ถนนประดิพัทธ์

ถนนในกรุงเทพมหานคร

ถนนประดิพัทธ์ เป็นถนนที่เชื่อมระหว่างแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กับแขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร มีขนาดของความกว้างถึง 4 ช่องจราจร มีความยาว 1.808 กิโลเมตร[1] ต้นถนนเริ่มต้นจากทางแยกสะพานแดง ท้ายถนนคือทางแยกสะพานควายบริเวณย่านสะพานควาย ชื่อถนนประดิพัทธ์ตั้งชื่อตามพระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง)

ถนนประดิพัทธ์
Pradiphat Road.jpg
ถนนประดิพัทธ์ช่วงหน้าโรงแรมอลิซาเบธ มองไปยังฝั่งแยกสะพานควายและถนนพหลโยธิน
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว1.808 กิโลเมตร (1.123 ไมล์)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันออก แยกสะพานควาย ในเขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
 
ปลายทางทิศตะวันตก แยกสะพานแดง ในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ประวัติ

แก้

ในอดีตบริเวณนี้เป็นทุ่ง ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการตั้งหน่วยงานทหารจำนวนมากบริเวณทิศเหนือของเขตดุสิตและอยู่ทางทิศตะวันตกของแขวงสามเสนใน (หรือแขวงพญาไทในปัจจุบัน) หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองนายทหารเข้ามาอยู่อาศัยบริเวณนี้รวมถึงบริเวณใกล้เคียงอย่างซอยราชครูและอารีย์[2]

บริเวณทางรถไฟสายเหนือตัดกับถนนประดิพัทธ์ เป็นจุดสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่นัดหมายผู้นำทหารของคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ตอนเช้ามืดเวลา 05.00 น. ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475[3] ตามที่ปรากฏใน บันทึกการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ของพันเอกพระยาทรงสุรเดช เพราะจุดนี้เป็นจุดเป้าหมายของคณะที่จะเข้าไปจู่โจมยึดกำลังอาวุธยุทโธปกรณ์และขนกำลังพลก็อยู่บนถนนทหาร โดยในช่วงเวลานั้นบริเวณนี้น่าจะเปลี่ยวมาก[4] ในช่วง พ.ศ. 2505–2510 ย่านนี้ก็ยังไม่ค่อยมีคนอาศัยอยู่มากนัก[2]

ในช่วงสงครามเวียดนาม เกิดโรงแรมและผับเพื่อรองรับทหารจีไอ[5] เช่น โรงแรมประดิพัทธิ์ โรงแรมกานต์มณี โรงแรมอลิซาเบธ โรงแรมแอมบาสซี่ เป็นต้น[6] ในช่วงปี พ.ศ. 2520–2532 ชาวอาหรับจากซาอุดีอาระเบียก็มักมาพักโรงแรมเหล่านี้ด้วย[7] ในอดีตเป็นที่ตั้งของห้างเมอร์รี่คิงส์สะพานควาย เป็นที่ตั้งของโรงหนังพหลโยธินรามา รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของโรงเรียนกวดวิชาในยุคก่อน[8] หลังจากมีสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสสะพานควาย ทำให้บริเวณนี้ได้รับการพัฒนาด้านอสังหาริมทรัพย์เกิดคอนโดมิเนียม เปลี่ยนจากย่านเชิงพาณิชย์กลายเป็นย่านที่อยู่อาศัยระดับกลางบน[9]

ปัจจุบัน สองข้างทางเป็นตึกแถวอาคารพาณิชย์เกือบตลอดเส้นทาง โดยอาคารพาณิชย์ทั้งสองข้างทางนั้นเปิดเป็นร้านอาหาร ร้านทอง ธนาคาร ฯลฯ[10]

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน ถนนประดิพัทธ์ ทิศทาง: แยกสะพานควาย – แยกสะพานแดง
จังหวัด เขต กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ถนนประดิพัทธ์ (แยกสะพานควาย – แยกสะพานแดง)
กรุงเทพมหานคร พญาไท 0+000 แยกสะพานควาย เชื่อมต่อจาก:   ถนนสาลีรัฐวิภาค ไปสุทธิสารฯ
  ถนนพหลโยธิน ไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ   ถนนพหลโยธิน ไปจตุจักร
0+543 สะพาน ข้ามคลองประปา
แยกประดิพัทธ์   ถนนพระราม 6 ไปราชวิถี   ถนนพระราม 6 ไปถนนกำแพงเพชร
ดุสิต แยกเทอดดำริ   ถนนเทอดดำริ ไปเศรษฐศิริ   ถนนเทอดดำริ ไปประชาชื่น
แยกสะพานแดง   ถนนพระรามที่ 5 ไปราชวัตร   ถนนเตชะวนิช ไปบางซื่อ
ตรงไป:   ถนนทหาร ไปแยกเกียกกาย
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. รายชื่อถนนที่ประกาศลงทะเบียนท้องถิ่นแล้ว พื้นที่เขตพญาไท (กลุ่มกรุงเทพกลาง) (PDF). กรุงเทพมหานคร.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 "ย่านประดิพัทธ์ สะพานควาย กับการขยายเมืองทางตอนเหนือของพระนคร". ไทยพีบีเอส.
  3. "วันก่อการที่หัวมุมถนนประดิพัทธ์ตัดทางรถไฟสายเหนือ". ไทยโพสต์.
  4. นรนิติ เศรษฐบุตร. "หัวมุมที่ถนนประดิพัทธ์ตัดทางรถไฟสายเหนือ". สถาบันพระปกเกล้า.[ลิงก์เสีย]
  5. "#ถนนประดิพัทธ์". facebook. 2020-02-22.
  6. ""สะพานควาย-ประดิพัทธ์" ทำเลเชื่อมต่อสถานีกลางบางซื่อและย่านธุรกิจอารีย์". terrabkk.com.
  7. อุบลวรรณ กระปุกทอง. "ที่นี่สะพานควาย...'เฮียง้วน กิติศักดิ์' ผู้นั่งมองเวลาและความเปลี่ยนแปลง".
  8. "ชวนส่อง 'ประดิพัทธ์' ย่านชุมชนที่ผสานความดั้งเดิมและร่วมสมัยได้อย่างลงตัว".
  9. "รู้จักย่านสะพานควายแบบเจาะลึก".
  10. "ประดิพัทธ์".