ชาเขียว
ชาเขียว (ญี่ปุ่น: 緑茶; โรมาจิ: ryokucha) , จีน: 绿茶 - พินอิน: lǜchá, เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในชนิด Camellia sinensis เช่นเดียวกับ ชาขาว ชาแดง และชาอูหลง[1] ชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว กลิ่นหอมอ่อนกว่าอูหลง ชาเขียวหลงจิ่งที่ราคาสูงที่สุด คือ ฉือเฟิ่งหลงจิ่ง ที่ชงจากใบ จะให้กลิ่นหอมอ่อน ๆ บ้างว่าคล้ายถั่วเขียว รสฝาดน้อย เซนฉะที่ชงจากใบมีกลิ่นอ่อน ๆ จนเข้มได้ขึ้นกับการคั่ว บางครั้งมีรสอุมามิจนถึงรสหวานที่รับรู้ได้เฉพาะบางคนเท่านั้น น้ำมันในตัวชาเขียวผ่านการกลั่นมีผลดีต่อร่างกาย ในประเทศไทยจะมีการแต่งกลิ่นเพื่อให้เกิดความน่ารับประทานมากขึ้น
ประวัติ
แก้ชามีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีนกว่า 4,000 ปีมาแล้ว กล่าวคือเมื่อ 2,737 ปีก่อนคริสต์ศักราช ชาเขียวได้ถูกค้นพบโดยจักรพรรดินามว่า เสินหนง ซึ่งเป็นบัณฑิตและนักสมุนไพร ผู้รักความสะอาดเป็นอย่างมาก ดื่มเฉพาะน้ำต้มสุกเท่านั้น วันหนึ่งขณะที่เสินหนงกำลังพักผ่อนอยู่ใต้ต้นชาในป่า และกำลังต้มน้ำอยู่นั้น ปรากฏว่าลมได้โบกกิ่งไม้ เป็นเหตุให้ใบชาร่วงหล่นลงในน้ำซึ่งใกล้เดือดพอดี เมื่อเขาลองดื่มก็เกิดความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นมาก ชาเขียวถูกพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงศตวรรษต่าง ๆ ดังนี้
- ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 3
ชาเป็นยา เป็นเครื่องบำรุงกำลังที่ได้รับความนิยมมากในช่วงศตวรรษที่ 3 ชาวบ้านก็เริ่มหันมาปลูกชากันและพัฒนาขั้นตอนการผลิตมาเรื่อย ๆ
- ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 และ 5
ชาในประเทศจีนได้รับความนิยมมากขึ้นและได้ผลิตชาในรูปของการอัดเป็นแผ่นคือ การนำใบชามานึ่งก่อน แล้วก็นำมากระแทก ในสมัยนี้ได้นำน้ำชาถึงมาถวายเป็นของขวัญแด่พระจักรพรรดิ
- สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618 - 906)
ถือเป็นยุคทองของชา ชาไม่ได้ดื่มเพื่อเป็นยาบำรุงกำลังอย่างเดียว แต่มีการดื่มเป็นประจำทุกวัน เป็นเครื่องมือเพื่อสุขภาพ
- สมัยราชวงศ์ซ้อง (ค.ศ. 960 - 1279)
ชาได้เติมเครื่องเทศแบบในสมัยราชวงศ์ถังแต่จะเพิ่มรสบาง ๆ เช่น น้ำมันจากดอกมะลิ ดอกบัว และดอกเบญจมาศ
- สมัยราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368 - 1644)
ชาที่ปลูกในจีนทั้งหมดเป็นชาเขียว สมัยนั้นกระบวนการผลิตชาได้พัฒนาขึ้นไปอีก ไม่อัดเป็นแผ่น แต่มีการรวบรวมใบชา นำมานึ่ง และอบแห้ง ซึ่งจะเก็บได้ไม่ดีนัก สูญเสียกลิ่นได้ง่าย และรสชาติไม่ดี ในช่วงศตวรรษที่ 17 มีการค้าขายกับชาวยุโรป การผลิตเพื่อจะรักษาคุณภาพชาให้นานขึ้น โดยได้คิดค้นกระบวนการที่ เราเรียกว่า การหมัก เมื่อหมักแล้วก็จะนำไปอบ ซึ่งก็เป็นที่มาของชาอูหลง และชาแดง ในประเทศจีน มีการแต่งกลิ่นด้วยโดยเฉพาะกลิ่นดอกไม้
ในประเทศไทย
แก้ในสมัยสุโขทัยช่วงมีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับจีน พบว่าได้มีการดื่มชากัน แต่ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่านำเข้ามาได้อย่างไร และเมื่อใด แต่จากจดหมายของลาลูแบร์[2] ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้กล่าวไว้ว่า คนไทยได้รู้จักการดื่มชาแล้ว โดยนิยมชงชาเพื่อรับแขก การดื่มชาของคนไทยสมัยนั้นดื่มแบบชาจีนไม่ใส่น้ำตาล สำหรับการปลูกชาในประเทศไทยนั้น แหล่งกำเนิดเดิมอยู่ทางภาคเหนือ
ประเภท
แก้ชาเขียวญี่ปุ่น
แก้ที่รู้จักกันทั่วไปในไทย[4]
ชาเขียวจีน
แก้- หลงจิ่ง
- ปี้หลัวชุน
การวิจัยและผลต่อสุขภาพ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อ้างอิง
แก้- ↑ "ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-22. สืบค้นเมื่อ 2008-04-18.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ พิมพ์ พ.ศ. 2553 สารานุกรมชาฉบับสมบูรณ์ หน้า 23
- ↑ บทความวิกิพีเดีย ชาเขียว