สารสำคัญ หรือ สารสำคัญในสมุนไพร ( อังกฤษ: chemotype บางครั้ง chemovar ) เป็นเอกลักษณ์ทางเคมีที่แตกต่างกันใน พืช หรือ จุลินทรีย์ โดยมีความแตกต่างในองค์ประกอบของสารทุติยภูมิ การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมและนอกเหนือพันธุกรรม (อีพีเจเนติกส์) เพียงเล็กน้อย ซึ่งมีผลเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลยต่อสัณฐานวิทยาหรือกายวิภาคศาสตร์ของพืช อาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดใหญ่ในฟีโนไทป์ทางเคมี

สารเคมี (สารประกอบอินทรีย์) ที่มีปริมาณมากสุดในพืชชนิดนั้น ๆ และมีประโยชน์ต่องานของนักนิเวศวิทยาทางเคมี ผู้เชี่ยวชาญทางเคมีสมุนไพร และนักเคมีภัณฑ์จากธรรมชาติ เรียกว่า สารสำคัญ (chemotype) (หรืออธิบายได้ว่าเป็น เอกลักษณ์ทางเคมีของพืช - characteristics of plant) ในทางชีววิทยาของพืชคำว่า สารสำคัญ (chemotype) ได้รับการบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกโดย Rolf Santesson และ Johan ลูกชายของเขาในปี 1968 โดยนิยามว่า "ส่วนที่มีลักษณะทางเคมีที่เป็นเอกลักษณ์ในกลุ่มประชากรสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถแยกออกอย่างชัดเจนทางสัณฐานวิทยา" [1]

สารสำคัญแบบพหุสัณฐาน แก้

ตัวอย่างของพืชที่มีสารสำคัญแบบพหุสัณฐาน คือ ไธม์ (Thymus vulgaris) ซึ่งมีสารสำคัญุถึง 7 ชนิดคือ thymol, carvacrol, linalool, geraniol, sabinene hydrate (thuyanol), α-terpineol, or eucalyptol (สารเหล่านี้เป็นสารประกอบในน้ำมันหอมระเหย) ด้วยรูปลักษณ์ที่แยกไม่ออกของไธม์ ความแตกต่างในสัดส่วนหรือองค์ประกอบของสารสำคัญุแต่ละชนิดที่โดดเด่นต่างกัน เป็นตัวบ่งชี้ระบุว่าเป็นชนิดย่อยใด เช่น Thymus vulgaris ct. thymol (ไธม์แดง) หรือ Thymus vulgaris ct. geraniol (ไธม์หวาน) ฯลฯ ข้อบ่งชี้ดังกล่าวจากสารสำคัญไม่มีสถานะทางอนุกรมวิธาน [1] คือ ไม่สามารถระบุได้ทางสัณฐานวิทยาในการระบุสปีชีส์ย่อย

ความสับสน แก้

เนื่องจากสารสำคัญ (chemotype) ถูกจำกัดความด้วยสารทุติยภูมิที่พบ "มากที่สุด" เท่านั้น จึงอาจมีความหมายในทางปฏิบัติน้อยมาก เนื่องจากในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเดียวกัน เอกลักษณ์ทางเคมีจากสารสำคัญชนิดหนึ่งอาจมีสัดส่วนทางเคมีที่หลากหลายอย่างมาก และยังมีความหลากหลายที่แตกต่างกันตามสัดส่วนทางเคมีของสารเคมีชนิดถัด ๆ มา (ที่ไม่นับเป็นสารสำคัญเนื่องจากมีปริมาณรองลงมา) ซึ่งหมายความว่าพืชสองต้นที่มีสารสำคัญเดียวกันอาจมีผลกระทบที่ที่หลากหลายต่อ สัตว์กินพืช แมลงผสมเกสร หรือ ความต้านทานต่อศัตรูพืช (ขึ้นกับปริมาณสารเคมีประกอบอื่นชนิดรองลง ที่อาจต่างกันเพียงเล็กน้อย) การศึกษาของ Ken Keefover-Ring และเพื่อนร่วมงานในปี 2008 เตือนว่า "นี่เป็นการประเมินเชิงคุณภาพในรายละเอียดทางเคมีของสิ่งมีชีวิตแต่ละชีวิต ซึ่งอาจซ่อนความหลากหลายทางเคมีไว้อย่างมีนัยสำคัญ" [1] (การประเมินเชิงปริมาณ บอกได้เพียงปริมาณของสารสำคัญ โดยเฉลี่ยในกลุ่มสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ไม่อาจจำแนกรายตัวได้)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Keefover-Ring K, Thompson JD, and Linhart YB. 2009. Beyond six scents: defining a seventh Thymus vulgaris chemotype new to southern France by ethanol extraction. Flavour and Fragrance Journal, 24(3): 117-122. doi:10.1002/ffj.1921