นฤชาติ บุญสุวรรณ
นฤชาติ บุญสุวรรณ (11 มกราคม พ.ศ. 2489 - 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา 2 สมัย สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
นฤชาติ บุญสุวรรณ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2489 อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 (78 ปี) อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา ประเทศไทย |
ประวัติ
แก้นฤชาติ บุญสุวรรณ เกิด 11 มกราคม พ.ศ. 2489[1] ที่ตำบลชะแล้ อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา เป็นบุตร นายมุ่น นางเลียน บุญสุวรรณ[2]
ด้านการศึกษาสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ครุศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การทำงาน
แก้นฤชาติ เคยเป็นนักวิชาการสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถึง 7 ปี ก่อนที่จะย้ายประจำที่ อำเภอหาดใหญ่
งานการเมือง
แก้นฤชาติ ได้รับการชักชวนจาก บัญญัติ บรรทัดฐาน ให้ลงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ใน พ.ศ. 2526 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกันรวม 2 ครั้ง เขาเคยเป็นกรรมการบริหารพรรคประชาชน[3] ในปี พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นก็ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเรื่อยมา แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยสักครั้ง
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แก้นฤชาติ บุญสุวรรณ ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2526 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดสงขลา สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
เสียชีวิต
แก้นฤชาติ ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สิริอายุ 78 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ณ สุสานวัดหนองหอย ตำบลวัดขนุน อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา โดยการนี้มีเดชอิศม์ ขาวทอง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นประธานในงานพระราชทานเพลิงศพ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2530 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2528 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
- ↑ ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคประชาชนเปลี่ยนแปลงชื่อพรรค ภาพเครื่องหมายพรรค และคณะกรรมการบริหารพรรค
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๔๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒ ธันวาคม ๒๕๓๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๑๔, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙