ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า

ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า[1] หรือ ผู้รับใช้ของพระเจ้า เป็นสมัญญานามที่ใช้กับศาสนิกชนบางคนในศาสนาเทวนิยม ใช้เพื่อแสดงว่าบุคคลนั้นศรัทธาอย่างแรงกล้า ในคริสตจักรโรมันคาทอลิกใช้คำนี้ในความหมายเฉพาะลงไปอีก คือหมายถึงบุคคลที่อยู่ในกระบวนการชั้นแรกก่อนการประกาศเป็นนักบุญ ส่วนนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ใช้คำนี้หมายถึงคริสต์ศาสนิกชนใด ๆ ในนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[2]

คำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ใกล้เคียงกับคำว่า อับดุลลอฮ์[3] (عبد الله บ่าวของอัลลอฮ์) ในภาษาอาหรับ และ โอบาดีห์ ในภาษาฮีบรู

ศาสนาคริสต์ แก้

คัมภีร์ไบเบิล แก้

คำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ปรากฏ 7 ครั้งในคัมภีร์ไบเบิล โดยหมายถึงโมเสสถึง 5 ครั้ง (พันธสัญญาเดิม 4 ครั้ง[4][5][6][7] และพันธสัญญาใหม่ 1 ครั้ง[8]) นอกจากนี้เปาโลอัครทูตก็บอกว่าตนเองเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพระเป็นเจ้า[9] ผู้เขียนจดหมายของนักบุญยากอบก็เรียกตนเองว่าเป็นผู้รับใช้คนหนึ่งของพระเป็นเจ้าเช่นกัน[10]

โรมันคาทอลิก แก้

คริสตจักรโรมันคาทอลิกใช้คำว่า "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" เพื่อหมายถึงคริสต์ศาสนิกชนที่ล่วงลับไปแล้ว ที่คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำลังสอบสวนประวัติและผลงานเพื่อประกาศรับรองว่าบุคคลนั้นเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์และได้อยู่ในสวรรค์ร่วมกับพระยาห์เวห์[11] นอกจากนี้ยังมีคำว่า "ผู้รับใช้ของบรรดาผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ซึ่งเป็นสมัญญานามหนึ่งของพระสันตะปาปาที่ใช้มาตั้งแต่สมณสมัยสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 1

ในกระบวนการประกาศเป็นนักบุญ ตำแหน่ง "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" เป็นตำแหน่งแรกสุด ต่อจากนั้นหากได้รับประกาศยืนยันว่าผู้นั้นประกอบด้วยวีรคุณธรรมจึงเรียกว่า "ผู้น่าเคารพ"

ศาสนาฮินดู แก้

คุรุและนักปราชญ์หลายคนในศาสนาฮินดูมักใช้นามที่มีคำว่า ทาส[12] ซึ่งหมายถึง "ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า" ในภาษาทมิฬ คำว่า "ทาส" มักใช้หมายถึงผู้ศรัทธาอุทิศตนต่อพระวิษณุหรือพระกฤษณะ เช่น หริทาส นารายณทาส รามทาส และกาลิทาส เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  • พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 476
  2. See e.g. the standard use of "servant of God" or, in Greek, "δούλος του Θεού" in the Orthodox rites of baptism ([1] เก็บถาวร 2011-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน), marriage, or communion; the female form, in English is "handmaid of God".
  3. The Vision of Islam. Sachiko Murata i William C. Chitthick. J.B. Tauris. pg. 125
  4. 1 พงศาวดาร 6:49
  5. 2 พงศาวดาร 24:9
  6. เนหะมีย์ 10:29
  7. ดาเนียล 9:11
  8. วิวรณ์ 15:3
  9. ทิตัส 1:1
  10. ยากอบ 1:1
  11. CONGREGATION FOR THE CAUSES OF SAINTS: NEW PROCEDURES IN THE RITE OF BEATIFICATION
  12. Able exponent of Dwaita philosophy เก็บถาวร 2020-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Thursday, September 07, 2000. The Hindu