ศรัทธาในศาสนาพุทธ

(เปลี่ยนทางจาก ศรัทธา)

ตามหลักพระพุทธศาสนา ศรัทธา (สันสกฤต: श्रद्धा ศฺรทฺธา) หรือสัทธา (บาลี: สทฺธา) หมายถึงความเชื่อ ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล

ศรัทธา 4

แก้

ศรัทธาในทางพระพุทธศาสนา มีสี่อย่าง คือ

  • กัมมสัทธา เชื่อกรรม เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่า เมื่อทำอะไรโดยมีเจตนา คือ จงใจทำทั้งรู้ ย่อมเป็นกรรม คือ เป็นความชั่วความดีมีขึ้นในตน เป็นเหตุปัจจัยก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป การกระทำไม่ว่างเปล่า และเชื่อว่าผลที่ต้องการ จะสำเร็จได้ด้วยการกระทำ มิใช่ด้วยอ้อนวอนหรือนอนคอยโชค เป็นต้น
  • วิปากสัทธา เชื่อวิบาก เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วย่อมมีผล และผลต้องมีเหตุ ผลดีเกิดจากกรรมดี ผลชั่วเกิดจากกรรมชั่ว
  • กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน เชื่อว่าแต่ละคนเป็นเจ้าของ จะต้องรับผิดชอบเสวยวิบาก เป็นไปตามกรรมของตน
  • ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มั่นใจในองค์พระตถาคต ว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ทรงพระคุณทั้ง 9 ประการ ตรัสธรรม บัญญัติวินัยไว้ด้วยดี ทรงเป็นผู้นำทางที่แสดงให้เห็นว่า มนุษย์ คือเราทุกคนนี้ หากฝึกตนด้วยดีก็สามารถเข้าถึงภูมิธรรมสูงสุด บริสุทธิ์หลุดพ้นได้ ดังที่พระองค์ทรงบำเพ็ญไว้

ธรรมะที่เกี่ยวข้อง

แก้

ศรัทธา หรือ สัทธาเป็นองค์ประกอบในหลายๆหลักธรรมในทางพระพุทธศาสนา ได้แก่

จะเห็นได้ว่าหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาส่วนใหญ่ ที่ถ้าขึ้นต้นด้วยศรัทธานั้น จะสังเกตได้ว่าจะมีต้องปัญญากำกับลงท้ายอยู่ด้วยเสมอ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเมื่อมีศรัทธาใด ๆ ล้วน ก็ต้องมีปัญญาพิจารณาร่วมอยู่ด้วยเสมอ เพื่อไม่ให้พุทธศาสนิกชนมีศรัทธาผิด ๆ จนเกิดความงมงาย

สัทธาเจตสิก

แก้

ในคัมภีร์พระอภิธรรม มีการกล่าวถึงสัทธา ในลักษณะที่เป็นเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด) เรียกว่า สัทธาเจตสิก มีลักษณะดังนี้ คือ

  • มีความเชื่อในกุศลธรรม เป็นลักษณะ
  • มีความเลื่อมใส เป็นกิจ
  • มีความไม่ขุ่นมัว เป็นผล
  • มีวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ เป็นเหตุใกล้

สัทธานี้จัดเป็นธรรมเบื้องต้น ในอันที่จะทำให้บุคคล ได้ประกอบคุณงามความดี เป็นบุญกุศลขึ้นมา และสัทธาที่จะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมต้องอาศัยวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเชื่อ ได้แก่ พระรัตนตรัย ผลของกรรม เป็นต้น สัทธานั้นเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้เกิดความผ่องใส ไม่ขุ่นมัว สามารถดำเนินไปจนเข้าถึงปีติได้

เหตุอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสศรัทธา ได้แก่

  • รูปปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นรูปสมบัติสวยงาม
  • ลูขปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะเห็นความประพฤติเรียบร้อยเคร่งในธรรมวินัย
  • โฆสฺปปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้ฟังเสียงอันไพเราะ
  • ธมฺมปฺปมาณ เลื่อมใสศรัทธาเพราะได้สดับฟังธรรมของผู้ที่ฉลาดในการแสดง

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้