จักรพรรดิเจียจิ้ง
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
จักรพรรดิหมิงเจียจิ้ง (จีน: 嘉靖帝; พินอิน: jiājìng dì) มีพระปรมาภิไธยว่า จักรพรรดิหมิงซื่อจง (จีน: 明世宗; พินอิน: míng shìzōng) (16 กันยายน พ.ศ. 2050 - 23 มกราคม พ.ศ. 2110) เป็นพระราชภาดา[1] ในจักรพรรดิเจิ้งเต๋อเพราะพระบิดาของพระองค์กับจักรพรรดิหงจื้อที่เป็นพระราชบิดาของจักรพรรดิเจิ้งเต๋อเป็นพระเชษฐาและพระอนุชาร่วมพระราชบิดาเดียวกัน เมื่อจักรพรรดิเจิ้งเต๋อสวรรคตลงในปี ค.ศ. 1521องค์ชายจูหูคง ชันษา 14 พรรษาจึงขึ้นครองราชย์เป็น "จักรพรรดิเจียจิ้ง"
จักรพรรดิหมิงซื่อจง | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จักรพรรดิจีน | |||||||||||||||||
จักรพรรดิพระองค์ที่ 12 แห่ง ราชวงศ์หมิง | |||||||||||||||||
ครองราชย์ | 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2064 - 23 มกราคม พ.ศ. 2110 (45 ปี 241 วัน) | ||||||||||||||||
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ | ||||||||||||||||
ถัดไป | จักรพรรดิหลงชิ่ง | ||||||||||||||||
ประสูติ | 16 กันยายน พ.ศ. 2050 อันลู่โจว (มณฑลหูเป่ย์), ราชวงศ์หมิง | ||||||||||||||||
สวรรคต | 23 มกราคม พ.ศ. 2110 (59 พรรษา) พระตำหนักเฉียนชิง พระราชวังต้องห้าม, ปักกิ่ง, ราชวงศ์หมิง | ||||||||||||||||
ฝังพระศพ | หย่งหลิง (永陵), สุสานหลวงราชวงศ์หมิง, ปักกิ่ง | ||||||||||||||||
จักรพรรดินี | จักรพรรดินีเซี่ยวเจี๋ยซู่ จางชีเจี่ย (จักรพรรดินีจาง) ถูกปลด จักรพรรดินีเซียวเลี่ย พระสนมเอกหรงซู่คัง (จักรพรรดินีเสี่ยวเค่อ) | ||||||||||||||||
พระราชบุตร | ดูรายพระนาม
| ||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชสกุลจู | ||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์หมิง | ||||||||||||||||
พระราชบิดา | อ๋องซิง (จู โหยวหยวน) 興王 (朱祐杬) (องค์ชาย 4 ในจักรพรรดิเฉิงฮว่า) | ||||||||||||||||
พระราชมารดา | จักรพรรดินีชีเซี่ยวเซียน (ซิงเซียนหวางเฟย) |
ตลอดรัชกาลของพระองค์ เป็นยุคแห่งความเจริญด้านศิลปะและศาสนา ทรงเน้นเรื่องศิลปะโดยเฉพาะเครื่องลายคราม และเรื่องศาสนาโดยเฉพาะลัทธิเต๋า โดยโปรดให้สร้างวิหารแห่งพระอาทิตย์ (日坛) ขึ้นทางทิศตะวันออกของปักกิ่ง วิหารแห่งพระจันทร์ (月坛) ขึ้นทางทิศตะวันตก และวิหารแห่งโลก (地坛) ขึ้นทางทิศเหนือ และโปรดให้ทำการต่อเติมหอสักการะแผ่นดินและฟ้า (เทียนตี้ถัน) และให้เปลี่ยนชื่อเป็น "หอสักการะฟ้า" (เทียนถัน) แต่ทรงหลงงมงายอยู่กับพิธีกรรมและเรื่องราวทางไสยศาสตร์มาก จนในช่วงต้นรัชกาลพระองค์แทบไม่ทำอะไร นอกจากเฝ้าอยู่กับการสักการะดวงวิญญาณพระราชบิดา และพระราชมารดา จึงเปิดโอกาสให้พวกหมอผี นักหลอกลวงเข้ามาหาผลประโยชน์จนถึงเข้ามามีบทบาทในการบริหารบ้านเมือง[2]
ในรัชกาลของพระองค์ มีมหาเสนาบดีอยู่ 2 คน คือ เหยียน ซง และเซี่ย หยุน ทั้ง 2 คนนี้แย่งชิงอำนาจกัน เป็นเซี่ย หยุน ที่ได้ครองอำนาจต่อจากเหยียน ซง ที่ทำบ้านเมืองตกต่ำ และพระองค์ไม่ทรงโปรด ต่อมาเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่รุนแรงที่สุดที่มณฑลส่านซี ในปี ค.ศ. 1556 ตรงกับปีที่ 35 ในรัชกาล มีผู้เสียชีวิตกว่า 800,000 คน ทั้งยังเกิดวาตภัยที่ปักกิ่ง และไฟไหม้ที่พระราชวังต้องห้าม เป็นเหตุให้ฮองเฮาสิ้นพระชนม์ พระองค์พิโรธถอดเซี่ย หยุน ออกจากตำแหน่ง และสั่งประหารชีวิต จึงเป็นเหยียน ชง ที่กลับมามีอำนาจอีกครั้ง[2]
จักรพรรดิเจียจิ้งสวรรคตในปี ค.ศ. 1567 ขณะพระชนม์ได้ 60 พรรษา ทรงครองราชย์นานถึง 45 ปี ยาวนานเป็นอันดับสองของราชวงศ์หมิง องค์ชายจูไฉ่หู พระราชโอรสจึงขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิหลงชิ่ง
พระบรมวงศานุวงศ์
แก้- พระราชบิดา
- พระราชมารดา
- พระอัครมเหสี
- จักรพรรดินีเสี่ยวเจียซู สกุลเฉิน
- จักรพรรดินีเสี่ยวเลี่ย สกุลฟาง
- พระมเหสีและพระสนม
- จวงซุ่นหวงกุ้ยเฟย สกุลเฉิน
- ตวนเหอหวงกุ้ยเฟย สกุลหวัง
- หรงอันหวงกุ้ยเฟย สกุลเยวี่ยน
- ฮุ่ยเฟย สกุลหวัง
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ ราชาศัพท์:ลูกพี่ลูกน้อง ว่า พระราชภาดา, พระราชภราดร
- ↑ 2.0 2.1 "นายกคาถาเขียว". ไทยรัฐ. 3 June 2016. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
ก่อนหน้า | จักรพรรดิเจียจิ้ง | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
จักรพรรดิเจิ้งเต๋อ | จักรพรรดิจีน (ค.ศ. 1521–1567) |
จักรพรรดิหลงชิ่ง |