มิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล (บริษัท)
บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Miss Grand International Public Company Limited) เป็นกลุ่มบริษัทในประเทศไทยที่ก่อตั้งโดยณวัฒน์ อิสรไกรศีล โดยมีสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร[2] บริษัทประกอบธุรกิจในหลายด้านทั้งโฆษณา, เครื่องสำอาง, การบันเทิง, การจัดงาน, ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ, อาหารแปรรูป และการจัดการศิลปิน[3][4][5][6] โดยต่อยอดจากการประกอบธุรกิจการประกวดความงาม 2 เวที ได้แก่ มิสแกรนด์ไทยแลนด์ และมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล และขยายออกมาทำธุรกิจข้างต้นตั้งแต่ช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2010[3] ก่อนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2566[7]
ชื่อเดิม | บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (พ.ศ. 2556 – 2565) |
---|---|
ประเภท | บริษัทมหาชนจำกัด |
การซื้อขาย | mai:MGI |
อุตสาหกรรม |
|
ก่อตั้ง | 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 |
ผู้ก่อตั้ง | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล |
สำนักงานใหญ่ | 1751 ซอยลาดพร้าว 94 ถนนลาดพร้าว แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง, , |
พื้นที่ให้บริการ | ทั่วโลก |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ |
|
รายได้ | 617.04 ล้านบาท (2566) |
รายได้จากการดำเนินงาน | 150.65 ล้านบาท (2566) |
รายได้สุทธิ | 119.25 ล้านบาท (2566) |
สินทรัพย์ | 605.39 ล้านบาท (2566) |
ส่วนของผู้ถือหุ้น | 454.74 ล้านบาท (2566) |
บริษัทในเครือ | บริษัท เคเอ็มจีไอ จำกัด[1] |
เว็บไซต์ | missgrand |
ประวัติ
แก้บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท โดยมีณวัฒน์ อิสรไกรศีล เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร[2] เขาเคยเป็นผู้จัดรายการและพิธีกรโทรทัศน์ ซึ่งเคยเป็นผู้จัดเวทีการประกวดมิสไทยแลนด์เวิลด์ภายใต้การดูแลของเทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ หลังจากเขาได้ยุติบทบาทดังกล่าว ณวัฒน์ได้เซ็นสัญญาพันธมิตรทางธุรกิจกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ก่อตั้งเวทีการประกวดระดับประเทศในชื่อมิสแกรนด์ไทยแลนด์ ในช่วงกลางปี พ.ศ. 2556 และต่อมาก็ได้ก่อตั้งเวทีระดับนานาชาติในชื่อมิสแกรนด์อินเตอร์เนชันแนล โดยทั้ง 2 เวทีอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยตรง[4][8]
นอกเหนือจากธุรกิจการประกวดความงาม ทางบริษัทก็ได้ทำการขยายตัวไปทำธุรกิจในด้านอื่น ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหารแปรรูป และเครื่องสำอาง ในปี พ.ศ. 2561 และธุรกิจบริหารจัดการศิลปิน ในปีพ.ศ. 2562[3] ซึ่งส่งผลให้บริษัทได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 และ 75 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2563 และ พ.ศ. 2565 ตามลำดับ[5][6]
ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2565 บริษัทได้ทำการจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด ในชื่อ บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Miss Grand International Public Company Limited) ด้วยทุนจดทะเบียน 105 ล้านบาท[9][6] และได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวนเพื่อเข้าสู่กระบวนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2566 เพื่อจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ[10][11] ในเวลาต่อมาบริษัทได้รับสิทธิ์ในการเข้าบริหารโชว์ ดีซี ฮอลล์ ซึ่งเป็นศูนย์ประชุม และโรงละครอเนกประสงค์ ภายในศูนย์การค้าโชว์ ดีซี (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บราโว บีเคเค) เป็นระยะเวลา 20 ปีตามสัญญาเช่าที่ดินของศูนย์การค้า และได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น เอ็มจีไอ ฮอลล์ (อังกฤษ: MGI Hall) โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[12][13] นอกจากนี้บริษัทยังได้เป็นพันธมิตรกับคาร์มาร์ทในการก่อตั้งบริษัทลูก ซึ่งได้แก่ บริษัท เคเอ็มจีไอ จำกัด ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 เพื่อทำธุรกิจเครื่องสำอางโดยเฉพาะ[1]
บมจ.มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ดำเนินการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน จำนวน 60,000,000 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 28.57% ของหุ้นทั้งหมด ที่ราคาหุ้นละ 4.95 บาท รวมมูลค่าเสนอขายจำนวน 297,000,000 บาท เมื่อวันที่ 4, 6 และ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2566[14] และได้เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม[7] ต่อมาทางบริษัทได้ร่วมมือกับติ๊กต็อกช็อปในการทำธุรกิจประเภทการจัดการดูแลเครือข่าย (MCN) ให้กับเน็ตไอดอลภายในแอปพลิเคชันติ๊กต็อก ซึ่งได้ทำการเปิดตัวรูปแบบธุรกิจครั้งแรกในวันที่ 26 ธันวาคม[15]
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้สั่งให้หยุดพักการซื้อขายหุ้น MGI ในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (ขึ้นเครื่องหมาย P) เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ เนื่องจากสภาพการซื้อขายผิดปกติ ทำให้หุ้น MGI เป็นหุ้นที่ถูกขึ้นเครื่องหมายนี้เป็นตัวแรกของประเทศไทย[16] นอกจากนี้ยังถูกขึ้นเครื่องหมาย P เป็นรอบที่ 2 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์[17] และรอบที่ 3 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์[18]
ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ทางบริษัทได้ร่วมมือกับบริษัท สบาย เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) โดยการถือหุ้น SABUY จำนวน 30 ล้านหุ้น ซึ่งเป็นจำนวนเงิน 135 ล้านบาทในราคาหุ้น 4.5 บาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนหุ้นในร้อยละ 1.7 พร้อมกับเซ็นสัญญาซื้อขายน้ำพริกตรานางงามจำนวน 100,000 กระปุกเพื่อนำไปออกจำหน่ายในตู้ Sabuy Vending Plus ซึ่งเป็นตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ[19]
วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2567 บริษัทได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปตั้งอยู่ที่อาคารเลขที่ 1751 ถนนศรีวรา แขวงพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้งบประมาณในการปรับปรุงอาคารนี้จำนวน 250 ล้านบาท[20]
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่
แก้เมื่อก่อตั้งบริษัท ณวัฒน์ อิสรไกรศีล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และรัชพล จันทรทิม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เป็นผู้ถือหุ้นรวมร้อยละ 99.99[21] แต่ได้ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 71.42 หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการระดมทุนสาธารณะในรูปแบบการเสนอขายหุ้นครั้งแรกให้แก่สาธารณชน (IPO) ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2566[5][22][23]
ด้านล่างเป็นรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ IPO แล้ว[24]
ลำดับที่ | ผู้ถือหุ้น | จำนวนหุ้น | % การถือครอง |
---|---|---|---|
1 | ณวัฒน์ อิสรไกรศีล | 90,000,000 | 42.86 |
2 | รัชพล จันทรทิม | 59,999,800 | 28.57 |
3 | บริษัท คาร์มาร์ท จำกัด (มหาชน) | 6,000,000 | 2.86 |
4 | พีรเจต สุวรรณนภาศรี | 4,700,000 | 2.24 |
5 | ขันธ์พลร์ ซื่อภาคย์ | 2,000,000 | 0.95 |
6 | ชาล็อต ออสติน | 2,000,000 | 0.95 |
7 | พงศ์ศักดิ์ ธรรมธัชอารี | 2,000,000 | 0.95 |
8 | สุระ คณิตทวีกุล | 2,000,000 | 0.95 |
9 | อิงฟ้า วราหะ | 2,000,000 | 0.95 |
10 | กฤติเดช ประชานุกูล | 1,500,000 | 0.71 |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "แจ้งมติกรรมการจัดตั้งบริษัทย่อย" (PDF). Stock Exchange of Thailand. 17 February 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ 2.0 2.1 "เปิดปูม 'ณวัฒน์' เจ้าของธุรกิจนางงาม –บ.มิสแกรนด์ฯ รายได้ ปี 63 กว่า 340 ล." Channel 8. 2 July 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 July 2021. สืบค้นเมื่อ 6 January 2022.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "มิสแกรนด์ อินเตอร์ฯ เตรียมยื่นไฟลิ่ง พ.ค.ขาย IPO หวังเข้าเทรดปลายปี 65". Infoquest.co.th. 17 January 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2022. สืบค้นเมื่อ 25 January 2022.
- ↑ 4.0 4.1 "เปิดอาณาจักรร้อยล้าน "ณวัฒน์ อิสรไกรศีล" เจ้าของเวทีมิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล". Sanook.com. 11 June 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 July 2021. สืบค้นเมื่อ 18 October 2021.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "7 เรื่องน่ารู้ "มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล MGI" หุ้นไอพีโอน้องใหม่". Stockfocusnews.com. 19 July 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "เทียบรายได้ธุรกิจ "บ.มิสแกรนด์ & เจเคเอ็น" ชัด ๆ ใคร เหนือกว่า". ช่อง 8. 18 October 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 23 September 2023.
- ↑ 7.0 7.1 "MGI เปิดเทรดวันแรก 6.25 บาท เหนือจอง 26.26%". สำนักข่าวอินโฟเควสท์. 14 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เบ็ตตี้&เจโจ (27 February 2013). "เปิดศึก 3 เวที ชิงพื้นที่สุดยอดสาวงาม". Post Today. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2021. สืบค้นเมื่อ 28 December 2020.
- ↑ ""มิสแกรนด์อินเตอร์เนชั่นแนล 2022 "แบรนด์แรกของคนไทย ณวัฒน์ ปั้นมากับมือ". กรุงเทพธุรกิจ. 26 October 2022. สืบค้นเมื่อ 2 May 2023.
- ↑ "หนังสือชี้ชวนตราสารทุน บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. 2023-01-30. สืบค้นเมื่อ 2023-02-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "หลักทรัพย์เตรียม IPO". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-22. สืบค้นเมื่อ 23 September 2023 – โดยทาง Archive Today.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "'ณวัฒน์' เปิดโพย 7 พรรค ร่วมปราศรัยเวทีมิสแกรนด์ Q&A กับนางงาม แง้มได้รับเชิญเป็น 'แคนดิเดตนายกฯ'". มติชน. 21 February 2023. สืบค้นเมื่อ 2 May 2023.
- ↑ "ณวัฒน์ สร้างอาณาจักร MGI HALL อีกหนึ่งก้าวแห่งความสำเร็จของมิสแกรนด์". สปริงนิวส์. 22 February 2023. สืบค้นเมื่อ 14 March 2023.
- ↑ "หุ้น 'มิสแกรนด์' เคาะราคา IPO 4.95 บาทต่อหุ้น เปิดจองซื้อ 4-7 ธ.ค. เข้าเทรด mai ปลายปีนี้". สำนักข่าวทูเดย์. 30 พฤศจิกายน 2023. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2023.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ราคาหุ้น MGI พุ่งแรง 'ณวัฒน์' คนจริง ตั้งเป้าหมาย 30,000 ล้าน". คมชัดลึก. 27 December 2023. สืบค้นเมื่อ 27 December 2023.
- ↑ "หุ้นมิสแกรนด์ MGI หุ้นไทย หุ้นแรก ที่ถูกขึ้นเครื่องหมาย P". ลงทุนแมน. 20 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ "ตลท.สั่งพักการซื้อขายหุ้น MGI รอบ 2 วันนี้". สำนักข่าวไทย อสมท. 23 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2024.
- ↑ "หุ้น MGI ร้อนแรงไม่หยุด ตลท.สั่งเบรกจับขึ้น P รอบ 3 หยุดซื้อขายพรุ่งนี้". กรุงเทพธุรกิจ. 27 กุมภาพันธ์ 2024. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "อยากขายน้ำพริกผ่านตู้! เหตุผล "ณวัฒน์" ซื้อ SABUY หุ้นร่วง 2 ฟลอร์ไม่ใช่ปัญหา". ไทยรัฐ. 4 April 2024. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 April 2024. สืบค้นเมื่อ 5 April 2024.
- ↑ ""ณวัฒน์" ทุ่ม 250 ล้าน เนรมิตอาณาจักร "MGI Headquarter"". สยามรัฐรายวัน. 19 ตุลาคม 2024. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ย้อนสารพัดแบรนด์ถึง"น้ำพริกนิตยา"บทเรียน"ธุรกิจ"เลือกข้าง"การเมือง"?". Bangkok Business . 23 September 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 December 2021. สืบค้นเมื่อ 11 January 2022.
- ↑ "ก.ล.ต.อนุมัติแบบคำขอ "มิสแกรนด์" ขายไอพีโอ 60 ล้านหุ้น เข้า mai ต่อยอดธุรกิจ". สยามรัฐ. 18 July 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ "นับจากนี้ทุกพื้นที่มีแต่แกรนด์ ก.ล.ต. นับหนึ่งไฟลิ่ง MGI นำมิสแกรนด์ เข้าตลาดหุ้นปีนี้". Thai Rath. 18 July 2023. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 September 2023. สืบค้นเมื่อ 22 September 2023.
- ↑ "หุ้นส่วน บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (MGI)". ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. 8 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2023.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)