ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ (ญี่ปุ่น: スーパー戦隊シリーズโรมาจิSūpā Sentai Shirīzu) เป็นชื่อละครโทรทัศน์ชุดโทกูซัตสึในประเทศญี่ปุ่น ที่มีการออกอากาศยาวนานเช่นเดียวกับอุลตร้าซีรีส์และมาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ โดยจุดเด่นหลักคือเป็นกลุ่มฮีโร่ที่สวมชุดพร้อมอาวุธต่อสู้และหน้ากากหลากสีรวมตัวกันเป็นทีมหนึ่ง ซึ่งตรงกับคำว่า กลุ่มขบวนการ ในภาษาไทยนั่นเอง ทั้งนี้ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ออกอากาศระยะเวลายาวนานถึง เช่นเดียวกับ มาสค์ไรเดอร์ซีรีส์ และ อุลตร้าซีรีส์ ที่ยังออกอากาศในปัจจุบัน

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
โลโก้ของ ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000
สร้างโดยโชตะโร อิชิโนะโมะริ
Toei Company
มาร์เวลคอมิกส์
งานต้นฉบับขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์
เจ้าของสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ (1975–ปัจจุบัน)
Toei Company (1975–ปัจจุบัน)
Toei Agency (1979–ปัจจุบัน)
ภาพยนตร์และโทรทัศน์
ละครโทรทัศน์(ดูในบทความ)
เกม
วิดีโอเกม'
เบ็ดเตล็ด
ของเล่นS.H. Figuarts
Soul of Chogokin
Super Robot Chogokin

ประวัติ

แก้

ส่วนประกอบ

แก้

ลักษณะเด่นทั่วไปที่มีร่วมกันของ ซูเปอร์เซ็นไต ทุกเรื่อง ได้แก่

  • เนื้อหากล่าวถึง "กลุ่มนักสู้หรือนักรบ" ที่มีสมาชิก 5 คน (หรือ 3 คน หรือมากกว่า) ที่ได้รับพลังซึ่งมาจากหลายรูปแบบแตกต่างกันไป (ขึ้นอยู่กับการกำหนดของเนื้อเรื่องในภาพยนตร์) ใช้วิชาการต่อสู้ในหลากหลายรูปแบบต่างกัน มาร่วมมือกัน เพื่อต่อสู้กับ "กลุ่มผู้ร้าย" ที่หวังจะครองโลก (หรือทำลายโลก)
    • กลุ่มผู้ร้าย จะพ่ายแพ้ในตอนสุดท้ายเรื่องเสมอ
  • สมาชิกกลุ่มนักสู้ ปกติเป็นคนธรรมดา (หรือมีร่างคล้ายคนปกติ) แต่สามารถ "แปลงร่าง" ได้ เพื่อมาต่อสู้กับเหล่าอธรรม เมื่อแปลงร่างจะมีเครื่องแบบพิเศษที่มีประสิทธิภาพทำให้แข็งแกร่งและเก่งขึ้น (จึงจัด ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ อยู่ในกลุ่ม โทกูซัตสึ)
  • ชุดเครื่องแบบ แต่ละคนเป็นรูปแบบหลักเดียวกัน แต่ต่างสีไม่ซ้ำกัน (อาจต่างลายด้วย) ถ้าสมาชิก 5 คน ก็เป็น 5 สี (อาจน้อยกว่าหรือมากกว่า ตามจำนวนสมาชิก, จะซ้ำกันต่อเมื่อเป็นสมาชิกสีนั้น รุ่นก่อนกับรุ่นหลัง เท่านั้น)
    • สีเครื่องแบบของสมาชิกหลัก ที่มีทุกเรื่องคือ สีแดง และ สีน้ำเงิน และสีเครื่องแบบของสมาชิกหลัก ที่มักมีบ่อยในเรื่องส่วนใหญ่ ได้แก่ สีเหลือง สีชมพู สีดำ สีเขียว สีขาว และสีอื่นๆ มีบ่อยรองลงไป
    • หัวหน้าทีม มักมีบทสำคัญกว่าคนอื่น และมักใช้ชุดสีแดง (แม้บางเรื่องจะมีสีอื่นเป็นหัวหน้าทีมแทนสีแดงก็ตาม) และ สมาชิกผู้หญิง มักใช้ชุดสีชมพู หรือขาว (สีอื่นมีบ่อยรองลงไป เช่น สีน้ำเงิน สีฟ้า สีเหลือง)
  • กลุ่มนักสู้ มักเป็นองค์กรเดียวกัน หรือสำนักเดียวกัน (บางเรื่องมีหลายองค์กร หรือหลายสำนัก ก็ได้) มักนำเสนอในรูปของ มนุษย์ (หรือ มนุษย์ต่างดาว หรือ แอนดรอยด์)
    • เรื่องส่วนใหญ่มักมี หัวหน้าขององค์กร หรือ ผู้ชี้นำแนะนำสมาชิกกลุ่ม เสมอ และมีผู้ร่วมงาน หรือเพื่อนที่ช่วยเหลือบ้าง
    • (ตั้งแต่เรื่องที่ 16 เป็นต้นมา) มี นักสู้เสริม หรือ นักรบเสริม ที่แปลงร่างได้เช่นกัน (บางเรื่องเป็นสมาชิกที่เพิ่มขึ้น หรือบางเรื่องปรากฏตัวขึ้นเฉพาะตอน หรือบางเรื่องเป็นศัตรูกลับใจ ก็ได้, นักรบเสริมมี 1 คน หรือมากกว่า ก็ได้)
  • (ตั้งแต่เรื่องที่ 3 เป็นต้นมา) กลุ่มนักสู้มี หุ่นยนต์ยักษ์ ของตนเอง เพื่อต่อสู้กับอสูรกายยักษ์หรือหุ่นยนต์ยักษ์ (ซึ่งมักเป็นกลุ่มผู้ร้ายสามารถขยายร่างหรือขับ)
    • ขบวนการแรกที่มีคือ แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ขณะที่ 2 ขบวนการก่อนหน้า โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต ใช้เพียงยานรบในการต่อสู้เท่านั้น
    • (ตั้งแต่เรื่องที่ 4 เป็นต้นมา) หุ่นยนต์ยักษ์ เกิดจาก ยานยนต์หรือหุ่นยนต์ ประกอบร่างเข้าด้วยกัน โดยกลุ่มนักสู้เป็นผู้ขับ (บางเรื่องที่่โครงสร้างเหนือธรรมชาติ กลุ่มนักสู้เข้าสิงหรือแปลงร่างเป็นหุ่น ก็มี)
    • (ตั้งแต่เรื่องที่ 10 เป็นต้นมา) หุ่นยนต์มักมีมากกว่า 1 หุ่น โดยหุ่นยนต์ตัวที่ 1 (คนไทยมักเรียก "หุ่นยนต์หลัก") มักประกอบร่างจากยานยนต์หรือหุ่นยนต์หลายลำ (ขณะที่ หุ่นตัวที่ 2 เป็นต้นไป อาจแปลงร่างจากยานยนต์ลำเดียว หรือนักรบแต่ละคนมียานยนต์ประจำตัวหรือหุ่นยนต์ประจำตัวลำใหม่คนละยานประกอบร่างกัน ก็ได้)
    • (ตั้งแต่เรื่องที่ 11 เป็นต้นมา) กลุ่มนักสู้มักมี ยานยนต์ประจำตัวหรือหุ่นยนต์ประจำตัว คนละ 1 ยาน เพื่อประกอบเป็นหุ่นยนต์หลัก 1 ตัว
    • (ตั้งแต่เรื่องที่ 25 เป็นต้นมา) กลุ่มนักสู้มักมี ยานยนต์ประจำตัวหรือหุ่นยนต์ประจำตัว คนละหลายลำ ในลักษณะที่ประกอบร่างได้หลายแบบ ทำให้หุ่นยนต์เปลี่ยนระยางค์ได้หลากหลาย
  • กลุ่มผู้ร้าย มีรูปลักษณ์ ไม่ใช่มนุษย์ หรือเหมือนมนุษย์เพียงบางส่วน มักนำเสนอในรูปของ มนุษย์ต่างดาว หรือ ปิศาจ หรือ อสูรกาย หรือ องค์กรลับที่ดัดแปลงสิ่งมีชีวิต มาจากแหล่งกบดาน เช่น ในโลก หรือจากอวกาศ หรือจากต่างมิติ
  • กลุ่มผู้ร้าย มีระบบขององค์กร (คนไทยมักเรียก "ตัวร้าย" หรือ "องค์กรร้าย") ที่มีลำดับชั้นปกครอง ประกอบด้วย
    • (ระดับ) ราชาหรือหัวหน้า
    • (ระดับ) แม่ทัพหรือรองหัวหน้า มักมี 2-4 คน (อาจมีระดับขั้นมากกว่านี้)
    • (ระดับ) สมุนเอก (คนไทยมักเรียก "ศัตรูประจำตอน" หรือ "สัตว์ประหลาดประจำตอน") มักปรากฏตัวมา ตอนละตัว และถูกกำจัดในตอนนั้น (หรือตอนถัดไป) และมีตัวใหม่ในตอนต่อไปเรื่อย ๆ โดยแต่ละตัวมีความสามารถและแผนการที่ต่างกันไปในแต่ละตอน
    • ลูกสมุนระดับล่างสุด ปรากฏตัวทุกตอนและมีจำนวนมาก เพื่อช่วยงานจิปาถะให้สมุนเอกและคอยรุมกลุ่มนักสู้ แม้ด้อยฝีมือกว่ามากแต่จำนวนที่มากกว่าก็ทำให้กลุ่มนักสู้ทำงานยากขึ้น
      โดยเรื่องส่วนใหญ่ลูกสมุนระดับล่างไม่พูดและส่งเสียงแปลก ๆ สื่อสารกันแทน เป็นที่มาของคำแสลงเฉพาะในหมู่คนไทยว่า "กีกี้" ตามเสียงร้อง มีความหมายเชิงเหยียดต่อผู้ถูกกล่าวถึงว่า "เป็นเพียงลูกสมุนปลายแถว"
  • กลุ่มผู้ร้าย อาจมีกลุ่มเดียว หรือหลายกลุ่ม ก็ได้ ตามแต่ความซับซ้อนของแต่ละเรื่อง
  • ท้ายเรื่อง (หรือท้ายช่วง) พวกแม่ทัพจะทะยอยถูกจำกัด และตอนจบเรื่อง (หรือตอนจบช่วง) หลังราชาถูกกำจัด เป็นสัญลักษณ์ว่าองค์กรร้ายถูกทำลายและโลกกลับมาสงบสุข (แต่บางเรื่อง องค์กรร้ายแรกถูกทำลาย ตอนจบช่วงแรก แต่ช่วงหลังของเรื่อง มีองค์กรร้ายใหม่ปรากฏแทน ก็ได้ อย่างไรก็ตาม องค์กรร้ายใหม่จะถูกกำจัดตอนจบเรื่อง)
  • (เช่นเดียวกับ ซีรีส์แปลงร่างอื่น) ระหว่างฉายซีรีส์ ธุรกิจของเล่นจะจัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับซีรีส์ (เช่น หุ่นของหุ่นยนต์ประกอบร่าง อุปกรณ์แปลงร่าง หุ่นตัวละครนักสู้ หน้ากากตัวละครนักสู้ ฯลฯ)

และ หลังจบซีรีส์ จะมีภาพยนต์ภาคเสริมขยายเนื้อเรื่อง

  • (ตั้งแต่เรื่องที่ 24 เป็นต้นมา) แต่ละซีรีส์ จะสามารถเชื่อมโยงถึงกัน เช่น ผ่านการข้ามมิติ หรืออยู่ในจักรวาลเดียวกันตั้งแต่แรก และภาพยนตร์ภาคเสริมมักเชื่อมโยงระหว่างซีรีส์อย่างชัดเจน โดยภาพยนตร์ภาคเสริม

รายชื่อผลงาน

แก้
# ชื่อเรื่อง ระยะเวลาออกอากาศ
วันเริ่มออกอากาศ
วันที่สิ้นสุดออกอากาศ
จำนวนตอน รายละเอียดจุดเด่นที่น่าสนใจ
ช่วงปี ค.ศ. 1970
1 ขบวนการห้าจอมพิฆาต
โกเรนเจอร์
5 เมษายน 1975
26 มีนาคม 1977
84 ตอน • ฉายนานที่สุด ออกอากาศถึง 2 ปี

• ครั้งแรกที่ปรากฏสมาชิก สีแดง สีน้ำเงิน สีเหลือง สีเขียว และสีชมพู

• ครั้งแรกที่สมาชิกหลักสีเหลืองเปลี่ยนตัวเพราะในเรื่องเสียชีวิต

• เรื่องแรกที่ใช้ชื่อเรื่องลงท้ายด้วย เรนเจอร์

2 แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต 9 เมษายน 1977
24 ธันวาคม ปีเดียวกัน
35 ตอน • ออกอากาศน้อยกว่า 1 ปี

• ครั้งแรกที่ปรากฏสมาชิกชุด สีขาว • ครั้งแรกที่มีการเปลี่ยนตัวหัวหน้ากลุ่ม โดยช่วงแรกมีสมาชิก 4 คน แล้วเพิ่มเป็น 5 คน ซึ่งเปลี่ยนหัวหน้ากลุ่มจากสมาชิกสีแดงเป็นสีขาว • ครั้งแรกที่เนื้อเรื่องเชื่อมโยงกับเรื่องก่อนหน้า • ครั้งแรกที่ร่วมผลิตกับ มาร์เวลคอมิกส์

ได้หยุดออกอากาศชั่วคราวถึง 1 ปี
ในขณะเดียวกัน มาร์เวลคอมิกส์ จากสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาร่วมมือในการทำผลงานเริ่มจาก สไปเดอร์แมน (ฉบับญี่ปุ่น) จากทีมงานเดียวกันพร้อมกับหุ่นยนต์ยักษ์เลโอพัลดอนที่มาปรากฏตัวทำให้ประสบผลสำเร็จจากการปรากฏตัวของหุ่นยนต์ยักษ์จึงทำให้เริ่มกลับมาทำซีรีส์อีกครั้ง[1]
3 แบทเทิลฟีเวอร์ เจ 3 กุมภาพันธ์ 1979
26 มกราคม 1980
52 ตอน • ครั้งแรกที่ปรากฏสมาชิกชุด สีดำ และ สีส้ม

• ครั้งแรกที่มี หุ่นยนต์ยักษ์ • ผู้ประพันธ์เจ้าของผลงานเปลี่ยนเป็น ฮัตเตะ ซาบุโร่ • ผลงานใหม่ถูกเปลี่ยนรูปแบบภายใน 1 ปี

ช่วงปี ค.ศ. 1980
4 ขบวนการไฟฟ้า
เด็นจิแมน
2 กุมภาพันธ์ 1980
31 มกราคม 1981
51 ตอน • ครั้งแรกที่หุ่นยนต์ยักษ์เปลี่ยนมาจากยานยนต์ (1 ลำ)

• ปีถัดมาโซกะ มาจิโกะ ได้กลับมารับบทบาทเดิม (ราชินีเฮโดเรียน) ใน ซันวัลคัน • เรื่องแรกที่ใช้ชื่อเรื่องลงท้ายด้วย แมน

5 ขบวนการสุริยะ
ซันวัลคัน
7 กุมภาพันธ์ 1981
30 มกราคม 1982
50 ตอน • เนื้อเรื่องเชื่อมโยงกับเรื่องก่อนหน้า

• ในหนังสือข้อมูลได้ถูกกล่าวว่าชื่อ ซูเปอร์เซ็นไต ได้ถูกเริ่มใช้เป็นขบวนการแรก [2] • ครั้งแรกที่มีสมาชิก 3 คน และ ครั้งแรกที่สมาชิกเป็นชายล้วน • ครั้งแรกที่หุ่นยนต์ยักษ์ประกอบร่างจากยานยนต์ 2 ลำ • ครั้งแรกที่ใช้ภาพลักษณ์ สัตว์ป่า • ครั้งสุดท้ายที่ร่วมผลิตกับ มาร์เวลคอมิกส์

6 ขบวนการอันยิ่งใหญ่
โกกุลไฟว์
6 กุมภาพันธ์ 1982
29 มกราคม 1983
50 ตอน • ครั้งแรกที่หุ่นยนต์ยักษ์ประกอบร่างจากยานยนต์ 3 ลำ

• เรื่องแรกที่ใช้ชื่อเรื่องลงท้ายด้วย ไฟว์

7 ขบวนการวิทยาศาสตร์
ไดน่าแมน
5 กุมภาพันธ์ 1983
28 มกราคม 1984
51 ตอน • ครั้งแรกที่ทีมงานใช้ชุดสเปนเด็กซ์

• ตอนที่ 10 ถูกลดเวลาออกอากาศเหลือ 25 นาที

8 ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน
ไบโอแมน
2 กุมภาพันธ์ 1984
26 มกราคม 1985
51 ตอน • ครั้งแรกที่มีสมาชิกหลักผู้หญิง 2 คน

• ครั้งแรกที่มีสมาชิกหลักผู้หญิงชุด สีเหลือง

• ครั้งแรกที่สมาชิกหลักเปลี่ยนตัวเพราะถอนตัว (ครั้งแรกที่สมาชิกหลักเนื้อเรื่องเสียชีวิตกลางเรื่อง)

• ครั้งแรกที่มี นักสู้เสริม (เฉพาะตอน, ไม่เป็นทางการ)

9 ขบวนการนักสู้สายฟ้า
เชนจ์แมน
2 กุมภาพันธ์ 1985
22 กุมภาพันธ์ 1986
55 ตอน • ครั้งแรกที่มีสมาชิกหลักผู้หญิงชุด สีขาว

• ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่องเป็น สัตว์ในเทพนิยาย

10 ขบวนการซูเปอร์โนวา
แฟลชแมน
1 มีนาคม 1986
21 กุมภาพันธ์ 1987
50 ตอน • ครั้งแรกที่หุ่นยนต์ยักษ์มีมากกว่า 1 หุ่น

• ครั้งแรกที่สมาชิกหลักมาจากต่างดาว

11 ขบวนการแสง
มาสค์แมน
28 กุมภาพันธ์ 1987
20 กุมภาพันธ์ 1988
51 ตอน • ครั้งแรกที่นักสู้ทุกคนมียานยนต์ส่วนตัว และ หุ่นยนต์ยักษ์ประกอบร่างจากยานยนต์ ของแต่ละคน (5 ลำ)
12 ขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์
ไลฟ์แมน
27 กุมภาพันธ์ 1988
18 กุมภาพันธ์ 1989
49 ตอน • ครั้งแรกที่สมาชิกหลักเริ่มต้น 3 คน แล้วเพิ่มเป็น 5 คน

• ครั้งแรกที่สมาชิกหลักผู้หญิงชุด สีน้ำเงิน • ครั้งแรกที่ยานยนต์เป็นหุ่นยนต์รูปสัตว์ • ครั้งแรกที่หุ่นยนต์ยักษ์ มากกว่า 1 หุ่น ประกอบร่างกันเอง • ผลงานครบรอบ 10 ปีซูเปอร์เซ็นไต โดยนับตั้งแต่แบทเทิลฟีเวอร์ เจ และเป็นเรื่องสุดท้ายในยุครัชศกโชวะ

13 ขบวนการความเร็วสูง
เทอร์โบเรนเจอร์
25 กุมภาพันธ์ 1989
23 กุมภาพันธ์ 1990
51 ตอน • ครั้งแรกที่เนื้อเรื่องกล่าวถึง เรื่องเหนือธรรมชาติ

• ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่องเป็น รถยนต์ • ผลงานเรื่องแรกที่อยู่ในยุคสมัยรัชศกเฮเซ ในตอนที่ 1 ได้ นำภาพจากขบวนการในอดีตมาปรากฏก่อนที่จะเข้าเนื้อหา หลัก

ช่วงปี ค.ศ. 1990
14 ขบวนการแห่งโลก
ไฟว์แมน
2 มีนาคม 1990
8 กุมภาพันธ์ 1991
48 ตอน • ครั้งแรกที่สมาชิกหลักเป็นพี่น้องกันทั้ง 5 คน
15 ขบวนการวิหคสายฟ้า
เจ็ทแมน
15 กุมภาพันธ์ 1991
14 กุมภาพันธ์ 1992
51 ตอน • ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่องเป็น นก

• เป็นผลงานของ อิโนอุเอะ โทชิกิ ที่เป็นแกนเขียนบทของเรื่อง

• ในตอนที่ 51 ของเจ็ทแมน ตั้งใจจบหักมุม จนซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ยุคฟองสบู่แตก ฟีคแบ็คดีเกินคาด

16 ขบวนการไดโนเสาร์
จูเรนเจอร์
21 กุมภาพันธ์ 1992
12 กุมภาพันธ์ 1993
50 ตอน • ครั้งแรกที่เพิ่ม นักสู้เสริม (เป็นสมาชิกหลักอย่างเป็นทางการ)

• หลังจบการออกอากาศในญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาได้นำแฟรนไชส์นี้ไปสร้างรีเมคในชื่อว่า "พาวเวอร์เรนเจอร์"

17 ขบวนการห้าดาว
ไดเรนเจอร์
19 กุมภาพันธ์ 1993
11 กุมภาพันธ์ 1994
50 ตอน • ผลงานครบรอบ 15 ปีของซูเปอร์เซ็นไต นับตั้งแต่ แบทเทิลฟีเวอร์ เจ และให้ โกเรนเจอร์ กับ แจ็คเกอร์ฯ กลับเข้ามาสู่สารบบในผลงานหลักและได้ถูกเรียกว่า สุดยอดศตวรรษในขบวนการทั้งหมด (超世紀全戦隊)
18 ขบวนการนินจา
คาคุเรนเจอร์
18 กุมภาพันธ์ 1994
28 กุมภาพันธ์ 1995
53 ตอน • ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่องเป็น นินจา

• เป็นเรื่องแรกที่ใช่นักรบหญิงเป็นหัวหน้าทีม

19 ขบวนการพลังมหัศจรรย์
โอเรนเจอร์
3 มีนาคม 1995
23 กุมภาพันธ์ 1996
48 ตอน • ผลงานอยู่ในช่วงครบรอบ 20 ปีของซูเปอร์เซ็นไต

• ครั้งแรกที่มีผลงาน ซูเปอร์เซ็นไต วีซินีม่า

20 ขบวนการรถซึ่ง
คาร์เรนเจอร์
1 มีนาคม 1996
7 กุมภาพันธ์ 1997
48 ตอน
21 ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า
เมกะเรนเจอร์
14 กุมภาพันธ์ 1997
15 กุมภาพันธ์ 1998
51 ตอน • ตอนที่ 8 ได้ย้ายวันเวลาออกอากาศจากทุกวันศุกร์ 17.30 น. ไปทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.30 น. และเพิ่มเวลาในการออกอากาศเป็น 30 นาทีรวมกับโฆษณา
22 ขบวนการคอสมิค
กิงกะแมน
22 กุมภาพันธ์ 1998
14 กุมภาพันธ์ 1999
50 ตอน
23 ขบวนการกู้ภัย
โกโกไฟว์
21 กุมภาพันธ์ 1999
6 กุมภาพันธ์ 2000
50 ตอน • ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่องเป็น นักกู้ภัย
ช่วงปี ค.ศ. 2000
24 ขบวนการอนาคต
ไทม์เรนเจอร์
13 กุมภาพันธ์ 2000
11 กุมภาพันธ์ 2001
51 ตอน • เป็นผลงานเรื่องสุดท้ายในช่วงศตวรรษที่ 20 เนื้อเรื่องหลักมี 50 ตอน ในตอนสุดท้ายเป็นการย้อนความเกี่ยวกับขบวนการในอดีต
• โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ถูกนับรวมเข้ากับผลงานของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์อย่างเป็นทางการ
โลโก้ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ถูกใช้เป็นครั้งแรก
25 ขบวนการสรรพสัตว์
กาโอเรนเจอร์
18 กุมภาพันธ์ 2001
10 กุมภาพันธ์ 2002
51 ตอน • เป็นผลงานเรื่องแรกในช่วงศตวรรษที่ 21 และเป็นช่วงฉลอง• ครบรอบ 25 ผลงานของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
ในวีซินีม่าได้นำนักแสดงจากขบวนการในอดีตมาปรากฏตัวอีกครั้ง
26 ขบวนการนินจาวายุ
เฮอร์ริเคนเจอร์
17 กุมภาพันธ์ 2002
9 กุมภาพันธ์ 2003
51 ตอน • ในช่วงแรกมี 3 คน
• ในปี ค.ศ. 2013 นับจากที่ออกอากาศจบไปถึง 10 ปีได้ทำวีซีนีม่า 10 YEARS เป็นครั้งแรก
27 ขบวนการนักรบไดโนเสาร์
อาบะเรนเจอร์
16 กุมภาพันธ์ 2003
8 กุมภาพันธ์ 2004
50 ตอน • ในช่วงแรกเปิดตัวนักรบ 4 คน
28 ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์
เดกะเรนเจอร์
15 กุมภาพันธ์ 2004
6 กุมภาพันธ์ 2005
50 ตอน • เป็นครั้งแรกที่มีฉากการส่งไม้ต่อของขบวนการเก่าให้กับขบวนการใหม่ที่ฉายต่อจากเรื่องที่จบไป ซึ่งปรากฏในช่วงสปอนเซอร์ปิดท้ายของเรื่อง
29 ขบวนการเวทมนตร์
มาจิเรนเจอร์
13 กุมภาพันธ์ 2005
12 กุมภาพันธ์ 2006
49 ตอน • ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่อง จอมเวทย์

• สมาชิกทั้ง 8 คนในขบวนการเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ( พี่น้อง 5 คน, พ่อ, แม่, ลูกเขย)

30 ขบวนการนักผจญภัย
โบเคนเจอร์
19 กุมภาพันธ์ 2006
11 กุมภาพันธ์ 2007
49 ตอน • เป็นผลงานฉลองครบรอบ 30 ผลงานของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
หลังเพลงเอนดิ้งจบมีช่วงพิเศษชื่อว่าสารานุกรม 30 ขบวนการและแฟ้มพิเศษ 30 ขบวนการ
• เป็นครั้งแรกที่ออกอากาศด้วยภาพ 16:9 ตามมาตรฐานของโทรทัศน์ความละเอียดสูง
31 ขบวนการหมัดสรรพสัตว์
เกคิเรนเจอร์
18 กุมภาพันธ์ 2007
10 กุมภาพันธ์ 2008
49 ตอน
32 ขบวนการเอนจิน
โกออนเจอร์
17 กุมภาพันธ์ 2008
8 กุมภาพันธ์ 2009
50 ตอน • ซูเปอร์เซ็นไต วีซีนีม่าได้ปรับเปลี่ยนเป็น เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต ซึ่งเป็นรูปแบบภาพยนตร์ที่ฉายทางโรงภาพยนตร์
33 ขบวนการซามูไร
ชินเคนเจอร์
15 กุมภาพันธ์ 2009
7 กุมภาพันธ์ 2010
49 ตอน • เป็นเรื่องแรกของวีซินีม่าในภาคการกลับมา
• ในเดือนกรกฎาคมได้คอลแลปกับมาสค์ไรเดอร์ดีเคด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการคอลแลปกับซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ และสามารถเชื่อมโยงเรื่องได้ทั้ง 2 เรื่อง
ช่วงปี ค.ศ. 2010
34 ขบวนการเทพสวรรค์
โกเซย์เจอร์
14 กุมภาพันธ์ 2010
6 กุมภาพันธ์ 2011
50 ตอน • ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่อง เทพสวรรค์
35 ขบวนการโจรสลัด
โกไคเจอร์
13 กุมภาพันธ์ 2011
19 กุมภาพันธ์ 2012
51 ตอน • เป็นผลงานฉลองครบรอบ 35 ผลงานของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
ชื่อเจ้าของผลงานประพันธ์ทั้ง 2 คนฮัตเตะ ซาบุโร่และอิชิโนโมริ โชทาโร่ได้ถูกปรากฏในซีรีส์

• ในเรื่องโกไคเจอร์ มีรุ่นพี่ทั้ง 34 ขบวนการ มารับเชิญในบางตอน

36 ขบวนการจารชน
โกบัสเตอร์ส
26 กุมภาพันธ์ 2012
10 กุมภาพันธ์ 2013
50 ตอน • ในช่วงแรกมี 3 คน จนถึงตอนที่ 14

• มีนักแสดงรุ่นพี่จากซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ มัตสึโมโตะ ฮิโรยะ ได้กลับมาเล่นเป็นตัวละครสมาชิกเสริม เป็นเรื่องแรกที่บัดดี้ดรอยด์ (บีท เจ. สแต็ก) สามารถแปลงร่างได้

37 ขบวนการผู้กล้าไดโนเสาร์
เคียวริวเจอร์
17 กุมภาพันธ์ 2013
9 กุมภาพันธ์ 2014
48 ตอน • มีสมาชิกจำนวนมากที่สุดทั้งหมดถึง 10 คนและมีผู้แปลงร่างมากที่สุดถึง 14 คน และหากรวมเดอะมูฟวี่จะมีสมาชิกรวมมากถึง 11 สี
  • ในภาคการกลับมา เป็นการเล่าของเคียวริวเจอร์รุ่นเหลนในร้อยปีข้างหน้า
38 ขบวนการรถไฟ
ทคคิวเจอร์
16 กุมภาพันธ์ 2014
15 กุมภาพันธ์ 2015
47 ตอน • ครั้งแรกที่ใช้ธีมเรื่อง รถไฟ ความเป็นเด็ก และจินตนการ

• ในเดือนมีนาคมได้มีรายการคอลแลป 1 ชั่วโมงร่วมกับมาสค์ไรเดอร์ไกมุ

39 ขบวนการดาวกระจาย
นินนินเจอร์
22 กุมภาพันธ์ 2015
15 กุมภาพันธ์ 2016
47 ตอน • เดิมถูกกำหนดออกอากาศวันที่ 15 กุมภาพันธ์ แต่ด้วยเหตุการณ์เกี่ยวกับ ไอซิส ทำให้ถูกเลื่อนออกอากาศประจวบกับวันของนินจาทำให้เลื่อนวันออกอากาศ
ในเดือนมีนาคมได้มีรายการคอลแลป 1 ชั่วโมงร่วมกับมาสค์ไรเดอร์ไดรฟ์
• เป็นผลงานที่ตรงกับช่วงครบรอบ 40 ปีของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์
40 ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์
จูโอเจอร์
14 กุมภาพันธ์ 2016
5 กุมภาพันธ์ 2017
48 ตอน • เป็นผลงานฉลองครบรอบซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ 40 ผลงาน
41 ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ
คิวเรนเจอร์
12 กุมภาพันธ์ 2017
4 กุมภาพันธ์ 2018
48 ตอน • เรื่องแรกที่เปิดตัวด้วยสมาชิกหลักทั้ง 9 คน

• ในตอนที่ 7 ได้มีตอนคออลแลปร่วมกับมาสค์ไรเดอร์เอ็กเซด
หลังการออกฉายภาพยนตร์มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ซูเปอร์เซนไต: อภิมหาศึกรวมพลซูเปอร์ฮีโร่ ในวันที่ 25 มีนาคม 2017
ตั้งแต่ตอนที่ 32 ได้ย้ายเวลาออกอากาศจาก 7.30 น. เป็น 9.30 น. โดยออกอากาศหลังจากมาสค์ไรเดอร์บิลด์จบตอน • มีการกลับมาใช้สีส้มเป็นนักรบหลักอีกครั้งหลังจากขบวนการ แบทเทิลฟีเวอร์ เจ

• ตลอดทั้งซีรีส์มีสมาชิกในทีมทั้งหมดมากถึง 12 คน

42 ขบวนการจอมโจร
ลูแปงเรนเจอร์
VS
ขบวนการมือปราบ
แพทเรนเจอร์
11 กุมภาพันธ์ 2018
10 กุมภาพันธ์ 2019
51 ตอน • เป็นเรื่องแรกที่นำ 2 ขบวนการมาปรากฏตัวในเรื่องเดียวกัน และได้เผยแพร่ในรูปแบบวิดีโอสตรีมมิ่งผ่านแอปพลิเคชันโตเอะโทคุซัทสึแฟนคลับและ au วิดีโอพาส
มีรายการพิเศษ ศึกดวลเดือด สุดยอดขบวนการเซ็นไต
43 ขบวนการอัศวินไดโนเสาร์
ริวโซลเจอร์
17 มีนาคม 2019
1 มีนาคม 2020
48 ตอน • เป็นผลงานเรื่องสุดท้ายในยุครัชศกเฮเซ (กึ่งยุครัชศกเรวะในเดือนเมษายน)
ออกอากาศต่อจาก ศึกดวลเดือด สุดยอดขบวนการเซ็นไต

• ครั้งแรกที่ปรากฏสมาชิกชุด สีน้ำตาล

ช่วงปี ค.ศ. 2020
44 ขบวนการมณีมนตรา
คิราเมเจอร์
8 มีนาคม 2020
28 กุมภาพันธ์ 2021
45 ตอน เป็นผลงานเรื่องแรกในยุครัชศกเรวะ
ได้มีการประกาศงดการถ่ายทำชั่วคราวในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมจนถึงกลางเดือนมิถุนายนอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น[3]
45 ขบวนการโลกจักรกล
เซ็นไคเจอร์
7 มีนาคม 2021
27 กุมภาพันธ์ 2022
49 ตอน • เป็นผลงานฉลองครบรอบซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ 45 ผลงาน
เป็นครั้งแรกที่สมาชิกในทีมมีมนุษย์เพียง 1 คนและมีหุ่นยนต์ 4 ตัว[4]• เป็นเรื่องแรกที่มีพระเอกของเรื่องไม่ใช่สีแดง แต่เป็นสีขาว
46 ขบวนการอวาทาโร่
ดงบราเธอร์ส
6 มีนาคม 2022
26 กุมภาพันธ์ 2023
50 ตอน • เป็นผลงานเรื่องแรกที่นำ CG มาใช้กับตัวละครนักรบ

• เป็นขบวนการแรกที่นักรบสีชมพูเป็นเพศชาย

47 ขบวนการจอมราชัน
คิงโอเจอร์
5 มีนาคม 2023
25 กุมภาพันธ์ 2024
50 ตอน • เป็นผลงานที่ใช้ CG เป็นหลัก ในการสร้างโลกสมมติ และในตอนที่ 32-33 ได้คอลแลปกับ ขบวนการผู้กล้าไดโนเสาร์ เคียวริวเจอร์

• ครั้งแรกที่ปรากฏนักรบหลักเป็นสีม่วง

48 บาคุอาเกะเซ็นไต
บูนบูมเจอร์
3 มีนาคม 2024

-
50 ตอน
• เป็นผลงานที่ใช้ธีมรถ และล้อรถเป็นจุดเด่น

• คำว่าบาคุอาเกะ (ชื่อไทยยังไม่มีอย่างเป็นทางการ) แปลว่า พุ่งชน

• นักรบเสริมสีม่วงเป็นผู้ชายอีกครั้งหลังจาก ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ (คิงโอเจอร์เป็นนักรบหลักเพศกลาง)

ผลงานนอก
ชื่อ ระยะเวลาออกอากาศ
วันเริ่มออกอากาศ
วันที่สิ้นสุดออกอากาศ
จำนวนตอน รายละเอียดเพิ่มเติม
ซูเปอร์เซ็นไต
VS ซีรีส์เธียร์เตอร์
23 พฤษภาคม 2010
26 ธันวาคม 2010
29 ตอน เป็นการนำ ซูเปอร์เซ็นไต วีซินีม่า มาออกอากาศทางโทรทัศน์
ขบวน (ไม่เป็นทาง) การ
อากิบะเรนเจอร์
6 เมษายน 2012
29 มิถุนายน 2012
13 ตอน องค์ประกอบต่าง ๆ ของเรื่องนี้รวมอยู่ในผลงานที่ไม่เป็นทางการ
ทีมงานและผู้เกี่ยวข้องหลายคนมีส่วนร่วมในซีรีส์นี้
ขบวน (ไม่เป็นทาง) การ
อากิบะเรนเจอร์
ซีซั่น ซือ
5 เมษายน 2013
28 มิถุนายน 2013
13 ตอน เป็นฤดูกาลที่ 2 ของอากิบะเรนเจอร์
พาวเวอร์เรนเจอร์
ไดโนฟอร์ซ
เบรฟ
1 เมษายน 2017
3 มิถุนายน 2017
12 ตอน ผลงานใหม่ที่สร้างขึ้นในประเทศเกาหลี
ประเทศญี่ปุ่นออกฉายในรูปแบบสื่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ท
ศึกดวลเดือด
สุดยอดขบวนการเซ็นไต
17 กุมภาพันธ์ 2019
10 มีนาคม 2019
4 ตอน ออกอากาศต่อจาก ลูแปงเรนเจอร์ VS แพทเรนเจอร์

การขยายตัวของซีรีส์

แก้

กลุ่มตลาดผู้ชม

แก้

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเด็กและกลุ่มครอบครัว แต่เนื่องจาก แบทเทิลฟีเวอร์เจ เป็นซีรีส์ที่อายุมานานกว่า 40 ปีหลังจากที่เว้นวรรคไป 1 ปี ทำให้ตั้งแต่เด็กในยุคนั้นกลายเป็นรุ่นพ่อแม่แล้วดังนั้นการเจาะเข้าไปในกลุ่มอายุที่หลากหลายทำให้เด็กในยุคต่อ ๆ มารู้จักขึ้นเรื่อย ๆ และพ่อแม่บางคนถึงกับนั่งดูกับลูก และมีอารมณ์ร่วมได้ด้วยทีเดียว

การเปลี่ยนแปลงของนักแสดง

แก้

สำหรับนักแสดงของซูเปอร์เซ็นไต ในยุคสมัยต่าง ๆ ถูกแบ่งเปลี่ยนในแต่ละยุค ในช่วงแรกนักแสดงส่วนใหญ่ที่รับบทในช่วงนั้นมีอายุถึง 20 ปีขึ้นไป น้อยที่สุดคือ 13 และ 14 ปี แต่ในปัจจุบันกลุ่มนักแสดงหลักของซูเปอร์เซ็นไตแต่ละเรื่องเน้นไปที่นักแสดงวัยรุ่น เช่นเดียวกันกับมาสค์ไรเดอร์ยุคเฮเซย์ และกลายเป็นผลงานประตูสู่เข้าวงการบันเทิงไปอีกด้วย

การเปลี่ยนแปลงของ โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์

แก้

ฮิมิทสึเซ็นไต โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต ทั้ง 2 เรื่องเคยถูกตั้งข้อสันนิฐานว่าถูกนับสารบบเป็นซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ด้วยกันหรือไม่

หลังจากที่แจ็คเกอร์ออกอากาศสิ้นสุดลง โตเอะได้ร่วมมือกับมาร์เวลโปรดักชันส์โดยได้นำตัวละครจากมาร์เวลคอมิกส์มาทำผลงานใหม่นั่นก็คือสไปเดอร์แมนซึ่งเป็นผลงานหนังสือการ์ตูนคอมิกของอเมริกัน ซึ่งได้ถูกปรับรูปแบบเป็นภาพยนตร์สเปเชียลเอฟเฟกต์หรือโทคุซัทสึ รูปแบบฮีโร่แปลงร่างของญี่ปุ่นรวมถึงมีการเพิ่มหุ่นรบต่อสู้ทำให้มีความนิยมและรู้จักมากขึ้น และด้วยการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมจากอเมริกันคอมิกเป็นวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาร์เวลจึงทำผลงานร่วมกับโตเอะอีกครั้งซึ่งเรื่องที่ 2 ที่ทำคือ แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ซึ่งได้นำหุ่นยนต์ยักษ์มาต่อสู้อีกครั้งรวมถึงเป็นผลงานต้นฉบับของโตเอะพร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อผู้บทประพันธ์จาก อิชิโนโมริ โชทาโร่ เป็น ฮัตเตะ ซาบุโร่ และด้วยเหตุดังกล่าวทำให้โกเรนเจอร์และแจ็คเกอร์ ถูกตั้งเป็นฮีโร่กลุ่มทีมแทน [5]

ชื่อ ซูเปอร์เซ็นไต ถูกใช้ครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1981 ในช่วงที่ ขบวนการสุริยะ ซันวัลคัน ยังออกอากาศในขณะนั้น ซึ่งสื่อถูกนำไปตีพิมพ์และถูกใช้ชื่อนี้ในสื่ออื่น ๆ แต่ก็ยังไม่ได้มีการระบุว่าโกเรนเจอร์หรือแบทเทิลฟีเวอร์ เจ เรื่องไหนเป็นผลงานเรื่องแรก แต่อย่างไรก็ตามในช่วงยุคปี 1980 เมื่อแบทเทิลฟีเวอร์ เจ เริ่มมีการพูดถึงมากขึ้น ทำให้ในปี ค.ศ. 1988 ในช่วงที่ โจจูเซ็นไต ไลฟ์แมน ออกอากาศ ได้มีโลโก้เฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี ซูเปอร์เซ็นไต (スーパー戦隊10th) และได้ถูกประกาศว่า แบทเทิลฟีเวอร์ เจ เป็นผลงานเรื่องแรกของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์

แต่ว่าในช่วงยุค 1990 โกเรนเจอร์ และ แจ็คเกอร์ ได้ถูกเรื่มนับเป็นผลงานซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์อย่างเป็นทางการ ในช่วงที่ ขบวนการห้าดาว ไดเรนเจอร์ ออกอากาศเมื่อปี ค.ศ. 1993 ประกอบกับครบรอบ 15 ปีของซูเปอร์เซ็นไต ทำให้ผลงานทั้งสองถูกเรียกเป็น สุดยอดขบวนการในศตวรรษทั้งหมด (超世紀全戦隊) จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ. 1995 ขบวนการพลังมหัศจรรย์ โอเรนเจอร์ ได้มีตัวอย่างภาพยนตร์และประกาศว่าเป็นผลงานครบรอบ 20 ปีซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ โดยนับรวมปีที่โกเรนเจอร์ออกอากาศเป็นครั้งแรก ทำให้ทั้ง 2 เรื่องถูกนับรวมกันเป็นผลงานของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์อย่างเป็นทางการ และในปี ค.ศ. 2000 ช่วงที่ ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ ออกอากาศ ได้มีโลโก้ของซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ที่ปรากฏในเพลงโอเพนนิงของเรื่อง (หรือเริ่มเรื่อง) ทำให้ซีรีส์ทั้งสองถูกนับอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน

ตัวละคร

แก้

ชุดแปลงร่างของสีและบทบาทที่ปรากฏ

แก้

จากผลงานเรื่องแรก ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ได้ตั้งกำหนดอุปลักษณ์นิสัยของสมาชิกของขบวนการ ซึ่งจะมีความสดใสและมีชีวิตชีวาตามเนื้อหาของเรื่อง ประกอบกับช่วงปี ค.ศ. 1975 ที่เริ่มมีการออกอากาศทางโทรทัศน์ด้วยจอสีทำให้ผู้ชมเริ่มสนใจและน่าติดตามมากขึ้น

สมาชิกของโกเรนเจอร์แต่ละคนมีบทบาทต่อไปนี้

  •   สีแดง → หัวหน้า
  •   สีน้ำเงิน → รองหัวหน้า
  •   สีเหลือง → พละกำลัง
  •   สีชมพู → นางเอก
  •   สีเขียว → นักรบใสซื่อ

ในผลงานเรื่องที่ 3 แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ก็ได้ทำส่วนหน้ากากที่มีลักษณะใบหน้าคนขึ้นมา ตามด้วย ขบวนการไฟฟ้า เด็นจิแมน ที่ได้แก้ไขรูปแบบหน้ากาก

สีพื้นฐาน

แก้
  สีแดง หรือ เรด
สีหลักของเรื่อง มีลักษณะภาพลักษณ์ของตัวละครคือมักจะเป็นลีดเดอร์หรือหัวหน้าทีมของขบวนการแต่ละขบวนการรวมถึงเป็นตัวเอกของเรื่อง แต่มีบางขบวนการที่สีอื่นรับหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมแทนสีแดงอย่าง ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ที่มีสีขาวเป็นหัวหน้าทีม, ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์ ที่มีสีดำเป็นหัวหน้าทีม, ขบวนการจอมยุทธสรรพสัตว์ เกคิเรนเจอร์ ที่มีสีเหลืองเป็นหัวหน้าทีม
ใน ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ ไทม์ไฟเยอร์ที่มีชุดสีแดงเหมือนกับไทม์เรด ที่เป็นนักรบเสริม เป็นเรื่องแรกที่ใช้สีเดียวกัน[6]
ใน ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ ได้ปรากฏนักรบสีแดงที่เป็นผู้หญิงในช่วงท้ายเรื่อง
ใน ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ มีชิชิเรดกับโฮโอโซลเจอร์ ที่เป็นสีแดงเหมือนกัน แต่ว่าเฉดสีของทั้ง 2 นั้นจะต่างกันโดยโฮโอโซลเจอร์เป็นสีแดงเข้ม[7]
นอกจากนี้ ขบวนการจอมโจร ลูแปงเรนเจอร์ VS ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ ที่มีสองขบวนการในเรื่องมีทั้ง ลูแปงเรด และ แพทเรนหมายเลข 1 ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมของขบวนการทั้ง 2
อย่างไรก็ตาม ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ ได้ใช้สีขาวเป็นหัวหน้าทีม โดยสีแดงอย่าง เซ็นไคจูรัน เป็นนักรบคนแรกที่ไม่ได้อยู่ตรงกลาง[8]
  สีน้ำเงิน หรือ บลู
สีหลักของเรื่องเช่นเดียวกับสีแดง บทบาทหลักส่วนใหญ่มักจะเป็นซับลีดเดอร์หรือรองหัวหน้าทีมของขบวนการ ยกเว้น ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ ที่ไม่มีสีนี้ รวมถึงมีคาร์แรคเตอร์ภาพลักษณ์ที่มีความเท่และเฉียบคม รวมถึงมีความสามารถต่อสู้ด้วยความเร็วเป็นหลัก
ในขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน สีน้ำเงินถูกใช้เป็นนักรบหญิงเป็นคนแรก
ชุดสีน้ำเงินที่ปรากฏมี 2 สีหลักคือสีน้ำเงินเข้ม   และสีฟ้า   ซึ่งชุดสีน้ำเงินเข้มคือสีมาตรฐานของทีมหลัก ส่วนชุดสีฟ้ามีอยู่ด้วยกันถึง 4 คนคือ บลูสวอลโล่ จากขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน, นินจาบลู จากขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์, เฮอร์ริเคนบลู จากขบวนการนินจาวายุ เฮอร์ริเคนเจอร์, มาจิบลู จากขบวนการเวทมนตร์ มาจิเรนเจอร์ แต่หลังจากที่มีเคียวริวไซอันทำให้ชุดสีฟ้าถูกแยกสีจากสีน้ำเงินไปในที่สุด
  สีเหลือง หรือ เยลโล่
สีหลักของเรื่องในช่วงที่โกเรนเจอร์ใช้มีความหมายภาพรวมคือชอบแกงกะหรี่ซึ่งตรงกับตัวละคร โออิวะ ไดตะ / คิเรนเจอร์ จากขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ และ เฮียว อาซาโอะ / วัลแพนเธอร์ จากขบวนการสุริยะ ซันวัลแคน นอกจากนี้ภาพลักษณ์ของนักรบสีเหลืองยังมีรูปลักษณ์ที่มีลักษณะอ้วนท้วมซึ่งก็มาจากคิเรนเจอร์เช่นกันซึ่งมีตัวละครที่ใช้รูปแบบนี้ตามมาอย่าง คิจิมะ ฟุโตชิ / โกกุลเยลโล่ จากขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ และ โออิชิ ไรตะ / เยลโล่โอลว์ จากขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน
ในขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน สีเหลืองถูกตั้งให้เป็นนักสู้หญิงคนแรกและทำให้มีฮีโร่หญิงในทีมถึงสองคน และเป็นสีที่คู่กับสีชมพูมากที่สุด และในยุคช่วงปี ค.ศ 2000 ถึง ค.ศ. 2010 สีเหลืองส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง แต่ว่าในเคียวริวเจอร์กลับไม่มีสีเหลืองที่เป็นสมาชิกหลักเนื่องจากว่า เพื่อเพิ่มอัตราส่วนของสมาชิกชาย เพราะภาพรวมของนักสู้หญิงสีเหลืองที่จัดขึ้นในปีที่ผ่านมายังไม่เหมาะสม[9][10]
  สีชมพู หรือ พิงค์
สีหลักของเรื่องมีลักษณะคาร์แรคเตอร์จะเป็นผู้หญิงนุ่มนวลอ่อนหวานแต่มีพลังต่อสู้ แต่ถ้ามีสีเหลืองผู้หญิงที่มีลักษณะตัวละครที่เน้นทางพลังจะสีชมพูจะเป็นคาร์แรคเตอร์ที่มีลักษณะมีความเป็นผู้ใหญ่ หรือถ้าเป็นสีน้ำเงินผู้หญิง ลักษณะตัวละครของสีชมพูก็จะกลายเป็นคนมีน้ำใจและอ่อนโยน
สีนี้เป็นสีเฉพาะของตัวละครที่เป็นผู้หญิง ยกเว้นตัวละครของ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ ที่เป็นชุดคอสเพลย์ของ โมริ มาริโอะ ที่ใช้ชื่อว่า จูโอฮิวแมน จนกระทั่งได้มี คิจิบราเธอร์ จาก ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส เป็นนักรบสีชมพูผู้ชายคนแรกในประวัติศาสตร์ของซีรีส์อย่างเป็นทางการ[11]
สีชุดแรกของสีชมพูจะเป็นสีชมพูอ่อน   แต่ในขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์เป็นต้นไปได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นสีชมพูบานเย็น   แทน
  สีเขียว หรือ กรีน
สีหลักของเรื่อง ในอดีตนั้นสีเขียวไม่เข้ากับสีดำ เนื่องจากในการสร้างเคยเลือกสีดำเป็นสีหลักมาก่อน ซึ่งสีโทนเข้มในตอนนั้นมีสีเขียวและสีดำ สุดท้ายถูกใช้เป็นสีเขียวเนื่องจากเป็นสีเข้มที่มีความสดใสกว่าสีดำ[12] ใน แฟลชแมน กรีนแฟลชได้ถูกเป็นตำแหน่งรองหัวหน้าทีม แทนสีดำ ที่ถูกใช้ต่อเนื่องมาแล้ว ยกเว้นไบโอแมนที่ใช้สีเขียว
ในขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ได้มีนักรบที่เพิ่มเติมถึง 2 คนและได้ลองสิ่งที่ไม่เคยทำมานั่นก็คือได้นำสีเขียวและสีดำมาปรากฏตัวพร้อมกัน
ในด้านลักษณะภาพลักษณ์ของตัวละครในแต่ละเรื่อง จะเน้นทางอิสระไม่ตายตัวแบบสีอื่น ๆ
คาเมเลียนกรีน จากขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ เป็นนักรบสีเขียวผู้หญิงคนแรก
ด้านชุดสีเขียวมีเฉดสีหลักคือสีเขียวปกติ   และ สีเขียวมะนาว   ซึ่งสีเขียวมะนาวถูกใช้ครั้งแรกในทคคิวเจอร์ ชื่อทคคิวหมายเลข 4 และถูกใช้ต่ออีกคือจูโออิเลฟเฟนท์ จากจูโอเจอร์, คาเมเลียนกรีน จากคิวเรนเจอร์ ต่อมาขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ เฉดสีเขียวปกติได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้ง
  สีดำ หรือ แบล็ค
ปรากฏตัวครั้งแรกใน แบทเทิลฟีเวอร์ J ชื่อแบทเทิลเคนย่า แต่ว่าในช่วงนั้นแบทเทิลเคนย่าไม่ได้ถูกจัดเป็นสีดำแต่ได้ถูกกำหนดว่าเป็นสีเขียว และถูกประกาศไว้ว่าโกกุลแบล็คแห่งขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์เป็นนักรบสีดำเป็นคนแรก[13] โดยภาพลักษณ์ของนักรบสีดำคือตรงกันข้ามกับสีแดง และบางครั้งจะเป็นซับลีดเดอร์หรือรองหัวหน้าทีม
  สีขาว หรือ ไวท์
ปรากฏตัวครั้งแรกใน แจ็คเกอร์ ชื่อบิ๊กวัน[14] เป็นสีหลักที่ใช้น้อยที่สุดเนื่องจากว่าเป็นสีที่ทำให้เห็นคราบสกปรกเยอะที่สุดในการถ่ายทำในตอนกลางวัน และโดยเฉพาะนางเอกอย่างนินจาไวท์จาก ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ต้องเขียนบทบาทที่ให้เด่นและชัดเพื่อหลีกเลี่ยงในการถ่ายทำ
บทบาทของสีขาวมักจะพิเศษกว่าสีหลักและเป็นที่น่าจดจำ นอกจากนี้นักรบที่เป็นสีขาวบางคนไม่ไม่ใส่ชื่อ ไวท์ เช่น บิ๊กวัน เชนจ์เมอร์เมด คิบะเรนเจอร์ อาบะเรคิลเลอร์ เดกะเบรก มาจิมาเธอร์ จูโอไทเกอร์ และเซ็นไคเซอร์

สีเมทาลิค

แก้
  สีเงิน หรือ ซิลเวอร์
  สีทอง หรือ โกลด์
สีเงินปรากฏตัวครั้งแรกในเมกะเรนเจอร์ ชื่อเมกะซิลเวอร์ ส่วนสีทองปรากฏตัวครั้งแรกในมาจิเรนเจอร์ชื่อมาจิไชน์
ทั้งสองสีส่วนมากเป็นนักรบที่เพิ่มเติม แต่ไม่ได้ถูกใช้มากเท่าไรนักในยุค 2000 อย่างไรก็ตาม ขบวนการอวกาศ คิวเรนเจอร์ ได้มี เท็นบิงโกลด์ และ เฮบิสึไคซิลเวอร์ เข้ามาเป็นนักรบหลักอีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีนักรบที่สีมากกว่า 1 สีเพียงคนเดียวด้วยอย่าง โกไคซิลเวอร์ โกลด์โหมด จาก ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์, จูโอเดอะเวิลด์ จากขบวนการสัตว์ป่า จูโอเจอร์, ลูแปงเอ็กซ์ / แพทเรนเอ็กซ์ จาก ขบวนการจอมโจร ลูแปงเรนเจอร์ VS ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์

สีอื่น ๆ

แก้
  สีส้ม หรือ ออเรนจ์
ปรากฏตัวครั้งแรกใน แบทเทิลฟีเวอร์ ชื่อแบทเทิลครอสแซค เคยเป็นสีที่ถูกใช้แทนสีเหลือง แต่ไม่ค่อยใช้เท่าไร อย่างไรก็ตามสีส้มได้กลับมาใช้อีกครั้งในขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ ชื่อทคคิวหมายเลข 6[15] และ ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ชื่อ ซาโซริออเรนจ์ ทั้งนี้ชื่อออเรนจ์ถูกใช้อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก[16]
นอกจากนี้ยังมี เดกะสวอน จาก ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์ เดกะเรนเจอร์ แต่เป็นสีชุดเป็นสีส้มและสีขาว[17]
  สีม่วง หรือ ไวโอเลต
ปรากฏตัวครั้งแรกใน เกคิเรนเจอร์ ชื่อเกคิไวโอเลต นอกจากนี้นักรบสีม่วงที่ถูกเรียกว่าเพอเพิลมีอยู่นั่นก็คือซูเปอร์ ทคคิวหมายเลข 7 จากขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์[18] และปาปิญองโอเจอร์ จากขบวนการราชัน คิงโอเจอร์ โดยเป็นสีม่วงโทนอ่อน[19]
  สีแดงม่วง หรือ คริมสัน
ปรากฏตัวครั้งแรกใน เฮอร์ริเคนเจอร์ ชื่อคาบุโตะไรเจอร์ แต่เดิมนั้นเคยถูกกำหนดว่าเป็นสีแดง แต่ว่ากลับเป็นสีที่เข้มกว่าเฮอร์ริเคนเรด ทำให้ถูกแยกสีเป็นสีใหม่[6]
  สีกรมท่า หรือ เนวี่
ปรากฏตัวครั้งแรกใน เฮอร์ริเคนเจอร์ ชื่อคุวากะไรเจอร์ เคยอยู่เป็นกลุ่มสีน้ำเงินมาก่อน แต่สีต่างกับเฮอร์ริเคนบลูเพราะสีโทนเข้มมืดกว่า[6] นอกจากนี้โฮโอโซลเจอร์ จากคิวเรนเจอร์ ยังใช้ชุดนี้ควบกับสีแดงอีกด้วย[7]
  สีเทา หรือ เกรย์
ปรากฏตัวครั้งแรกใน เคียวริวเจอร์ ชื่อเคียวริวเกรย์
  สีฟ้าอ่อน หรือ ไซอันและสกายบลู
ปรากฏตัวครั้งแรกใน เคียวริวเจอร์ ชื่อเคียวริวไซอัน
  สีน้ำตาล หรือ บราวน์
ปรากฏตัวครั้งแรกใน ริวโซลเจอร์ ชื่อริวโซลบราวน์
สีที่ไม่ระบุชัดเจน
มีชุดสีที่ไม่ระบุชัดเจนคือเดกะมาสเตอร์ จาก เดกะเรนเจอร์ เดิมเคยถูกนับเป็นนักรบสีสตีลบลู   แต่ทว่าในเกมกลับถูกนับเป็นสีดำแทน[20]

อุปกรณ์แปลงร่าง

แก้

ในการแปลงร่างของขบวนการต่าง ๆ จะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยขบวนการแรกอย่างโกเรนเจอร์จะเป็นการแปลงร่างด้วยการซ่อนชุดไว้ที่ใดที่หนึ่งเพื่อทำการแปลงร่าง และไม่มีอุปกรณ์ในการแปลงร่างแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามขบวนการที่ 2 แจ็คเกอร์ได้มีรูปแบบการแปลงร่างนั่นก็คือตู้แคปซูลเพิ่มพลัง ซึ่งก็ไม่ใช่อุปกรณ์แปลงร่าง[21]

ในขบวนการที่ 3 แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ได้เริ่มมีอุปกรณ์แปลงร่างเป็นครั้งแรก โดยการแปลงร่างจะพูดว่า ฟีเวอร์ เพื่อเรียกชุดในการสวมใส่ซึ่งจะมาในการพุ่งจากตัวเครื่องมือสื่อสารจากแขน และขบวนการที่ 4 เด็นจิแมนก็มีชื่ออุปกรณ์แปลงร่างว่า เด็นจิริงก์

ในขบวนการที่ 4 ซันวัลคันมีอุปกรณ์แปลงร่างที่ชื่อว่า วัลคันเบรซ ซึ่งมีลักษณะเป็นกำไลข้อมือและกลายเป็นอุปกรณ์แปลงร่างแบบมาตรฐานของซูเปอร์เซ็นไต เนื่องจากว่าในของเล่นมีฟังก์ชันเกี่ยวกับนาฬิกาทำให้เด็กสนใจ โดยสินค้าของเล่นที่ออกมาครั้งแรกคือ โกกุลเบรซจากขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ ในปี ค.ศ. 1982 อย่างไรก็ตามในปี ค.ศ. 1988 ขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ก็มีอุปกรณ์แปลงร่างกำไลข้อมือสองข้างทั้งด้านซ้ายด้านขวาเรียกว่า ทวินเบรซ ซึ่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยนลูกเล่นให้น่าสนใจยิ่งขึ้น

ในปี ค.ศ. 1997 ขบวนการแม่เหล็กไฟฟ้า เมกะเรนเจอร์ ได้มีนักรบที่ชื่อว่าเมกะซิลเวอร์ ที่มีอุปกรณ์แปลงร่างที่ชื่อว่า เคย์ไทเซอร์ ซึ่งมีรูปร่างเป็นโทรศัพท์มือถือรูปแบบบานพับ[21] ทำให้ขบวนการในปี ค.ศ. 2001 อย่างขบวนการสรรพสัตว์ กาโอเรนเจอร์ ก็ได้มีอุปกรณ์แปลงร่างรูปแบบโทรศัพท์มือถือรุ่นบานพับตามมาอย่าง G โฟน[22] ในปี ค.ศ. 2005 ขบวนการจอมเวทย์ มาจิเรนเจอร์ ก็มีมาจิโฟนตามมาอีก นอกจากนี้มีโทรศัพท์มือถือรูปแบบสมาร์ตโฟนเข้ามาเป็นอุปกรณ์หลักอย่างขบวนการผู้กล้าไดโนเสาร์ เคียวริวเจอร์ ในปี ค.ศ. 2013 มีอุปกรณ์ที่มีชื่อว่า จูเด็นโมบัคเคิล, ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ ของปี ค.ศ. 2014 มีเรนโบว์พาส และมีอุปกรณ์แปลงร่างของทคคิวหมายเลข 6 และ 7 ที่มีชื่อว่าแอปพลิเชนเจอร์

นางเอก

แก้

นางเอกปกติไม่ค่อยจะมีสักเท่าไหร่ ใน ขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน แบ่ง Position ชัดเจนว่า ตำแหน่งนี้ใครเป็นประเภทไหน ซึ่งตกอยู่ที่ไวท์สวอน หลังจากนั้นไม่มีขบวนการไหนที่มีนางเอกแบบตายตัว

การเปลี่ยนตัวสมาชิก

แก้

เกิดขึ้นครั้งแรกจาก ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ตัวละครคิเรนเจอร์คนแรก รู้สึกไม่ค่อยสบายจึงทำให้รักษาตัวชั่วขณะ จึงทำให้คนที่ 2 ต้องแสดงแทนแต่ว่าต้องตายในเรื่อง เพื่อคิเรนเจอร์คนแรกกลับมาแสดงจนจบเรื่อง หลังจากนั้น คนแสดงคิเรนเจอร์คนแรกก็เสียชีวิตอย่างสงบ แบทเทิลฟีเวอร์ ก็มีตัวละครเปลี่ยน 2ตัว แบทเทิลคอนเซ็ท และ มิสอเมริกา ขบวนการสุริยะ ซันวัลคัน เคยมีเปลี่ยนตัวนักแสดงสีแดง เพราะค่าตัวนักแสดงน้อยกว่าความเป็นจริง และที่เห็นล่าสุดก็คือ ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน ที่ เยลโล่โฟร์คนแรกขอถอนตัวและรีไทร์จากวงการเพื่อทำอาชีพอื่น จนต้องเปลี่ยนเนื้องเรื่องแบบกะทันหัน และเปลี่ยนตัวคนที่2 ก่อนเปิดตัวมาก่อนหน้านี้

นักรบเสริม

แก้

นักรบเสริมคือนักรบที่ถูกเพิ่มเติมจากกลุ่มหลักและมีความสามารถที่แตกต่างกับสมาชิกกลุ่มหลักหรือสมาชิกเริ่มต้น[23] และถ้ามีขบวนการที่มีสมาชิกหลักทั้ง 5 คนจะถูกเรียกว่า นักรบคนที่ 6 (6人目の戦士) [24][25]

ในผลงานลำดับที่ 2 แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต ได้มีนักรบเสริมที่ปรากฏตัวนั่นก็คือบิ๊กวันจากเดิมทีมีนักรบถึง 4 คนและในผลงานลำดับที่ 12 ขบวนการสุดยอดสรรพสัตว์ ไลฟ์แมน ได้เพิ่มแบล็คไบซันกับกรีนไซ จากเดิมที่มีนักรบ 3 คนซึ่งนักรบที่ถูกกล่าวมาเป็นนักรบเสริมที่เป็นจุดเริ่มต้นที่มีการเพิ่มสมาชิกหลักของทีม[23]

แนวคิดนักรบคนที่ 6 เริ่มถูกใช้ในผลงานลำดับที่ 8 ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน ชื่อนักรบแม็กเน่[26] แต่ว่านักรบแม็กเน่เป็นนักรบที่ถูกสร้างจากฝ่ายอธรรมซึ่งต่างจากฝ่ายธรรมะ[27] นอกจากนี้ผลงานลำดับที่ 11 ขบวนการแสง มาสค์แมน ก็ได้มี X1 มาสค์ ปรากฏตัวเป็นนักรบคนที่ 6 เป็นครั้งแรก แม้ว่าจะถูกยอมรับว่าเป็นนักรบคนที่ 6 แต่ก็ปรากฏตัวเพียงแค่ตอนเดียวเท่านั้น[26]

อย่างไรก็ตามนักรบคนที่ 6 ได้ถูกกลับมาใช้จริง ๆ เป็นครั้งแรกนั่นก็คือ ขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ ผลงานลำดับที่ 16 ในปี ค.ศ. 1992 มีชื่อว่า ดราก้อนเรนเจอร์ ซึ่งในการปรากฏตัวครั้งแรกได้ปรากฏตัวต่อสู้กับสมาชิกหลักทั้ง 5 คนก่อน แต่ด้วยความนิยมของดราก้อนเรนเจอร์ทำให้กระแสนักรบคนที่ 6 เริ่มนิยมมากขึ้นและนอกจากนี้รูปแบบนักรบหลักทั้ง 5 คนได้ถูกปรับเปลี่ยนจากเดิมนั่นก็คือการมีนักรบเสริมคนที่ 6 เข้ามาเพิ่มด้วย[24]

ทั้งนี้คุณสมบัติหลักของนักรบเสริมมีดังต่อไปนี้

การออกแบบที่แตกต่างจากสมาชิกหลัก
ดราก้อนเรนเจอร์ จากขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์ สวมชุดเกราะเพื่อแยกความแตกต่างกับสมาชิกหลัก[28] ซึ่งนักรบเสริมคนต่อมาได้มีการทำแนวคิดนี้เป็นหลัก
ยกเว้นอัศวินดำ จากขบวนการคอสมิก กิงกะแมน ที่ไม่ใช่ชุดแบบเดียวกับสมาชิกหลัก[23]
นอกจากนี้ซิกนอลแมนจากขบวนการรถซิ่ง คาร์เรนเจอร์ เป็นนักรบที่ไม่มีร่างแปลงและมีร่างคนตั้งแต่แรก ได้ถูกนับว่าเป็น บังไกฮีโร่ (番外ヒーロー) ซึ่งถูกประกาศในช่วงสเปเชียลไฟล์ของโบเคนเจอร์ ปัจจุบันนักรบที่ไม่ได้เป็นตัวละครปกติจะถูกถือว่าเป็น นักรบพิเศษ (番外戦士)[29]

เบื้องหลังในการสร้างผลงานซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์

แก้

ซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ มีการเขียนโครงเรื่อง ธีมเรื่องเฉพาะ และการเขียนบทประจำตอนต่างๆ ใช้เวลาต่อเรื่องประมาณหลายปี กว่าจะออดิชั่นตัวละครให้เหมาะสมตัวนั้นๆ ผู้เขียนบทส่วนใหญ่ น้อยนักที่จะเป็นผู้หญิง หรือ สลับเขียนบทในแต่ละตอนเช่น คนเขียนเมนหลักไปตอนนี้ และคนถัดไปโครงเรื่องจะเป็นแบบไหน แต่ถ้าเหตุที่มีนักแสดงถอนตัวกะทันหัน ทีมงานต้องเปลี่ยนเนื้อเรื่องโดยที่ไม่ได้ทันตั้งตัว

การถ่ายทำ ส่วนมากจะเริ่มถ่ายทำฤดูหนาว และเปิดตัวนักแสดงในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ และถ่ายทำไป ฉายไปเช่นกัน ส่วนฉากต่อสู้ มักจะใช้สูทแอทเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านแอคชั่นโดยตรง จากสถาบันชั้นนำ ทั้งฮีโร่ในเรื่อง สัตว์ประหลายประจำตอน และลูกสมุนประจำขบวนการนั้นๆ และ มีแผนกต่างๆอย่างชัดเจนเกี่ยวกับการสร้างซูเปอร์เซนไตซีรีส์ เช่น ออกแบบตัวละคร กำกับคิวแอคชั่น กำกับเทคนิคพิเศษ เทคนิคพิเศษเฉพาะทาง ฯลฯ ซึ่งมีองค์กรทำเทคนิคพิเศษสัญชาติไทยได้ทำเทคนิคพิเศษเกี่ยวกับซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์มาแล้ว

ผลงานที่เกี่ยวข้องกับซีรีส์

แก้

ภาพยนตร์

แก้
ชื่อเรื่อง อยู่ช่วงโปรแกรม วันที่ออกฉาย (ปี ค.ศ.) ร่างพิเศษไอเท็มยานพาหนะที่ปรากฏตัวเฉพาะในภาพยนตร์ รายละเอียด
ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์
(秘密戦隊ゴレンジャー)
โตเอะมังงะมัทสึริ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1975 เป็นการนำตอนที่ 6 มาฉายอีกครั้ง
ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ป้อมปราการสีฟ้าอันยิ่งใหญ่
(秘密戦隊ゴレンジャー 青い大要塞)
โตเอะมังงะมัทสึริ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1975 เป็นการนำตอนที่ 15 มาฉายอีกครั้ง
ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ความโหดร้ายสีแดง!
(秘密戦隊ゴレンジャー 真赤な猛進撃!)
โตเอะมังงะมัทสึริ 20 มีนาคม ค.ศ. 1976 เป็นการนำตอนที่ 36 มาฉายอีกครั้ง
ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ ระเบิดเฮอร์ริเคน
(秘密戦隊ゴレンジャー 爆弾ハリケーン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1976
ขบวนการห้าจอมพิฆาต โกเรนเจอร์ การประทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟ
(秘密戦隊ゴレンジャー 火の山最期の大噴火)
โตเอะมังงะมัทสึริฤดูหนาว 19 ธันวาคม ค.ศ. 1976 เป็นการนำตอนที่ 54 มาฉายอีกครั้ง
แจ็คเกอร์ เด็นเกคิไต
(ジャッカー電撃隊)
โตเอะมังงะมัทสึริ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1977 เป็นการนำตอนที่ 7 มาฉายอีกครั้ง
แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต VS ฮิมิทสึเซ็นไต โกเรนเจอร์
(ジャッカー電撃隊VSゴレンジャー)
โตเอะมังงะมัทสึริ 18 มีนาคม ค.ศ. 1978
แบทเทิลฟีเวอร์ J
(バトルフィーバーJ)
โตเอะมังงะมัทสึริ
ช่วงวันรำลึกเด็กแห่งปี '79
21 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 เป็นการนำตอนที่ 5 มาฉายอีกครั้ง
ขบวนการไฟฟ้า เด็นจิแมน
(電子戦隊デンジマン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1980
ขบวนการสุริยะ ซันวัลคัน
(太陽戦隊サンバルカン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1981
ขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์
(大戦隊ゴーグルファイブ)
โตเอะมังงะมัทสึริ 30 มีนาคม ค.ศ. 1982
ขบวนการวิทยาศาสตร์ ไดน่าแมน
(科学戦隊ダイナマン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 13 มีนาคม ค.ศ. 1983 เป็นเรื่องราวต่อจากทีวีซีรีส์ตอนที่ 32
ขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน
(超電子バイオマン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1984
ขบวนการนักสู้สายฟ้า เชนจ์แมน
(電撃戦隊チェンジマン)
โตเอะมังงะมัทสึริ
รวมผลงานทั้ง 4 เรื่องที่ดีที่สุดในช่วงปิดเทอมฤดูใบไม้ผลิ!
16 มีนาคม ค.ศ. 1985
ขบวนการนักสู้สายฟ้า เชนจ์แมน ชัทเทิลเบส! ช่วงเวลาวิกฤติ!
(電撃戦隊チェンジマン シャトルベース!危機一髪!)
โตเอะมังงะมัทสึริ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1985
ขบวนการซูเปอร์โนวา แฟลชแมน
(超新星フラッシュマン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 15 มีนาคม ค.ศ. 1986
ขบวนการซูเปอร์โนวา แฟลชแมน โต้กลับครั้งใหญ่! ไททันบอย
(超新星フラッシュマン 大逆転!タイタンボーイ)
โตเอะมังงะมัทสึริ 14 มีนาคม ค.ศ. 1987 เป็นการนำตอนที่ 15 - 18 มาตัดต่อใหม่
ขบวนการแสง มาสค์แมน
(光戦隊マスクマン)
โตเอะมังงะมัทสึริ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 1987
ขบวนการความเร็วสูง เทอร์โบเรนเจอร์
(高速戦隊ターボレンジャー)
โตเอะมังงะมัทสึริ 18 มีนาคม ค.ศ. 1989
ขบวนการห้าดาว ไดเรนเจอร์
(五星戦隊ダイレンジャー)
โตเอะซูเปอร์ฮีโร่แฟร์ 17 เมษายน ค.ศ. 1993
ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์
(忍者戦隊カクレンジャー)
โตเอะซูเปอร์ฮีโร่แฟร์ 16 เมษายน ค.ศ. 1994
ซูเปอร์เซ็นไตเวิลด์
(スーパー戦隊ワールド)
โตเอะซินีม่าแฟนตาซี’94 6 สิงหาคม ค.ศ. 1994
ขบวนการพลังมหัศจรรย์ โอเรนเจอร์
(超力戦隊オーレンジャー)
โตเอะซูเปอร์ฮีโร่แฟร์ 15 เมษายน ค.ศ. 1995
ขบวนการสรรพสัตว์ กาโอเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ฝ่ามิติเกาะมหาประลัย
(劇場版 百獣戦隊ガオレンジャー 火の山、吼える)
22 กันยายน ค.ศ. 2001 กาโอคอง
กาโอไนท์
ขบวนการนินจาวายุ เฮอร์ริเคนเจอร์ เดอะมูวี่ เจ้าหญิงวิญญาณอมตะ
(忍風戦隊ハリケンジャー シュシュッと THE MOVIE)
17 สิงหาคม ค.ศ. 2002 ไทรคอนดอร์
เท็นไรเซ็มปูจิน
ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ซัมเมอร์สยองเย็นชื่นฉ่ำพลังดาบศักดิ์สิทธิ์
(爆竜戦隊アバレンジャー DELUXE アバレサマーはキンキン中!)
16 สิงหาคม ค.ศ. 2003 บาคุเลเซอร์
คิลเลอร์ อาบะเรนโอ
บาคุเรนโอ
ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์ เดกะเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ฟูลบลาสท์ แอคชั่น
(特捜戦隊デカレンジャー THE MOVIE フルブラスト・アクション)
11 กันยายน ค.ศ. 2004 บลาสท์บัคกี้
เดกะเรนเจอร์โรโบ ฟูลบลาสท์คัสตอม
ขบวนการเวทมนตร์ มาจิเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ตะลุยนรกสุดขอบฟ้า
(魔法戦隊マジレンジャー THE MOVIE インフェルシアの花嫁)
3 กันยายน ค.ศ. 2005 อาชาสวรรค์เขาเดียว ยูนิโกลออน
เซนต์ไคเซอร์
ขบวนการนักผจญภัย โบเคนเจอร์ เดอะมูวี่ ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า
(轟轟戦隊ボウケンジャー THE MOVIE 最強のプレシャス)
5 สิงหาคม ค.ศ. 2006 ไดทันเคน
ขบวนการจอมยุทธสรรพสัตว์ เกคิเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ศึกประจัญบานฟัดสะท้านฮ่องกง
(電影版 獣拳戦隊ゲキレンジャー ネイネイ!ホウホウ!香港大決戦)
4 สิงหาคม ค.ศ. 2007 รินไลอ้อน
รินคาเมเลียน
เกคิรินโทจา
ขบวนการเอนจิน โกออนเจอร์ Bun Bun! Ban Ban! The Movie
(炎神戦隊ゴーオンジャー BUNBUN!BANBAN!劇場BANG!!)
9 สิงหาคม ค.ศ. 2008 เอนจิน เร็ทสึทากะ
เอนจิน ชิชิโนะชิน
เอนจิน สึคิโนวะ
เอนจิน ไดโชกุน
ขบวนการเอนจิน โกออนเจอร์ VS เกคิเรนเจอร์ เดอะมูวี่
(劇場版 炎神戦隊ゴーオンジャーVSゲキレンジャー)
เทศกาลปีใหม่ซูเปอร์เซ็นไต 24 มกราคม ศ.ศ. 2009
ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ ภาคจอเงิน ศึกศาสตราพิชิตไต้หล้า
(侍戦隊シンケンジャー 銀幕版 天下分け目の戦)
8 สิงหาคม ค.ศ. 2009 เคียวริวดิสก์
เคียวริว โอริกามิ
เคียวริว ชินเคนโอ
ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ VS โกออนเจอร์ ฉบับจอเงิน BANG!!
(侍戦隊シンケンジャーVSゴーオンジャー 銀幕BANG!!)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 30 มกราคม ค.ศ. 2010 เป็นภาพยนตร์รูปแบบสามมิติ
ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ Epic on the Movie
(天装戦隊ゴセイジャー エピックON THEムービー)
7 สิงหาคม ค.ศ. 2010 โกเซย์วันเดอร์
โกเซย์คาบูโตะ
โกเซย์คล็อกโคไดล์
โกเซย์อีเลเฟนท์
โกเซย์ดอลฟิน
วันเดอร์ โกเซย์เกรท
เป็นภาพยนตร์รูปแบบสามมิติ
ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ VS ชินเคนเจอร์ เดอะมูฟวี่ ดวลเดือดทูตสวรรค์ท้าซามูไร!
(天装戦隊ゴセイジャーVSシンケンジャー エピックon銀幕)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 22 มกราคม ค.ศ. 2011 แกรนด์ไฮเปอร์ โกเซย์เกรท
โกไคเจอร์ โกเซย์เจอร์ ซุปเปอร์เซนไต 199 ฮีโร่ สุดยอดสงครามประจัญบาน
(ゴーカイジャー ゴセイジャー スーパー戦隊199ヒーロー大決戦)
11 มิถุนายน ค.ศ. 2011 โกเรนโกไคโอ
ขบวนการโจรสลัดโกไคเจอร์ เดอะมูฟวี่ ผจญเรือผีจากฟากฟ้า
(海賊戦隊ゴーカイジャー THE MOVIE 空飛ぶ幽霊船)
6 สิงหาคม ค.ศ. 2011 โกไคโอ ตัวปลอม
ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ VS ตำรวจอวกาศ เกียบัน THE MOVIE
(海賊戦隊ゴーカイジャーVS宇宙刑事ギャバン THE MOVIE)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 21 มกราคม ค.ศ. 2012
คาเมนไรเดอร์ VS ซูเปอร์เซ็นไต ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น
(仮面ライダー×スーパー戦隊 スーパーヒーロー大戦)
ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น 21 เมษายน ค.ศ. 2012 ไรเดอร์คีย์
ร็อกเก็ต โกบัสเตอร์โอ
ร็อกเก็ตดริล โกบัสเตอร์โอ
ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส THE MOVIE ปฏิบัติการปกป้องโตเกียวเอเนอร์ทาวเวอร์!
(特命戦隊ゴーバスターズ THE MOVIE 東京エネタワーを守れ!)
4 สิงหาคม ค.ศ. 2012 FS-0O ฟร็อก
โกบัสเตอร์เคโระโอ
ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์ส VS ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์ THE MOVIE
(特命戦隊ゴーバスターズVS海賊戦隊ゴーカイジャー THE MOVIE)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 19 มกราคม ค.ศ. 2013 บัดดี้รอยด์คีย์
เรนเจอร์โรโบคีย์
โกไคแกลเลียนสีดำ
คาเมนไรเดอร์ x ซูเปอร์เซ็นไต x ตำรวจอวกาศ ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น Z
(仮面ライダー×スーパー戦隊×宇宙刑事 スーパーヒーロー大戦Z)
ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น 27 เมษายน ค.ศ. 2013 เมทัลฮีโร่คีย์
ซูเปอร์เซ็นไตริงก์
มิราเคิลวิซาร์ดคีย์
ขบวนการผู้กล้าไดโนเสาร์ เคียวริวเจอร์ เดอะมูวี่ บทเพลงแห่งความกล้ากาบูรินโจะ
(劇場版 獣電戦隊キョウリュウジャー ガブリンチョ・オブ・ミュージック)
3 สิงหาคม ค.ศ. 2013 กาบุรุอาร์มด์ ออน จูเด็นจิ
เดธริวเจอร์ จูเด็นจิ
โทบัสสปีโน่ จูเด็นจิ
โทบัสสปีโน่
สปิโน่ไดโอ
จูเด็นเซ็นไต เคียวริวเจอร์ VS โกบัสเตอร์ส ศึกไดโนเสาร์ประจัญบาน! มิตรภาพนิจนิรันดร์
(獣電戦隊キョウリュウジャーVSゴーバスターズ 恐竜大決戦! さらば永遠の友よ)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 18 มกราคม ค.ศ. 2014 จูเรนเจอร์ จูเด็นจิ
อาบะเรนเจอร์ จูเด็นจิ
โกบัสเตอร์ส จูเด็นจิ
ทาเทกามิไลอ้อน เคียวริวจิน
เฮย์เซย์ไรเดอร์ VS โชวะไรเดอร์ อภิมหาศึกมาสค์ไรเดอร์ feat.ซุปเปอร์เซ็นไต
(平成ライダー対昭和ライダー 仮面ライダー大戦 feat.スーパー戦隊)
ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น 29 มีนาคม ค.ศ. 2014 เคียวริวเจอร์ เรชชาร์
เดนโอ เรชชาร์
ทคคิวโอ เคียวริวจิน feat. เดนไลเนอร์
ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ เดอะมูวี่ กาแล็คซี่ไลน์ SOS
(烈車戦隊トッキュウジャー THE MOVIE ギャラクシーラインSOS)
19 กรกฎาคม ค.ศ. 2014 ซาฟารีเรชชาร์ (ไลอ้อน)
ซาฟารีเรชชาร์ (อีเกิล)
ซาฟารีเรชชาร์ (ไวลด์แคท)
ซาฟารีเรชชาร์ (อาลิเกเตอร์)
ซาฟารีเรชชาร์ (แพนด้า)
ซาฟารีกาโอ
โจ ทคคิวโอ ชิลด์ & โปริส
ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์ VS เคียวริวเจอร์ THE MOVIE
(烈車戦隊トッキュウジャーVSキョウリュウジャー THE MOVIE)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 17 มกราคม ค.ศ. 2015
มหาศึกฮีโร่ประจัญบาน GP ปะทะ มาสค์ไรเดอร์ หมายเลข 3
(スーパーヒーロー大戦GP 仮面ライダー3号)
ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น 21 มีนาคม ค.ศ. 2015 ไทรโดรอนชูริเคน
ไทรโดรอน (โรโบ)
ชูริเคนจิน ไทรโดรอน
ขบวนการดาวกระจาย นินนินเจอร์ เดอะมูวี่ นายท่านไดโนเสาร์ มวนคำภีร์นินจาที่ยอดเยี่ยม
(手裏剣戦隊ニンニンジャー THE MOVIE 恐竜殿さまアッパレ忍法帖!)
8 สิงหาคม ค.ศ. 2015 ไดโนมารุ
ชูริเคนจิน ไดโน
ขบวนการดาวกระจาย นินนินเจอร์ VS ทคคิวเจอร์ THE MOVIE นินจา อิน วันเดอร์แลนด์
(手裏剣戦隊ニンニンジャーVSトッキュウジャー THE MOVIE 忍者・イン・ワンダーランド)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 23 มกราคม ค.ศ. 2016 ฮาโอทคคิวไดโอ
ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ เดอะมูวี่ วิกฤติละครสัตว์สุดระทึก
(劇場版 動物戦隊ジュウオウジャー ドキドキサーカスパニック!)
6 สิงหาคม ค.ศ. 2016 คิวบ์คอนดอร์
คอนดอร์ไวลด์
ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์ VS นินนินเจอร์ ข้อความจากอนาคต from ซูเปอร์เซ็นไต
(劇場版 動物戦隊ジュウオウジャーVSニンニンジャー 未来からのメッセージ from スーパー戦隊)
เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต 14 มกราคม ค.ศ. 2017 ไวลด์โทไซชูริเคนคิง
มาสค์ไรเดอร์ ปะทะ ซูเปอร์เซ็นไต อภิมหาศึกรวมพลซูเปอร์ฮีโร่!
(仮面ライダー×スーパー戦隊 超スーパーヒーロー大戦)
ซูเปอร์ฮีโร่ไทเซ็น 25 มีนาคม ค.ศ. 2017 ซูเปอร์ฮีโร่การ์ด
ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ เดอะ มูฟวี่ การปะทะกลับของ เกธ อินเดอร์เว
(宇宙戦隊キュウレンジャー THE MOVIE ゲース・インダベーの逆襲)
5 สิงหาคม ค.ศ. 2017 เคลเบรอสคิวทามะ
เคลเบรอสวอยเจอร์
เคลเบริออส
ร่างแปลง การูไบค์
เกียวฉะคิวทามะ
พัมป์คิวทามะ
ขบวนการจอมโจร ลูแปงเรนเจอร์ VS ขบวนการมือปราบ แพทเรนเจอร์ en Film
(快盗戦隊ルパンレンジャーVS警察戦隊パトレンジャー en film)
4 สิงหาคม ค.ศ. 2018 แจ็คพอตสไตรเกอร์
ลูแปงเร็กซ์
ขบวนการอัศวินไดโนเสาร์ ริวโซลเจอร์ THE MOVIE ไทม์สลิป! ไดโนเสาร์ปั่นป่วน!!
(騎士竜戦隊リュウソウジャー THE MOVIE タイムスリップ!恐竜パニック!!)
26 กรกฎาคม ค.ศ. 2019 ไดโนมีโก้
คอบราโก้
บิวบิวโซล
คิชิริวจิน
ขบวนการอัศวินไดโนเสาร์ ริวโซลเจอร์ VS ลูแปงเรนเจอร์ VS แพทเรนเจอร์
(劇場版 騎士竜戦隊リュウソウジャーVSルパンレンジャーVSパトレンジャー)
ซูเปอร์เซ็นไต MOVIE ปาร์ตี้ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ลูแปงโซล
ขบวนการจักรกลเวทมนตร์ คิราเมเจอร์ เอพพิโซด ZERO
(魔進戦隊キラメイジャー エピソードZERO)
มาชิน มัคกะ
ขบวนการมณีมนตรา คิราเมเจอร์ THE MOVIE ศึกแม่มดแห่งฝันร้าย
(魔進戦隊キラメイジャー THE MOVIE ビー・バップ・ドリーム)
ซูเปอร์เซ็นไต MOVIE เรนเจอร์ 2021 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 มาชินโชเวโล่ เคลียร์เรด ver.
คิงเอ็กซ์เพรส ซาบิวน์ดรีมจัมโบ้วิกตอรี่บาซูก้า
เดิมมีกำหนดฉายในวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2020 แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่นทำให้ถูกเลื่อนฉายไป
ขบวนการอัศวินไดโนเสาร์ ริวโซลเจอร์ ภาคพิเศษ มิตรภาพชั่วนิรันดร์
(騎士竜戦隊リュウソウジャー 特別編 メモリー・オブ・ソウルメイツ)
ขบวนการโลกจักรกล เซ็นไคเจอร์ เดอะมูฟวี่ สีแดงรวมพล! ศึกอลวนออลเซ็นไต!!
(機界戦隊ゼンカイジャー THE MOVIE 赤い戦い! オール戦隊大集会!!)
เซ็นไตเกียร์สีแดง
เซเบอร์ + เซ็นไคเจอร์ ซูเปอร์ฮีโร่เซ็นคิ
(セイバー+ゼンカイジャー スーパーヒーロー戦記)
22 กรกฎาคม ค.ศ. 2021 ผลงานครบรอบ 50 ปีมาสค์ไรเดอร์และครบรอบ 45 ผลงานซูเปอร์เซ็นไต
ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส THE MOVIE รักแรกนั้นคือฮีโร่
(暴太郎戦隊ドンブラザーズ THE MOVIE 新・初恋ヒーロー)
22 กรกฎาคม ค.ศ. 2022
ขบวนการจอมราชัน คิงโอเจอร์ เดอะมูวี่ แอดเวนเจอร์ เฮฟเวน
(映画 王様戦隊キングオージャー アドベンチャー・ヘブン)
28 กรกฎาคม ค.ศ. 2023
บาคุอาเกะเซ็นไต บูนบูมเจอร์ เดอะมูวี่ พรอมิส เดอะ เซอร์กิต
(爆上戦隊ブンブンジャー 劇場BOON! プロミス・ザ・サーキット)
26 กรกฎาคม ค.ศ. 2024

วีซินีม่า

แก้
  • โจริคิเซ็นไต โอเรนเจอร์ โอเร VS คาคุเรนเจอร์ (超力戦隊オーレンジャー オーレVSカクレンジャー)
  • เกคิโซเซ็นไต คาร์เรนเจอร์ VS โอเรนเจอร์ (激走戦隊カーレンジャーVSオーレンジャー)
  • เด็นจิเซ็นไต เมกะเรนเจอร์ VS คาร์เรนเจอร์ (電磁戦隊メガレンジャーVSカーレンジャー)
  • เซย์จูเซ็นไต กิงกะแมน VS เมกะเรนเจอร์ (星獣戦隊ギンガマンVSメガレンジャー)
  • คิวคิวเซ็นไต โกโกไฟว์ ตื่นตะลึง! สุดยอดนักรบคนใหม่ (救急戦隊ゴーゴーファイブ 激突!新たなる超戦士)
  • คิวคิวเซ็นไต โกโกไฟว์ VS กิงกะแมน (救急戦隊ゴーゴーファイブVSギンガマン)
  • มิไรเซ็นไต ไทม์เรนเจอร์ VS โกโกไฟว์ (未来戦隊タイムレンジャーVSゴーゴーファイブ)
  • เฮียคจูเซ็นไต กาโอเรนเจอร์ VS ซูเปอร์เซ็นไต (百獣戦隊ガオレンジャーVSスーパー戦隊)
  • นินปูเซ็นไต เฮอร์ริเคนเจอร์ VS กาโอเรนเจอร์ (忍風戦隊ハリケンジャーVSガオレンジャー)
  • บาคุริวเซ็นไต อาบะเรนเจอร์ VS เฮอร์ริเคนเจอร์ (爆竜戦隊アバレンジャーVSハリケンジャー)
  • โทคุโซเซ็นไต เดกะเรนเจอร์ VS อาบะเรนเจอร์ (特捜戦隊デカレンジャーVSアバレンジャー)
  • มาโฮเซ็นไต มาจิเรนเจอร์ VS เดกะเรนเจอร์ (魔法戦隊マジレンジャーVSデカレンジャー)
  • โกโกเซ็นไต โบเคนเจอร์ VS ซูเปอร์เซ็นไต (轟轟戦隊ボウケンジャーVSスーパー戦隊)
  • จูเคนเซ็นไต เกคิเรนเจอร์ VS โบเคนเจอร์ (獣拳戦隊ゲキレンジャーVSボウケンジャー)
  • การกลับมาของ ซามูไรเซ็นไต ชินเคนเจอร์ ฉบับพิเศษ (帰ってきた侍戦隊シンケンジャー 特別幕)
  • การกลับมาของ เท็นโซเซ็นไต โกเซย์เจอร์ LAST EPIC ~เมื่อเหล่าเทพสวรรค์กลายเป็นไอดอล?!~ (帰ってきた天装戦隊ゴセイジャー last epic ~護星天使が国民的アイドルに?!~)
  • การกลับมาของ โทคุเมย์เซ็นไต โกบัสเตอร์ส VS โดบุทสึเซ็นไต โกบัสเตอร์ส (帰ってきた特命戦隊ゴーバスターズ VS 動物戦隊ゴーバスターズ)
  • นินปูเซ็นไต เฮอริเคนเจอร์ 10 YEARS AFTER (忍風戦隊ハリケンジャー 10 YEARS AFTER)
  • การกลับมาของ จูเดนเซ็นไต เคียวริวเจอร์ 100 YEARS AFTER (帰ってきた獣電戦隊キョウリュウジャー 100 YEARS AFTER)
  • การกลับมาของ เรชฉะเซ็นไต ทคคิวเจอร์ ซูเปอร์ทคคิวหมายเลข 7 แห่งความฝัน (行って帰ってきた烈車戦隊トッキュウジャー 夢の超トッキュウ7号)
  • โทคุโซเซ็นไต เดกะเรนเจอร์ 10 YEARS AFTER (特捜戦隊デカレンジャー 10 YEARS AFTER)
  • การกลับมาของ ชูริเคนเซ็นไต นินนินเจอร์ นินนินเกิลส์ VS บอยส์ FINAL WARS (帰ってきた手裏剣戦隊ニンニンジャー ニンニンガールズVSボーイズ FINAL WARS)
  • การกลับมาของ โดบุทสึเซ็นไต จูโอเจอร์ มอบชีวิตเธอให้ฉัน! ศึกตัดสินจ้าวแห่งโลก (帰ってきた動物戦隊ジュウオウジャー お命頂戴!地球王者決定戦)

ออริจินอลวิดีโอพิเศษ

แก้

ซีรีส์เว็บ

แก้

การออกอากาศ

แก้

ในการออกอากาศของละครชุดซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ทีวีอาซาฮิ แทนซีรีส์มาสค์ไรเดอร์ยุคโชวะที่ย้ายออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ ทีวีโตเกียว และ TBS ในช่วงเวลาขณะนั้น ออกอากาศทุกวันเสาร์เวลา 19:30 น. - 20:00 น. ตั้งแต่โกเรนเจอร์ถึงแจ็คเกอร์ อย่างไรก็ตามหลังจากที่เว้นวรรคในการออกอากาศ 1 ปี แบทเทิลฟีเวอร์ เจ ได้ออกอากาศวันเดิมในเวลา 18:00 น. - 18:30 น. จนกระทั่ง ไดน่าแมนออกอากาศตอนที่ 9 ถูกลดเวลาลงเป็น 18:00 น. - 18:25 น. จากเดิมที่ออกอากาศเพียง 30 นาที (รวมเวลาของโฆษณา) เหลือเพียง 25 นาที

ในปี พ.ศ. 2533 ช่วงที่เทอร์โบเรนเจอร์ออกอากาศได้ย้ายวันและเวลาออกอากาศเป็นทุกวันศุกร์ เวลา 17:30 น. - 17:55 น. จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2540 ในช่วงที่เมกะเรนเจอร์ตอนที่ 8 ออกอากาศ ได้ย้ายวันและเวลาเป็นทุกวันอาทิตย์ เวลา 7:30 น. - 8:00 น. และด้วยกระแสของซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตที่เริ่มมีสปอนเซอร์เข้าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เพิ่มเวลาออกอากาศเป็น 30 นาทีอีกครั้ง และกลายเป็นเวลาหลักในการออกอากาศรายการวันอาทิตย์ตอนเช้าไปในที่สุด

อย่างไรก็ตามเมื่อเดือนตุลาคมปี พ.ศ. 2560 ได้ถูกย้ายเวลาอีกครั้งเนื่องจากมีรายการข่าวสารชื่อว่า ซันเดย์ LIVE! ที่ออกอากาศทุกวันอาทิตย์เวลา 5:50 น. - 8:30 น. ทำให้ย้ายเวลาเป็นเวลา 9:30 น. - 10:00 น. ตั้งแต่คิวเรนเจอร์ตอนที่ 32 จนถึงปัจจุบัน[30][31]

ซูเปอร์เซ็นไตที่ออกอากาศในต่างประเทศ

แก้

อเมริกา

แก้

ในปี พ.ศ. 2528 มาการ์เร็ต รอร์ช (ประธานมาร์เวล โปรดักชัน) และ สแตน ลี เคยมีความคิดที่จะนำซูเปอร์เซ็นไตนำมาออกอากาศในประเทศสหรัฐอเมริกาจากการแลกเปลี่ยนผลงานร่วมกับโตเอะตั้งแต่สไปเดอร์แมน, แบทเทิลฟีเวอร์เจ, เด็นจิแมน และซันวัลคัน มีแผนที่จะออกอากาศทางบริษัทแพร่สัญญาณโทรทัศน์ในอเมริกาทั้ง ABC, NBC, CBS ซึ่งทั้งนี้ได้ซื้อไว้แล้ว แต่ไม่ได้ออกอากาศเนื่องจาก รูปแบบวัฒนธรรมของเรื่องต่างประเทศ [32]

ในช่วงปี พ.ศ. 2530 ขบวนการวิทยาศาสตร์ ไดน่าแมน ได้ถูกนำดัดแปลงเป็นละครสั้นในส่วนหนึ่งของช่วงรายการ Night Flight ของสถานี USA Network

ในปี พ.ศ. 2536 ได้เปิดตัว พาวเวอร์เรนเจอร์ จากผลงานอาฮิม ซาบัน โดยนำขบวนการไดโนเสาร์ จูเรนเจอร์มาทำใหม่ ซึ่งสามารถขายออกอากาศได้ในประเทศเนื่องจากว่า "เด็ก ๆ ในสหรัฐฯชอบงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น"[33] และได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน

บราซิล

แก้

ฉายตั้งแต่ปี ค.ศ. 1988 ถึง ค.ศ. 1995 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Rede Manchete, Rede Record, Rede Bandeirantes เรื่องแรกที่ออกอากาศมาพากย์เป็นภาษาโปรตุเกสคือ เชนจ์แมน ซึ่งพอออกอากาศก็ได้รับความนิยมเท่ากับซีรีส์เมทัลฮีโร่ จิ้งจอกอวกาศจัสเปี้ยน ที่ออกอากาศในช่วงเวลาเดียวกัน[34] ในปี ค.ศ. 2013 และ ค.ศ. 2014 เชนจ์แมนและแฟลชแมน ได้ออกอากาศอีกครั้งทางสถานีโทรทัศน์ Ulbra TV, Rede Brasil

ซีรีส์ที่ออกอากาศ

โปรตุเกส

แก้

ฝรั่งเศส

แก้

ออกอากาศทางช่องเตแอ็ฟเอิง เมื่อปี พ.ศ. 2528 เรื่องแรกที่นำออกอากาศมาพากย์เป็นภาษาฝรั่งเศสคือขบวนการซูเปอร์อิเล็กตรอน ไบโอแมน ซึ่งได้รับความนิยมมากในประเทศฝรั่งเศส จนทำให้เรื่องต่อมาถูกเรียกเป็นไบโอแมนภาคต่อ ๆ มาแทน ซึ่งในประเทศฝรั่งเศสฉายซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตมาแล้วถึง 6 เรื่องได้แก่

นอกจากนี้ประเทศฝรั่งเศสยังทำผลงานรูปแบบซูเปอร์เซ็นไตของตัวเองชื่อว่า จูชิเซ็นไต ฟรองซ์ไฟว์

เอเชีย

แก้

ประเทศไต้หวัน

แก้

ในประเทศไต้หวันเรื่องแรกที่ออกอากาศคือ ขบวนการนินจา คาคุเรนเจอร์ ในชื่อ 影子神兵 หลังจากนั้นกาโอเรนเจอร์เป็นต้นไปได้ออกอากาศในประเทศไต้หวันอีกครั้ง

ประเทศเกาหลีใต้

แก้

ในประเทศเกาหลีใต้ได้มีการออกอากาศซูเปอร์เซ็นไตเรื่องแรกคือ ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์ แต่ชื่อเรื่องกลับใช้ชื่อ พาวเวอร์เรนเจอร์ เนื่องจาก ประเทศเกาหลีใต้เคยนำซีรีส์พาวเวอร์เรนเจอร์มาออกอากาศทางทีวีมาก่อน โดยก่อนหน้านั้น ขบวนการซูเปอร์โนวา แฟลชแมน เคยถูกวางจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอ VHS พากย์ภาษาเกาหลีมาก่อนที่จะฉายทางโทรทัศน์

รายชื่อซีรีส์ที่ออกอากาศในเกาหลีใต้
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2004
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2005
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2006
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2007
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2008
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2009
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2010 ออกอากาศแทน ขบวนการซามูไร ชินเคนเจอร์ ที่โดนข้ามไปด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม แต่อย่างไรก็ตามก็มีชื่อเวอร์ชันเกาหลีอยู่ทั้ง 2 ชื่อคือ พาวเวอร์เรนเจอร์ ซามูไรฟอร์ซ และ พาวเวอร์เรนเจอร์ เบลดฟอร์ซ โดยชื่อดังกล่าวถูกปรากฏในมาสค์ไรเดอร์ดีเคดและ พาวเวอร์เรนเจอร์ กัปตันฟอร์ซ (ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์) ที่ออกอากาศในประเทศเกาหลีใต้
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2011
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2012
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2013
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2014
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2015
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2016
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2017 เป็นผลงานที่ร่วมมือกันระหว่างประเทศเกาหลีใต้และประเทศญี่ปุ่น โดยใช้นักแสดงเกาหลีใต้เป็นตัวหลักของเรื่อง
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2017
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2018
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2019
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2020
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2021
ฉายเมื่อปี ค.ศ. 2022

ประเทศไทย

แก้

ในประเทศไทยซูเปอร์เซ็นไตได้ออกสื่อเฉพาะในสื่อของนิตยาสารหนังสือการ์ตูนก่อน และเรื่องที่ฉายทางโทรทัศน์ครั้งแรกคือ ขบวนการไฟฟ้า เด็นจิแมน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2523 ด้วยกระแสภาพยนตร์ชุดซูเปอร์เซ็นไตที่ออกอากาศในประเทศไทยทำให้สถานีโทรทัศน์อื่น ๆ มาฉายตามด้วยอย่าง สถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท. ได้นำ ขบวนการอันยิ่งใหญ่ โกกุลไฟว์ มาออกอากาศ ตามด้วย สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ที่ฉายเรื่อง ขบวนการแสง มาสค์แมน และได้รับความนิยมเช่นเดียวกับที่ช่อง 7 ออกอากาศ ซึ่งแต่ละเรื่องนั้นสถานีโทรทัศน์ได้ออกอากาศซีรีส์ซูเปอร์เซ็นไตมาหลายเรื่องและฉายเกือบทุกช่อง แต่อย่างไรก็ตามมีบางเรื่องที่ไม่ได้ออกอากาศในประเทศไทยอย่าง แจ็คเกอร์ เด็นเงคิไต, ขบวนการกู้ภัย โกโกไฟว์, ขบวนการเทพสวรรค์ โกเซย์เจอร์ ด้วยสาเหตุบางประการ

ในสื่อรูปแบบวิดิโอ, วีซีดี ได้มีการวางจำหน่ายในรูปแบบพากย์ไทยทั้ง วิดีโอสแควร์, EVS และ ไรท์พิคเจอร์ส เป็นหลักในช่วงปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามในช่วงปี พ.ศ. 2543 บริษัททีไอจีเอ (TIGA) ได้เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ชุดซูเปอร์เซ็นไตอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เรื่องแรกที่นำมาจำหน่ายคือ ขบวนการอนาคต ไทม์เรนเจอร์ ซึ่งได้วางจำหน่ายในรูปแบบวิดีโอและ VCD แต่หยุดทำชั่วคราวด้วยเหตุผลบางประการ จึงทำให้นำขบวนการคอสมิก กิงกะแมน นำวางจำหน่ายและออกอากาศทาง สถานีโทรทัศน์ไอทีวี แทน หลังจากนั้น โรส วิดิโอ (ปัจจุบันคือ โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์) บริษัทที่จำหน่ายในส่วนแผ่นวีซีดีของทีไอจีเอได้มาเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ เริ่มตั้งแต่โกโกไฟว์ ไปจนถึง นินนินเจอร์ รวมถึงตอนพิเศษทั้งภาพยนตร์และวิซินีม่าบางเรื่อง ปัจจุบันผู้ถือลิขสิทธิ์ในการฉายซูเปอร์เซ็นไตซีรีส์คือ บริษัทเอฟฟ์ จำกัด และ บริษัทการ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด ซึ่งได้นำ ขบวนการจ้าวสรรพสัตว์ จูโอเจอร์, ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ และ ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์[37] ซึ่งได้ออกอากาศทางโทรทัศน์ดิจิทัล, โทรทัศน์ดาวเทียมรวมถึงรูปแบบสตรีมมิ่งทางอินเทอร์เน็ต นอกจากนี้ช่องเคเบิลทีวีอย่างทรู ช่อง ทรูสปาร์ก ก็ได้ซื้อลิขสิทธิ์เช่นกัน ซึ่งในรูปแบบของทรูจะทำตามของการ์ตูนคลับทั้งหมดยกเว้นบทพากย์และนักพากย์

ในส่วนภาพยนตร์ที่ฉายในประเทศไทยมีเพียง 2 เรื่องคือ ขบวนการมือปราบ เดกะเรนเจอร์ เดอะมูวี่ ฟูลบลาสท์ แอคชั่น ฉายควบกับมาสค์ไรเดอร์เบลด: มิซซิ่งเอช แต่ฉายไม่กี่วันถูกถอดออก โดยผู้นำเข้าฉายคือบริษัท เมย์เซเวนมีเดีย และ ขบวนการอวาทาโร่ ดงบราเธอร์ส THE MOVIE รักแรกนั้นคือฮีโร่ แต่ภายหลังภาพยนตร์ซูเปอร์เซ็นไตผู้ซื้อลิขสิทธิ์หลักในการฉายและวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD คือโรส และ DEX ส่วนตอนพิเศษวีซินีม่าโรส, ดรีมวิชั่น, ทีไอจีเอ เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ในการวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD

รายชื่อซีรีส์ที่ออกอากาศในประเทศไทย
ชื่อ ออกอากาศทางช่องโทรทัศน์ ผู้ถือลิขสิทธิ์ในการจำหน่ายสื่อ
และ
ผู้ที่นำออกอากาศ
หมายเหตุ
ซีรีส์หลัก
โกเรนเจอร์ ช่อง 7
ช่อง 5
โรส
แจ็คเกอร์ ไม่ได้ออกอากาศ
แบทเทิลฟีเวอร์ J ช่อง 9 วิดีโอสแควร์ ในประเทศไทยถูกเรียกชื่อว่า ขบวนการ เรนเจอร์เจ ทั้งวิดีโอสแควร์และช่อง 9
เด็นจิแมน ช่อง 7 วิดีโอสแควร์
EVS
เป็นเรื่องแรกที่ออกอากาศในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า ห้ามนุษย์ไฟฟ้า
ซันวัลคัน ช่อง 7
โกกุลไฟว์ ช่อง 7[ต้องการอ้างอิง]
ช่อง 9
ไรท์พิคเจอร์
ไดน่าแมน ช่อง 7 วิดีโอสแควร์
ไบโอแมน ช่อง 7
เชนจ์แมน ช่อง 7
แฟลชแมน ช่อง 7 วิดีโอสแควร์
มาสค์แมน ช่อง 3 วิดีโอสแควร์
ไลฟ์แมน ช่อง 7 วิดีโอสแควร์
ไรท์พิคเจอร์
เทอร์โบเรนเจอร์ ช่อง 3 วิดีโอสแควร์ ช่อง 3 ใช้ชื่อว่า 5 เทอร์โบพิฆาต
ไฟว์แมน ช่อง 7 วิดีโอสแควร์ ในประเทศไทยวิดีโอสแควร์เรียกไฟว์แมนว่าขบวนการ สกายเรนเจอร์ ซึ่งเป็นชื่อมาจากลิขสิทธิ์ที่โตเอะนำขายในต่างประเทศ[38]
ส่วนช่อง 7 ใช้ชื่อว่า 5 พยัคฆ์ พิทักษ์โลก แต่ออกอากาศถึงตอนที่ 34 เนื่องจากถูกปรับผังรายการ
เจ็ทแมน ช่อง 9 ทูนทาวน์เอนเตอร์เทนเมนต์
วิดีโอสแควร์

TIGA

การ์ตูนคลับมีเดีย
ในประเทศไทยเจ็ทแมนถูกเรียกทั้ง 2 ชื่อคือ ขบวนการวิหคสายฟ้า เจ็ทแมน และ ขบวนการมนุษย์วิหค
จูเรนเจอร์ ช่อง 9 ทูนทาวน์เอนเตอร์เทนเมนต์
วิดีโอสแควร์

การ์ตูนอินเตอร์

การ์ตูนคลับมีเดีย
การ์ตูนอินเตอร์ได้ทำพากย์เสียงใหม่โดยใช้ชื่อว่า ขบวนการเทพนักสู้ จูเรนเจอร์
ไดเรนเจอร์ ช่อง 9 ทูนทาวน์เอนเตอร์เทนเมนต์
วิดีโอสแควร์

TIGA
คาคุเรนเจอร์ ช่อง 3 ไรท์พิคเจอร์
โอเรนเจอร์ ช่อง 7 วิดีโอสแควร์
คาร์เรนเจอร์ ช่อง 9 ทูนทาวน์เอนเตอร์เทนเมนต์
EVS
การ์ตูนอินเตอร์
ในประเทศใช้ชื่อว่าขบวนการ เทอร์โบเรนเจอร์ หรือ เทอร์โบคาร์เรนเจอร์ ซึ่งชื่อไปตรงกับ ขบวนการความเร็วสูง เทอร์โบเรนเจอร์ ซึ่งเป็นผลงานชุดที่ 12 ของญี่ปุ่น
โดยชื่อเทอร์โบเรนเจอร์ที่ปรากฏนั้น มาจากสปอนเซอร์ของเล่นได้นำเข้าของเล่นที่มาจากพาวเวอร์เรนเจอร์ เทอร์โบ
เมกะเรนเจอร์ ช่อง 9 ทูนทาวน์เอนเตอร์เทนเมนต์
วิดีโอสแควร์
กิงกะแมน ITV TIGA ในประเทศไทยใช้ชื่อว่า ขบวนการคอสมิก กิงกะแมน
โกโกไฟว์ ไม่ได้ออกอากาศ โรส ออกเฉพาะสื่อวีซีดีและทางช่องแก๊งการ์ตูนแชนแนล
ไทม์เรนเจอร์ ช่อง 5 TIGA

โรส
TIGA เป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ส่วนโรสเป็นผู้จำหน่ายในส่วนของวีซีดี
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการบ้านการ์ตูน
กาโอเรนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
โรส ใช้ชื่อว่า นักรบแห่งสรรพสัตว์ กาโอเรนเจอร์
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการบ้านการ์ตูน
เฮอร์ริเคนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ใช้ชื่อว่า ขบวนการพายุ เฮอร์ริเคนเจอร์
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการบ้านการ์ตูน แต่ออกอากาศถึงตอนที่ 49
อาบะเรนเจอร์ ITV
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ใช้ชื่อว่า ขบวนการนักรบไดโนเสาร์ อาบะเรนเจอร์
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการไอทีวี การ์ตูนคลับ
เดกะเรนเจอร์ ITV
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ใช้ชื่อว่า ขบวนการมือปราบผู้พิทักษ์ เดกะเรนเจอร์
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการไอทีวี การ์ตูนคลับ
มาจิเรนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการแก๊งการ์ตูน
โบเคนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการแก๊งการ์ตูนและช่อง 5 การ์ตูน
เกคิเรนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการช่อง 5 การ์ตูนและแก๊งการ์ตูน
โกออนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการแก๊งการ์ตูน
ชินเคนเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
โรส

การ์ตูนคลับมีเดีย
อยู่ในส่วนหนึ่งของรายการแก๊งการ์ตูน
โกเซย์เจอร์ True4U
ช่อง 5
ไม่มีการออกอากาศฉบับทีวีซีรีส์ มีแค่เฉพาะภาพยนตร์และวีซินีม่าเท่านั้น
ในปี พ.ศ. 2564 ได้มีลิขสิทธิ์ทีวีซีรีส์เผยแพร่ทางยูทูบ
โกไคเจอร์ ช่อง 5
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ช่อง 9
MONO29
GMM25
True4U
ในสมัยโรสที่ถือลิขสิทธิ์ใช้ชื่อว่า ขบวนการโจรสลัดอวกาศ โกไคเจอร์ และอยู่ในส่วนหนึ่งของรายการแก๊งการ์ตูนของช่อง 5 แต่ออกอากาศไม่กี่ตอนถูกถอดออกอากาศและฉายทางแก๊งการ์ตูนแชนแนล
ภายหลังเปลี่ยนผู้ถือสิทธิ์เป็นการ์ตูนคลับใช้ชื่อว่า ขบวนการโจรสลัด โกไคเจอร์
โกบัสเตอร์ส GMM BIG (GMM25)
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ใช้ชื่อว่า ขบวนการจารชน โกบัสเตอร์
เคียวริวเจอร์ ช่อง 3 HD
ช่อง 3 แฟมิลี่
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ทคคิวเจอร์ ช่อง 3 แฟมิลี่
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
โรส ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวนการรถไฟ ทคคิวเจอร์
นินนินเจอร์ ช่อง 3 แฟมิลี่
แก๊งการ์ตูนแชนแนล
ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวนการดาวกระจาย นินนินเจอร์
จูโอเจอร์ ทรูสปาร์กจัมพ์
ช่อง 9
MCOT Family
การ์ตูนคลับ
True4U
การ์ตูนคลับมีเดีย
คิวเรนเจอร์ ทรูสปาร์กจัมพ์
ช่อง 9
MONO29
การ์ตูนคลับ
ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวนการผู้พิทักษ์อวกาศ คิวเรนเจอร์ ส่วนทรู ใช้ชื่อว่า ขบวนการอวกาศ คิวเรนเจอร์
ลูแปงเรนเจอร์
VS
แพทเรนเจอร์
ช่อง 9
การ์ตูนคลับ
True4U
ริวโซลเจอร์ ช่อง 9
การ์ตูนคลับ
ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวนการอัศวินไดโนเสาร์ ริวโซลเจอร์
รับชมทางยูทูบ
คิราเมเจอร์
เซ็นไคเจอร์
ดงบราเธอร์ส การ์ตูนคลับ
คิงโอเจอร์ ช่อง 9
การ์ตูนคลับ
ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวนการจอมราชัน คิงโอเจอร์
ซีรีส์นอก
อากิบะเรนเจอร์ ไม่ได้ออกอากาศ โรส ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวน (ไม่เป็นทาง) การ อากิบะเรนเจอร์
อากิบะเรนเจอร์
ซีซั่น 2
ใช้ชื่อเรื่องว่า ขบวน (ไม่เป็นทาง) การ อากิบะเรนเจอร์ ภาค 2
เคียวริวเจอร์เบรฟ
(ไดโนฟอร์ซเบรฟ)
เวิร์คพอยท์
ช่องวัน
DEX ออกอากาศทั้งสองครั้งและลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ศึกดวลเดือด
สุดยอดขบวนการเซ็นไต
ช่อง 9
การ์ตูนคลับ
การ์ตูนคลับมีเดีย ใช้ชื่อเรื่องว่า ศึกดวลเดือด สุดยอดขบวนการเซ็นไต
รับชมทางยูทูบ
รายชื่อภาพยนตร์และวิซินีม่าที่วางจำหน่ายในไทย
ชื่อ ผู้ถือลิขสิทธิ์ หมายเหตุ
ภาพยนตร์
กาโอเรนเจอร์
เดอะมูวี่ ฝ่ามิติเกาะมหาประลัย
โรส

DEX
วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2562 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น DEX
ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
เฮอร์ริเคนเจอร์
เดอะมูวี่ เจ้าหญิงวิญญาณอมตะ
อาบะเรนเจอร์
เดอะมูวี่ ซัมเมอร์สยอง เย็นชื่นฉ่ำ พลังดาบศักดิ์สิทธิ์
เดกะเรนเจอร์
เดอะมูวี่ ฟูลบลาสท์ แอคชั่น
เมย์เซเวนมีเดีย

DEX
ฉายในโรงภาพยนตร์ควบกับ
มาสค์ไรเดอร์เบลด: มิซซิ่งเอช
แต่ฉายไม่กี่วันถูกถอดออก
และวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2562 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น DEX
ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
มาจิเรนเจอร์
เดอะมูวี่ ตะลุยนรกสุดขอบฟ้า
โรส

DEX
ฉายในรอบพิเศษควบกับ
มาสค์ไรเดอร์ฮิบิกิ 7 อสูรสงคราม
และวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2562 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น DEX
ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
โบเคนเจอร์
เดอะมูวี่ ล่าขุมทรัพย์สุดขอบฟ้า
DEX วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
เกคิเรนเจอร์
เดอะมูวี่ ศึกประจัญบานฟัดสะท้านฮ่องกง
โกออนเจอร์
Bun Bun! Ban Ban! The Movie
ชินเคนเจอร์
ภาคจอเงิน ศึกศาสตราพิชิตไต้หล้า
โรส

DEX
ฉายในรอบพิเศษควบกับ
มาสค์ไรเดอร์ดีเคด ออลไรเดอร์ ปะทะ ไดช็อกเกอร์
และวางจำหน่ายในรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2561 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น DEX
ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
โกเซย์เจอร์
เดอะมูวี่
DEX วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
โกไคเจอร์ โกเซย์เจอร์ 199 ฮีโร่ โรส
โกไคเจอร์
เดอะมูวี่ ผจญเรือผีจากฟากฟ้า
โกบัสเตอร์ส
เดอะมูวี่ ปฏิบัติการปกป้องโตเกียว
เคียวริวเจอร์
เดอะมูวี่ บทเพลงแห่งความกล้ากาบูรินโจะ
โรส

การ์ตูนคลับมีเดีย
วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2562 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็นของการ์ตูนคลับมีเดีย
ออกฉายทาง LINE TV และมีการพากย์เสียงไทยใหม่
ทคคิวเจอร์
เดอะมูวี่ กาแล็คซี่ไลน์ SOS
DEX ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
นินนินเจอร์
เดอะมูวี่ นายท่านไดโนเสาร์ มวนคำภีร์นินจาที่ยอดเยี่ยม
จูโอเจอร์
เดอะมูวี่ วิกฤติละครสัตว์สุดระทึก
คิวเรนเจอร์
เดอะ มูฟวี่ การปะทะกลับของ เกธ อินเดอร์เว
การ์ตูนคลับมีเดีย ลงเฉพาะใน LINE TV
วีซินีม่า (VS ซีรีส์)
โอเรนเจอร์
โอเร VS คาคุเรนเจอร์
TIGA วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
คาร์เรนเจอร์
VS
โอเรนเจอร์
เมกะเรนเจอร์
VS
คาร์เรนเจอร์
กิงกะแมน
VS
เมกะเรนเจอร์
โกโกไฟว์
ตื่นตะลึง! สุดยอดนักรบคนใหม่
โรส
โกโกไฟว์
VS
กิงกะแมน
ไทม์เรนเจอร์
VS
โกโกไฟว์
กาโอเรนเจอร์
VS
ซูเปอร์เซ็นไต
โรส

DEX
วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
ต่อมาได้เปลื่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์โดย DEX
ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
เฮอร์ริเคนเจอร์
VS
กาโอเรนเจอร์
อาบะเรนเจอร์
VS
เฮอร์ริเคนเจอร์
เดกะเรนเจอร์
VS
อาบะเรนเจอร์
ดรีมวิชั่น

DEX
มาจิเรนเจอร์
VS
เดกะเรนเจอร์
โบเคนเจอร์
VS
ซูเปอร์เซ็นไต
เกคิเรนเจอร์
VS
โบเคนเจอร์
ภาพยนตร์เทศกาลซูเปอร์เซ็นไต
โกออนเจอร์
VS
เกคิเรนเจอร์
ดรีมวิชั่น

DEX
วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2562 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น DEX
ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
ชินเคนเจอร์
VS
โกออนเจอร์
กินมาคุ BANG!!
โกเซย์เจอร์
VS
ชินเคนเจอร์
อีปิค on กินมาคุ
โกไคเจอร์
VS
เกียบัน
THE MOVIE
โรส วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
โกบัสเตอร์
VS
โกไคเจอร์
THE MOVIE
โรส

การ์ตูนคลับมีเดีย
วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
ในปี 2562 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็นของการ์ตูนคลับมีเดีย
ออกฉายทาง LINE TV และได้มีการพากย์เสียงไทยใหม่
เคียวริวเจอร์
VS
โกบัสเตอร์ส
ศึกไดโนเสาร์ประจัญบาน! มิตรภาพนิตรนิรันดร์
ทคคิวเจอร์
VS
เคียวริวเจอร์
THE MOVIE
DEX ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
นินนินเจอร์
VS
ทคคิวเจอร์
THE MOVIE นินจา อิน วันเดอร์แลนด์
จูโอเจอร์
VS
นินนินเจอร์
ข้อความจากอนาคต from ซูเปอร์เซ็นไต
วิซินีม่า (การกลับมา)
ชินเคนเจอร์
ฉบับพิเศษ
โรส

DEX
ในปี 2561 ได้เปลี่ยนผู้ถือลิขสิทธิ์เป็น DEX
ออกฉายทางแอปพลิเคชัน Flixer และ AIS Play
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
โกเซย์เจอร์
LAST EPIC ~เมื่อเหล่าเทพสวรรค์กลายเป็นไอดอล?!~
โรส วางจำหน่ายเฉพาะรูปแบบ VCD และ DVD
โทคุเมย์เซ็นไต โกบัสเตอร์ส
VS
โดบุทสึเซ็นไต โกบัสเตอร์ส
DEX ลงในแอปพลิเคชัน AIS Play และ Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
เคียวริวเจอร์
100 YEARS AFTER
ทคคิวเจอร์
ซูเปอร์ทคคิวหมายเลข 7 แห่งความฝัน
นินนินเจอร์
นินนินเกิลส์ VS บอยส์ FINAL WARS
จูโอเจอร์
มอบชีวิตเธอให้ฉัน! ศึกตัดสินจ้าวแห่งโลก
วิซินีม่า (10 YEARS AFTER)
เฮอร์ริเคนเจอร์
10 YEARS AFTER
DEX ลงในแอปพลิเคชัน AIS Play และ Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
เดกะเรนเจอร์
10 YEARS AFTER
DEX ลงในแอปพลิเคชัน Flixer
ฉายในรูปแบบคำบรรยายภาษาไทยเท่านั้น
โกออนเจอร์
10 YEARS GRANDPRIX
สื่อในประเทศไทย
แก้

ในประเทศไทยมีซูเปอร์เซ็นไตในแบบฉบับของตัวเอง ทั้งละครโทรทัศน์, แอนิเมชัน และ โฆษณา

ผลิตโดย บริษัท ดีพี โปรมีเดีย จำกัด อำนวยการผลิต บรอดคาซท์ ไทย เทเลวิชั่น
ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ฉายเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวันที่ 2 กุมภาพันธ์ - 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555
  • คริสตัลไนท์
ผลงานของนิรันดร์ บุญยรัตพันธุ์ (น้าต๋อย เซมเบ้) ผลิตโดย ทูนทาวน์ เอนเตอร์เทนเมนต์
ออกอากาศทางททบ. 5 ทุกวันอาทิตย์ เวลา 7.35 น. - 7.50 น. ฉายเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549
  • โจ๋เรนเจอร์
ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโฆษณาสำหรับบริการโทรศัพท์มือถือที่มีชื่อว่า ZAD ของบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ DTAC
  • ริวจิไฟว์
แอนิเมชันไทย ที่มีพื้นฐานของเล่นมาจาก ริวจิไฟว์ ของ Apex Toys วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีโดยทีไอจีเอ

อ้างอิง

แก้
  1. 石井博士ほか (1997). 日本特撮・幻想映画全集. 勁文社. p. 279. ISBN 4766927060.
  2. 常識 2012, pp. 14–16, スーパー戦隊って何?.
  3. "仮面ライダーゼロワン&キラメイジャー最新話の放送延期 特別編を放送". シネマトゥデイ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2020-05-10.
  4. "2021年のスーパー戦隊は、シリーズの"お約束"を裏切る!? 「機界戦隊ゼンカイジャー」詳細発表". アニメ!アニメ!. イード. 2020-12-21. สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
  5. 常識 2013, pp. 76–77, どうして巨大ロボが登場するようになったの?.
  6. 6.0 6.1 6.2 常識 2012, pp. 76–77, 珍しい色の戦隊メンバーって?
  7. 7.0 7.1 『宇宙戦隊キュウレンジャー特写写真集 SAY the GO!』ホビージャパン、2017年12月22日、p.83。แม่แบบ:ISBN2
  8. "プロデューサー白倉伸一郎&武部直美 インタビュー". 映画ナタリー. 映画ナタリー. 2021-05-30. สืบค้นเมื่อ 2022-10-14.
  9. "『キョウリュウジャー』の見どころ". web R25. 2013-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-07. สืบค้นเมื่อ 2013-05-15.
  10. 常識 2013, p. 116, スーパー戦隊カラー変遷史.
  11. 『ドンブラザーズ』キジブラザーは男性初のピンク 元銀行員33歳の変わり種俳優・鈴木浩文が変身(オリコン)
  12. 25MB 上 2002, p. 63, DISSECTION OF SUPER SENTAI '83〜'87
  13. 海賊戦隊ゴーカイジャー 第16話「激突!戦隊VS戦隊」|東映[テレビ] 2014年11月7日閲覧。
  14. 36L 2012, p. 23, 青の章 This is Legend 戦隊分析 File.02.
  15. "烈車戦隊トッキュウジャー 第17駅『雨上がりの空に』". 東映. สืบค้นเมื่อ 2014-06-08.
  16. 宇宙戦隊キュウレンジャー PRE01 キャラクター紹介第一弾! | 東映[テレビ]
  17. 36L 2012, p. 49, 青の章 This is Legend 戦隊分析 File.28.
  18. 『ホビージャパン』通号465、2008.3、p.186
  19. "酒井大成ら「キングオージャー」キャストが意気込み、渡辺碧斗の初恋はデカイエロー". 映画ナタリー. Natalie. 2023-02-14. สืบค้นเมื่อ 2023-02-14.
  20. トレーディングカードアーケードゲーム『スーパー戦隊バトル ダイスオー』EX第1弾059、EX第3弾045
  21. 21.0 21.1 常識 2012, pp. 36–37, 戦隊スーツはどこに収納しているの?
  22. 25MB 下 2002, p. 55, DISSECTION OF SUPER SENTAI '95〜'97.
  23. 23.0 23.1 23.2 常識 2012, pp. 64–65, 追加戦士ってどんな人?.
  24. 24.0 24.1 25MB 下 2002, p. 21.
  25. 40周年 2015, p. 73.
  26. 26.0 26.1 40周年 2015, p. 74.
  27. 大全集 1993, p. 96.
  28. 大全集 1993, p. 204.
  29. スーパー戦隊にはまだ茶色がいない~戦隊の色、数えてみました デイリーポータルZ 2018年5月9日、同7月9日閲覧。
  30. "東山紀之 テレ朝で日曜朝の顔、10月開始情報番組キャスターに". スポニチ. 2017年7月3日. สืบค้นเมื่อ 2017-07-03. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  31. 放送時間変更のお知らせ,宇宙戦隊キュウレンジャーテレビ朝日公式サイト,2017年7月3日
  32. "SHOWDOWN IN TOONTOWN CHILDREN'S TELEVISION, ONCE A SLEEPY BUSINESS, IS BECOMING AS HOTLY COMPETITIVE AS THE GROWNUP VARIETY. TURNER, FOX, AND DISNEY ARE TRYING TO TOPPLE VIACOM'S NICKELODEON--BUT HOW'S A TV MOGUL TO KNOW WHAT KIDS REALLY WANT?". นิตยาสารฟอร์จูน. สืบค้นเมื่อ 2014-06-02.
  33. Ann Allison (2010). "パワーレンジャー". 菊とポケモン―グローバル化する日本の文化力. แปลโดย โมโตโกะ จิสึคาวะ. 新潮社. p. 150. ISBN 978-4105062217.
  34. pt:Jaspion
  35. South Korea to Dub Ryuusoulger as Power Rangers Dino Soul!
  36. ★Coming Soon★ 파워레인저 루팡포스 VS 패트롤포스 6월 애니원-애니박스 런칭! : 네이버 포스트(韓国語)
  37. ประกาศ คำชี้แจงจากบริษัทเอฟฟ์ จำกัด และบริษัทการ์ตูนคลับ มีเดีย จำกัด
  38. "Library -- English Titles -- TOEI TV Website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-19. สืบค้นเมื่อ 2007-12-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้