กู่ฉิน (จีน: 古琴; [kùtɕʰǐn] ( ฟังเสียง) ) เป็นเครื่องดนตรีจีนมีเจ็ดสายที่เล่นด้วยการดีด มีการเล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเป็นนิยมเล่นในหมู่นักวิชาการและขุนนางบัณฑิตในฐานะเครื่องดนตรีที่มีความละเอียดประณีตอย่างยิ่ง ดังที่เน้นไว้ในคำกล่าวที่ว่า "บุรุษพึงไม่แยกจากฉินและเซ่อโดยไม่มีเหตุอันควร"[1] รวมถึงมีความเกี่ยวข้องกับขงจื๊อนักปรัชญาชาวจีนโบราณอีกด้วย บางครั้งชาวจีนเรียกกู่ฉินว่าเป็น "บิดาแห่งดนตรีจีน" หรือ "เครื่องดนตรีของนักปราชญ์" ระวังสับสนกู่ฉินกับกู่เจิงซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิดเครื่องสายขนาดยาวของจีนอีกชนิดหนึ่งที่ไม่มีเฟรตเช่นกัน แต่มีหย่องที่เคลื่อนย้ายได้ใต้สายแต่ละสาย

กู่ฉิน
เครื่องสาย
ชื่ออื่นฉิน, ชีเสียนฉิน
ประเภท เครื่องสาย
Hornbostel–Sachs classification312.22
(heterochord half-tube zither)
คิดค้นเมื่อศตวรรษ 1 ก่อนคริสตกาลหรีอก่อนหน้านั้น
ความดังเบา
เครื่องดนตรีที่เกี่ยวข้อง
อิจิเง็งกิง, คอมุนโก
กู่ฉิน
ภาษาจีน古琴
ความหมายตามตัวอักษรฉิน (เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง) โบราณ

ในยุคโบราณ กู่ฉินมีคำเรียกง่ายๆ ว่า "ฉิน" (琴)[2] แต่เมื่อถึงศตวรรษที่ 20 คำนี้ก็ได้นำไปใช้เรียกครื่องดนตรีอื่น ๆ จำนวนมาก เช่น หยางฉิน คือขิมที่เล่นด้วยการตี, หูฉิน เป็นตระกูลเครื่องสายที่เล่นโดยการสี รวมไปถึงเปียโนของตะวันออกที่เรียกในภาษาจีนว่า กางฉิน (钢琴) และไวโอลินที่เรียกว่าเสี่ยวถีฉิน (小提琴) เป็นตัวอย่างของการใช้คำนี้ คำนำหน้า " กู่- " (古; มีความหมายว่า "โบราณ") ถูกเพิ่มเข้ามาในภายหลังเพื่อให้มีความหมายชัดเจนขึ้น เครื่องดนตรีชนิดนี้จึงถูกเรียกว่า " กู่ฉิน " ในปัจจุบัน นอกจากนี้มีคำเรียกว่า ชีเสียนฉิน (七絃琴; มีความหมายว่า "ฉินเจ็ดสาย")

มีบทเพลงกู่ฉินที่หลงเหลือจากยุคโบราณและยุคราชวงศ์ที่เป็นที่รู้จักมากกว่า 3,360 เพลง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศให้กู่ฉินของจีนได้รับเลือกให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของโลกที่จับต้องไม่ได้ ในปี พ.ศ. 2549 กู่ฉินได้รับเลือกให้อยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุแห่งชาติของจีน ในปี พ.ศ. 2553 กู่ฉินยุคราชวงศ์ซ่ง ถูกขายไปในราคา 22 ล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้เป็นเครื่องดนตรีที่แพงที่สุดเท่าที่เคยมีการขายมา[3]

อ้างอิง แก้

  1. Li Ji: Quli, second half 禮記‧曲禮下.
  2. Zhang Yushu et al. Kangxi Zidian 【康熙字典】. Folio 28.
  3. Melvin, Sheila (11 April 2012). "An Ancient Chinese Instrument Is Making a Comeback". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 8 December 2020. In 2010, a guqin owned by Emperor Huizong of the Song Dynasty sold for 137 million renminbi, about $22 million, by most accounts the highest price ever paid for a musical instrument.

บรรณานุกรม แก้

หนังสือภาษาจีนเกี่ยวกับฉิน
  • Zha, Fuxi (1958). Cunjian Guqin Qupu Jilan 【存見古琴曲譜輯覽】. Beijing: The People's Music Press. ISBN 7-103-02379-4.
  • Xu, Jian (1982). Qinshi Chubian 【琴史初編】. Beijing: The People's Music Press. ISBN 7-103-02304-2.
  • Gong, Yi (1999). Guqin Yanzoufa 【古琴演奏法】; 2nd ed., rev. inc. 2 CDs. Shanghai: Shanghai Educational Press. ISBN 7-5320-6621-5
  • Li, Mingzhong (2000). Zhongguo Qinxue 【中國琴學】 卷壹. Volume one. Shanxi: Shanxi Society Science Magazine Association.
  • Yin, Wei (2001). Zhongguo Qinshi Yanyi 【中國琴史演義】. Yunnan: People's Press of Yunnan. ISBN 7-222-03206-1/I‧866
  • Zhang, Huaying (2005). Gu Qin 【古琴】. Guizhou: Zhejiang People's Press. ISBN 7-213-02955-X
Part of the Masterpieces of the Oral and Intangible Heritage of Humanity Collection 【人類口頭與非物質文化遺產叢書】.
  • Guo, Ping (2006). Guqin Congtan 【古琴叢談】. Jinan: Shandong Book Press. ISBN 7-80713-209-4
ฉินผู่
  • Zhu, Quan (1425, 2001). Shenqi Mipu 【神奇秘譜】. Beijing: Cathay Bookshop. ISBN 7-80568-973-3/J‧284
  • Xu, Shangying (1673, 2005). Dahuan Ge Qinpu 【大還閣琴譜】. Beijing: Cathay Bookshop. ISBN 7-80663-288-3/J‧322
  • Zhou, Zi'an (1722, 2000). Wuzhi Zhai Qinpu 【五知齋琴譜】. Beijing: Cathay Bookshop. ISBN 7-80568-864-8/J‧237
  • Chu, Fengjie (1855). Yugu Zhai Qinpu 【與古齋琴譜】. Fujian: Private publication.
  • Zhang, He (1864, 1998). Qinxue Rumen 【琴學入門】. Beijing: Cathay Bookshop. ISBN 7-80568-865-6/J‧236
  • Yang, Zongji (1910–1931, 1996). Qinxue Congshu 【琴學叢書】. Beijing: Cathay Bookshop. ISBN 7-80568-552-5/I‧139
  • Wang, Binglu (1931, 2005). Mei'an Qinpu 【楳盦珡諩】. Beijing: China Bookstore. ISBN 7-80663-297-2/J‧331
  • Wu, Jinglüe and Wenguang (2001). Yushan Wushi Qinpu 【虞山吳氏琴譜】 The Qin Music Repertoire of the Wu Family. Beijing: Eastern Press. ISBN 7-5060-1454-8/I‧78
  • Gu, Meigeng (2004). Qinxue Beiyao (shougao ben) 【琴學備要(手稿本)】. Shanghai: Shanghai Music Press. ISBN 7-80667-453-5
วารสารและจดหมายข่าว
  • Zhongguo Huabao 【中國畫報】. July 1986.
  • Beijing Guqin Research Association. Beijing Qin-xun 【北京琴訊】. March 2001 (volume 71).
  • Parabola, Vol XXIII, No. 2, Summer 1998, pp 56–62: J.L. Walker "No Need to Listen! A Conversation Between Sun Yu-ch'in and J.L. Walker"
หนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับฉิน
  • Gulik, Robert Hans van (1940, 1969). The Lore of the Chinese Lute. 2nd ed., rev. Rutland, Vt., and Tokyo: Charles Tuttle and Sophia University; Monumenta Nipponica. ISBN 0-8048-0869-4
  • Gulik, Robert Hans van (1941). Hsi K'ang and his Poetical Essay on the Chinese Lute. Tokyo: Monumenta Nipponica. ISBN 0-8048-0868-6
  • Lieberman, Fredric (1983). A Chinese Zither Tutor: The Mei-an Ch'in-p'u. Trans. and commentary. Washington and Hong Kong: Hong Kong University Press. ISBN 0-295-95941-X
  • Yung, Bell (2008). The Last of China's Literati: The Music, Poetry and Life of Tsar The-yun. Hong Kong: Hong Kong University Press. ISBN 978-962-209-916-6
  • Gulik, Robert Hans van (2011). The Lore of the Chinese Lute. 3rd ed. Bangkok: Orchid Press.
หนังสือภาษาสเปนเกี่ยวกับฉิน
  • Lieberman, Fredric (2008). Un Manual de Cítara China: el Meian qinpu. (J.M. Vigo, Trans.). Barcelona: www.citarachina.org. (1983).
หนังสือภาษาฝรั่งเศสเกี่ยวกับฉิน
  • Goormaghtigh, Georges (1990). L'art du Qin. Deux textes d'esthétique musicale chinoise. Bruxelles : Institut belge des Hautes études chinoises. ISSN 0775-4612
  • Goormaghtigh, Georges (2010). Le chant du pêcheur ivre: Ecrits sur la musique des lettrés chinois. Gollion: Infolio éditions. ISBN 978-2-88474-197-2
  • Goormaghtigh Georges (2018). Le grain des choses: Petit musée du qin [cd-book], Geneva : (self-publishing) https://legraindeschoses.com/
หนังสือที่ไม่เกี่ยวกับฉิน (หรือหนังสือที่มีบางส่วนเกี่ยวกับฉิน)
  • DeWoskin, Kenneth J. (1982) A Song for One or Two: Music and the Concept of Art in Early China. University of Michigan Press, 1982. Paper: ISBN 978-0-89264-042-3
  • Dr. L. Wieger, S. J. (1915, 1927, 1965). Chinese Characters: Their origin, etymology, history, classification and signification. A thorough study from Chinese documents. L. Davrout, S. J. (trans.). New York: Dover Publications. ISBN 0-486-21321-8
  • Zhang Yushu et al. (1921). Kangxi Zidian 【康熙字典】. Shanghai: Shanghai Old Books Distribution Place.
  • Herdan, Innes (trans.) (1973, 2000). 300 Tang Poems 【英譯唐詩三百首】, Yee Chiang (illus.). Taipei: The Far East Book Co., Ltd. ISBN 957-612-471-9
  • Rawski, E. Evelyn & Rawson, Jessica (ed.) (2005). CHINA: The Three Emperors 1662—1795. London: Royal Academy of Arts. ISBN 1-903973-69-4
ทรัพยากรวิดีโอ
  • The Heart of Qin in Hong Kong (2010), Director: Maryam Goormathtigh, 52 min, documentary, Hong Kong China (Language: Cantonese, Subtitle: Chinese and English)
แผ่นเสียง
  • Sou Si-tai (2007), Le pêcheur et le bûcheron. Le qin, cithare des lettrés, AIMP LXXXII VDE-GALLO, CD-1214
  • Tsar Teh-Yun (1905-2007) maitre du qin (2014), [2 cd-set+54 pages booklet in English/French], AIMP-VDE Gallo, VDE CD 1432/1433

แหล่งข้อมูลอื่น แก้