ศิลานักปราชญ์
ศิลานักปราชญ์ (อังกฤษ: philosopher's stone, ละติน: lapis philosophorum) เป็นสสารในวิชาการเล่นแร่แปรธาตุตามตำนานซึ่งกล่าวกันว่าสามารถเปลี่ยนโลหะฐาน (เช่น ตะกั่ว) ให้เป็นทองคำหรือเงิน บ้างเชื่อว่ามีสรรพคุณเสมือนเป็นน้ำอมฤต ทำให้คืนสู่วัยหนุ่มสาว และบรรลุความเป็นอมตะ[1] ศิลานักปราชญ์ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดในศาสตร์การเล่นแร่แปรธาตุตะวันตก ศิลานักปราชญ์เป็นสัญลักษณ์ใจกลางของการเล่นแร่แปรธาตุ โดยเป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็นอริยสมบูรณ์ การเห็นแจ้ง และความเกษมสุข ความพยายามแสวงหาศิลานักปราชญ์เรียกว่า "มหากิจ" (ละติน: Magnum opus)[2]
ในศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู จินตามณีเป็นวัตถุที่เทียบเท่ากับศิลานักปราชญ์[3]
คุณสมบัติ
แก้เชื่อกันว่าศิลานักปราชญ์มีคุณสมบัติทางเวทมนตร์หลายอย่าง คุณสมบัติที่มีการบอกเล่ากว้างขวางที่สุด คือ ความสามารถเปลี่ยนโลหะฐานให้เป็นทองคำหรือเงิน รักษาความเจ็บป่วยทุกประเภท และต่อชีวิตได้หากบริโภคศิลานักปราชญ์ส่วนเล็ก ๆ ผสมกับไวน์[4] คุณสมบัติอื่นมีกล่าวถึงได้แก่ การสร้างตะเกียงที่ลุกไหม้ชั่วกัลปาวสาน[4] การเปลี่ยนผลึกธรรมดาให้เป็นอัญมณีมีค่าและเพชร[4] ชุบชีวิตพืชที่ตายแล้ว[4] การสร้างแก้วที่ยืดหยุ่นหรือนำมาตีเป็นแผ่นได้[5] หรือการสร้างโคลนหรือฮอมุงกุลุส (มนุษย์จำลอง)[6]
รูปลักษณ์
แก้มีคำบรรยายลักษณะของศิลานักปราชญ์หลากหลาย ตามตำราเล่นแร่แปรธาตุ ศิลานักปราชญ์มีสองประเภทซึ่งมีวิธีการเตรียมเกือบเหมือนกัน คือ สีขาว (สำหรับทำเงิน) และสีแดง (สำหรับทำทอง) ศิลาสีขาวเป็นรุ่นที่เสร็จสมบูรณ์น้อยกว่าศิลาสีแดง[7] ตำราเล่นแร่แปรธาตุโบราณและสมัยกลางบางเล่มทิ้งคำใบ้ถึงรูปลักษณ์ทางการภาพที่ควรเป็นของศิลานักปราชญ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลาสีแดง ศิลานักปราชญ์มักกล่าวขานกันบ่อยครั้งว่า จะมีสีส้ม (สีหญ้าฝรั่น) หรือแดงเมื่อบดให้เป็นผง หรือในรูปของแข็ง สีกลางระหว่างแดงกับม่วงแดง โปร่งใส คล้ายแก้ว[8] เชื่อกันว่าศิลานักปราชญ์นั้นหนักกว่าทองคำ[9] และละลายได้ในของเหลวทุกชนิด แต่ไม่ติดไฟ[10]
นักประพันธ์เล่นแร่แปรธาตุบางครั้งเสนอว่า การบรรยายรูปลักษณ์ของศิลานั้นเป็นเพียงการอุปมา แม้ถูกเรียกว่าศิลา แต่มิใช่เพราะมันดูเหมือนศิลา[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ Highfield, Roger. "A history of magic: Secrets of the Philosopher's Stone". The British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-20. สืบค้นเมื่อ 27 August 2020.
- ↑ Heindel, Max. "Freemasonry and Catholicism: an exposition and Investigation.". Rosicrucian Fellowship. ISBN 0-911274-04-9
- ↑ Guénon, René (2004) (1962). Symbols of Sacred Science. Sophia Perennis, USA. ISBN 0900588780. pp. 277.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Theophrastus Paracelsus. The Book of the Revelation of Hermes. 16th century
- ↑ An Unknown German Sage. A Very Brief Tract Concerning the Philosophical Stone. (unknown date, possibly 16th Century)
- ↑ Theophrastus Paracelsus. Of the Nature of Things. 16th century
- ↑ A German Sage. A Tract of Great Price Concerning the Philosophical Stone. 1423.
- ↑ John Frederick Helvetius. Golden Calf. 17th Century.
- ↑ Anonymous. On the Philosopher's Stone. (unknown date, possibly 16th century)
- ↑ Eirenaeus Philalethes. A Brief Guide to the Celestial Ruby. 1694 CE
- ↑ Charles John Samuel Thompson. Alchemy and Alchemists. p.70