น้ำอมฤต
น้ำอมฤต /อะมะริด, หรือ อะมะรึด/ หรือ ยาอายุวัฒนะ (อังกฤษ: elixir of life, elixir of immortality หรือ Dancing Water, อาหรับ: الإكسير, อัลอีกซีร์; เปอร์เซีย: آب حیات, อาบเอฮะยาต) เป็นยาน้ำหรือเครื่องดื่มซึ่งเชื่อกันว่าจะทำให้ผู้ดื่มเป็นอมตภาพหรือคงความเยาว์วัยแห่งรูปร่างไว้ชั่วกัลป์ บ้างก็ว่าสามารถคืนชีวิตหรือสร้างชีวิตใหม่ได้ เรียกว่าเป็นยาแก้สรรพโรคประเภทหนึ่ง นักเล่นแร่แปรธาตุ ตลอดช่วงเวลาและในหลากหลายวัฒนธรรม พยายามค้นหาวิธีการปรุงมันขึ้นมา
ประวัติความเป็นมา
แก้ในเมโสโปเตเมียโบราณ
แก้เรื่องราวเกี่ยวกับน้ำอมฤตปรากฏอยู่ใน มหากาพย์กิลกาเมช (Epic of Gilgamesh) ช่วง 2,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งกิลกาเมช (Gilgamesh) กษัตริย์ผู้ทรงอำนาจ เกิดความหวาดกลัวต่อความชราภาพหลังจาก เอ็นกิดู (Enkidu) เพื่อนรักผู้ซื่อสัตย์เสียชีวิต[1] เขาออกเดินทางเพื่อไปพบกับ อูตนาพิชทิม (Utnapishtim) ผู้มีลักษณะคล้ายกับ โนอาห์ (Noah) ในตำนานเมโสโปเตเมีย ซึ่งเล่าว่าเขาเป็นผู้รับใช้ของนักเล่นแร่แปรธาตุผู้ยิ่งใหญ่แห่งสายฝน ผู้ต่อมาได้รับพรให้เป็นอมตะ กิลกาเมช มุ่งหวังที่จะขอคำแนะนำจาก กษัตริย์เฮโรดแห่งดินแดนไฟ แต่กลับได้รับคำแนะนำจากอูตนาพิชทิม ให้ไปค้นหาพืชชนิดหนึ่งที่ก้นทะเล ซึ่งกิลกาเมชประสบความสำเร็จในการตามหา แต่ก่อนที่จะดื่มเองเขาต้องการทดลองกับชายชราคนหนึ่ง แต่ถูกงูแย่งไปกินเสียก่อน
ในประเทศจีน
แก้ราชวงศ์ต่าง ๆ ของจีนโบราณจำนวนมากต่างก็แสวงหาน้ำอมฤตในตำนานเพื่อหวังจะบรรลุความเป็นอมตะ ในสมัยราชวงศ์ฉิน จิ๋นซีฮ่องเต้ ได้ส่งนักเล่นแร่แปรธาตุที่นับถือลัทธิเต๋าชื่อ สฺวี ฝู (จีน: 徐福; พินอิน: Xúfú) พร้อมกับชายหนุ่ม 500 คนและหญิงสาว 500 คน ออกเดินทางไปยังทะเลตะวันออก (จีน: 东海; พินอิน: dōnghǎi, ตงไห่) เพื่อค้นหาน้ำอมฤตที่ ภูเขาเผิงไหล ตามตำนาน แต่สุดท้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ จิ๋นซีฮ่องเต้ จึงทรงส่ง สฺวี ฝู ออกเดินทางอีกเป็นครั้งที่สอง พร้อมกับเด็กหญิงและเด็กชายอีก 3,000 คน แต่ไม่มีใครกลับมาอีกเลย (บางตำนานเล่าว่าพวกเขาไปพบดินแดนญี่ปุ่นแทน)[2]
ชาวจีนโบราณเชื่อว่า การบริโภคแร่ธาตุที่มีความคงทนยาวนาน เช่น หยก ชาด หรือฮีมาไทต์ จะช่วยให้อายุยืนยาว จะช่วยส่งเสริมอายุยืนยาวให้แก่ผู้บริโภค[3] ทองคำ ถูกมองว่าทรงพลังเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นโลหะมีค่าที่ไม่หมองคล้ำ ความคิดเกี่ยวกับทองคำที่สามารถดื่มได้นั้น ปรากฏขึ้นในจีนราวปลายครัสต์ศตวรรษที่สาม ตำราเล่นแร่แปรธาตุที่โด่งดังที่สุดของจีน คือ ตำรา ตังจิงเหย่าจื้อ (จีน: 丹經要訣; พินอิน: Dānjīng yàojué, สูตรสำคัญของการเล่นแร่แปรธาตุคลาสสิก) ซึ่งเชื่อว่าเขียนโดยซุนซือเหมี่ยว (ประมาณ ค.ศ. 581 – 682)[4][5] แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอันดับหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจากคนรุ่นหลังว่าเป็น "บิดาแห่งการแพทย์" ตำรานี้ยังกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างยาอายุวัฒนะ รวมถึงส่วนผสมที่เป็นพิษหลายชนิด (เช่น ปรอท กำมะถัน และสารหนู) ยาสำหรับรักษาโรคบางชนิด และการสังเคราะห์อัญมณี
วัตถุดิบหลายชนิดเหล่านี้ ไม่เพียงแต่ไม่ได้ช่วยยืดอายุขัย แต่กลับส่งผลเป็นพิษร้ายแรง และนำไปสู่ภาวะ พิษจากน้ำอมฤตเล่นแร่แปรธาตุ เช่น จักรพรรดิเจียจิ้ง แห่งราชวงศ์หมิง สิ้นพระชนม์จากการดื่มปรอทในปริมาณมาก ซึ่งเป็นส่วนผสมของ น้ำอมฤต ที่เหล่านักเล่นแปรธาตุปรุงขึ้น
ในประเทศอินเดีย
แก้น้ำอมฤตที่ปรากฏ มาจาก การอวตารภาคหนึ่งของพระนารายณ์ในปาง กูรมาวตาร
ตำราศาสนาฮินดู (Hindu scriptures) ได้กล่าวถึง น้ำอมฤต ซึ่งเป็นยาอายุวัฒนะ ในคัมภีร์ปุราณะ เขียนไว้ว่า หลังจากเหล่าเทวดา ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์ผู้แสวงหาพลังอำนาจ พ่ายแพ้ต่ออสูร พระวิษณุ ผู้เป็นเทพผู้พิทักษ์ ได้แนะนำให้เหล่าเทวดาทำการกวน สมุทรามัณฑนา (มหาสมุทรน้ำนม) เพื่อให้กลายเป็นน้ำอมฤต และนำมาเสริมพลังให้แก่ตนเอง[6]
ปรอท ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในกระบวนการเล่นแร่แปรธาตุ ปรากฏการกล่าวถึงครั้งแรกในคัมภีร์อรรถศาสตร์ (Arthashastra) ราวศตวรรษที่ 4-3 ก่อนคริสตกาล ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ปรอทถูกค้นพบในจีนและตะวันตกพอดี แนวคิดการแปรธาตุโลหะพื้นฐานให้กลายเป็นทองคำ ปรากฏหลักฐานในคัมภีพุทธศาสนาช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2-5 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่ปรากฏในตะวันตกเช่นกัน
มีความเป็นไปได้ที่ศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุเพื่อการแพทย์และการแสวงหาความเป็นอมตะ อาจมีการถ่ายทอดระหว่างจีนกับอินเดีย ซึ่งไม่ว่าจะมาจากที่ใดก็ตาม เป้าหมายหลักของทั้งสองวัฒนธรรมนี้ คือ การแพทย์ มากกว่าการสร้างทองคำ สำหรับอินเดียแล้ว น้ำอมฤตนั้นไม่ได้มีความสำคัญมากนัก (เนื่องจากมีแนวทางอื่นในการบรรลุความเป็นอมตะ) ยาอายุวัฒนะของอินเดีย มักเป็นสูตรยาผสมแร่ธาตุที่ใช้รักษาโรคเฉพาะเจาะจง หรือเพื่อส่งเสริมอายุยืนยาวเท่านั้น
ในตะวันออกกลาง
แก้คำว่า "น้ำอมฤต" ในภาษาอังกฤษคือ "elixir" (คำอ่าน: ɪˈlɪksər /อีลีกเซอร์/) เป็นคำที่รับมาจากคำในภาษาอาหรับว่า " آب حیات. " (/อัลอีกซีร์/) ซึ่งก็อาจมาจากคำว่า "Aab-e-Hayaat'" (/อาบเอฮะยาต/) ในภาษาเปอร์เซียอีกทอดหนึ่ง
ในยุคทองของอิสลาม บรรดานักรสายนเวททั้งชาวอาหรับและอิหร่านล้วนใช้ความพยายามอย่างยิ่งยวดในการค้นหาน้ำอมฤตกัน แต่ก็ไร้ผล หากกลับกลายว่าพวกเขาสามารถพัฒนาวงการแพทย์อิสลามให้รุ่งเรืองได้แทน
ในทวีปยุโรป
แก้ในประเพณีการเล่นแร่แปรธาตุของยุโรป น้ำอมฤต มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการสร้างศิลานักปราชญ์ตามตำนาน นักเล่นแร่แปรธาตุบางคนได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้สร้างน้ำอมฤต เช่น นิโคลัส เฟลมเมล และ แซ็ง-แฌร์แม็ง นอกจากนี้ผลงานของ ไมเคิล สก็อต (Michael Scot) ยังกล่าวถึงทองคำว่าเป็นน้ำอมฤตอีกด้วย[7]
ในประเทศญี่ปุ่น
แก้ในบทกวีนิพนธ์ มังโยชู (ญี่ปุ่น: 万葉集; โรมาจิ: Man'yōgana) ของญี่ปุ่น ซึ่งประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่แปด กล่าวถึง น้ำชำระล้างฟื้นฟู (ญี่ปุ่น: 変若水; โรมาจิ: ochimizu) ว่าเป็นสิ่งของที่เทพเจ้าจันทรา สึกูโยมิ ทรงครอบครองอยู่
เรื่องเล่านี้มีความคล้ายคลึงกับนิทานพื้นบ้านจากหมู่เกาะรีวกีว ซึ่งเล่าว่าเทพเจ้าจันทราตัดสินใจมอบ น้ำอมตะ (มิยาโกะ: sïlimizï) ให้แก่มนุษย์ และมอบ "น้ำแห่งความตาย" (มิยาโกะ: sïnimizï) ให้แก่งู แต่ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้แบกน้ำลงมายังโลกนั้นรู้สึกเหนื่อยล้า จึงพักผ่อนระหว่างทาง ทำให้ งู ได้อาบน้ำอมตะ ส่งผลให้น้ำนั้นสูญเสียสรรพคุณ นิทานพื้นบ้านนี้เป็นที่มาของความเชื่อที่ว่า ทำไมงูจึงสามารถผลัดผิวเพื่อฟื้นฟูร่างกายได้ทุกปี ในขณะที่มนุษย์ต้องประสบชะตากรรมแก่เฒ่าและตายไปในที่สุด[8][9]
ชื่อของน้ำอมฤต
แก้น้ำอมฤตมีชื่อเรียกมากมายหลายร้อยชื่อ (นักวิชาการประวัติศาสตร์จีนท่านหนึ่ง รายงานว่าพบชื่อเรียกมากกว่า 1,000 ชื่อ) ตัวอย่างเช่น
- คีเมีย (Kimia) - ภาษากรีกโบราณ ใช้ในวรรณกรรมเปอร์เซียโบราณ หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงและนำมาซึ่งชีวิต
- อัมฤตรส (Amrit Ras) หรือ อมฤต (Amrita) - ภาษาอินเดีย แปลว่า น้ำอมตะ
- อาบีฮายาต (Aab-i-Hayat) - ภาษาเปอร์เซีย แปลว่า น้ำแห่งชีวิต
- มหาสระ (Maha Ras) - ภาษาอินเดีย แปลว่า น้ำวิเศษ
- อาบีไฮวัน (Aab-Haiwan) - ไม่ทราบความหมายแน่ชัด
- น้ำเต้นระบำ (Dancing Water)
- ชัชมาอัลกาอุซัร (Chasma-i-Kausar) - ภาษาอาหรับ แปลว่า น้ำพุแห่งความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมเชื่อว่าตั้งอยู่ในสวรรค์
- มานสโรวระ หรือ สระน้ำอมฤต (Pool of Nectar) - ทะเลสาบศักดิ์สิทธิ์ที่เชิงเขา เขาไกรลาส (Mount Kailash) ในทิเบต ใกล้กับต้นแม่น้ำคงคา
- ศิลานักปราชญ์ (Philosopher's stone) - ยุโรป
- โสมาส (Soma Ras) - ภาษาอินเดีย แปลว่า น้ำโสมา ต่อมา โสมา หมายถึง ดวงจันทร์
คำว่า elixir (อีลิค'เซอะ) เริ่มใช้ในศตวรรษที่ 7 หลังคริสต์ศักราช มีที่มาจากคำภาษาอาหรับ "อัล-อิคเซอ" (al-iksir) ซึ่งแปลว่า ยาพิเศษ
นอกจากนี้ ยังมีผู้มองว่า น้ำอมฤตเป็นสัญลักษณ์แทนจิตวิญญาณของพระเจ้า เช่น คำกล่าวที่ว่า "น้ำแห่งชีวิต" หรือ "น้ำพุแห่งชีวิต" โดยพระเยซูในคัมภีร์ไบเบิล (ยอห์น 4:14)
ชาวสก๊อตและชาวไอริช นำคำว่า "น้ำอมฤต" มาใช้เรียก "ทองคำเหลว" ของพวกเขา โดยคำว่า "วิสกี้" (whiskey) ในภาษาเกลิคแปลว่า "ยูอิชกี้ เบธา" (uisce beatha) ซึ่งแปลว่า น้ำแห่งชีวิต
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "The Epic of Gilgamesh: Enkidu". SparkNotes (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-27. สืบค้นเมื่อ 2022-12-27.
- ↑ Liu, Hong. The Chinese Overseas. Routledge Library of Modern China. Published by Taylor & Francis, [2006] (2006). ISBN 0-415-33859-X, 9780415338592.
- ↑ Johnson, Obed Simon. A Study of Chinese Alchemy. Shanghai, Commercial Press, 1928. rpt. New York: Arno Press, 1974. page 63
- ↑ Glick, T.F., Livesey, S.J., Wallis, F. Medieval Science, Technology And Medicine: An Encyclopedia. Routledge, 2005. p. 20
- ↑ "Tan chin yao chueh – occultism". britannica.com.
- ↑ Chaturvedi, B. K. (2006). Vishnu Purana (ภาษาอังกฤษ). Diamond Pocket Books (P) Ltd. p. 25. ISBN 978-81-7182-673-5.
- ↑ Multhauf, R.P. (1953). The Relationship Between Technology and Natural Philosophy, Ca. 1250-1650 as Illustrated by the Technology of the Mineral Acids. University of California. สืบค้นเมื่อ 2023-06-04.
- ↑ Nelly Naumann (2000). Japanese Prehistory: The Material and Spiritual Culture of the Jōmon Period. Otto Harrassowitz Verlag. p. 133. ISBN 978-3-447-04329-8.
- ↑ Nevsky, Nikolai (April 1971). Masao, Oka (บ.ก.). 月と不死 [Tsuki to fushi] (ภาษาญี่ปุ่น). 平凡社. ISBN 9784582801859. สืบค้นเมื่อ 17 December 2018.
เชิงอรรถ
แก้- Heart of the Earth: The Elixir of Earth, second novel in the trilogy by Richard Anderson no
- Al-Khidr, The Green Man
- Alchemy and Daoism เก็บถาวร 2020-02-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Naam or Word, Book Three: Amrit, Nectar or Water of Life
- Needham, Joseph, Ping-Yu Ho, Gwei-Djen Lu. Science and Civilisation in China, Volume V, Part III เก็บถาวร 2014-11-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cambridge at the University Press, 1976.
- Turner, John D. (transl.). The Interpretation of Knowledge