นักบุญอันนา[1] (ละติน: Anna อันนา; ฮีบรู: חַנָּה ฮันนาห์) สืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าดาวิด และเป็นมารดาของมารีย์ (มารดาพระเยซู) ชื่ออันนาเป็นภาษาละตินมาจากภาษาฮีบรู “Hannah” พระวรสารนักบุญยากอบระบุว่านักบุญอันนาและนักบุญโยอาคิมผู้เป็นสามีไม่มีลูกจนเมื่ออายุมาก วันหนึ่งก็มีทูตสวรรค์มาปรากฏตัวแล้วบอกว่าอันนาและโยอาคิมจะมีลูก นักบุญอันนาก็สัญญาว่าจะยกลูกให้ผู้รับใช้พระเป็นเจ้า กล่าวกันว่านักบุญอันนาและโยอาคิมยกมารีย์ให้พระเจ้าที่พระวิหารในกรุงเยรูซาเลมที่สองเมื่อมารีย์อายุได้สามขวบ[2] นักบุญอันนาเป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์รัฐควิเบก ประเทศแคนาดา แคว้นเบรอตาญ ประเทศฝรั่งเศส สตรีใกล้คลอด และคนทำเหมือง

อันนา
นักบุญอันนาจากจิตรกรรมฝาผนังศิลปะคอปติก คริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่ฟาราส ประเทศอียิปต์ปัจจุบัน
มารดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
นิกายโรมันคาทอลิก
อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์
แองกลิคัน
วันฉลอง26 กรกฎาคม (ตะวันตก) และ
25 กรกฎาคม (ตะวันออก).
สัญลักษณ์หนังสือ ประตู กับมารีย์ พระเยซู และนักบุญยออากิม
องค์อุปถัมภ์ช่างไม้, ผู้เป็นหมัน, รัฐมิชิแกน, ปู่ยาตายาย, แม่บ้าน, คนทำลูกไม้, คนทำเหมือง, แม่, ความจน, การมีท้อง, คนเลี้ยงม้า, และเมืองและประเทศต่างๆ

เรื่องนี้คล้ายคลึงกับการเกิดของซามูเอลซึ่งฮันนาห์แม่ของซามูเอลก็เป็นหมันมาก่อน แต่ลัทธิบูชานักบุญอันนามิได้เป็นที่นิยมเท่าใดในคริสตจักรโรมันคาทอลิกก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 12[3] แต่การกล่าวถึงนักบุญอันนาในคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์มึมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6[4] ตามความเชื่อของออร์ทอดอกซ์นักบุญอันนาเป็นบรรพชนของพระเจ้า (“Forbear of God”) เพราะเป็นมารดาพระแม่มารีย์ผู้ให้กำเนิดพระเยซูต่อมา และเป็นผู้อุทิศมารีย์ให้กับพระเจ้า

ทางตะวันตกรูปเคารพของนักบุญอันนาจะเป็นผู้แต่งกายด้วยเสื้อคลุมแดงและหมวกเสื้อคลุมสีเขียว หรือเป็นรูปร่วมกับแม่พระและพระกุมารเช่นรูป “พระนางพรหมจารีและพระกุมารกับนักบุญอันนา” ที่เขียนโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ราวปี ค.ศ. 1508 หรือที่ยิ่งซับซ้อนกว่านั้นเป็นรูปปั้นของนักบุญอันนาที่ให้เห็นมารีย์ในครรภ์และพระเยซูในครรภ์มารีย์[ต้องการอ้างอิง] การแสดงเช่นนี้คล้ายกับการแสดงตรีเอกภาพ บางครั้งจึงสร้างคู่กัน[ต้องการอ้างอิง]

นักเทววิทยาคริสเตียนหลายคนเชื่อกันว่านักบุญอันนาอาจจะแต่งงานหนเดียวกับโยอาคิมหรือแต่งงานสามครั้ง ความเชื่อโบราณจากคำเทศนาของนักบุญยอห์นแห่งดามัสกัสกล่าวว่านักบุญอันนาแต่งงานหนเดียว แต่สมัยปลายยุคกลางเชื่อกันว่าสามหน หนแรกกับโยอาคิม หนที่สองกับโคลปาส และหนที่สามกับ โซโลมาส และแต่ละครั้งก็มีลูกสาวคนหนึ่ง: มารีย์มารดาของพระเยซู มารีย์แห่งโคลปาส, และ มารีย์สะโลเม[5] แต่ความคิดเห็นนี้ถูกคัดค้านเมื่อปี ค.ศ. 1677 โดยศาสนจักรโรมันคาทอลิกโดยกล่าวว่าเมื่อมารีย์เกิดอันนาก็อายุมากแล้วและมารีย์เป็นลูกคนเดียวกับโยอาคิมสามีคนเดียว[ต้องการอ้างอิง]

การสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 4 และอีกครั้งหนึ่งในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ว่ามารีย์เกิดจากนักบุญอันนาโดยมิได้มีการสมสู่[ต้องการอ้างอิง] แต่ความคิดเห็นนี้ถูกคัดค้านเช่นเดียวกันเมื่อปี ค.ศ. 1677 ทางศาสนจักรคาทอลิกสอนว่าการเกิดของมารีย์เป็นการเกิดแบบปกติแต่ว่ามารีย์ก็ถูกเตรียมไม่ให้มีบาปเพื่อจะได้เป็นผู้ที่เหมาะสมในการให้กำเนิดพระเยซู

อ้างอิง แก้

  1. "ประวัตินักบุญตลอดปี:นักบุญยออากิมและนักบุญอันนา". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ 2012-01-05.
  2. Jacobus de Voragine’s Golden Legend, Volume II, Chapter 131
  3. Virginia Nixon, Mary's Mother: Saint Anne in Late Medieval Europe (University Park, Pennsylvania: Pennsylvania State University Press), 12-14.
  4. Procopius' Buildings, Volume I, Chapter 11-12
  5. Golden Legend II.131

ดูเพิ่ม แก้