ชานจาแผ่น หรือ เซียงจา (จีน: 山楂餠; พินอิน: shān zhā bǐng; ชานจาปิ่ง; อังกฤษ: haw flakes) เป็นขนมจีนที่ทำจากผลชานจาของจีน[1] เป็นแท่งและตัดเป็นแผ่น ๆ สีน้ำตาลอ่อนอมชมพูอ่อน หรือน้ำตาลแดง หนา 2 มิลลิเมตร และบรรจุในหลอดกระดาษทรงกระบอกในแบบดั้งเดิมสีแดง โดยปกติแล้วใช้กินเป็นของว่างรสหวานอมเปรี้ยวพร้อมกับชาหรือเป็นของว่างสำหรับเด็ก บางคนกินเพื่อลดรสขมของยาสมุนไพรจีน[1]

ชานจาแผ่น
บรรจุภัณฑ์ชานจาแผ่น ห่อเป็นแท่ง ที่พบทั่วไป
ชื่ออื่นเซียงจา, ชานจาปิ่ง, haw flakes
ประเภทขนมหวาน, อาหารว่าง
แหล่งกำเนิดประเทศจีน
ส่วนผสมหลักผลชานจา, น้ำตาล
ชานจาแผ่น
อักษรจีนตัวเต็ม山楂
อักษรจีนตัวย่อ山楂
บรรจุภัณฑ์แบบอื่น
ชานจาแบบแผ่นใหญ่

การจัดจำหน่าย

แก้

ชานจาแผ่น (เซียงจา) มีจำหน่ายทั่วไปในประเทศจีน ตลาดย่านคนเชื้อสายจีนทั้งในเอเชียและประเทศทางตะวันตก มีขนาดที่หลากหลายโดยทั่วไปที่ขายในประเทศไทยมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 มิลลิเมตร ในขณะที่บางยี่ห้อมีขนาด 35–40 มิลลิเมตร ความหนาโดยทั่วไป 2 มิลลิเมตร

ปัจจุบันชานจาแผ่นเพิ่มประเภทน้ำตาลต่ำและไร้สารเติมแต่งซึ่งมักมีสีที่ซีดอ่อนกว่าแบบธรรมดา เพื่อมุ่งเป้าไปที่ผู้ใส่ใจสุขภาพ สามารถซื้อได้ในประเทศจีน แต่มีปริมาณไม่มากในต่างประเทศ

รูปแบบอื่นที่พบได้แก่ แบบตัดเป็นแท่งหรือเป็นก้อนทรงลูกบาศก์ ซึ่งเป็นชั้นคล้ายขนมชั้น

ในประเทศไทย

แก้

มักเรียก "ชานจาแผ่น" ในชื่อ "เซียงจา" บางครั้งยังเรียก "เซียงจาบ๊วยแผ่น" หรือ "บ๊วยแผ่นเซียงจา"[2] ซึ่งเป็นเพียงการอ้างอิงขนมที่มีรสเปรี้ยวแบบบ๊วย[3] ทั้งที่ไม่มีส่วนประกอบของบ๊วย ต่างจาก"บ๊วยแผ่น" ที่ทำจากบ๊วยโดยตรงและมักผลิตเป็นแผ่นยาวบาง[4]

รวมทั้งบางครั้งมีการเข้าใจผิดว่าชานจาคือพุทราจีนชนิดหนึ่งด้วย[3]

ระเบียบข้อบังคับด้านสุขภาพ

แก้

สีผสมอาหาร

แก้

องค์การอาหารและยาสหรัฐ (US FDA) ได้ตรวจยึดชานจาแผ่นหลายครั้ง เนื่องจากตรวจพบ Ponceau 4R (E124, Acid Red 18) ซึ่งเป็นสีผสมอาหารที่ไม่ผ่านการอนุมัติ[5][6] Ponceau 4R ยังคงอนุญาตให้ใช้ในยุโรป เอเชีย และออสเตรเลีย แต่ไม่ผ่านการรับรองจาก US FDA ในปี พ.ศ. 2549 คณะกรรมการอาหารและยาแห่งประเทศจีนได้ประกาศอาหารที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งรวมชานจาแผ่นจาก 3 บริษัทมีการผสมสารเพิ่มสีแดงที่เป็นสารก่อมะเร็งผสมอยู่[3][7] เมื่อปี พ.ศ. 2557 ในประเทศไทยคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ระบุว่ามีการขึ้นทะเบียนการนำเข้าชานจาแผ่น จาก 8–9 บริษัทแต่ยังไม่พบว่าเป็น 3 บริษัทดังกล่าว[8]

ปัจจุบัน ชานจาแผ่นบางยี่ห้อมีสีผสมอาหาร Allura Red AC (FD& C #40) (สีแดง) ซึ่งในยุโรปเป็นสีผสมอาหารที่ไม่แนะนำให้เด็กบริโภค และมีระเบียบข้อบังคับการห้ามใช้สีผสมอาหารในเดนมาร์ก เบลเยียม ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์

น้ำตาล

แก้

โดยทั่วไปผลชานจาสด อาจช่วยในการควบคุมและรักษาสมดุลของกลุ่มอาการผิดปกติทางเมแทบอลิก (Metabolic Syndrome) ให้ดีขึ้น[9]และการไหลเวียนของเลือด[10] อย่างไรก็ตามชานจาแผ่นแบบทั่วไปทำขึ้นการเติมน้ำตาลจำนวนมาก ทำให้ไม่มีผลที่ดีในทางสุขภาพ

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Fegan, MacKenzie Chung (2 เมษายน 2020). "Haw Flakes Are the Childhood Snack I Still Crave". Bon Appétit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2023.
  2. "เห็นแล้วอ๋อควรพิจารณาอายุ..? ชวนย้อนวันวาน 10 ความอร่อยขนมวัยเยาว์". www.thairath.co.th. 9 มกราคม 2015.
  3. 3.0 3.1 3.2 "จีนห้ามขาย "เซียงจา" เหตุมีสารก่อมะเร็ง". mgronline.com. 23 มกราคม 2014.
  4. "การพัฒนาบ๊วยแผ่นจากบ๊วยดอง". kukr2.lib.ku.ac.th.
  5. "Enforcement Report for August 29, 2001". FDA Enforcement Report. United States Food and Drug Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2007.
  6. "Enforcement Report for August 16, 2000". FDA Enforcement Report. United States Food and Drug Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มิถุนายน 2007. สืบค้นเมื่อ 2 กรกฎาคม 2007.
  7. "[Nonsense] ขนม เชียงจา ที่ทุกคนต่างชอบกินมีสารก่อมะเร็งนะรู้ยัง!". www.blockdit.com.
  8. "อย. ยืนยัน'ขนมเซียงจาหรือซันจา' ไทยไม่นำเข้า". www.thairath.co.th.
  9. Dehghani, Shahrzad; Mehri, Soghra; Hosseinzadeh, Hossein. "The effects of Crataegus pinnatifida (Chinese hawthorn) on metabolic syndrome: A review". Iranian Journal of Basic Medical Sciences. 22 (5). doi:10.22038/ijbms.2019.31964.7678. PMC 6556496. PMID 31217924.
  10. "山楂葉 Shanzhaye". Hong Kong Babtist University, School of Chinese Medicine. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2021.