ภาษาหมิ่นใต้
ภาษาหมิ่นใต้, หมิ่นหนาน (ตามสำเนียงจีนกลาง), บั่นลั้ม (ตามสำเนียงฮกเกี้ยน) หรือ มั่งนั้ม (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) เป็นหนึ่งในกลุ่มภาษาจีนใช้พูดทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและบริเวณใกล้เคียง และโดยลูกหลานของผู้อพยพจากบริเวณนี้เข้าไปยังบริเวณอื่น ๆ ทั่วโลก โดยทั่วไปภาษาหมิ่นใต้เป็นชื่อเรียกโดยชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำเนียงหนึ่งในภาษานี้เรียกภาษาฮกเกี้ยน อยู่ในกลุ่มภาษาหมิ่น ของภาษาจีน โดยปกติไม่สามารถเข้าใจกันได้กับภาษาหมิ่นตะวันออก ภาษาจีนกวางตุ้ง และภาษาจีนกลาง
ภาษาหมิ่นใต้/หมิ่นหนาน | |
---|---|
閩南語 / 闽南语 Bân-lâm-gú | |
ประเทศที่มีการพูด | จีน, ไต้หวัน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, ไทย |
ภูมิภาค | ทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน; เขตแต้จิ๋ว–ซัวเถา (แต้ซัว) และคาบสมุทรเหลย์โจวในมณฑลกวางตุ้ง; ส่วนใหญ่ในไต้หวันและเกาะไหหลำ (ถ้ารวมภาษาไหหลำ) |
จำนวนผู้พูด | 49 ล้านคน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ไม่มี (สำเนียงหนึ่งเป็นภาษาประจำถิ่นของไต้หวัน เรียกภาษาฮกเกี้ยนไต้หวัน)[1] |
ผู้วางระเบียบ | ไม่มี (จีน), กระทรวงศึกษาธิการและองค์กรเอกชน (ในไต้หวัน) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | zh |
ISO 639-2 | chi (B) zho (T) |
ISO 639-3 | nan |
ภาษาหมิ่นใต้
แก้ภาษาหมิ่นใต้ใช้พูดทางใต้ของมณฑลฝูเจี้ยนและทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง รวมทั้งเกาะไหหลำ สำเนียงฮกโลของภาษานี้ถือเป็นภาษาถิ่นของไต้หวันเรียกภาษาฮกเกี้ยนไต้หวัน ผู้พูดภาษาหมิ่นใต้มีมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งใน ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ไทย ภาษาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนหนึ่งมาจากเขตเฉาซ่าน (แต้ซัว)ในกวางตุ้งและพูดภาษาหมิ่นใต้สำเนียงแต้จิ๋ว นอกจากนี้ภาษาหมิ่นใต้ยังเป็นภาษาแม่ของชาวจีนในฟิลิปปินส์อีกราว 98.5% ซึ่งพูดสำเนียงลันนัง ประเทศไทยพูดกันมากในจังหวัดภูเก็ตและบริเวณโดยรอบ ซึ่งพูดสำเนียง ฮกเกี้ยนปีนัง เป็นสำเนียงที่พูดในปีนัง ซึ่งเดิมเป็นสำเนียงของเมืองเฉวียนโจว และ เป็นต้นภาษาทำให้เกิดภาษาไทยบ้าบ๋าภูเก็ต ซึ่งมีคำยืมในภาษาหมิ่นใต้ (สำเนียงเฉวียนโจว) จำนวนมาก
ความแตกต่างของภาษา
แก้ภาษาหมิ่นใต้ไม่มีรูปแบบมาตรฐาน ผู้พูดภาษานี้จะเรียนการอ่านภาษาจีนกลางในโรงเรียน ไม่มีการพัฒนาระบบการเขียนเป็นของตนเอง จนในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาระบบการเขียนที่เป็นมาตรฐานคือใช้อักษรจีนและอักษรโรมัน
- อักษรจีนใช้ตามแบบภาษาจีนกลาง แต่มีการเพิ่มอักษรบางตัวที่ใช้เฉพาะภาษาหมิ่นใต้ ใช้ในจีน ไต้หวัน สิงคโปร์ และบริเวณอื่น ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- อักษรโรมัน ใช้กับภาษาฮกเกี้ยนพัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนในประเทศจีน และปรับปรุงต่อมาโดยมิชชันนารีในไต้หวัน เริ่มเป็นที่แพร่หลายเมื่อประมาณ พ.ศ. 2433 การใช้อักษรโรมันผสมกับอักษรจีนมีให้เห็นบ้างแต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เอกสารที่เขียนด้วยภาษาหมิ่นใต้รุ่นแรก ๆ เขียนเมื่อ พ.ศ. 2109 ในสมัยราชวงศ์หมิง
พยัญชนะ
แก้มีพยัญชนะ 19 เสียง เป็นตัวสะกดได้ 9 เสียง สระมี 12 เสียง ไม่มีความแตกต่างระหว่างสระเสียงสั้นกับสระเสียงยาว วรรณยุกต์มี 5 เสียง
ไวยากรณ์
แก้เรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ไม่มีการผันคำกริยาตามกาล
ภาษาถิ่นในภาษาหมิ่นหนาน
แก้ภาษาถิ่นฮกเกี้ยน
แก้เป็นสำเนียงหลักในภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน (泉漳片) ยังแตกออกเป็นอีกหลายสำเนียงย่อยในแต่ละท้องถิ่น เป็นภาษาที่พูดกันในบริเวณทางตอนใต้ของมณฑลฮกเกี้ยน
- สำเนียงเฉวียนโจว (ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานดั้งเดิม)
- ฮกเกี้ยนปีนัง
- ลันนัง
- ฮกเกี้ยนมลายูตะวันออก
- ฮกเกี้ยนสิงคโปร์
- ฮกเกี้ยนถิ่นกัวลาลัมเปอร์
- สำเนียงเซี่ยเหมิน (ภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานสมัยใหม่)
- ฮกเกี้ยนเซี่ยเหมิน
- ฮกเกี้ยนไต้หวัน
ภาษาแต้จิ๋ว
แก้ภาษาแต้จิ๋ว, เตี่ยจิว หรือ ภาษาเตี่ยซัว (潮汕片) ซึ่งรวมสำเนียงถิ่นแต้จิ๋วและสำเนียงถิ่นซัวเถา (และบางครั้งอาจสามารถนับรวมสำเนียงถิ่นซัวบ้วย) เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน - ผู่เทียน (闽南语古莆田话) มีฐานความเข้าใจร่วมกับภาษาหมิ่นใต้มาตรฐาน (泉漳片) ที่จำกัด แต่ยังสามารถที่จะฟังแล้วเข้าใจระหว่างกันได้ เนื่องจากการออกเสียงและคำศัพท์แตกต่างจากภาษาหมิ่นใต้มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยจากภูมิประเทศที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากภาษากวางตุ้งและแคะ ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง
ภาษาไหหลำ
แก้เป็นสำเนียงที่พูดกันในเกาะไหหลำ ชายฝั่งอ่าวตังเกี๋ย และเวียดนามบางส่วน
ตารางเทียบ
แก้ไทย | อักษรจีน | ท้องถิ่น | เป่อ่วยยี | IPA | เพ็งอิม |
---|---|---|---|---|---|
สอง | 二 | เฉวียนโจว, ไทเป | lī | li˧ | no6, ri6 (nõ˧˥, zi˧˥)[2] |
เซี่ยเหมิน, จางโจว, ไถหนาน, ภูเก็ต, ปีนัง | jī | dzi˧ | |||
ป่วย | 病 (生) | เฉวียนโจว, เซี่ยเหมิน, ไทเป | pīⁿ | pĩ˧ | bên7 (pẽ˩) |
ไถหนาน, จางโจว, ภูเก็ต, ปีนัง | pēⁿ | pẽ˧ | |||
ไข่ | 卵 (遠) | เฉวียนโจว, เซี่ยเหมิน, ไต้หวัน | nn̄g | nŋ˧ | neng6 (nŋ˧˥) |
จางโจว | nūi | nui˧ | |||
ตะเกียบ | 箸 (豬) | เฉวียนโจว | tīr | tɯ˧ | de7 (tɤ˩) |
เซี่ยเหมิน | tū | tu˧ | |||
จางโจว, ไต้หวัน | tī | ti˧ | |||
รองเท้า | 鞋 (街) | ||||
เฉวียนโจว, เซี่ยเหมิน, ไทเป | uê | ue˧˥ | |||
จางโจว, ไถหนาน | ê | e˧˥ | |||
หนัง | 皮 (未) | เฉวียนโจว | phêr | pʰə˨˩ | puê5 (pʰue˩) |
เซี่ยเหมิน, ไทเป | phê | pʰe˨˩ | |||
จางโจว, ไถหนาน | phôe | pʰue˧ | |||
ไก่ | 雞 (細) | เฉวียนโจว, เซียะเหมิน | koe | kue | koy |
จางโจว, ไต้หวัน | ke | ke | |||
ไฟ | 火 (過) | เฉวียนโจว | hə | hə | huéh |
เซี่ยเหมิน | hé | he | |||
เฉวียนโจว, ไต้หวัน, ภูเก็ต, ปีนัง | hoé | hue | |||
ความคิด | 思 | เฉวียนโจว | sy | sɯ | siuh |
เซี่ยเหมิน, ไทเป | su | su | |||
จางโจว, ไถหนาน | si | si |
อ้างอิง
แก้- ↑ An introduction to the Taiwanese language for English speakers
- ↑ for Teochew Peng'Im on the word 'two', ri6 can also be written as dzi6.
- ขวัญจิต ศศิวงศาโรจน์. สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์: ฮกเกี้ยน. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. 2543