ธีระ สูตะบุตร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ศาสตราจารย์ ธีระ สูตะบุตร นายกสภามหาวิทยาลัยเกริก อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นเจ้าของกิจการโรงเรียนพิชญศึกษา เกิดวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 เป็นบุตรนายหิรัญ สูตะบุตร อดีตอธิบดีกรมสรรพากร และนางเรณู สูตะบุตร อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนสมถวิลราชดำริ
ธีระ สูตะบุตร | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ | |
ดำรงตำแหน่ง 9 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ |
ก่อนหน้า | สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ |
ถัดไป | สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล |
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 – 7 มิถุนายน พ.ศ. 2545 | |
ก่อนหน้า | ศาสตราจารย์ ดร.กำพล อดุลวิทย์ |
ถัดไป | รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจ อิ่มพิทักษ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 21 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | สุนงนาท สูตะบุตร |
ชีวิตส่วนตัว
แก้สมรสกับ อาจารย์ ดร. สุนงนาท สูตะบุตร ผู้อำนวยการโรงเรียนพิชญศึกษา มีบุตรชื่อ เด็กหญิง ธนิดา สูตะบุตร (เสียชีวิตตั้งแต่ 3 ขวบ) ดร.หรินทร์ สูตะบุตร นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ สำนักพัฒนาบุคลากร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร นาย ธีร์ภัทร สูตะบุตร อดีตผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเสียชีวิตในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 อาจารย์ ดร.ธนัย สูตะบุตร รองผู้อำนวยการโรงเรียนพิชญศึกษา และนาย ธีรทัศ สูตะบุตร
การศึกษา
แก้ศาสตราจารย์ ธีระ สูตะบุตร หรือที่รู้จักกันในนาม ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนอัสสัมชัญ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขา Plant Pathology จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ในปี พ.ศ. 2560 ธีระ สูตะบุตร ได้รับปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตร) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน[1]
การทำงาน
แก้ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ได้รับราชการเป็นอาจารย์ที่ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2511 และได้รับการเลื่อนตำแหน่งตามลำดับ โดยได้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2539 ถึง พ.ศ. 2545 ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ได้ดำรงตำแหน่ง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างต่อเนื่องถึงกว่า 6 ปี กระทั่งเกษียณอายุราชการเมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2545 ในระหว่างที่ดำรงตำแหน่งอธิการ ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ได้รับตำแหน่งประธานกรรมการบริหารกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย และได้เป็นผู้ที่มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับนายไทเกอร์ วูดส์ ถึงโรงแรมที่พักด้วยตัวเอง
ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ในวัย 65 ปีได้รับเชิญเข้าร่วมรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยได้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [2]
ภายหลังพ้นตำแหน่งรัฐมนตรีแล้ว ศ.ดร.ธีระ สูตะบุตร ได้กลับไปบริหารกิจการโรงเรียนเอกชนในย่านปากเกร็ดเป็นประธานโรงเรียนพิชญศึกษา ของตนเองโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2539 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[5]
- พ.ศ. 2537 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[6]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ รายนาม บัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ประจำปีการศึกษา 2559
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (คณะรัฐมนตรี ชุดที่มี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๒, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๕ ข หน้า ๕๘๓, ๒๘ เมษายน ๒๕๓๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๘๙ ง หน้า ๑๗๗๘, ๑๐ มิถุนายน ๒๕๒๓