ผู้ใช้:Nattawan s/กระบะทราย26

Xishi bridge, Mudu, Suzhou

เจียงหนาน (อังกฤษ: Jiangnan; จีน: ; พินอิน: Jiāngnán; เวด-ไจลส์: Chiang-nan; หรือบางครั้งสะกดว่า Kiang-nan) คือพื้นที่บริเวณตอนล่างของแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนปัจจุบัน โดยรวมถึงพื้นที่ตอนใต้ของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (Yangtze River Delta) ด้วย

บริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมนครเซี่ยงไฮ้ ทางตอนใต้ของมณฑลเจียงซู ทางตอนใต้ของมณฑลอานฮุย ทางตอนเหนือของมณฑลเจียงซี และตอนเหนือของมณฑลเจ้อเจียง เมืองสำคัญในบริเวณนี้ ได้แก่ เมืองเซี่ยงไฮ้ หนานจิง หนิงป่อ หางโจว ซูโจว อู๋ซี ฉางโจว (อังกฤษ: Changzhou; จีน: 常州; พินอิน: Chángzhōu) และ เช่าซิง (อังกฤษ: Shaoxing; จีนตัวย่อ: 绍兴; จีนตัวเต็ม: 紹興; พินอิน: Shàoxīng)

ประชาชนในบริเวณเจียงหนานส่วนมากมักใช้ภาษาจีนอู๋เป็นภาษาพูดประจำท้องถิ่น[1]

ศัพทมูลวิทยา แก้

คำว่า เจียง มีที่มาจากคำในภาษาจีนว่า ฉางเจียง หรือ Cháng Jiāng ซึ่งหมายถึง "แม่น้ำแยงซี" และคำว่า หนาน หรือ nán มีความหมายว่า "ทิศใต้"[2] จึงมีความหมายแปลตามตัวอักษรว่า “ทางตอนใต้ของแม่น้ำแยงซี (South of the Yangtze river)” ในช่วงศตวรรษที่ 19 เคยมีการใช้ชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า เกียงหนาน (Keang-nan)[3] ด้ายเช่นกัน

ประวัติศาสตร์ แก้

 
หมู่บ้านในเจียงหนาน

พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เก่าแก่ที่สุดดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณเจียงหนาน คือ ชุมชนที่มีวัฒนธรรมหม่าเจียปัง (อังกฤษ: Majiabang culture; จีน: 馬家浜文化; พินอิน: Mǎ jiā bāng wénhuà) และวัฒนธรรมเหอหมู่ตู้ (อังกฤษ: Hemudu cultures; จีน: 河姆渡文化; พินอิน: Hémǔdù wénhuà) ซี่งเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ในเขตตอนปลายแม่น้ำแยงซี ต่อมาในราว 2600-2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในสมัยวัฒนธรรมเหลียงจู่ (อังกฤษ: Liangzhu culture; จีน: 良渚文化; พินอิน: Liángzhǔ wénhuà) มีชื่อเสียงในด้านการประดิษฐ์งานฝีมืออันสวยงามจากหยก ส่วนด้านเศรษฐกิจพื้นฐานมาจากการทำนาปลูกข้าว ทำการเกษตร การประมง และมีลักษณะการก่อสร้างบ้านเรือนบนเสาสูงเหนือแม่น้ำหรือทะเลสาบ ในสมัยราชวงศ์โจว ชาวอู๋ (Wu; 吴) และชาวไป๋เย่ว์ (Baiyue; 百越) อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณนี้ ได้มีการพัฒนาระบบการเขียนอักษรจีน (Chinese writing system) และผลิตดาบทำด้วยสำริด (หรือ สัมฤทธิ์) ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม

ต่อมาภายหลังแคว้นฉู่ (Chu; 楚) (c. 1030 BC – 223 BC) จากทางตะวันตกของประเทศจีน (ในมณฑลหูเป่ย์) ได้ขยายอำนาจและมีอิทธิพลเหนือแคว้นเย่ว์ ภายหลังเมื่อราชวงศ์ฉินได้รับชัยชนะเหนือแคว้นเย่ว์ ได้มีการรวบรวมประเทศจีนให้เป็นหนึ่งเดียว และเมื่อราชวงศ์จิ้นล่มสลายลงในช่วงต้นของศตวรรษที่ 4 มีประชาชนชาวจีนจำนวนมากจากทางตอนเหนือได้อพยพย้ายมายังพื้นที่บริเวณเจียงหนานแห่งนี้

แม้ว่าอารยธรรมจีนจะเริ่มขึ้นในพื้นที่ราบตอนเหนือของประเทศจีน (North China Plain) ในบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำหวง แต่การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศรวมถึงการรุกรานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ทางเหนืออย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงสหัสวรรษแรกของคริสต์ศักราช (ช่วงเวลาระหว่าง ค.ศ. 1 - ค.ศ. 1000) ทำให้ประชาชนจำนวนมากย้ายมาตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้ เช่น ในพื้นที่บริเวณเจียงหนาน เป็นต้น เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีภูมิอากาศที่อบอุ่นและชื้นทำให้เหมาะแก่การเพาะปลูกและทำเกษตรกรรมได้ดี ในช่วงต้นของสมัยราชวงศ์ฮั่น (คริสต์ศตวรรษที่ 2) เจียงหนานกลายเป็นเพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศจีน นอกจากพืชเศรษฐกิจอย่างข้าวแล้ว ยังมีการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการและสามารถสร้างรายได้สูง ได้แก่ ชา[3] เครื่องภาชนะดินเผา (celadon) เป็นต้น ทั้งยังมีการคมนาคมขนส่งที่สำคัญที่ช่วยให้การค้าและเศรษฐกิจเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น เช่น มีคลองต้ายวิ่นเหอหรือแกรนด์คาแนล (Grand Canal) ที่เป็นเส้นทางคมนาคมสู่ทางตอนเหนือของประเทศ มีแม่น้ำแยงซีเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสู่ทิศตะวันตก และมีท่าเรือเพื่อใช้ในการขนส่งออกสู่ทะเล เช่น หยางโจว เป็นต้น

บริเวณเจียงหนานยังมีความสำคัญด้านที่มีเมืองหลวงของราชวงศ์จีนโบราณอยู่หลายสมัย เช่น ในยุคสามก๊ก เมืองเจียงเย่ (ปัจจุบันคือ เมืองหนานจิง) เป็นเมืองหลวงของง่อก๊ก ในช่วงศตวรรษที่ 3 มีชาวจีนจากตอนเหนือของประเทศย้ายมายังเจียงหนานมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ต่อมาในช่วงศตวรรษที่ 10 มีการก่อต้้งอาณาจักรอู๋เย่ว์ (Wuyue; 吳越) โดยจักรพรรดิเฉียนหลิว (อังกฤษ: Qian Liu; จีนตัวย่อ: 钱镠; พินอิน: Qián Liú) ทำให้บริเวณเจียงหนานได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากยุคนั้นมาจนปัจจุบัน

 
A stone tortoise with a tablet commemorating the จักรพรรดิคังซี's visit to Nanjing in 1684

ในช่วงปลายรัชสมัยของราชวงศ์หยวน เจียงหนานถูกแย่งชิงโดยกลุ่มกบฏสองฝ่าย คือระหว่างฝ่ายจูหยวนจาง หรือต่อมาคือ หงหวู่ตี้ หรือสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ (อังกฤษ: Hongwu Emperor; จีน: 洪武帝; พินอิน: Hóngwǔ หงหวู่ตี้ ) แห่งราชวงศ์หมิง ซึ่งมีฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองหนานจิง (หรือนานกิง) และกลุ่มของจางซื่อเฉิง (อังกฤษ: Zhang Shicheng; จีน: 张士诚; พินอิน: Zhāng Shìchéng) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ในเมืองซูโจวของแคว้นอู๋ หลังจากการต่อสู้แย่งชิงยาวนานนับสิบปี หมิงไท่จู่ (หรือ จูหยวนจาง (朱元璋; เป็นพระนามเดิมของสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่)) จึงสามารถเข้าโจมตีและยึดครองเมืองซูโจวจากกลุ่มของจางซื่อเฉิงได้สำเร็จในปี ค.ศ. 1367 และรวบรวมเจียงหนานเข้าด้วยกัน ในภายหลังจูหยวนจางได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นฮ่องเต้ และทรงใช้พระนามว่า หมิงไท่จู่ (明太祖) หรือสมเด็จพระจักรพรรดิหงหวู่ ในวันปีใหม่จีน (20 มกราคม) ในปี ค.ศ. 1368 เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกแห่งราชวงศ์หมิง[4] หลังจากนั้นไม่นานพระองค์ทรงยกทัพขับไล่ชาวมองโกลทางตอนเหนือของจีนได้สำเร็จ เมืองหนานจิงจึงเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์หมิงจากนั้นมา จนถึงช่วงต้นศตวรรษที่ 15 เมื่อสมเด็จพระจักรพรรดิหย่งเล่อ (Yongle) กษัตริย์พระองค์ที่สามแห่งราชวงศ์หมิงทรงมีพระราชดำริให้ย้ายเมืองหลวงจากหนานจิงไปยังเมืองปักกิ่ง

เมือราชวงศ์ชิงเข้าปกครองประเทศจีนในช่วงเริ่มแรก มีการปฏิเสธและต่อต้านการเก็บภาษีของราชสำนักโดยขุนนางและชนชั้นสูงในเจียงหนานในสมัยนั้น[5]

นอกจากนี้ เจียงหนานยังเป็นบริเวณที่มีความสำคัญและมีชื่อเสียงในด้านการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจทั้งในด้านความสวยงามของสถานที่และด้านประเพณีวัฒนธรรม ในอดีตมีกษัตริย์ของจีนหลายพระองค์เสด็จประพาสพื้นที่บริเวณเจียงหนาน อาทิ สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงแห่งราชวงศ์ชิงทรงเคยเสด็จประพาสเจียงหนาน (จีน: 江南; พินอิน: Qiánlóng Xià Jiāngnán) อยู่หลายครั้งเพื่อชมการแสดงงิ้ว หรืออุปรากรจีน ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น หรือสมเด็จพระจักรพรรดิคังซีก็ทรงเคยเสด็จประพาสแถบนี้เช่นกัน

ช่วงศตวรรษที่ 19 ประชาชนหลายกลุ่มเริ่มรวมตัวกันเพื่อต่อต้านอำนาจรัฐกลายเป็นกบฏไท่ผิง (Taiping Rebellion) กองทัพไท่ผิงสามารถยึดครองพื้นที่ได้หลายส่วน รวมถึงบริเวณเจียงหนาน โดยหลังจากการบุกยึดเมืองหนานจิงสำเร็จจึงได้สถาปนาให้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋ว และต่อมาเมื่อมีการปราบปรามกบฏจนล่มสลายลง พื้นที่บริเวณนี้ได้จึงถูกทำลายลงอย่างมากจนกระทั่งมีการบูรณะใหม่ในสมัยการปกครองโดยชาวแมนจู

หลังจากการล่มสลายของระบอบกษัตริย์ราชวงศ์ชิงในปี ค.ศ.1911 และการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition) ของเจียงไคเชก ร้ฐบาลสาธารณรัฐจีน (จีน: 中華民國; พินอิน: Zhōnghuá Mínguó; อังกฤษ: Republic of China) ได้ตั้งเมืองหนานจิงขึ้นเป็นเมืองหลวงตามความปรารถนาของ ดร. ซุนยัตเซ็น ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1920 จนถึงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง บริเวณเจียงหนานได้กลายเป็นพื้นที่สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจีน โดยมีบุคคลชั้นนำด้านการปกครองของพรรคก๊กมินตั๋งและบุคคลสำคัญในด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลสาธารณรัฐจีนจำนวนมากมาจากพื้นที่เจียงหนาน

เอกลักษณ์ภาษาถิ่น แก้

 
สวนซือจึ หรือสวนป่าสิงโต (Shizilin)

ภาษาถิ่นถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการแสดงอัตลักษณ์ของกลุ่มชนท้องถิ่นทั้งในบริเวณเจียงเป่ยและเจียงหนาน เช่น เมืองหยางโจวซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าขายและเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากในยุคนั้น ถูกนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของเจียงหนานด้วย แม้ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในบริเวณตอนเหนือของแม่น้ำแยงซี หากเมื่อเมืองหยางโจวตกต่ำลง กลับถูกผลักไสให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเจียงเป่ยแทน และเมื่อหยางโจวไม่ได้ถูกนับรวมอยู่ในบริเวณเจียงหนานแล้ว ชาวเมืองจึงตัดสินใจเปลี่ยนภาษาจากเจียงหวยแมนดาริน (Jianghuai Mandarin) มาเป็นใช้ภาษาไท่หูอู๋ (Taihu Wu dialects) แทน เป็นต้น ส่วนพื้นที่บริเวณเจียงหนานเองมีการแย่งชิงของภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ อยู่เสมอเพื่อให้ภาษาถิ่นของตนได้กลายเป็นภาษาจีนอู๋ซึ่งเป็นภาษาหลักประจำพื้นที่แถบเจียงหนานนี้[1]

ภูมิศาสตร์ แก้

ในทางภูมิศาสตร์บริเวณเจียงหนานมีพื้นที่ครอบคลุมเมืองในสมัยปัจจุบัน คือ เมืองเซี่ยงไฮ้ (Shanghai, 上海) หนานจิง (หรือนานกิง) (Nanjing, 南京) ซูโจว (Suzhou, 苏州) เจิ้นเจียง (Zhenjiang, 镇江) อู๋ซี (Wuxi, 无锡) ฉางโจว (Changzhou, 常州) หางโจว (Hangzhou, 杭州) เจียซิง (Jiaxing, 嘉兴) หูโจว (Huzhou, 湖州) เช่าซิง (Shaoxing, 绍兴) หนิงป่อ (Ningbo, 宁波) ฮุ่ยโจว (หวงซาน) (Huizhou, 徽州; Huangshan, ) เหอเฝย์ (Hefei, 合肥) อู๋หู (Wuhu, 芜湖) หม่าอานซาน (Maanshan, 马鞍山)  ถงหลิง (Tongling, 铜陵) จี๋โจว (Chizhou, 池州)  หนานฉาง (Nanchang, 南昌) ซ่างเหรา (Shangrao, 上饶) จิ่งเต๋อเจิ้น (Jingdezhen, 景德镇) จิ่วเจียง (Jiujiang, 九江) [6]

โดยในสมัยราชวงศ์หมิง เจียงหนานซึ่งเป็นมณฑลที่มีอาณาเขตครอบคลุมมณฑลเจียงซู (Jiangsu province, 江苏省) และมณฑลอานฮุยหรืออันฮุย (Anhui province, 安徽) ในปัจจุบัน

วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว แก้

วัฒนธรรมของเจียงหนานนั้นเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของชนชั้นสูง หรือผู้มีการศึกษาดี ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมของบัณฑิต นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ หรือเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมด้านการศึกษา ศิลปะแบบดั้งเดิมเช่น การประดิษฐ์ตัวอักษรหรืออักษรวิจิตร (calligraphy) ภาพเขียน การเล่นหมากรุก และการใช้ตราประทับ ได้เจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากในบริเวณภูมิภาคตะวันออกของจีนแห่งนี้ รวมถึงพื้นที่บริเวณทางริมแม่น้ำในเซี่ยงไฮ้ หรือเดอะบัน (The bund) ซึ่งเป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรมของชนชั้นสูงและนักวิชาการที่ได้รับอิทธิพลด้านการศึกษา การดำเนินชีวิต ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมจากประเทศทางตะวันตกมา ยังมีพื้นที่แถบทะเลสาบตะวันตกเป็นศูนย์กลางของนักวิชาการจีนโบราณ ส่วนพื้นที่บริเวณแม่น้ำชินหวย (Qinhuai, 秦淮河) และทะเลสาบไท่ (Lake Tai; 太湖) ก็เป็นแหล่งวัฒนธรรมชนชั้นสูงเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีชื่อเสียงในด้านการประดิษฐ์ตัวอักษร ชา ตำหรับอาหาร งิ้วหรืออุปรากรจีน กู่ฉิน (อังกฤษ: guqin; จีนตัวย่อ: 古琴; พินอิน: Gǔqín) และการออกแบบสวนจีนอีกด้วย[6]

ด้านแหล่งท่องเที่ยว เจียงหนานเป็นจุดท่องเที่ยวมีชื่อเสียงระดับประเทศ โดยมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวทะเลสาบในเมืองหางโจว (Hangzhou West Lake Scenic Area) เดอะบัน (The Bund of Shanghai) แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและทัวทัศน์บริเวณแม่น้ำชินหวย (Cultural and Scenic Area of Qinhuai River) และสวนจีนโบราณในเมืองต่าง ๆ เช่น ฮุ่ยโจว (Huizhou; 惠州) ซูโจว หนานจิง อู๋ซี หยางโจว หูโจว หางโจว และเซี่ยงไฮ้[6] โดยมีสวนจีนโบราณที่มีชื่อเสียงมากและได้รับการบันทึกให้เป็นมรดกโลกหลายแห่งตั้งอยู่ในเมืองซูโจว

นอกจากนั้นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมโบราณ ทั้งด้านลัทธิเต๋า ขงจื้อ และศาสนาพุทธ[6] โดยเฉพาะเมืองหางโจว ซูโจว และหนานจิง ซึ่งได้รับการยกย่องเป็น 3 ใน 8 เมืองหลวงโบราณของประเทศจีน มีมรดกทางวัฒนธรรมโบราณและสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญทางศาสนาหลายแห่ง อาทิ วัดในพุทธศาสนา วัดของลัทธิเต๋า และสถานที่สำคัญที่เกี่ยวกับขงจื้อ เป็นต้น

ประชากร แก้

การอพยพของประชากร แก้

ในช่วงราชวงศ์หยวน เจียงหนานเป็นเมืองที่ใหญ่และเมืองสำคัญของชุมชนชาวมุสลิม[7] และกองทัพชาวมุสลิมได้เริ่มให้มีการก่อสร้างมัสยิดขึ้นในเจียงหนาน ในราวปี ค.ศ. 1379 สมัยราชวงศ์หมิง[8] ต่อมาในช่วงปี ค.ศ. 1400 ชาวจีนฮั่นได้อพยพจากสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี ไปยังเซ็งเกอซอง (Seng ge gshong) ซึ่งในภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น อู่ถุ๋น (Wutun; 五屯) โดยพบว่าในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลงได้มีการบันทึกการอพยพนี้ไว้ในซุนฮัวจื่อ (Xunhua zhi) ด้วย[9] ปัจจุบันเมืองอู่ถุ๋นอยู่ในเขตมณฑลชิงไห่

ภายหลังในช่วงสมัยราชวงศ์หมิง ประชาชนชาวจีนจากมณฑลเจียงซูอพยพไปยังเถ้าหมิน (Taomin) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีนซึ่งมีการใช้ภาษาท้องถิ่นที่เรียกว่า "เถ้าโจว (Taozhou)"[10]

เศรษฐกิจ แก้

ในอดีต เจียงหนานมีการค้าส่งออกผ้าไหมและชาเขียวเป็นจำนวนมาก[3] เนื่องจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำขนาดเล็กไหลผ่านเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถทำการเกษตรได้ผลดี อีกทั้งแม่น้ำเหล่านี้ยังมีความสำคัญต่อการคมนาคมขนส่งในสมัยโบราณ จึงทำให้เจียงหนานได้รับการพัฒนาเป็นเมืองที่มีความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ๆ ในสมัยนั้น[11] สำหรับประเทศจีนยุคใหม่ช่วงหลังการปฏิวัติวัฒนธรรม (ปี ค.ศ. 1966-1976) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้เมืองโบราณโดยรอบของเจียงหนานได้ถูกทำลายไปเป็นอันเมาก[11]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Dorothy Ko (1994). Teachers of the inner chambers: women and culture in seventeenth-century China (illustrated, annotated ed.). Stanford University Press. p. 21. ISBN 0-8047-2359-1. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011. With the exclusion of Yangzhou came the denigration of its dialect, a variant of Jianghuai "Mandarin" (guanhua). The various Wu dialects from the Lake Tai area became the spoken language of choice, to the point of replacing guanhua...
  2. 江南 jiāngnán
  3. 3.0 3.1 3.2 Roberts, Edmund (1837). Embassy to the Eastern Courts of Cochin-China, Siam, and Muscat. New York: Harper & Brothers. p. 122.
  4. Ming Taizu, http://www.chinaculture.org/gb/en_aboutchina/2003-09/24/content_22899.htm
  5. Frederic E. Wakeman (1977). The fall of imperial China (illustrated, reprint ed.). Simon and Schuster. p. 87. ISBN 0-02-933680-5. สืบค้นเมื่อ 11 October 2011. The gentry of Kiangnan in the lower Yangtze harbored anti-barbarian sentiments and were reluctant to implement necessary tax reforms
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 http://www.mildchina.com/east-china-travel/
  7. Michael Dillon (1999). China's Muslim Hui community: migration, settlement and sects. Psychology Press. p. 23. ISBN 0-7007-1026-4. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011. There were also many Muslim settlements in the Jiangnan region, the area immediately south of the Yangzi river which was to become so important for the spectacular economic growth that China experienced during the Ming dynasty. Many of the Muslims who went to Yunnan with Mu Ying at the beginning of the Ming dynasty were drawn from the Jiangnan communities which, during the Yuan, included units of the Tammachi army and Muslim farming families.
  8. Jonathan Neaman Lipman (1997). Familiar strangers: a history of Muslims in Northwest China (illustrated ed.). University of Washington Press. p. 188. ISBN 0-295-97644-6. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011. A millennium later Mu Ying, one of Zhu Yuanzhang's close associates, brought an army to subdue the "eighteen lineages of the Tufan" in 1379. Many of his Muslim soldiers stayed at Taozhou, building the town's first mosque and setting up in trade between the nomads and the sedentary population of the Tao valley, Hezhou, and points north and east."
  9. Toni Huber (2002). "EIGHT". ใน Toni Huber (บ.ก.). Amdo Tibetans in transition: society and culture in the post-Mao era : PIATS 2000 : Tibetan studies : proceedings of the Ninth Seminar of the International Association for Tibetan Studies, Leiden 2000. Vol. Volume 9 of PIATS 2000: Tibetan Studies, Proceedings of the Ninth Seminar of the International Association for Tibetan Studies. BRILL. p. 200. ISBN 90-04-12596-5. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011. The Xunhua zhi, written during the reign of Qing emperor Qianlong (r. 1736-96), also describes Chinese settlement occurring in the region at the turn of the fifteenth century, and it was during this migration that Seng ge gshong was given the name Wutun, after the place of origin of the immigrant Chinese who came predominantly from Wu in the lower Yangtze delta. {{cite book}}: |volume= has extra text (help)(Brill's Tibetan studies library ; 2/5 Volume 9 of Proceedings of the ... seminar of the International Association for Tibetan Studies, International Association for Tibetan Studies Volume 5 of PIATS 2000: Tibetan Studies ; Proceedings of the Ninth Seminar of the International Association for Tibetan Studies, Leiden 2000)
  10. Harris M. Berger, Michael Thomas Carroll (2003). Harris M. Berger, Michael Thomas Carroll (บ.ก.). Global pop, local language. Univ. Press of Mississippi. p. 182. ISBN 1-57806-536-4. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011. Chen Ming follows a similar argument in relation to hua'er songs in the Taomin ( Taozhou) dialect area, saying that when the Jiangsu immigrants came to this region in the Ming dynasty, they combined the performance styles of their native folksongs with song competitions popular among the Tibetans already living in the area. Together they "gradually created the new song form hua'er"
  11. 11.0 11.1 South China Water Towns, http://www.china.org.cn/english/features/watertowns/154212.htm

แม่แบบ:Coord missing