ไทเกอร์ วูดส์
เอลดริก ต้น “ไทเกอร์ วู๊ดส์” (เกิดวันที่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 1975) Eldrick Tont "Tiger" Woods (born December 30, 1975)[4][5] เป็น นักกอล์ฟอาชีพ สัญชาติอเมริกาซึ่งเป็นนักกอล์ฟที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดตลอดกาลคนหนึ่ง เขายังเคยเป็น นักกีฬาที่ทำรายได้สูงที่สุด ในโลกเป็นระยะเวลาหลายปี แฟนๆและสื่อยกย่องให้เขาเป็นหนึ่งในนักกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล
ไทเกอร์ วูดส์ | |||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไทเกอร์ วูดส์ ที่ทำเนียบขาวในเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2019 | |||||||||||||||||
ข้อมูลส่วนตัว | |||||||||||||||||
ชื่อเต็ม | Eldrick Tont Woods | ||||||||||||||||
ฉายา | Tiger | ||||||||||||||||
เกิด | 30 ธันวาคม ค.ศ. 1975 Cypress, California | ||||||||||||||||
ส่วนสูง | 6 ฟุต 1 นิ้ว (185 เซนติเมตร)[1] | ||||||||||||||||
น้ำหนัก | 185 ปอนด์ (84 กิโลกรัม)[1] | ||||||||||||||||
สัญชาติ | สหรัฐอเมริกา | ||||||||||||||||
ที่อาศัย | Jupiter Island, Florida | ||||||||||||||||
คู่สมรส | Elin Nordegren (สมรส 2004; หย่า 2010) | ||||||||||||||||
บุตร | 2 | ||||||||||||||||
การเล่นอาชีพ | |||||||||||||||||
การศึกษา | มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (2 ปี) | ||||||||||||||||
เริ่มเล่นอาชีพ | 1996 | ||||||||||||||||
ทัวร์ล่าสุด | PGA Tour (เข้าร่วมในปีค.ศ.1996) | ||||||||||||||||
ชนะเลิศอาชีพ | 108[2] | ||||||||||||||||
ชนะเลิศแยกตามการแข่งขัน | |||||||||||||||||
แอลพีจีเอ ทัวร์ | 81 (2nd all time) | ||||||||||||||||
European Tour | 41 (3rd all time)[notes 1][3] | ||||||||||||||||
Japan Golf Tour | 2 | ||||||||||||||||
Asian Tour | 1 | ||||||||||||||||
PGA Tour of Australasia | 1 | ||||||||||||||||
อื่น ๆ | 16 | ||||||||||||||||
ผลงานที่ดีที่สุดในเมเจอร์แชมเปียนชิป (ชนะ: 15) | |||||||||||||||||
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ | Won: 1997, 2001, 2002, 2005, 2019 | ||||||||||||||||
พีจีเอ แชมเปียนชิป | Won: 1999, 2000, 2006, 2007 | ||||||||||||||||
ยูเอสโอเพน | Won: 2000, 2002, 2008 | ||||||||||||||||
ดิ โอเพน แชมเปียนชิป | Won: 2000, 2005, 2006 | ||||||||||||||||
ผลงานและรางวัล | |||||||||||||||||
| |||||||||||||||||
(สำหรับรางวัลทั้งหมด ดูที่นี่) |
วู๊ดส์ เทิรน์โปร ในปีค.ศ. 1996 และในเดือนเมษายน ค.ศ. 1997 เขาชนะแชมป์เมเจอร์รายการแรก ในรายการ เดอะมาสเตอร์ 1997 โดยทำลายสถิติสนามด้วยการชนะรายการการแข่งขันที่18 อันเดอร์พาร์ และรับเงินรางวัลเป็นจำนวนเงิน 486,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เขาก้าวขึ้นเป็นนักกอล์ฟ หมายเลขหนึ่ง ของ อันดับโลก ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1997 ในช่วงทศวรรษที่ 20 วู๊ดส์ได้สร้างความโดดเด่นอย่างมากในกีฬากอล์ฟ โดยสามารถครองตำแหน่งนักกอล์ฟหมายเลขหนึ่งของโลกระยะเวลาถึง 264 สัปดาห์ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคมปี 1999 ถึงเดือนกันยายนปี 2004 และระยะเวลา 281 สัปดาห์ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2005 ถึงเดือนตุลาคม ปี 2010 ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2009 ถึงต้นเดือนเมษายนปี 2010 วู๊ดส์ได้หยุดพักจากแข่งขันกอล์ฟอาชีพเพื่อมาให้ความสำคัญกับเรื่องการแต่งงานของเขา หลังจากที่เขาออกมายอมรับเรื่อง การนอกใจภรรยา การนอกใจของเขาถูกเปิดโปงโดยผู้หญิงหลายคนผ่านทางแหล่งข่าวต่าง ๆ ทั่วประเทศ[6] เหตุการณ์เหล่านี้ส่งผลต่อฟอร์มการเล่นกอล์ฟที่ย่ำแย่ของเขา โดยอันดับโลกตกไปอยู่ถึงอันดับที่ 58 ของโลกในเดือนพฤศจิกายนปี 2011[7][8] เขาจบฤดูการแข่งขันด้วยสถิติไม่ชนะติดต่อกันถึง 107 สัปดาห์นับตั้งแต่เข้าร่วมแข่งขันในรายการ เชฟรอนเวิร์ดชาแลนจ์ ในเดือนธันวาคมปี 2011[8] หลังจากที่ชนะการแข่งขันในรายการ อาร์โนล์ด พาร์เมอร์ อินวิเทชั่น ในเดือนมีนาคมปี 2013 เขาก็กลับขึ้นมาครองตำแหน่งนักกอล์ฟหมายเลขหนึ่งของโลกอีกครั้ง และครองอันดับยาวถึงเดือนพฤษภาคมปี 2014
วู๊ดส์ได้ทำลายสถิติกีฬากอล์ฟหลายรายการ เขาครองตำแหน่งนักกอล์ฟอันดับหนึ่งของโลกโดยมีระยะเวลาต่อเนื่องยาวนานที่สุด และมีจำนวนสัปดาห์ที่มากที่สุดมากกว่านักกอล์ฟคนอื่น ๆ เขาได้รับ รางวัลผู้เล่นแห่งปีจากพีจีเอ จำนวน 11 สมัย[9] และรางวัล ไบรอน เนลสัน อะวอร์ด สำหรับรางวัลการถูกตัดแต้มน้อยที่สุด จำนวน 8 สมัย และยังเป็นผู้นำอันดับหนึ่งของนักกอล์ฟที่ทำเงินรางวัลสูงสุดถึง 10 ฤดูกาลแข่งขัน เขาชนะการแข่งขันกอล์ฟอาชีพ รายการ เมเจอร์ กอล์ฟ แชมป์เปี้ยนชิป ถึง 15 ครั้ง ซึ่งเป็นผู้เล่นที่ชนะการแข่งขันสุงสุดเป็นอันดับที่สอง (แจ็ค นิคคลอส เป็นผู้นำโดยชนะ 18 ฤดูกาล) และชนะรายการต่าง ๆ ของ พีจีเอทัวร์ ถึง 79 รายการ ตามหลังผู้เล่นตลอดการ แซม สเนียด ซึ่งชนะ82 รายการ[10] เขาเป็นแชมป์รายการเมเจอร์ และ รายการพีจีเอทัวร์ มากที่สุดในบรรดานักกอล์ฟที่ยังลงแข่งขันกันอยู่ เขายังป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดที่ได้แชมป์ แกรนด์สแลม และเป็นผู้เล่นที่อายุน้อยที่สุดและรวดเร็วที่สุดในการชนะการแข่งขันถึง 50 รายการ เขาเป็นนักกอล์ฟคนที่สองที่สามารถชนะ แกรนด์ สแลม ได้ถึงสามสมัย หลังจากที่ แจ๊ด นิคคลอส เคยทำสถิติไว้ เขาชนะรายการ เวิร์ด กอล์ฟ แชมป์เปี้ยนชิป ถึง 18 ครั้ง ซึ่งรายการอย่างน้อยหนึ่งในนั้นอยู่ในช่วง 11 ปีแรกตั้งแต่มีการเริ่มต้นการแข่งขันในปี 1999 วู๊ดส์และ รอรี่ย์ แม็ค อินรอยส์เป็นนักกอล์ฟเพียงสองคนที่ชนะได้ทั้งเหรียญทองและ เหรียญเงิน จากการแข่งขัน ดิโอเพ่น แชมป์เปี้ยนชิป
ประวัติและครอบครัว
แก้วู้ดส์เกิดที่เมืองไซเพรส แคลิฟอร์เนีย จากเอิร์ล (1932-2006) และกุลธิดา (ธิดา) วู้ดส์ (เกิดเมื่อปี 1944) เขาเป็นบุตรชายคนเดียวของทั้งคู่ แต่เขาก็ยังมีพี่ชายต่างมารดา 2 คนคือ เอิร์ล จูเนียร์ (เกิดปี 1955) และ เควิน (เกิดปี 1957) และพี่สาวต่างมารดา 1 คนคือ รอยส์ (เกิดปี 1958) ซึ่งเกิดจากภรรยาคนแรกชื่อ บาร์บารา วู้ดส์ เกรย์[11] ซึ่งแต่งงานกันเป็นระยะเวลา 18 ปี เอิร์ล เป็น นายทหารปลดประจำการ และเป็นพันโทและเป็นทหารผ่านศึกจากสงครามเวียดนาม มีเชื้อสายแอฟริกัน-อเมริกัน คอร์เคเชียน และอาจเป็นชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาและจีน[12] กุลธิดา (นามสกุลเดิม: พูนสวัสดิ์) เกิดที่ประเทศไทย (ซึ่งเอิร์ลพบกับเธอเมื่อตอนมาประจำการในปี 1968) มีเชื้อสายไทย จีน และดัตช์[13] วู้ดส์เรียกชาติพันธุ์ของตนว่า "แคบลิเนเชียน" (Cablinasian มาจาก Caucasian, Black, American Indian, และ Asian) [14]
ชื่อแรกของวู้ดส์ เอลดริก ตั้งโดยคุณแม่ มาจากอักษรตัวแรก "E" (จากเอิร์ล) และลงท้ายด้วยอักษร "K" (จากกุลธิดา) ชื่อกลางของเขา ต้น (Tont) มาจากชื่อในภาษาไทย ชื่อเล่นของเขา ไทเกอร์ ตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้กับเพื่อนพ่อของเขา เหวื่อง ดัง ฟง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม ไทเกอร์[15]
วู้ดส์ มีหลานหนึ่งคน ชื่อ ไชยาน วู้ดส์ ซึ่งเค่ยเล่นอยู่ในทีมกอล์ฟของมหาวิทยาลัยเวกฟอเรสต์ และเทิร์นโปรเมื่อปี 2012 และเปิดตัวครั้งแรกในการแข่งขัน แอลพีจีเอแชมเปียนชิป [16]
รายการเมเจอร์
แก้ผลงาน
แก้Tournament | 1995 | 1996 | 1997 | 1998 | 1999 |
---|---|---|---|---|---|
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ | T41 LA | CUT | 1 | T8 | T18 |
U.S. Open | WD | T82 | T19 | T18 | T3 |
The Open Championship | T68 | T22 LA | T24 | 3 | T7 |
PGA Championship | T29 | T10 | 1 |
Tournament | 2000 | 2001 | 2002 | 2003 | 2004 | 2005 | 2006 | 2007 | 2008 | 2009 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ | 5 | 1 | 1 | T15 | T22 | 1 | T3 | T2 | 2 | T6 |
U.S. Open | 1 | T12 | 1 | T20 | T17 | 2 | CUT | T2 | 1 | T6 |
The Open Championship | 1 | T25 | T28 | T4 | T9 | 1 | 1 | T12 | CUT | |
PGA Championship | 1 | T29 | 2 | T39 | T24 | T4 | 1 | 1 | 2 |
Tournament | 2010 | 2011 | 2012 | 2013 | 2014 | 2015 | 2016 | 2017 | 2018 | 2019 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มาสเตอส์ทัวร์นาเมนต์ | T4 | T4 | T40 | T4 | T17 | T32 | 1 | |||
U.S. Open | T4 | T21 | T32 | CUT | CUT | |||||
The Open Championship | T23 | T3 | T6 | 69 | CUT | T6 | ||||
PGA Championship | T28 | CUT | T11 | T40 | CUT | CUT | 2 |
- LA = Low amateur
- CUT = missed the half-way cut
- WD = withdrew
- "T" indicates a tie for a place
ชนะเลิศ (15)
แก้Year | Championship | 54 Holes | Winning Score | Margin | Runner(s) Up |
1997 | The Masters | 9 shot lead | -18 (70-66-65-69=270) | 12 strokes | Tom Kite |
1999 | PGA Championship | Tied for lead | -11 (70-67-68-72=277) | 1 stroke | Sergio García |
2000 | U.S. Open | 10 shot lead | -12 (65-69-71-67=272) | 15 strokes | Ernie Els, Miguel Ángel Jiménez |
2000 | The Open Championship | 6 shot lead | -19 (67-66-67-69=269) | 8 strokes | Thomas Bjørn, Ernie Els |
2000 | PGA Championship (2) | 1 shot lead | -18 (66-67-70-67=270) | Playoff 1 | Bob May |
2001 | The Masters (2) | 1 shot lead | -16 (70-66-68-68=272) | 2 strokes | David Duval |
2002 | The Masters (3) | Tied for lead | -12 (70-69-66-71=276) | 3 strokes | Retief Goosen |
2002 | U.S. Open (2) | 4 shot lead | -3 (67-68-70-72=277) | 3 strokes | Phil Mickelson |
2005 | The Masters (4) | 3 shot lead | -12 (74-66-65-71=276) | Playoff 2 | Chris DiMarco |
2005 | The Open Championship (2) | 2 shot lead | -14 (66-67-71-70=274) | 5 strokes | Colin Montgomerie |
2006 | The Open Championship (3) | 1 shot lead | -18 (67-65-71-67=270) | 2 strokes | Chris DiMarco |
2006 | PGA Championship (3) | Tied for lead | -18 (69-68-65-68=270) | 5 strokes | Shaun Micheel |
2007 | PGA Championship (4) | 3 shot lead | -8 (71-63-69-69=272) | 2 strokes | Woody Austin |
2008 | U.S. Open (2) | 1 shot lead | -1 (72-68-70-73=283) | Playoff 3 | Rocco Mediate |
2019 | The Masters (5) | 2 shot deficit | −13 (70-68-67-70=275) | 1 stroke | Dustin Johnson, Brooks Koepka, Xander Schauffele |
1 Defeated Bob May in three-hole playoff by 1 stroke: Woods (3-4-5=12), May (4-4-5=13)
2 Defeated Chris DiMarco with birdie on first extra hole
3 Defeated Rocco Mediate with a par on 1st sudden death hole after 18-hole playoff was tied at even par
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "Tiger Woods – Profile". PGA Tour. สืบค้นเมื่อ June 7, 2015.
- ↑ This is calculated by adding Woods' 81 PGA Tour victories, 8 regular European Tour titles, 2 Japan Tour wins, 1 Asian Tour crown, and the 16 other wins in his career.
- ↑ 2009 European Tour Official Guide Section 4 Page 577 PDF 21. European Tour. Retrieved April 21, 2009. เก็บถาวร มกราคม 26, 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Sounes, Howard (2004). The Wicked Game: Arnold Palmer, Jack Nicklaus, Tiger Woods, and the Story of Modern Golf. Harper Collins. pp. 120–121, 293. ISBN 0-06-051386-1.
- ↑ Divorce decree August 23, 2010. Retrieved September 28, 2010.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อlegend
- ↑ "Westwood becomes world number one". BBC News. October 31, 2010.
- ↑ 8.0 8.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อchevron
- ↑ Kelley, Brent (October 20, 2009). "Woods Clinches PGA Player of the Year Award". About.com: Golf. สืบค้นเมื่อ December 2, 2009.
- ↑ "Tracking Tiger". NBC Sports. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-03. สืบค้นเมื่อ June 3, 2009.
- ↑ His Father's Son: Earl and Tiger Woods, by Tom Callahan, 2010; The Wicked Game, by Howard Sounes, 2004
- ↑ Earl Woods. Telegraph (June 5, 2006). Retrieved June 19, 2012.
- ↑ "Earning His Stripes". AsianWeek. October 11, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-01-16. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
- ↑ "Woods stars on Oprah, says he's 'Cablinasian'". Lubbock Avalanche-Journal. Associated Press. April 23, 1997. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-12. สืบค้นเมื่อ June 18, 2009.
- ↑ Callahan, Tom (May 9, 2006). "Tiger's dad gave us all some lessons to remember". Golf Digest. สืบค้นเมื่อ January 24, 2012.
- ↑ Chandler, Rick (June 7, 2012). "Tiger Woods' niece makes her major pro golf tourney debut today". NBC Sports. สืบค้นเมื่อ June 7, 2012.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการ
- สถิติจาก พีจีเอทัวร์ เก็บถาวร 2011-03-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แม่ไทยของไทเกอร์
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "notes" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="notes"/>
ที่สอดคล้องกัน