ดาการ์แรลลี
ดาการ์แรลลี หรือ เดอะ ดาการ์ ในอดีตรู้จักกันในชื่อ ปารีส-ดาการ์ เป็นการแข่งขันรถประจำปี ที่จัดการแข่งขันโดยองค์กรกีฬาอามอรี (Amaury Sport Organisation - ASO) บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งโดยฟิลิปเป อามอรี จัดการแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1978
เส้นทางการแข่งขันส่วนใหญ่เริ่มต้นจากปารีส ประเทศฝรั่งเศส มีเส้นทางผ่านภูมิประเทศทุรกันดารหลากหลายชนิดทั้งทะเลทราย บ่อโคลน ทุ่งหญ้า ทุ่งหิน หุบผาสูงชัน เนินทรายในทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา ไปสิ้นสุดที่ดาการ์ ประเทศเซเนกัล แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์สังหารนักท่องเที่ยวชาวฝรั่งเศสในประเทศมอริเตเนียในช่วงปลายปี ค.ศ. 2007 โดยกลุ่มก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์ ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความปลอดภัยของผู้ร่วมแข่งขัน[1] จนต้องงดการแข่งขันในช่วงต้นปี ค.ศ. 2008[2] และย้ายการแข่งขันไปจัดในทวีปอเมริกาใต้ ที่อาร์เจนตินาและชิลี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 จนถึง ค.ศ. 2019[3][4] ในปี ค.ศ. 2020 ดาการ์แรลลีย้ายไปแข่งขันที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย[5]
การแข่งขันแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ รถจักรยานยนต์ รถยนต์ (น้ำหนักต่ำกว่า 3,500 กิโลกรัม) รถบรรทุก (น้ำหนักมากกว่า 3,500 กิโลกรัม) ควอดไบค์ และยูทีวี เส้นทางการแข่งขันในแต่ละวัน มีตั้งแต่ระยะทางสั้น ๆ จนถึงเฉลี่ย 800-900 กิโลเมตร
เคยมีนักแข่งชาวไทย 2 คน ที่เข้าร่วมการแข่งขันรายการนี้จนจบ ได้แก่ พรสวรรค์ ศิริวัฒนกุล[6] ในปี ค.ศ. 1992-1995 และมานะ พรศิริเชิด[7] ในปี ค.ศ. 2009 ทั้งสองคนสังกัดทีมมิตซูบิชิ มอเตอร์ส
เส้นทางในแต่ละปี
แก้- ค.ศ. 1979–1980: ปารีส–ดาการ์
- ค.ศ. 1981–1988: ปารีส–แอลเจียร์–ดาการ์
- ค.ศ. 1989: ปารีส–ตูนิส–ดาการ์
- ค.ศ. 1990–1991: ปารีส–ทริโปลี–ดาการ์
- ค.ศ. 1992: ปารีส–เคปทาวน์
- ค.ศ. 1993: ปารีส–ดาการ์
- ค.ศ. 1994: ปารีส–ดาการ์–ปารีส
- ค.ศ. 1995–1996: กรานาดา–ดาการ์
- ค.ศ. 1997: ดาการ์–อากาเดซ–ดาการ์
- ค.ศ. 1998: ปารีส–กรานาดา–ดาการ์
- ค.ศ. 1999: กรานาดา–ดาการ์
- ค.ศ. 2000: ดาการ์–ไคโร
- ค.ศ. 2001: ปารีส–ดาการ์
- ค.ศ. 2002: อารัส–มาดริด–ดาการ์
- ค.ศ. 2003: มาร์แซย์–ซาร์มอัล-ชีค
- ค.ศ. 2004: แกลร์มง-แฟร็อง–ดาการ์
- ค.ศ. 2005: บาร์เซโลนา–ดาการ์
- ค.ศ. 2006–2007: ลิสบอน–ดาการ์
- ค.ศ. 2008: งดการแข่งขัน
- ค.ศ. 2009: บัวโนสไอเรส–บัลปาราอีโซ–บัวโนสไอเรส
- ค.ศ. 2010: บัวโนสไอเรส-อันโตฟากาสตา-บัวโนสไอเรส
- ค.ศ. 2011: บัวโนสไอเรส-อารีกา-บัวโนสไอเรส
- ค.ศ. 2012: มาร์เดลปลาตา-อารีกา-ลิมา
- ค.ศ. 2013: ลิมา–ตูกูมัน–ซานเตียโก
- ค.ศ. 2014: โรซารีโอ-ซัลตา–บัลปาราอิโซ
- ค.ศ. 2015: บัวโนสไอเรส–อิกิเก-บัวโนสไอเรส
- ค.ศ. 2016: บัวโนสไอเรส–ซัลตา–โรซารีโอ
- ค.ศ. 2017: อาซุนซีออน–ลาปาซ–บัวโนสไอเรส
- ค.ศ. 2018: ลิมา–ลาปาซ–กอร์โดบา
- ค.ศ. 2019: ลิมา– ลิมา (เปรู)
- ค.ศ. 2020: ญิดดะฮ์–รียาด–คิตฎิยา (ซาอุดีอาระเบีย)
- ค.ศ. 2021: ญิดดะฮ์–ฮาอิล (ซาอุดีอาระเบีย)
- ค.ศ. 2022: ฮาอิล–ญิดดะฮ์ (ซาอุดีอาระเบีย)
- ค.ศ. 2023: กาตาร์–ซาอุดีอาระเบีย–ยูเออี
- ค.ศ. 2024: อัลลูลา–ยันบู
อ้างอิง
แก้- ↑ Keaton, Jamie (2008-01-05). "Terror threat cancels famed Dakar Rally". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 2008-01-05.
- ↑ Geraldine Baum and Sebastian Rotella (January 4, 2008), Dakar rally is canceled because of terrorist threat, Kansas City Star, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-10, สืบค้นเมื่อ 2010-12-11
- ↑ "DAKAR IN ARGENTINA AND CHILE". ASO. 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2009-03-05.
- ↑ Dakar Rally will again be hosted by Argentina and Chile — MercoPress[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Dakar Rally 2020: Event info & videos". Red Bull. สืบค้นเมื่อ November 17, 2020.
- ↑ ชีวิตหลังพวงมาลัยของ “พรสวรรค์ ศิริวัฒนกุล”[ลิงก์เสีย] ผู้จัดการ, 19 ตุลาคม 2547
- ↑ เปิดใจฮีโร่ดาการ์ “มานะ พรซิริเชิด” เรซ ฟอร์ ไทยแลนด์[ลิงก์เสีย] ยวดยานมอเตอร์สปอร์ต, มกราคม 2551
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Dakar Rally Live Streaming เก็บถาวร 2011-07-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- dakar.com (multilingual)
- marathonrally.com Dakar Live Online (multilingual)
- outbacktodakar.com[ลิงก์เสีย] Living the Dream