เห้งเจีย
หน้านี้มีเนื้อหาเป็นภาษาต่างประเทศ คุณสามารถช่วยพัฒนาหน้านี้ได้ด้วยการแปล ยกเว้นหากเนื้อหาเกือบทั้งหมดไม่ใช่ภาษาไทย ให้แจ้งลบแทน |
เห้งเจีย (อักษรจีน: 行者, จีนแคะ: หังจ้า, กวางตุ้ง: หั่งแจ๋, พินอิน: Xíng Zhě สิงเจ่อ, ฮกเกี้ยน: เห้งเจีย; อังกฤษ: Magic Monkey) หรือ ซุนหงอคง เป็นหนึ่งในตัวละครเอกเรื่องไซอิ๋ว ซึ่งเห้งเจียเดิมเป็นหินที่ถูกแสงสุริยันจันทราอาบมากว่า 1,000 ปี วันหนึ่งจึงแตก และมีลิงตัวหนึ่งกระโดดออกมา ลิงตัวนั้นจึงได้ไปอยู่กับฝูงลิงที่เขาฮวยก๊วย (จีนกลางว่า เขาฮัวกั่ว) และตั้งตัวเป็นหัวหน้าฝูง บรรดาลิงในฝูงนับถือเป็นท่านอ๋อง ฉายา "มุ้ยเกาอ๋อง" (พญาวานรโสภา)
ซุนหงอคง | |
---|---|
เห้งเจีย | |
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง | |
เพศ | ชาย |
สถานที่เกิด | เขาฮวยก๊วย |
ที่มา | ไซอิ๋ว ศตวรรษที่ 16 |
ความสามารถ | ความเป็นอมตะ, แปลงกายได้ 72 ร่าง, เมฆวิเศษ, ร่างกายที่ทนทาน, ตามองความจริง |
อาวุธ | กระบองวิเศษ |
อาจารย์ | พระถังซัมจั๋ง |
ซุนหงอคง | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
"ซุนหงอคง" เขียนเป็นอักษรจีนตัวเต็ม (บน) และอักษรจีนตัวย่อ (ล่าง) | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 孫悟空 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 孙悟空 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาพม่า | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาพม่า | မျောက်မင်း | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
IPA | [mjaʊʔ mí̃] (Miào Mīn) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาดุงกาน | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาดุงกาน | Сүн Вўкун | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | Tôn Ngộ Không | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮ้าน-โนม | 孫悟空 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาไทย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรไทย | เห้งเจีย | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อักษรโรมัน | Heng Chia[1] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 손오공 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮันจา | 孫悟空 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คันจิ | 孫悟空 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฮิรางานะ | そん ごくう | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คาตากานะ | ソンゴクウ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อมลายู | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
มลายู | Sun Wukong | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่ออินโดนีเซีย | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อินโดนีเซีย | Sun Go Kong | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อเขมร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เขมร | ស៊ុន អ៊ូខុង |
ภูมิหลัง
แก้วันหนึ่ง ลิงหินตัวนี้เห็นลิงในฝูงตัวหนึ่งตายลงด้วยความแก่ จึงเกิดความคิดจะออกเดินทางไปหาวิชาที่จะไม่ทำให้เจ็บ ไม่ทำให้ตาย จึงออกจากฝูงเดินทางเสาะแสวงหาผู้รู้ไปเรื่อย ๆ ในที่สุดก็พบกับนักพรตรูปหนึ่งนามว่า "โผเถโจ๊ซือ" คือ พระอาจารย์โพธิ (菩提祖師 ) " เมื่อนักพรตรับเป็นศิษย์ ได้ฝึกวิชาต่าง ๆ เช่น การแปลงกายที่แปลงได้ 72 ร่าง, ตีลังกาได้ไกลกว่า 100,000 ลี้, ยืด-หดตัวได้, ถอนขนเสกเป็นของต่าง ๆ, ขี่เมฆวิเศษ เป็นต้น พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า "ซึงหงอคง"[2] (จีนตัวย่อ: 孙悟空; จีนตัวเต็ม: 孫悟空; พินอิน: Sūn Wùkōng; เวด-ไจลส์: Sun Wu-k'ung; ซุน อู้คง, ฮกเกี้ยน:ซึงหงอคง)
เมื่อฝึกวิชาสำเร็จแล้ว หงอคง เกิดลำพองใจ ไปอาละวาด อวดวิชาตามสถานที่ต่าง ๆ ไม่เว้นแม้กระทั่งสวรรค์หรือบาดาล ทำให้ 3 โลก ปั่นป่วนไปหมด เง็กเซียนฮ่องเต้ส่งทหารสวรรค์นับ 100,000 นาย และเทพต่าง ๆ ไปจับ ก็จับไม่ได้ กลับถูกเห้งเจียปราบกลับมาจนเข็ดเขี้ยวตาม ๆ กัน ในที่สุด เง็กเซียนฮ่องเต้ ต้องยอมให้เห้งเจียขึ้นเป็นใหญ่ พร้อมตั้งให้เป็น "มหาเทพ" (ฉีเทียนต้าเซิ้น แปลตามตัวว่า ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้าดิน) จากเดิมที่เป็นเพียงคนเลี้ยงม้า (ปี้ม่าอุน) แต่หงอคงก็ยังเหิมเกริมไม่เลิก ในที่สุด องค์ยูไล(พระพุทธเจ้าในความเชื่อของชาวจีน) ต้องเสด็จมาปราบเอง โดยให้หงอคงถูกทับด้วยภูเขาห้านิ้วนาน 500 ปี และผู้ที่จะช่วยออกมาได้ คือ พระถังซัมจั๋ง ผู้เดียวเท่านั้น และเห้งเจียต้องบวชเป็นลูกศิษย์รับใช้พระถังซัมจั๋งไปชมพูทวีป และมีหน้าที่คุ้มครองพระถังซัมจั๋งไปตลอดทาง
เมื่อพระถังซัมจั๋งรับหงอคงเป็นศิษย์แล้ว จึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "เห้งเจีย" หรือ "ซึงเห้งเจีย" (จีน: 孫行者) แต่เห้งเจียก็ยังคงติดนิสัยเดิม ๆ คือ ใจร้อน ห่าม ดื้อรั้น ไม่เชื่อฟังพระถังซัมจั๋ง พระถังซัมจั๋งมีไม้ตายที่ปราบพยศเห้งเจียคือ มงคล ที่ได้รับประทานจากพระโพธิสัตว์กวนอิม ที่รัดอยู่กับหัวของเห้งเจีย เมื่อเห้งเจียพยศเมื่อไหร่ พระถังซัมจั๋ง จะสวดมนต์ เห้งเจียจะเจ็บปวดมาก มงคลอันนี้จะหายไปเมื่อภารกิจได้เสร็จสิ้นแล้ว
ตลอดระยะเวลาการเดินทาง ต้องผจญกับอุปสรรคนานัปการ โดยเฉพาะปีศาจ ที่มักปลอมตัวมาหลอกลวงให้เข้าใจผิด โดยเฉพาะกับพระถังซัมจั๋ง ซึ่งเห้งเจียมักจะมองปีศาจออกก่อนทุกครั้ง และลงมือทำร้ายไปก่อน จึงสร้างความขัดแย้งให้แก่ศิษย์ อาจารย์ คู่นี้ไปตลอด ว่ากันว่า เป็นการเจตนาสร้างความขัดแย้งของตัวละคร ซึ่งสะท้อนถึงบุคคลิกของบุคคลในลักษณะต่าง ๆ
อาวุธสำคัญของเห้งเจีย คือ กระบองวิเศษ ที่ปกติจะเก็บไว้ในรูหู สามารถยืด-หดได้ ซึ่งเดิมเป็นเสาค้ำมหาสมุทร ของเจ้าสมุทรทะเลตะวันออก (ทะเลตงไห่) และมีพาหนะเป็นเมฆวิเศษ
ปัจจุบัน หงอคง หรือ เห้งเจีย ได้รับการนับถือจากชาวจีน โดยตามศาลเจ้าบางแห่ง จะมีรูปเคารพ และนับถือเป็น ไต่เสี่ยฮุกโจ้ว หรือเจ้าพ่อเห้งเจีย เป็นต้น
ชื่อและฉายา
แก้เห้งเจียมีชื่อและฉายาต่าง ๆ ตามที่ปรากฏในเรื่องไซอิ๋วดังนี้
- ฉือโหว หรือ เจี้ยะเก๊า (石猴)
- แปลว่า "ลิงหิน" อ้างถึงชาติกำเนิดดั้งเดิมของของเห้งเจียซึ่งเกิดจากหินที่อาบแสงอาทิตย์แสงจันทร์มานับพันปีบนยอดเขาฮวยก๊วยซัว
- เหม่ย์โหวหวาง หรือ มุ้ยเกาอ๋อง (美猴王)
- แปลว่า "พญาวานรโสภา" เรียกโดยย่อว่า โหวหวัง (Hóuwáng) คำคุณศัพท์ "เหม่ย์" (Měi) หมายถึง "งดงาม, สง่างาม, น่ารัก" และยังหมายความว่า "หลงตัวเอง" ซึ่งอ้างอิงถึงอัตตาของหงอคง คำว่า "โหว" (Hóu) ซึ่งแปลว่าลิง ยังเน้นถึงนิสัยที่ดื้อรั้นและเจ้าเล่ห์ของหงอคงด้วยเช่นกัน
- ซุน อู้คง หรือ ซึงหงอคง (孫悟空)
- เป็นชื่อที่พระสุภูติได้ตั้งให้ แซ่ "ซุน" ("ซึง") เป็นการล้อมาจจากคำว่า ซุน (猻) ซึ่งแปลว่า ลิง, ค่าง คำว่า "อู้คง" ("หงอคง") มีความหมายว่า "ตื่นรู้ใน (ความว่าง)" ชื่อนี้ออกเสียงไปต่างๆ กันในแต่ละถิ่น เช่น ซุ่นอู้โค้ง (จีนกลาง), ซึงหงอคง (แต้จิ๋ว), ซึ้นโหง่วค้ง (ฮกเกี้ยน), ซึ้งอือโฮง (กวางตุ้ง), ซนโอกง" (เกาหลี), Tôn Ngộ Không (เวียดนาม), ซุนโกคู (ญี่ปุ่น) เป็นต้น
- ปี้หม่าเวิน หรือ เป๊กเบ้อุน (弼馬溫)
- ตำแหน่งคนเลี้ยงม้าสวรรค์ ล้อมาจากคำว่า bìmǎwēn (避馬瘟; lit. "avoiding the horses' plague") ซึ่งมาจากความเชื่อของคนจีนว่า เอาลิงไปไว้ในคอกม้า จะทำให้ม้าไม่เจ็บป่วย มีสุขภาพสมบูรณ์ ตามท้องเรื่องกล่าวว่า หงอคงได้ตำแหน่งเป๊กเบ้อุนจากเง็กเซียนฮ่องเต้หลังจากที่เขาไปอาละวาดบนสวรรค์ครั้งแรก โดยครั้งนั้นเขาได้รับคำมั่นว่าจะแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งของเทพขั้นสูง แต่เมื่อความจริงปรากฏว่าเปี๊ยกเบ๊อุนเป็นตำแหน่งชั้นต่ำสุดในสวรรค์ ซึงหงอคงก็โกรธ จึงทำลายคอกม้า ปล่อยม้าอาละวาดบนสวรรค์ แล้วกลับมาอยู่เขาฮวยก๊วยซัว ศัตรูของหงอคงมักเรียกหงอคงด้วยชื่อนี้เพื่อเป็นการเยาะเย้ย
- ฉีเทียนต้าเชิ่ง หรือ ชีเทียนไต้เสี่ย (齊天大聖)
- แปลว่า "ผู้ยิ่งใหญ่เสมอฟ้า". Wùkōng took this title suggested to him by one of his demon friends, after he wreaked havoc in heaven people who heard of him called him Great Sage. This is pronounced in Japanese as seiten-taisei ("great sage", dàshèng and taisei, is a Chinese and Japanese honorific). The title originally holds no power, though it is officially a high rank. Later the title was granted the responsibility to guard the Heavenly Peach Garden, due to the Jade Emperor keeping him busy so he won't make trouble.
- ฉิงเจ่อ หรือ เห้งเจีย (行者)
- Meaning "ascetic", it refers to a wandering monk, a priest's servant, or a person engaged in performing religious austerities. Xuanzang calls Wukong Sūn-xíngzhě when he accepts him as his companion. This is pronounced in Japanese as gyōja (making him Son-gyōja).
- โต้วจั้นเชิ่งโฝ หรือ โต่วเจี่ยงเส่งฮุด (鬥戰勝佛)
- "ยุทธวิชัยพุทธะ" Wukong was given this name once he ascended to buddhahood at the end of the Journey to the West. This name is also mentioned during the traditional Chinese Buddhist evening services, specifically during the eighty-eight Buddhas repentance.
- ต้าเชิ่งโฝจู่ หรือ ไต๋เสี่ยฮุดโจ้ว (大聖佛祖)
- เป็นนามที่ได้รับเมื่อบรรลุเป็นพระโพธิสัตว์แล้ว.
In addition to the names used in the novel, the Monkey King has other names in different languages:
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ (จากรูปสะกดภาษาฮกเกี้ยน "行者" (Hêng-chiá))
- ↑ พระโสภณอักษรกิจ (เล็ก สมิตะศิริ). (2547). ไซอิ๋ว. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา. ISBN 9749207769. หน้า 390.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sun Wukong Character Profile A detailed character profile of Sun Wukong, with character history, listing and explanations of his various names and titles, detailed information on his weapon, abilities, powers, and skills, and personality.
- Story of Sun Wukong with manhua เก็บถาวร 2009-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Sun Wukong's entry at Godchecker is a tongue-in-cheek take on the Great Sage.
- (ในภาษาจีน) Journey to the West