ชานจา
ชานจา | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Angiosperms |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Eudicots |
ไม่ได้จัดลำดับ: | Rosids |
อันดับ: | Rosales |
วงศ์: | Rosaceae |
สกุล: | Crataegus |
สปีชีส์: | C. pinnatifida |
ชื่อทวินาม | |
Crataegus pinnatifidaa Bunge | |
ชื่อพ้อง[2] | |
รายการ
|
ชานจา หรือ ซัวจา หรือ เซียงจา (จีน: 山楂; พินอิน: shānzhā; อังกฤษ: Chinese hawthorn; ชื่อวิทยาศาสตร์: Crataegus pinnatifida) เป็นไม้ผลขนาดเล็กประเภทเบอร์รี่ชนิดหนึ่งในสกุลฮอว์ธอร์น ของวงศ์กุหลาบ คนส่วนมากรู้จักในฐานะเป็นผลไม้และขนมหวานกินเล่น ผลชานจาสีแดงรสเปรี้ยวจัดมักจะนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้แก่ ชานจาแผ่น ชานจาอบแห้ง แยมผลไม้ เยลลี่ น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ เป็นพืชที่ปลูกในประเทศจีนทางตอนเหนือและประเทศเกาหลี
อนุกรมวิธานและศัพทมูลวิทยา
แก้ในภาษาจีนกลาง เรียก "ชานจา" (山楂, shānzhā) แปลตามตัวว่า "ฮอว์ธอร์นภูเขา" หรือเรียก "ต้าหงกั่ว" (大红果, dà hóng guǒ) ซึ่งแปลว่า "ผลไม้สีแดงขนาดใหญ่" ในภาษาแต้จิ๋วเรียก "ซัวจา[3]" จึงมักนิยมเรียก ชานจา นัยว่าเป็นชื่อในภาษาจีนกลาง (แทนที่จะควรเป็น ชานจา) ส่วนคำว่า "เซียงจา" มักใช้เป็นทั้งชื่อผลไม้และขนมหวานกินเล่น
ชื่ออื่นในภาษาอังกฤษ ได้แก่ mountain hawthorn[4], Chinese haw[5], Chinese hawberry[6][7]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
แก้ชานจาแตกต่างจากไม้ผลอื่นในสกุลฮอว์ธอร์น คือมีหนามสั้น จำนวนไม่มาก กระจัดกระจาย หนามชี้ขึ้นด้านบนและตั้งตรงมากกว่า แต่ดอกและผลมีสีแดงเหมือนที่พบได้ทั่วไปในสกุลฮอว์ธอร์น[8]
ลักษณะ
แก้เป็นไม้ผลขนาดเล็ก[9] สูงได้ถึง 6 เมตร มีหนาม 1–2 เซนติเมตร บางครั้งไม่มีหนาม กิ่งและก้านมีสีน้ำตาลอมม่วงเมื่ออายุน้อย สีน้ำตาลอมเทาเมื่อแก่ ก้านกลม[10] แตกแขนงมาก
ใบรูปไข่กว้าง หรือรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ยาว 5–10 เซนติเมตร กว้าง 4–7.5 เซนติเมตร สีเขียวเข้ม แฉกหยักลึก ปลายแหลม ขอบใบเรียบเมื่ออ่อน ขอบหยักหรือกึ่งเรียบเมื่อต้นมีอายุมาก แฉกใบ 3–5 คู่[10]
ตาดอกสีม่วงแดง รูปไข่รูปสามเหลี่ยม เกลี้ยงเกลา ประมาณ 8 มิลลิเมตร[10]
ดอกสีขาว เป็นช่อกระจุก ก้านดอกยาว 2–6 เซนติเมตร เรียงรอบแกนก้าน ดอกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร มีขนสีขาวอมเทาบนฐานดอก กลีบดอกรูปไข่กลับถึงรูปใบหอก 4-5 มิลลิเมตร เกสรตัวผู้ 20 เส้น รังไข่ 5 แฉก[10] ดอกมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ คล้ายกับปลาเน่าซึ่งดึงดูดแมลงวันขนาดเล็ก ซึ่งเป็นแมลงผสมเกสรหลักในการปฏิสนธิเกสร แม้ว่าดอกเมื่อบานใหม่ ๆ อาจจะออกกลิ่นหอมมากกว่า[8] ออกดอกเดือนพฤษภาคม–มิถุนายน[10]
ผลสีแดงสด ทรงกลมหรือกลมแป้น ผิวเกลี้ยง มีจุดเหลืองหรือน้ำตาลซีดกระจายทั่วผิวผล เส้นผ่านศูนย์กลาง 1–2.5 เซนติเมตร[10] กินได้ มีรสเปรี้ยวจัด สัมผ้สค่อนข้างสาก และเป็นที่ดึงดูดของสัตว์กินพืช เช่น นก[8] ออกผลเดือนส.ค.–ก.ย.[10] ในแต่ละผลมี 3-5 เมล็ด[11]
การขยายพันธุ์
แก้ชานจาปลูกง่าย ชอบดินร่วนปนชื้นที่มีการระบายน้ำดี เมื่อตั้งตัวได้แล้วหรือปลูกต้นที่อายุหลายปีสามารถทนต่อดินที่มีความชื้นส่วนเกินได้ (ดินเปียก ดินเหนียว ดินน้ำท่วม) และยังทนต่อความแห้งแล้ง ชอบแดดจัด แต่สามารถปลูกในที่ร่มบางส่วนได้ ซึ่งปริมาณแสงแดดที่ได้รับเป็นปัจจัยสำคัญของปริมาณผลที่ผลิดได้[8]
ต้นที่ปลูกจากเมล็ดอาจใช้เวลา 5 ถึง 8 ปีจึงจะเริ่มออกผล ต้นที่ปลูกจากการทาบกิ่งมักจะออกดอกเต็มที่ในปีที่ 3[8]
-
เปลือกต้น
-
ทรงพุ่ม (ในสวน)
-
ใบ
-
ดอก
-
ดอกระยะใกล้
-
ผลแก่
-
ผลสุกสีแดงสด
พันธุ์ปลูก
แก้- Crataegus pinnatifida var. major N. E. Brown[10][12] เรียก ชานจาใหญ่ (山里红,红果; ชานหลี่หง, หงกั่ว) เป็นพันธุ์ปลูกขนาดใหญ่สูง 8 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลเข้ม ใบใหญ่ ยาว 6-12 เซนติเมตร กว้าง 5-8 เซนติเมตร แฉกใบ 2–4 คู่ ผลใหญ่ ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 เซนติเมตร สีแดงเข้ม มีจุดสีเหลือง-ขาวขนาดเล็กจำนวนมาก 5 เมล็ด ออกดอกเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ระยะติดผลเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม มักใช้เป็นวัตถุดิบทางการแพทย์แผนจีน[13]
ชนิดใกล้เคียง
แก้ชานจาป่า หรือ ชานจาญี่ปุ่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Crataegus cuneata; 野山楂[14]) มีลักษณะคล้ายกัน (ผลเล็กกว่าชานจา (Crataegus pinnatifida)) ผลขนาด 1–1.2 เซนติเมตร[15] มีสีแดงถึงเหลือง[14] จุดบนผลมีขนาดเล็กมาก ประปราย และผิวเรียบกว่า นำไปเป็นอาหารและสรรพคุณทางยาแทนกันได้[16]
ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายพันธุ์
แก้ชานจา (Crataegus pinnatifida) เป็นไม้ผลที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออก[8]และรัสเซีย[17] เจริญได้ดีที่ความสูง 100–2000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล บนที่ลาดเอียง[10] พบและปลูกมากในประเทศจีน ในมณฑลเหอเป่ย์[18][19] เฮย์หลงเจียง เหอหนาน หูเป่ย์ เจียงซู จี๋หลิน เหลียวหนิง มองโกเลียใน ส่านซี ชานตง ชานซี ซินเจียง เจ้อเจียง และประเทศเกาหลี[10]
เคมี
แก้สารสำคัญในชานจามากกว่า 150 ชนิดได้แก่ ฟลาโวนอยด์ ไตรเทอร์พีนอยด์ สเตอรอยด์ โมโนเทอร์พีนอยด์ เซสควิทเทอร์พีนอยด์ ลิกแนน กรดไฮดรอกซีซินนามิก กรดอินทรีย์[20]
- ฟลาโวนอยด์ จากใบ เช่น เอพิจีนิน, ลูทิโอลิน, ออเรียนติน, พินนาทิฟิโนไซด์[20]
- ไตรเทอร์พีนอยด์และสเตอรอยด์ จากผล เช่น กรดแมสลินิค, เบทูลิน, เบตา-ซิโทสเตอรอล, เบตา-เดาโคสเตอรอล[20]
การใช้ประโยชน์
แก้การประกอบอาหาร
แก้เนื่องผลสุกเปรี้ยวจัดจึงนิยมแปรรูปเป็นอาหารมากกว่าการกินผลสด[21] ในอาหารจีนภาคเหนือ ผลชานจาสุกใช้ในขนมถังหูหลู (ผลไม้เคลือบน้ำตาลเสียบไม้) และชานจาเกา นอกจากนี้ยังใช้ทำขนมหวานแบบดั้งเดิม เช่น ชานจาแผ่น (ฮอว์เฟลก) และชานจาม้วน (ฮอว์โรล) รวมทั้งทำเป็น แยมผลไม้ เยลลี่ น้ำผลไม้ และไวน์ ยังใช้เป็นส่วนผสมในซอสเปรี้ยวหวานแบบกวางตุ้งดั้งเดิม ถึงแม้ว่าปัจจุบันมักถูกแทนที่ด้วยซอสมะเขือเทศก็ตาม[22]
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
แก้ในเกาหลีชานจาเป็นส่วนปรุงรสและกลิ่นในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เรียก ซานซาชุน (산사춘, Sansachun) เป็นเหล้าขาวเกาหลีที่ทำจากข้าว ชานจูยฺหวี (ซานจูยฺหวี) และผลชานจา ซึ่งมีประวัติอย่างน้อย 400 ปี ปัจจุบันผลิตโดยบริษัทแบซางมยุน (Bae Sang Myun Brewery)[23]
โภชนาการและสรรพคุณทางยา
แก้ในการแพทย์แผนจีน ผลชานจาแห้งใช้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร[24] อาจใช้ในการช่วยย่อยอาหารที่มีไขมันสูงได้ดี[3] อาจใช้ลดอาการปวดเมื่อมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง[25][26] ไม่ควรกินมากโดยเฉพาะผู้ที่มีม้ามและกระเพาะอาหารอ่อนแอ[25] เก็บเกี่ยวผลในฤดูใบไม้ร่วงเมื่อผลสุก หั่นเป็นชิ้นหนาแล้วตากให้แห้ง[25]
ผล เมล็ด และใบชานจาซึ่งมีสารสำคัญประเภท ฟลาโวนอยด์ กรดไตรเทอร์พีนิก และเซคควิเทอร์พีน (sesquiterpene ) อาจช่วยในการควบคุมและรักษาสมดุลภาวะเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ให้ดีขึ้น[27]
ใบเก็บเกี่ยวในฤดูร้อนและฤดูใบไม้ร่วงและตากแดดให้แห้ง ใช้ชงชาหรือเป็นยาต้ม ช่วยส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตและขจัดภาวะเลือดคั่ง อาจช่วยลดภาวะความดันโลหิตสูง[25][28]
-
ถังหูหลู ชานจา (ชานจาเคลือบน้ำตาล)
-
ชานจาแผ่น (山査子餅 หรือ 山査餅, ชานจาปิ่ง)
-
ชานจาแห้งเชื่อม
ในศิลปวัฒนธรรม
แก้ชานจาปรากฏทั่วไปในงานวรรณกรรมจีน และภาพยนตร์ ที่เป็นที่รู้จักได้แก่ "ใต้ต้นชานจา" (山楂树之恋, Under the Hawthorn Tree (2010)) สร้างจากวรรณกรรม Hawthorn Tree Forever (ชื่อเดียวกันในภาษาจีน 山楂树之恋)[29] โดย อ้าย หมี่ (艾米) เรื่องราวกล่าวถึงช่วงท้ายของการปฏิวัติวัฒนธรรม ในหมู่บ้านเล็กๆ ในเมืองอี้ชาง มณฑลหูเป่ย์ และมีฉากหลังเป็นต้นชานจา "ต้นไม้แห่งผู้กล้า" ของหมู่บ้านที่ได้รับการเล่าว่าเติบโตขึ้นการหล่อเลี้ยงด้วยเลือดของผู้พลีชีพชาวจีนที่ถูกประหารใต้ต้นโดยชาวญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง
อ้างอิง
แก้- ↑ Botanic Gardens Conservation International (BGCI) & IUCN SSC Global Tree Specialist Group (2019). "Crataegus pinnatifida". IUCN Red List of Threatened Species. 2019: e.T61957322A136776311. สืบค้นเมื่อ 14 April 2020.
- ↑ "Pyrus cordata Desv". Plants of the World Online. Board of Trustees of the Royal Botanic Gardens, Kew. 2017. สืบค้นเมื่อ 22 September 2020.
- ↑ 3.0 3.1 เย็นจิตร เตชะดำรงสิน. ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทยฉบับสมบูรณ์ กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, กระทรวงสาธารณสุข. 2554. ISBN 978-616-11-0927-1
- ↑ English Names for Korean Native Plants (PDF). Pocheon: Korea National Arboretum. 2015. p. 424. ISBN 978-89-97450-98-5. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 25 May 2017. สืบค้นเมื่อ 24 December 2016 – โดยทาง Korea Forest Service.
- ↑ Plants for a Future, สืบค้นเมื่อ 20 October 2015
- ↑ Hummer, K.E.; Janick, J. (2008). Folta, Kevin M.; Gardiner, Susan E. (บ.ก.). Genetics and genomics of Rosaceae. New York: Springer. p. 11. ISBN 978-0-387-77490-9.
- ↑ Flint, Harrison L. (1997). Landscape plants for eastern North America : exclusive of Florida and the immediate Gulf Coast. New York: Wiley. p. 158. ISBN 978-0-471-59919-7.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 8.5 "Crataegus pinnatifida (Chinese Hawberry, Chinese Hawthorn, Hawthorn, Hawthorne, Mountain Hawthorn, Thornapple) | North Carolina Extension Gardener Plant Toolbox". plants.ces.ncsu.edu.
- ↑ ""ชานจา" ขนม หรือ ผลไม้? จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 "Crataegus pinnatifida in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
- ↑ "藥用植物圖像數據庫 - 山楂 Shanzha". 藥用植物圖像數據庫 (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 12.0 12.1 "Crataegus pinnatifida Bunge — The Plant List". www.theplantlist.org.
- ↑ "藥用植物圖像數據庫 - 山里紅 Shanlihong". 藥用植物圖像數據庫 (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 14.0 14.1 "Crataegus cuneata in Flora of China @ efloras.org". www.efloras.org.
- ↑ 野山楂(yě shān zhā). iPlant.cn สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2565.
- ↑ "Hawthorns (Plants of the Peggy Notebaert Nature Museum Grounds, Chicago, Illinois) · iNaturalist". iNaturalist.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Crataegus pinnatifida Bunge | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "ปลูก"ซันจา"สร้างรายได้ให้ชาวอำเภออู่อี้-CRI". thai.cri.cn.
- ↑ Thai, Xinhua. "เกษตรกรเหอเป่ยเก็บเกี่ยว 'ชานจา' ผลผลิตงอกงามเต็มสวน | Xinhua Thai". LINE TODAY.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 Wu, Jiaqi; Peng, Wei; Qin, Rongxin; Zhou, Hong (2014-01-30). "Crataegus pinnatifida: Chemical Constituents, Pharmacology, and Potential Applications". Molecules (ภาษาอังกฤษ). 19 (2): 1685–1712. doi:10.3390/molecules19021685. ISSN 1420-3049. PMC 6271784. PMID 24487567.
{{cite journal}}
: CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ L, Ellen. "Chinese Hawthorn Fruit 山楂".
- ↑ Chinese Cooking Demystified (26 November 2018). Old School Sweet and Sour Pork, without Ketchup (山楂咕噜肉) (ภาษาอังกฤษ). YouTube. สืบค้นเมื่อ 2 February 2019.
- ↑ LookatKorea. "Sansachun" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ Dharmananda S. (2004). "Hawthorn (Crataegus). Food and Medicine in China". www.itmonline.org. Institute of Traditional Medicine Online. January.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 "Chinese Medicine Specimen Database". libproject.hkbu.edu.hk.
- ↑ ""ชานจา" ขนม หรือ ผลไม้? จากบล็อก โอเคเนชั่น oknation.net". oknation.nationtv.tv. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-25.
- ↑ Dehghani, Shahrzad; Mehri, Soghra; Hosseinzadeh, Hossein. "The effects of Crataegus pinnatifida (Chinese hawthorn) on metabolic syndrome: A review". Iranian Journal of Basic Medical Sciences. 22 (5). doi:10.22038/ijbms.2019.31964.7678. PMC 6556496. PMID 31217924.
{{cite journal}}
: CS1 maint: PMC format (ลิงก์) - ↑ 山楂葉 Shanzhaye. Hong Kong Babtist University, School of Chinese Medicine. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2564.
- ↑ Under the Hawthorn Tree (2010) - IMDb (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน), สืบค้นเมื่อ 2021-08-25