ประเทือง ปานลักษณ์

นายประเทือง ปานลักษณ์ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 3 สมัย ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2529

ประเทือง ปานลักษณ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 ตุลาคม พ.ศ. 2490
กิ่งอำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร
(เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน)
เสียชีวิต1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 (56 ปี)
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองชาติไทย (2539–2547)
คู่สมรสชวนพิศ กันทาสวัสดิ์

ประวัติ

แก้

ประเทือง ปานลักษณ์ เกิดเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ที่กิ่งอำเภอลาดกระบัง จังหวัดพระนคร (เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน[note 1]) เป็นบุตรของนายสุดจิตต์ กับนางถวิล ปานลักษณ์ สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาเกษตรกรรม จากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2512[3][4] ประกาศนียบัตรพัฒนาผู้จัดการระดับสูง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

การทำงาน

แก้

ประเทือง ปานลักษณ์ เป็นพนักงานฝ่ายสินเชื่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ระหว่างปี 2513 - 2526 ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน ครั้งแรก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม ต่อมาได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคความหวังใหม่ (อยู่ในกลุ่มภาคเหนือ ร่วมกับนายบุญชู ตรีทอง นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ นายมนตรี ด่านไพบูลย์) และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 สังกัดพรรคชาติไทย

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 นายประเทือง ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งที่ 1 สังกัดพรรคชาติไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางสาวอาภาภรณ์ พุทธปวน ผู้สมัครหน้าใหม่จากพรรคไทยรักไทย

ประเทือง ปานลักษณ์ เคยเป็นกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเรื่องพม่ากักตัวเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย เมื่อปี พ.ศ. 2535[5] และมีผลงานสำคัญอาทิ การผลักดันโครงการระบบส่งน้ำขนาดเล็กในไร่นาในจังหวัดลำพูน การก่อสร้างโกดังเก็บสินค้า และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธกส. โดยสนับสนุนงบพัฒนาจังหวัด (งบ ส.ส.) ในสมัยนั้น

ประเทือง ปานลักษณ์ เป็นนักการเมืองที่ริเริ่มในการตั้งกระทู้ถามเกี่ยวกับการสร้างถนนคู่ขนานกับทางรถไฟจากเชียงใหม่ ไฟยังลำพูน[6] จนเป็นที่มาของถนนเลียบทางรถไฟในปัจจุบัน

ถึงแก่อนิจกรรม

แก้

นายประเทือง เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. เขตลาดกระบังระหว่าง พ.ศ. 2481[1] และ 2500[2] มีฐานะเป็นกิ่งอำเภอขึ้นกับอำเภอมีนบุรี จังหวัดพระนคร

อ้างอิง

แก้
  1. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องยุบรวมอำเภอ และยุบอำเภอลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55: 1840–1842. 29 สิงหาคม พ.ศ. 2481. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-08. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  2. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลาดกระบัง พ.ศ. ๒๕๐๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (23 ก): 543–545. 5 มีนาคม 2500.
  3. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]
  4. ประวัติย่อ นายประเทือง ปานลักษณ์
  5. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/137/11997.PDF
  6. กระทู้ถามที่ ๐๖๖ ร. เรื่อง การแก้ปัญหาจราจรแออัดในเส้นทางคมนาคมระหว่างจังหวัดเชียงใหม่ - จังหวัดลำพูน ของ นายประเทือง ปานลักษณ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๐ ตอนที่ ๒๐๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๖