ดร.ประกอบ จิรกิติ (7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 - ) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสามสมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของนายประสิทธิ และนางอิงอร จิรกิติ สมรสกับ นางวรรณา จิรกิติ (สกุลเดิม เบญจรงคกุล) น้องสาวของ นายบุญชัย เบญจรงคกุล อดีตผู้บริหารกลุ่มยูคอมและดีแทค และเป็นพี่สาวนายสมชาย เบญจรงคกุล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

ประกอบ จิรกิติ
รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2552 – พ.ศ. 2554
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2496 (70 ปี)
จังหวัดพระนคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสวรรณา จิรกิตติ

ประวัติ แก้

ดร.ประกอบ จิรกิติ เคยทำงานด้านวิชาการเป็นอาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มีผลงานจนได้ดำรงตำแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ก่อนจะเข้าเป็นผู้บริหารบริษัทหลายแห่งในเครือยูคอม ที่เป็นหนึ่งในธุรกิจสื่อสารยักษ์ใหญ่ของไทย กระทั่งได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ยูไนเต็ด คอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ ยูคอม และต่อมาเป็น กรรมการผู้จัดการบริษัท เลิร์นทูเกเธอร์ จำกัด ธุรกิจการเรียนการสอนแบบออนไลน์ (e-Learning) ในเครือยูคอม ซึ่งเท่ากับได้ทำงานในสายงานการศึกษาอีกครั้ง

ดร.ประกอบ จิรกิติ เคยเข้าสู่วงการเมือง โดยลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2539 กรุงเทพมหานคร เขต 10 ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และชนะการเลือกตั้ง ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2544 ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก แต่ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 ไม่ได้รับเลือกตั้งโดยแพ้อันดับ 1 เพียง 5 พันกว่าคะแนน และในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2548 ดร.ประกอบลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 39 แต่พรรคได้รับคะแนน ส.ส.บัญชีรายชื่อเพียง 26 ลำดับแรก เนื่องจากกระแสไทยรักไทยฟีเวอร์ในช่วงนั้น

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 ดร.ประกอบ จิรกิติ ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งเป็น ส.ส. แบบสัดส่วน กลุ่ม 6 ในสังกัด พรรคประชาธิปัตย์ เช่นเดิม และได้รับการเลือกตั้ง ต่อมาใน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์[1] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.อีกสมัย

การศึกษา แก้

การทำงาน แก้

  • พ.ศ. 2522-2525 : ผู้ช่วยนักวิจัย มหาวิทยาลัยมิสซูรี่
  • พ.ศ. 2526-2533 : อาจารย์ประจำคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  • พ.ศ. 2533-2534 : รองคณบดีคณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พ.ศ. 2534-2537 : รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • พ.ศ. 2538 :
    • กรรมการ บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (พ.ศ. 2538-2539)
    • กรรมการ บริษัทไทยแซทเทิ่ลไล้ท์คอมมูนิเคชั่นจำกัด (พ.ศ. 2538-2539)
    • กรรมการ บริษัท เวิลด์เทเลคอมโฮลดิ้ง จำกัด (พ.ศ. 2538-2539)
  • พ.ศ. 2539 :
    • ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโส บริษัท ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี จำกัด (มหาชน)
    • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 10 พรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2539-2543)
  • พ.ศ. 2543 :
    • ประธานกรรมาธิการกิจการ สภาผู้แทนราษฎร
    • กรรมการอำนวยการการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ (นายธวัชชัย สัจจกุล ลงสมัครในนามพรรค)
  • พ.ศ. 2544 : ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรุงเทพมหานคร เขต 29 (เขตบางพลัด บางกอกน้อย) แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • พ.ศ. 2546-2547 : ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่อาวุโส บมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน : รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ยูไนเต็ดคอมมูนิเกชั่น อินดัสตรี
  • พ.ศ. 2548 : ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ปาร์ตี้ลิสต์ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 39 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
  • พ.ศ. 2550 : ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ระบบสัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 5 เขต 6 (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี) ได้รับเลือกตั้ง
  • พ.ศ. 2552 : รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2552 : กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี(ครม.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)

ในปี 2562 เขาลงสมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ลำดับที่ 55 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคประชาธิปัตย์)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-10-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๐, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐