บุญมาก ศิริเนาวกุล

รองศาสตราจารย์ บุญมาก ศิริเนาวกุล อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย เคยดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ด้านพลังงาน[1]

บุญมาก ศิริเนาวกุล
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด19 สิงหาคม พ.ศ. 2498 (68 ปี)
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์
คู่สมรสกัลยา ศิริเนาวกุล

ในการเลือกตั้งวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2544 รศ.บุญมากได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรีในนามพรรคประชาธิปัตย์ต่อเนื่องเป็นสมัยที่ 3 แต่ต่อมาถูกคณะกรรมการการเลือกตั้งกลางให้ใบแดง จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้อ้างว่าได้ส่งสายลับเข้าไปในศูนย์การเลือกตั้งของ รศ.บุญมาก และพบเห็นมีการจ่ายเงินจำนวน 1 พันบาทให้กับกำนันในพื้นที่และพวกอีก 6 คนเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2543 ก่อนวันเลือกตั้ง 30 วัน การแจกใบแดงครั้งนั้นถือเป็นใบแดงประวัติศาสตร์ใบแรกของการเลือกตั้งในประเทศไทยที่จัดโดยการดูแลของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นองค์กรอิสระที่มีขึ้นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540

ในการเลือกตั้งปี 2548 รศ.บุญมาก ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรีอีกครั้ง แต่แพ้ให้กับกอบกุล นพอมรบดี จากพรรคไทยรักไทยไป

หลังจากนั้น รศ.บุญมาก ได้ต่อสู้คดีใบแดงในชั้นศาล โดยศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 หลังจากชนะคดีในศาลชั้นต้น รศ.บุญมากได้ฟ้องกลับผู้กล่าวหาและเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้งฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ เรียกค่าเสียหายเป็นเงินถึง 100 ล้านบาท ขณะเดียวกันโจทก์ยื่นอุทธรณ์คดีใบแดง ต่อมาศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง รศ.บุญมาก เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2548 และโจทก์สู้คดีต่อในชั้นศาลฎีกา

ในการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 รศ.บุญมากได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรีในนามพรรคประชาธิปัตย์อีกครั้ง แต่ต่อมาในวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2550 ก่อนวันเลือกตั้งได้ไม่นาน ศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้มีคำพิพากษาว่า รศ.บุญมากกระทำความผิดโดยให้เงินแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ระหว่างมีการหาเสียงเลือกตั้งจริง พิพากษาตัดสิทธิการเลือกตั้ง รศ.บุญมาก 10 ปี ปรับ 20,000 บาท และจำคุกอีก 1 ปี แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญา 2 ปี[2][3][4] ทำให้ขาดคุณสมบัติการเป็นผู้สมัคร สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทันที

บุญมากกลับไปทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด[5] เนื่องจากอยู่ระหว่างถูกตัดสิทธิการเมือง 10 ปี และได้ตำแหน่งทางวิชาการรองศาสตราจารย์ ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 และเคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ต่อมาหันไปทำการเกษตร[6]

ประวัติ แก้

บุญมาก ศิริเนาวกุล เกิดวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2498 เป็นบุตรนายสมศักดิ์ ศิริเนาวกุล (นายเซี่ยะกี่ แซ่ลิ้ม) และนางอ้ายงิ้ม แซ่อึ้ง(แซ่ลี้) มีพี่ชาย 1 คน คือ ศ.ดร.บุญเจริญ ศิริเนาวกุล สมรสกับนางกัลยา ศิริเนาวกุล (สกุลเดิม "วาสะสิริ") กรรมการในคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ[7] และอดีตผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรราชบุรี มีบุตรี 1 คน คือ ด.ญ.บุณยกร ศิริเนาวกุล (น้องมาดี)

การศึกษา แก้

การเมือง แก้

  • สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี 2 สมัย (พ.ศ. 2538, 2539)
  • เลขานุการ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
  • กรรมาธิการงบประมาณแผ่นดิน ปี 2540
  • ประธานอนุกรรมาธิการการพิจารณางบประมาณแผ่นดินด้านคอมพิวเตอร์ทุกหน่วยงานรัฐ ปี 2540
  • กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ (พ.ศ. 2548 - 2550)

ด้านการศึกษา แก้

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แก้

อ้างอิง แก้

  1. กะบะเหินร่องน้ำกลางถนน ชนอัดรถเก๋งอดีตสส.ราชบุรีหวิดดับ
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-31. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  3. http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/popup_news_print.aspx?newsid=148752&NewsType=1&Template=1
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-02. สืบค้นเมื่อ 2007-12-22.
  5. รศ. ดร.บุญมาก ศิริเนาวกุล แห่งมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  6. อดีต สส.ราชบุรี พลิกพื้นที่ทำเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในหลวง ร.9
  7. http://www.moe.go.th/websm/2016/jan/037.html
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖๘, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  9. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๐