เมืองธีบส์ได้รวมอียิปต์บนเข้าด้วยกันอีกครั้ง และการปะทะกันระหว่างราชวงศ์คู่แข่งก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยประมาณ 2055 ปีก่อนคริสตกาล กองกำลังธีบส์ได้เอาชนะฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิสและรวมดินแดนทั้งสองเข้าด้วยกันอีกครั้งในรัชสมัยของฟาโรห์เมนทูโอเทปที่ 2 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์แรกและจุดเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลาง

สมัยราชอาณาจักรกลาง แก้

สมัยราชอาณาจักรกลางเป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณที่ครอบคลุมตั้งแต่ปีที่ 39 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่สิบเอ็ด จนถึงการล่มสลายของราชวงศ์ที่สิบสาม เมื่อประมาณระหว่าง 2030 ถึง 1650 ปีก่อนคริสตกาล ช่วงเวลาดังกล่าวประกอบด้วยสองช่วงเวลาการปกครอง คือ ราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ซึ่งปกครองจากธีบส์ และต่อจากนั้นราชวงศ์ที่สิบสอง ซึ่งมีเมืองหลวงคืออัล-ลิชท์ เดิมทีทั้งสองราชวงศ์นี้ถือเป็นสองราชวงศ์ที่อยู่ในช่วงที่ราชอาณาจักรมีความเป็นปึกแผ่น แต่ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์บางคน[20] ถือว่าช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสามเป็นหนึ่งในสมัยราขอาณาจักรกลางเช่นกัน

ฟาโรห์ในช่วงแรกสุดของสมัยราชอาณาจักรกลางสืบเชื้อสายมาจากผู้ปกครองท้องถิ่นสองคนของธีบส์ คือ อินเทฟ ผู้อาวุโส ซึ่งรับใช้ฟาโรห์เฮราคลีโอโพลิสแห่งราชวงศ์ที่สิบ และผู้สืบทอดตำแหน่ง คือ เมนทูโฮเทปที่ 1 และผู้สืบทอดตำแฟน่งของพระองค์ต่อมาคือ อินเทฟที่ 1 ซึ่งทรงเป็นผู้ปกครองธีบส์พระองค์แรกที่ทรงพระนามฮอรัสและพระนามครองราชย์ของอียิปต์ โดยพระองค์ถือเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบเอ็ด และการตั้งตนเป็นฟาโรห์ของพระองค์ส่งผลให้ผู้ปกครองแห่งธีบส์เกิดข้อขัดแย้งกับผู้ปกครองจากราชวงศ์ที่สิบ ซึ่งฟาโรห์อินเตฟที่ 1 และพระภราดรของพระองค์พระนามว่า ฟาโรห์อินเทฟที่ 2 ทรงดำเนินการทางทหารในทางเหนือและในที่สุดก็ยึดครองเขตปกครองของอไบดอสไว้ได้ สงครามก็ยังคงดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะระหว่างราชวงศ์แห่งธีบส์และเฮราคลีโอโพลิสจนถึงปีที่ 39 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ซึ่งทรงเป็นผู้สืบทอดพระราชบัลลังก์พระองค์ที่สองต่อจากฟาโรห์อินเทฟที่ 2 เมื่อถึง เมื่อมาถึงจุดนี้ ฝ่ายเฮราคลีโอโพลิสก็พ่ายแพ้และราชวงศ์แห่งธีบส์ได้รวมอำนาจปกครองอียิปต์เข้าด้วยกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ทรงเป็นผู้ควบคุมการดำเนินการทางทหารไปทางใต้สู่ดินแดนนิวเบีย ซึ่งเป็นอิสระในช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง นอกจากนี้ยังมีหลักฐานของการดำเนินการทางทหารในลิแวนต์ตอนใต้ พระองค์ทรงจัดระเบียบพระราชอาณาจักรและทรงแต่งตั้งราชมนตรีให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารพลเรือน ฟาโรห์เมนทูโอเทปที่ 3 ผู้เป็นพระราชโอรสได้ทรงขึ้นครองราชย์ต่อจากฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 โดยพระองค์ทรงโปรดให้จัดคณะสำรวจไปยังดินแดนแห่งพุนต์ จากรัชสมัยของพระองค์จะได้เห็นการแกะสลักอียิปต์ที่ดีที่สุด และฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 ทรงขึ้นครองราชยย์ต่อจากฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 3 ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบเอ็ด ถึงแม้พระนามของพระองค์จะไม่ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามฟาโรห์หลายชิ้น แต่รัชสมัยของพระองค์ก็ได้รับการยืนยันจากจารึกไม่กี่ชิ้นในวาดีฮัมมามาตที่บันทึกการเดินทางไปยังชายฝั่งทะเลแดงและเหมืองหินในการสร้างอนุสรณ์สถานของราชวงศ์

ผู้นำของการเดินทางครั้งดังกล่าวคือราชมนตรีอเมเนมฮัต ซึ่งสันนิษฐานกันอย่างกว้างขวางว่าทรงเป็นฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ในอนาคต ซึ่งทรงเป็นฟาโรห์พระองค์แรกของราชวงศ์ที่สิบสอง ดังนั้นพระองค์จึงถูกสันนิษฐานโดยชาวไอยคุปต์วิทยาบางคนว่าทรงได้แย่งชิงพระราชบัลลังก์หรือสันนิษฐานว่าทรงขึ้นมามีพระราชอำนาจหลังจากฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 4 เสด็จสวรรคตโดยไม่มีรัชทายาท ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ทรงโปรดให้สร้างเมืองหลวงใหม่ของอียิปต์ชื่อมีนามว่า อิทจ์-ทาวี ซึ่งเชื่อว่าตั้งอยู่ใกล้กับอัลลิชต์ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าแมนิโธจะอ้างว่าเมืองหลวงในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นยังคงอยู่ที่ธีบส์ ฟาโรห์อเมเนมฮัตทรงยุติความไม่สงบภายใน โดยทรงลดทอนอำนาจของกลุ่มผู้ปกครองท้องถิ่น และเป็นที่รู้กันว่าได้ริเริ่มการดำเนินการทางทหารอย่างน้อยหนึ่งครั้งในดินแดนนิวเบีย ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระองค์ก็ยังคงทรงดำเนินพระบรมราโชบายของในการยึดดินแดนนิวเบียคืน และดินแดนอื่น ๆ ที่สูญเสียไปในช่วงสมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง ชาวลิบูถูกปราบปรามในช่วงการครองราชย์สี่สิบห้าปีของพระองค์ และเกิดความมั่งคั่งและความมั่นคงในดินแดนอียิปต์ ฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 (ระหว่าง 1878–1839 ปีก่อนคริสตกาล) ทรงเป็นกษัตริย์นักรบ ทรงนำกองทหารของพระองค์ลึกเข้าไปในดินแดนนิวเบียและโปรดให้สร้างสร้างป้อมขนาดใหญ่หลายแห่งทั่วดินแดนเพื่อกำหนดเขตแดนอย่างเป็นทางการของอียิปต์กับพื้นที่ที่ไม่ถูกยึดครองในดินแดนของพระองค์ ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 (ระหว่าง 1860–1815 ปีก่อนคริสตกาล) ถือว่าทรงเป็นฟาโรห์ผู้ยิ่งใหญ่พระองค์สุดท้ายของสมัยราชอาณาจักรกลาง

ประชากรของอียิปต์เริ่มผลิตอาหารเกินระดับในรัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ซึ่งขณะนั้นทรงรับสั่งให้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ฟัยยูมและเพิ่มการทำเหมืองในคาบสมุทรไซนาย นอกจากนี้พระองค์ยังทรงเชิญผู้ตั้งถิ่นฐานจากเอเชียตะวันตกมายังอียิปต์ เพื่อใช้แรงงานในการสร้างอนุสรณ์สถานของอียิปต์ ในช่วงปลายรัชสมัยของพระองค์ ระดับน้ำท่วมประจำปีของแม่น้ำไนล์เริ่มลดลง ส่งผลให้ทรัพยากรของฝ่ายปกครองลดลงมากขึ้น ส่วนราชวงศ์ที่สิบสามและราชวงศ์ที่สิบสี่แห่งอียิปต์ก็ได้เริ่มเสื่อมอำนาจลงอย่างช้าๆ จนเข้าสู่ช่วงสมัยระหว่างกลางที่สอง ซึ่งผู้ตั้งถิ่นฐานบางคนที่ได้รับเชิญจากฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 จะยึดอำนาจการปกครองในฐานะชาวฮิกซอส