สโมสรฟุตบอลนอริชซิตี

(เปลี่ยนทางจาก นอริชซิตี)

สโมสรฟุตบอลนอริชซิตี (อังกฤษ: Norwich City Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพอังกฤษ ตั้งที่เมืองนอริชในเทศมณฑลนอร์ฟอล์ก ปัจจุบันลงแข่งขันในอีเอฟแอลแชมเปียนชิป หลังจากที่ตกชั้นจาก พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2021–22 สโมสรก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1902 และได้ใช้งานแคร์โรว์โรดเป็นสนามเหย้านับตั้งแต่ ค.ศ. 1935 เป็นต้นมา สโมสรมีทีมคู่ปรับที่สำคัญคืออิปสวิชทาวน์ ซึ่งทั้งคู่พบกันมาแล้ว 134 ครั้งนับตั้งแต่ ค.ศ. 1902 และการพบกันของทั้งคู่ถูกเรียกว่าอีสต์แองกลิอันดาร์บี เพลงเชียร์ของแฟนบอลซึ่งมีชื่อว่า "ออนเดอะบอลซิตี" (On the Ball, City) ถือเป็นเพลงเชียร์ฟุตบอลที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เพลงนี้แต่งขึ้นใน ค.ศ. 1890 และยังมีการร้องมาจนถึงปัจจุบัน

นอริชซิตี
Badge of Norwich City
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลนอริชซิตี
ฉายาThe Canaries, Yellows, The Citizens (ก่อนปี 1907)
นกขมิ้นเหลืองอ่อน (ฉายาในประเทศไทย)
ก่อตั้ง17 มิถุนายน 1902; 122 ปีก่อน (1902-06-17)
สนามแคร์โรว์โรด
ความจุ27,359[1]
ประธานเดเลีย สมิธ
Michael Wynn-Jones
ผู้จัดการดาวิท วากเนอร์
ลีกแชมเปียนชิป
2022–23แชมเปียนชิป อันดับที่ 13 จาก 24
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
สีชุดที่สาม

นอริชชนะเลิศลีกคัพสองสมัยในปี 1962 และ 1985 ผลงานที่ดีที่สุดในลีกของสโมสรคืออันดับที่สามในพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 1992–93

ชุดเหย้าของสโมสรคือชุดสีเหลืองและเขียว สโมสรมีฉายาว่า นกขมิ้น ซึ่งเป็นนกที่พบในพื้นที่นี้ (มีการพูดถึงนกชนิดนี้ครั้งแรกในศตวรรษที่ 16 โดยกลุ่มผู้อพยพที่ชื่อว่า "กลุ่มคนแปลกหน้า")[2]

ประวัติ

แก้
 
ภาพสนามแคร์โรว์โรด ถัดไปเป็นทิวทัศน์ของเมืองนอริช

สโมสรฟุตบอลนอริช ซิตี้ ก่อตั้งขึ้นโดยการประชุมกันที่ คริเตเรียน คาเฟ่ (Criterion Cafe) นอริช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 1902 และจากนั้นก็มีการประชุมย่อยอีกครั้งในวันที่ 2 กรกฎาคม 1902 โดยกลุ่มเพื่อนนำโดยอดีต 3 ผู้เล่นของนอริช ซีอีวายเอ็มเอส (Norwich CEYMS F.C. (CEYMS being an acroynm for Church of England Young Men's Society) โรเบิร์ต เว็บสเตอร์, โจเซฟ คาวเปอร์และแบรด สเคลลี่[3][4] และได้เล่นแมทช์อย่างเป็นทางการครั้งแรกพบกับ ฮาร์วิชแอนด์พาร์คสตัน ที่สนามนิวมาร์เก็ต โรดเมื่อวันที่ 6 กันยายน 1902[5] และในปี 1905 ตามมติของคณะกรรมการเอฟเอ สโมสรก็ได้เปลี่ยนจากสโมสรสมัครเล่นกลายเป็นองค์กรอาชีพ ไม่กี่ปีหลังจากนั้น สโมสรได้ถูกเลือกให้ลงเล่นในเซาท์เทิร์น ลีก (Southern League) ประกอบกับผู้ชมที่เข้ามาชมเป็นจำนวนมากทำให้พวกเขาต้องย้ายจากสนามนิวมาร์เก็ต โรดไปสู่สนามเดอะเนสท์ในปี 1908 ซึ่งเคยเป็นเหมืองหินมาก่อน สำหรับฉายาของสโมสร เมื่อก่อนเคยมีฉายาว่า เดอะ ซิติเซนส์ (the Citizens) และได้เปลี่ยนมาเป็น เดอะ คานารี่ส์ (Canaries) แทนในปี 1907 ฉายานี้ถูกตั้งโดยประธานสโมสร(ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการเพาะพันธ์นก Canaries) โดยขนานนามชื่อผู้เล่นของเขาว่า เดอะ คานารี่ส์ และเปลี่ยนสีชุดแข่งเป็นแถบสีเหลืองและเขียวแทน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ในช่วงที่การแข่งขันฟุตบอลถูกระงับและสโมสรต้องประสบกับภาวะหนี้สิน ทำให้สโมสรต้องเข้าสู่กระบวนการชำระหนี้โดยสมัครใจ (voluntary liquidation) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 1917

สโมสรได้ก่อตั้งอย่างเป็นทางการอีกครั้งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 1919 บุคคลผู้มีส่วนสำคัญคือ ชาร์ลส์ เฟรเดริก วัตลิ่ง ผู้ซึ่งต่อมาจะได้เป็นนายกเทศมนตรีเมืองนอริชและเป็นบิดาของประธานสโมสรในอนาคตอย่าง เจฟฟรี่ วัตลิ่ง[6] ในปี 1920 สมาพันธ์ฟุตบอลลีกได้จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกดิวิชั่น 3 ขึ้นมา นอริชจึงได้เข้าร่วมการแข่งขันในฤดูกาลนั้น[7]

สนามแข่ง

แก้
 
บรรยากาศภายในสนามแคร์โรว์โรด

สโมสรฟุตบอลนอริช ซิตี้ เคยใช้สนามนิวมาร์เก็ตโรดในช่วงปี 1902 - 1908 มีสถิติผู้เข้าชม 10,366 คน ในการแข่งขันเอฟเอ คัพ รอบสอง ปี 1908 กับทีมเชฟฟิลด์ เว้นส์เดย์[8] ภายหลังมีข้อพิพาทเกี่ยวกับเงื่อนไขในการเช่าสนามนิวมาร์เก็ต โรด สโมสรจึงได้ย้ายไปยังรังเหย้าแห่งใหม่ในปี 1908 ที่บริเวณเหมืองหินชอล์กเก่าที่โรซารี่ โรดซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักกันในชื่อ เดอะเนสท์ (รังนก)[9] ในช่วงทศวรรษที่ 1930 สนามเริ่มมีความจุไม่เพียงพอและในปี 1935 สโมสรจึงได้ย้ายมายังแคร์โรว์โรด รังเหย้าปัจจุบัน[10] ในช่วงแรกสร้าง สนามถูกบรรยายว่าเป็นงานก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองนับตั้งแต่สร้างปราสวาทนอริชเลยทีเดียว เป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สร้างเพียง 82 วัน และถูกเรียกโดยสโมสรว่าเป็น 8 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก[11][12] ภาพถ่ายทางอากาศเมื่อเดือนสิงหาคม ปี 1935 เปิดเผยให้เห็นถึงอัฒจันทร์ 3 ด้านที่ไม่มีหลังคา และอีกด้านเป็นอัฒจันทร์มีหลังคา และมีโฆษณาของโคลแมน มัสตาร์ดพ่นอยู่บนหลังคา ซึ่งมองเห็นได้ทางอากาศเท่านั้น[13] สปอตไลท์ที่ถูกติดตั้งในสนามเมื่อปี 1956 ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 9,000 ปอนด์ เกือบทำให้สโมสรต้องล้มละลาย แต่ความสำเร็จในเอฟเอ คัพ เมื่อปี 1959 ช่วยให้สโมสรมีสถานะทางการเงินที่ดีขึ้นและยังสามารถนำไปสร้างหลังคาบนสแตนด์ฝั่งใต้ได้อีกด้วย สแตนด์ฝั่งใต้นี้ได้สร้างใหม่เมื่อปี 2003 มีขนาดความจุ 7,000 ที่นั่ง และตั้งชื่อใหม่ว่า จาร์โรลด์ สแตนด์[10]

ในปี 1963 สถิติผู้ชมการแข่งขันในแคร์โรว์โรดสูงถึง 43,984 คน เป็นการแข่งขันฟุตบอลเอฟเอคัพรอบ 6 กับทีมเลสเตอร์ซิตี แต่เหตุหายนะที่ไอบรอกซ์ สเตเดี้ยมIbrox stadium disaster เมื่อปี 1971, สโมสรเลยต้องคำนึงถึงความปลอดภัยทำให้จำนวนความจุของสนาม ลดลงเหลือประมาณ 20,000 ที่นั่ง อัฒจันทร์สองชั้นถูกสร้างขึ้นที่ฝั่งริเวอร์เอนด์และในไม่ช้าก็ได้ติดตั้งที่นั่งลงไป ในปี 1979 สนามมีความจุ 28,392 มีที่นั่ง 12,675 ที่ เหตุไฟไหม้ในปี 1984 ทำให้อัฒจันทร์ฝั่งหนึ่งถูกทำลายนำไปสู่​​การรื้อถอนอย่างสมบูรณ์และถูกแทนที่โดยซิตีสแตนต์ในปี 1987 ซึ่งประธานสโมสร โรเบิร์ต เชส บรรยายว่า "มาชมการแข่งขันฟุตบอลที่ฝั่งซิตีสแตนด์ให้ความรู้สึกเหมือนมาดูภาพยนตร์ แตกต่างเพียงแค่เวทีของเราปกคลุมไปด้วยหญ้าแค่นั้น"[10] หลังจากเกิดโศกนาฏกรรมที่ ฮิลส์โบโร่ ในปี 1989 และผลที่ตามมาในรายงานของเทย์เลอร์ (Taylor Report)ในปี 1990 สนามถูกปรับปรุงให้เป็นแบบติดตั้งเก้าอี้หมดทุกพื้นที่ ปัจจุบัน สนามแคร์โรว์โรดเป็นที่นั่งทั้งหมดมีความจุ 27,000 ที่นั่ง.[14]

ผู้เล่น

แก้

ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

แก้
ณ วันที่ 4 กรกฎาคม 2023 [15]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
4 DF   แอนดรูว์ โอโมบามิเดเล (รองกัปตันทีมคนที่ 3)
5 DF   แกรนต์ แฮนลีย์ (กัปตัน)
6 DF   เบน กิ๊บสัน (รองกัปตันทีม)
10 FW   แอชลีย์ บานส์
11 MF   Przemysław Płacheta
12 GK   Ørjan Nyland
15 DF   แซม แม็คแคลลัม
18 MF   มาร์โค สตีเพอร์มันน์
19 MF   ยาค็อป โซเรนเซน
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
23 MF   เคนนี แม็คลีน
24 MF   โจช มาร์ติน
25 MF   โอเนล เอร์นันเดซ
26 DF   บาลี มุมบา
28 GK   แองกัส กันน์
30 DF   ดริมิทริส ยานนูลิส
33 GK   ไมเคิล มักกัฟเวิร์น
35 FW   อดัม ไอดาห์
50 GK   ดาเนียล บาเดน
22 FW   เตมู ปุกกี

ผู้เล่นถูกยืมตัว

แก้

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
FW   ยอซิป เดอร์มิช (at Rijeka until 30 มิถุนายน 2022)
3 DF   เจมส์ ฮาสแบน (at Fleetwood Town until 31 May 2019)
7 MF   เบน มาร์แชล (at Millwall until 31 May 2019)
9 FW   เนลสัน โอลิเวร่า (at Reading until 31 May 2019)
16 MF   แมท จาวิส (at Walsall until 31 May 2019)
DF   Sean Raggett (at Rotherham United until 31 May 2019)
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
DF   Marcel Franke (at SV Darmstadt 98 until 31 May 2019)
MF   สตีเฟน เนสมิธ (at Heart of Midlothian until 31 May 2019)
MF   Yanic Wildschut (at Bolton Wanderers until 31 May 2019)
MF   Savvas Mourgos (at Dordrecht until 31 May 2019)
FW   Tristan Abrahams (at Yeovil Town until 31 May 2019)

เกียรติประวัติ

แก้

นอริช ซิตี้ มีเกียรติประวัติ ดังต่อไปนี้:[16]

ลีก

แก้

พรีเมียร์ลีก (ระดับ 1)

  • อันดับ 3 (1) (1992–93)

ลีกดิวิชั่น 2/แชมเปียนชิป (ระดับ 2)

ลีกดิวิชั่น 3/ลีกวัน (ระดับ 3)

บอลถ้วย

แก้

เอฟเอ คัพ

  • รอบรองชนะเลิศ (3): 1959, 1989, 1992

ฟุตบอลลีกคัพ


นักเตะแห่งปี

แก้
For a more detailed list of these winners of the Barry Butler trophy, see Norwich City Players of the Year.
Year Winner
1967   เทอร์รี่ ออลค๊อก
1968   ฮิวส์ เคอร์เรน
1969   เคน ฟ็อคโก้
1970   ดันแคน ฟอร์บ
1971   เคน ฟ็อคโก้
1972   เดฟ สติงค์เจอร์
1973   เควิน คีแลนด์
1974   เควิน คีแลนด์
1975   โคลิน ซัคเก็ต
1976   มาร์ติน ปีเตอร์
1977   มาร์ติน ปีเตอร์
1978   จอห์น ไรอัน
 
Year Winner
1979   โทนี่ โพลเวลล์
1980   เควิน บอนด์
1981   โจ รอยย์
1982   เคร็ก ดาวน์
1983   เดฟ วัสสัน
1984   คริส วู๊ดส์
1985   สตีฟ บร๊ซ
1986   เควิน ดริงเคลล์
1987   เควิน ดริงเคลล์
1988   ไบรอัน กันน์
1989   เดล กอร์ดอน
1990   มาร์ค โบเว่น
 
Year Winner
1991   เอียน คัลเวอร์เฮ้าส์
1992   โรเบิร์ต เฟร็ค
1993   ไบรอัน กันน์
1994   คริส ซัตตัน
1995   จอน นิวซัม
1996   สเปนเซอร์ ไพร์เออร์
1997   ดาร์เรน อีดี้ร์
1998   แม็ต แจ็คสัน
1999   อีวาน โรเบิร์ต
2000   อีวาน โรเบิร์ต
2001   แอนดี้ มาร์แชล
2002   แกร์รี่ โฮลด์
 
Year Winner
2003   อดัมส์ ดรูรี่ย์
2004   เคร็ก เฟรมมิ่ง
2005   ดาร์เรน ฮักเคอร์บี้
2006   แกร์รี่ เดอร์เฮอร์ตี้
2007   ดาร์เรน ฮักเคอร์บี้
2008   ดิออน ดับลิน
2009   ลี ครอฟท์
2010   แกรนต์ โฮลต์
2011   แกรนต์ โฮลต์
2012   แกรนต์ โฮลต์
2013   เซบาสเตียน บาสซง
2014   รอเบิร์ต สน็อดกราสส์
 
Year Winner
2015   แบรดลีย์ จอห์นสัน
2016   จอนนี่ ฮาวสัน
2017   เวส ฮูลาแฮน
2018   เจมส์ แมดดิสัน
2019   เตมู ปุกกี
2020   ติม กรึล
2021   เอมิเลียโน บูเอนเดีย
2022   เตมู ปุกกี

อ้างอิง

แก้
  1. "Premier League Handbook 2019/20" (PDF). Premier League. p. 30. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
  2. "Read Norwich: Why Are Norwich Called The Canaries".
  3. "Norwich City History". 4thegame.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-11. สืบค้นเมื่อ 10 June 2007.
  4. Club history 1902 to 1940 เก็บถาวร 2009-12-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Norwich City FC
  5. Eastwood, John; Mike Davage (1986). Canary Citizens. Almeida Books. pp. 1, p19. ISBN 0-7117-2020-7.
  6. Eastwood. Canary Citizens. p. 46.
  7. Eastwood. Canary Citizens. p. 47.
  8. "Norwich City grounds – 1. Newmarket Road". Eastern Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
  9. "Norwich City grounds – 2. The Nest". Eastern Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
  10. 10.0 10.1 10.2 "Norwich City grounds – 3. Carrow Road". Eastern Daily Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
  11. Eastwood. Canary Citizens. p. 63.
  12. "The highs and lows of City's rich past". Norwich Evening News. 10 May 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 23 April 2007.
  13. Eastwood. Canary Citizens. p. 65.
  14. "Carrow Road". Norwich City FC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 28 March 2007.
  15. "First team 2022–23". Norwich City F.C. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2022. สืบค้นเมื่อ 19 September 2022.
  16. "Norwich City F.C. History". Norwich City FC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-23. สืบค้นเมื่อ 24 April 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้