ตำบลแก่นมะกรูด
แก่นมะกรูด เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ท้องที่เกือบทั้งหมดอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง-ทุ่งใหญ่นเรศวร และมีเนื้อที่ถึง 2,282.05 ตารางกิโลเมตร (ร้อยละ 33.90 ของพื้นที่จังหวัด) เป็นตำบลที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดอุทัยธานี
ตำบลแก่นมะกรูด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Tambon Kaen Makrut |
พิกัด: 15°15′02.3″N 99°10′01.2″E / 15.250639°N 99.167000°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | อุทัยธานี |
อำเภอ | บ้านไร่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 2,282.05 ตร.กม. (881.10 ตร.ไมล์) |
ประชากร (เดือนสิงหาคม 2566)[1] | |
• ทั้งหมด | 2,363 คน |
• ความหนาแน่น | 1.04 คน/ตร.กม. (2.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 61140 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 610607 |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้ตำบลแก่นมะกรูด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลแม่เล่ย์ (อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลระบำ (อำเภอลานสัก) และตำบลคอกควาย ตำบลเจ้าวัด ตำบลบ้านไร่ (อำเภอบ้านไร่)
- ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลวังยาว (อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี) และตำบลเขาโจด (อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลชะแล (อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี) และตำบลแม่ละมุ้ง (อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก)
ประวัติ
แก้เดิมตำบลแก่นมะกรูด อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอแม่กลอง จังหวัดอุทัยธานี ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 มณฑลนครสวรรค์ได้ปรับเปลี่ยนเขตของอำเภอแม่กลองกับอำเภอหนองหลวง โดยให้ตำบลแก่นมะกรูด มาขึ้นกับทางอำเภอหนองหลวง[2] (เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอคอกควายในปี พ.ศ. 2460)[3] พ.ศ. 2468 ได้รับรวมกิ่งอำเภอห้วยแห้ง จากอำเภอบ้านเชี่ยน จังหวัดชัยนาท มารวมกับอำเภอคอกควาย จังหวัดอุทัยธานี และย้ายที่ว่าการอำเภอมาตั้งที่ตำบลบ้านไร่ และเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอคอกควาย เป็นอำเภอบ้านไร่[4] จึงกลายเป็นตำบลหนึ่งในอำเภอบ้านไร่มาจนถึงปัจจุบัน
ตำบลแก่นมะกรูดตั้งอยู่ในเขตใต้สุดของภาคเหนือและเหนือสุดของภาคกลางที่มีความหลากหลายของชาติพันธุ์ ทั้งไทย จีน มอญ ลาว แขก กะเหรี่ยง ละว้า ขมุ อยู่บนพื้นที่สูงในจังหวัดอุทัยธานี เป็นที่ตั้งโครงการพื้นที่ต้นแบบบูรณาการแก้ไขปัญหา และพัฒนาพื้นที่ตำบลแก่นมะกรูด โดยมีมูลนิธิปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในหลวงรัชกาลที่ 9 ร่วมบูรณาการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี มีสวนดอกไม้และผลไม้เมืองหนาว นานาพรรณ ทั้งลิลลี่ ทิวลิป เบญจมาศหลากสี สตรอว์เบอร์รี ซาโยเต้ กาแฟ กะหล่ำปลีม่วง กะหล่ำปลีหัวใจ ผักสลัด และผักพื้นบ้านมากมาย เป็นต้น สวนพฤษศาสตร์ ถือเป็นสถานที่ยอดนิยมในช่วงฤดูหนาวที่นักท่องเที่ยวได้มาเที่ยว สัมผัสอากาศหนาว เคล้าสายหมอกกับดอกไม้ผลไม้เมืองหนาวราวกับว่าได้ไปเยือนภาคเหนือตอนบน มีคำกล่าวที่ว่า “อำเภอบ้านไร่ บรรยากาศเชียงใหม่ ไม่ไกลกรุงเทพฯ”
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้ตำบลแก่นมะกรูดแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 | บ้านใต้ | (Ban Tai) | ||||
หมู่ที่ 2 | บ้านตะละเซิง | (Ban Talasoeng) | ||||
หมู่ที่ 3 | บ้านใหม่คลองอังวะ | (Ban Mai Khlong Angwa) | ||||
หมู่ที่ 4 | บ้านอีมาดอีทราย | (Ban I Mat I Sai) |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ปัจจุบันตำบลแก่นมะกรูดทั้งตำบลอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ เดิมเป็นสภาตำบลแก่นมะกรูดซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2517[5] ต่อมาสภาตำบลแก่นมะกรูดถูกยุบรวมเข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไร่ ใน พ.ศ. 2547[6] เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน โดยในขณะนั้นท้องที่สภาตำบลแก่นมะกรูดมีประชากรเพียง 1,714 คน[7]
ประชากร
แก้พื้นที่ตำบลแก่นมะกรูดประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 4 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 2,326 คน แบ่งเป็นชาย 1,236 คน หญิง 1,090 คน (เดือนธันวาคม 2564)[8] เป็นตำบลที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุดในอำเภอบ้านไร่
- หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
- หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน
* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
หมู่บ้าน | พ.ศ. 2564[9] | พ.ศ. 2563 [10] | พ.ศ. 2562[11] | พ.ศ. 2561[12] | พ.ศ. 2560[13] | พ.ศ. 2559[14] | พ.ศ. 2558[15] |
---|---|---|---|---|---|---|---|
ใหม่คลองอังวะ | 701 | 692 | 689 | 677 | 664 | 649 | 646 |
อีมาดอีทราย | 606 | 600 | 595 | 593 | 590 | 585 | 567 |
ตะละเซิง | 554 | 545 | 537 | 521 | 511 | 501 | 493 |
ใต้ | 465 | 459 | 445 | 438 | 425 | 419 | 411 |
รวม | 2,326 | 2,296 | 2,266 | 2,229 | 2,190 | 2,154 | 2,117 |
อ้างอิง
แก้- ↑ ประชากรในเขตอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 28 (0 ง): 1347–1348. วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2454
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 34 (0 ก): 40–68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-07. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03. วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบแยกและตั้งอำเภอในมณฑลนครสวรรค์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 42 (0 ก): 260–262. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03. วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2468
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งสภาตำบลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๖ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๑๕" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 91 (87 ง): (ฉบับพิเศษ) 1–45. วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2517
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยุบรวมสภาตำบลกับองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 108 ง): 1–3. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2547
- ↑ "สถิติทางประชากรในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546". สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.