วิริยะ (บาลี: विरिय, วิริย; สันสกฤต: वीर्य, วีรฺย) แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ ภาวะของผู้กล้า เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสำเร็จตามประสงค์ หมายถึง การลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรัก ทำด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้น หากมีอุปสรรคข้อขัดข้องใด ๆ ก็เพียรกำจัดปัดเป่าไปให้หมดสิ้นไป โดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง เดินหน้าเรื่อยไปจนกว่าจะบรรลุเป้าหมายคือ ความสำเร็จ

"วิริยะ" เป็นเหตุให้กล้าลงมือทำงานและกล้าเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ขณะทำงาน ตรงกันข้าม หากขาดความเพียรพยายามเสียแล้วก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

"คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร"

วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว

วิริยารัมภกถา เป็น ถ้อยคำที่ชักนำให้ปรารภความเพียร (ข้อ 5 ในกถาวัตถุ 10)

วิริยะในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

แก้

วิริยะรวมอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาหลายหมวด เช่น

วิริยเจตสิก

แก้

ในทางอภิธรรม มีการกล่าวถึงวิริยะ ในลักษณะของเจตสิก (คือ ธรรมชาติที่อาศัยจิตเกิด ธรรมชาติที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์)

วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่อดทนต่อสู้กับความยากลำบาก ที่เกี่ยวกับการงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายดีและไม่ดี

  • มีความอดทนต่อสู้กับความลำบาก เป็นลักษณะ
  • มีความอุดหนุนธรรมที่เกิดพร้อมกับตน ไม่ให้ถอยหลัง เป็นกิจ
  • มีการไม่ท้อถอย เป็นผลปรากฏ
  • มีความสลด คือสังเวควัตถุ 8 เป็นเหตุใกล้ หรือมีวิริยารัมภวัตถุ 8 เป็นเหตุใกล้

จิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกับวิริยเจตสิกนี้ ย่อมมีอุตสาหะ พากเพียร ไม่ท้อถอย เพราะอำนาจของวิริยะนั่นเอง ที่ช่วยอุดหนุนไว้ ส่วนการที่วิริยะจะเกิดขึ้นได้นั้น ย่อมเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุ ที่มี

  • สังเวควัตถุ 8 (ชาติทุกข์, ชราทุกข์, พยาธิทุกข์ (ทุกข์จากความป่วยไข้), มรณทุกข์, นิรยทุกข์, เปตติทุกข์, อสุรกายทุกข์, ดิรัจฉานทุกข์ (ทุกข์จากการเกิดในสภาพที่ไม่ดีต่าง ๆ))
  • หรือ วิริยารัมภวัตถุ 8 (วัตถุอันเป็นอารมณ์ ให้เกิดการปรารภความเพียร เช่น การงาน, การเดินทาง, สุขภาพ, อาหาร)

อ้างอิง

แก้