สะพานควาย เป็นชื่อของทางแยกที่เป็นจุดตัดระหว่างถนนพหลโยธิน ถนนประดิพัทธ์ และถนนสาลีรัฐวิภาค ในพื้นที่แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร รวมทั้งเป็นชื่อของย่านที่อยู่รอบ ๆ ทางแยกนี้

สี่แยก สะพานควาย
แผนที่
ชื่ออักษรไทยสะพานควาย
ชื่ออักษรโรมันSaphan Khwai
รหัสทางแยกN332 (ESRI), 038 (กทม.)
ที่ตั้งแขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
ทิศทางการจราจร
ถนนพหลโยธิน
» แยกกำแพงเพชร
ถนนสาลีรัฐวิภาค
» แยกสุทธิสาร
ถนนพหลโยธิน
» แยกราชครู
ถนนประดิพัทธ์
» แยกประดิพัทธ์

ประวัติ

แก้

ทุ่งศุภราช

แก้

ชื่อ "สะพานควาย" มาจากพื้นที่แถบนี้ในอดีต มีสภาพเป็นทุ่งนาและป่า รวมถึงคูคลองและสวนผัก พื้นที่นี้เรียกว่า ทุ่งศุภราช ที่มีพ่อค้าวัวควายจากภาคอีสานเดินทางมาขายยังภาคกลาง และมาไกลถึงยังพื้นที่นี้ด้วย โดยที่กลางทุ่งนานั้นจะมีสะพานไม้สร้างไว้เพื่อให้ฝูงวัวและควายเดินข้ามคูส่งน้ำได้สะดวก โดยเฉพาะในช่วงหัวค่ำ อย่างไรก็ดีบริเวณสะพานควายมีเพียงคลองบางซื่อซึ่งอยู่บริเวณวัดไผ่ตัน ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของชุมชนซึ่งสร้างเมื่อ พ.ศ. 2313[1]

เอนก นาวิกมูล สันนิษฐานว่า ชื่อ "สะพานควาย" คงเกิดขึ้นราว พ.ศ. 2470–2480 โดยพิจารณาจากแผนที่เมื่อ พ.ศ. 2474 เมื่อครั้งยังไม่มีการตัดถนนพหลโยธิน​และยังไม่ปรากฏชื่อสะพานควาย[2]

บริเวณซอยศุภราช (ซอยพหลโยธิน 14) แต่เดิมเป็นคลองศุภราช มีสภาพลี้ยวหักศอเพราะเลี้ยวตามคันนา[3] คลองศุภราชมีปากคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ติดกับวัดจันทรสโมสร[4]

ยุครุ่งเรือง

แก้

ทางแยกสะพานควายสร้างเมื่อ พ.ศ. 2479 ตลาดจอมมาลีเป็นตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ ยังมีตลาดศรีไทยซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของย่านนี้ ปัจจุบันได้กลายเป็นห้างบิ๊กซี สะพานควาย สำหรับตลาดศรีศุภราช ในช่วงต่อมากลายเป็นห้างสรรพสินค้าโยฮัน หลังจากนั้นห้างได้เลิกกิจการและกลายเป็นศรีศุภราชอาเขตและห้างเมอร์รี่คิงส์ สะพานควาย ที่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2528 และเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อปี พ.ศ. 2529[5] ถูกปิดตายกลายเป็นอาคารร้าง และปิดอย่างเป็นทางการเมื่อกลางปี พ.ศ. 2563 ก่อนที่จะทุบทิ้งแล้วกลายมาเป็นโครงการ เดอะไรซ์บายศรีศุภราช เป็นอาคารสูง 26 ชั้น รูปเมล็ดข้าว ได้แรงบันดาลใจจากอัตลักษณ์ดั้งเดิมของทำเลนี้ที่เดิมเป็นทุ่งศุภราช[6]

ย่านสะพานควายเคยเป็นแหล่งบันเทิงที่รุ่งเรือง มีโรงภาพยนตร์มากมาย โรงภาพยนตร์เฉลิมสินเป็นโรงภาพยนตร์เก่าแก่ที่สุดในย่านนี้ ส่วนบริเวณโรงภาพยนตร์นิวยอร์ก เดิมเป็นตลาดสุขใจ เป็นตลาดขนาดเล็ก ห้องแถวไม้ 2 ชั้น ภายหลังเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วจึงกลายมาเป็นโรงภาพยนตร์นิวยอร์ก โรงภาพยนตร์แห่งนี้เคยเป็นข่าวเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2525 เกิดคดีข่มขืน ฆาตกรรม นักศึกษาสาวคนหนึ่งที่โรงภาพยนตร์นี้[7] รวมถึงยังมีพหลโยธินรามา มงคลรามา และประดิพัทธ์เธียเตอร์[8] ปัจจุบันโรงภาพยนตร์นิวยอร์กกลายเป็นโรงพยาบาลวิมุต โรงภาพยนตร์เฉลิมสินกลายเป็นคอนโดมิเนียมแชปเตอร์พฤกษา โรงภาพยนตร์ประดิพัทธ์เธียเตอร์ขายให้แก่พฤกษา โรงภาพยนตร์มงคลรามาขายให้แก่อนันดา[9] ยังคงเหลือแต่โรงภาพยนตร์พหลเธียเตอร์ (พหลโยธินราม่าเดิม) เป็นสถานที่รู้กันของกลุ่มชายรักชายที่จะมาทำกิจกรรมทางเพศ[10]

ฝั่งตรงข้ามธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เดิมเป็นที่โล่ง มีโรงแรมแคปปิตอล ในย่านดังกล่าวยังเคยมีโรงเรียนดารณี สอนระดับอนุบาลถึงประถมปลาย ทางเข้าอยู่ในซอยพหลโยธิน 13

ปัจจุบัน

แก้

ปัจจุบัน บริเวณสะพานควายเป็นย่านที่คึกคัก เต็มไปด้วยตลาดและร้านค้า มีคอนโดมิเนียมมากมาย เป็นที่ตั้งของธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล และสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส สะพานควาย[11]

สถานที่สำคัญ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร สามเสนใน วัดไผ่ตัน" (PDF).
  2. "ประวัติสะพานควาย". เอนก นาวิกมูล.
  3. "ซอยศุภราช (พหลโยธิน 14)".
  4. "สะพานควายอยู่ไหน".
  5. ลงทุนแมน (2017-09-17). "ตำนาน เมอร์รี่คิงส์". FINNOMENA. สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.
  6. ประเสริฐ จารึก. "'บิ๊กอสังหาฯ' ลุยทุบห้าง โรงหนัง พลิกโฉม 'สะพานควาย-ประดิพัทธ์' ย่านธุรกิจ ที่อยู่อาศัยแห่งใหม่". มติชน.
  7. "3 นาทีคดีดัง : "เป๋ อกไก่" ฆ่า เปลือย คาห้องน้ำโรงหนัง (คลิป)". ไทยรัฐ.
  8. "เล่าเรื่อง 'สะพานควาย' ผ่านมุมมองเจ้าบ้าน".
  9. "ทุบทิ้ง 200โรงหนังสแตนด์อโลนกลางกรุง สู่บิ๊กโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส". ฐานเศรษฐกิจ.
  10. "ลุยโรงหนังเก่า 'พหลโยธินเธียเตอร์' VS 'งามวงศ์วานรามา' ลมหายใจเฮือกสุดท้ายยุคปรับตัว". สำนักข่าวอิศรา.
  11. หนุ่มลูกทุ่ง (2009-04-21). "ส่อง(ย่าน)สรรพสัตว์ สืบประวัติอดีต กทม". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-04-04. สืบค้นเมื่อ 2018-03-03.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

13°47′23″N 100°32′54″E / 13.789769°N 100.548275°E / 13.789769; 100.548275